อสังหาฯปี 63 ฟื้นไข้ ต่างชาติหาย คนไทยแทนที่
วันที่ : 18 ธันวาคม 2562
ปี 2562 ภาคธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ เผชิญกับปัจจัยรุมเร้าหลายด้าน จนเข้าสู่ ภาวะอุปทานในตลาด (ซัพพลาย) เกินความต้องการ (ดีมานด์) ทั้งสงครามการค้า ส่งผลทำให้ตลาดต่างประเทศได้รับ ผลกระทบ อัตราการซื้อต่างชาติลดลง
ประกายดาว แบ่งสันเทียะ
กรุงเทพธุรกิจ
ปี 2562 ภาคธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ เผชิญกับปัจจัยรุมเร้าหลายด้าน จนเข้าสู่ ภาวะอุปทานในตลาด (ซัพพลาย) เกินความต้องการ (ดีมานด์) ทั้งสงครามการค้า ส่งผลทำให้ตลาดต่างประเทศได้รับ ผลกระทบ อัตราการซื้อต่างชาติลดลง โดยเฉพาะจีน ที่เป็นผู้ซื้อหลัก มาตรการคุมเข้มการปล่อยสินเชื่อ (LTV) และอัตราแลกเปลี่ยนค่าเงินบาท จนทำให้ภาครัฐ ต้องใช้มาตรการกระตุ้นภาคอสังหาฯ เพราะเป็นหนึ่งในฟันเฟืองกระตุ้นการเติบโตทางเศรษฐกิจที่มีสัดส่วนถึง 6% ของ 15.7 ล้านล้านบาท
วิชัย วิรัตกพันธ์ ผู้ตรวจการธนาคารอาคารสงเคราะห์ (ธอส.) และรักษาการผู้อำนวยการศูนย์ข้อมูลอสังหาริมทรัพย์ ประเมินสถานการณ์ตลาดที่อยู่อาศัย ปี 2562 แนวโน้มปี 2563 พบว่าหลังจากภาครัฐ ออกมาตรการกระตุ้นภาคอสังหาฯ ให้ครอบคลุมกลุ่มผู้มีรายได้ปานกลางมากขึ้น โดยออกมาตรการลดค่าธรรมเนียมการโอนและค่าธรรมเนียมการจดจำนองเหลือ 0.01% ครอบคลุมถึงบ้านในระดับราคาไม่เกิน 3 ล้านบาท เมื่อวันที่ 22 ต.ค. และโครงการ "บ้านดีมีดาวน์" ซึ่งให้การสนับสนุน เงินดาวน์ 50,000 บาท แก่ผู้ซื้อที่อยู่อาศัย ส่งผลทำให้จำนวนหน่วยเหลือขาย ติดลบลดลงเหลือ -0.6%
โดยในกรุงเทพฯ -ปริมณฑล มีจำนวน 149,000 หน่วย และส่งมูลค่าการโอนกรรมสิทธิ์ที่อยู่อาศัยทั่วประเทศในปี 2562 ติดลบ 2.2% เมื่อเทียบกับปี 2561 หรืออาจจะไม่ติดลบเลย จากเดิมคาดว่าจำนวนหน่วยเหลือขายจะติดลบถึง 7.7% และ และยอดโอนกรรมสิทธิ์ติดลบ -2.7%
นอกจากนี้ ยังส่งผลไปถึงอัตราการ ดูดซับซัพพลาย(อุปทาน) มีความต่อเนื่องทำให้มีขายบ้านใหม่ได้ประมาณ 71,000 หน่วย และในปี 2563 จะมีการขายบ้านใหม่ได้ถึงประมาณ 166,000 หน่วย เพิ่มขึ้น 20% ในแต่ละครึ่งปี และส่งผลให้ซัพพลายที่อยู่อาศัยในตลาดปีหน้าจะลดลงถึง 10% ในแต่ละครึ่งปี เมื่อเทียบกับการที่ไม่มีมาตรการ
"ปี 2563 ภาคอสังหาฯ ถือเป็นปีแห่งการฟื้นตัว หรือฟื้นไข้ หากไม่กินของแสลง และหากไม่มีมาตรคุมเข้มขึ้นในบางเรื่อง และมีปัจจัยอุปสรรคขัดขวางในการซื้อที่อยู่อาศัย คาดว่าจะทำให้กลับไปสู่จุดสมดุลที่ประมาณ 1.39 แสนหน่วย เพราะตลาดเมืองไทยนั้นเป็นตลาดเล็กไม่ควรปล่อยให้โอเวอร์ซัพพลาย เพราะอัตราการดูดซับ มีจำกัด จึงควรมีการควบคุมซัพพลาย ไม่ให้สูงเกินไป"
ส่วนทิศทางตลาด ปี 2563 คาดว่าความต้องการซื้อที่อยู่อาศัยจะมีการขยายตัวอย่างต่อเนื่อง โดยมีปัจจัยสำคัญคืออัตราดอกเบี้ยขาลง และ มาตรการกระตุ้นอสังหาริมทรัพย์ของรัฐบาล จึงทำให้มีการขยายตัวอย่าง ต่อเนื่องจากปลายปี 2562 ทำให้คาดว่า ภาคอสังหาขยายตัว 5% ส่งผลในเชิงบวกทำให้ผู้ประกอบการมีการเปิดตัวโครงการใหม่ ต่อเนื่องจากช่วงปลายปีรองรับมาตรการรัฐซึ่งคาดว่าจะมีจำนวนใกล้เคียงกับยอดการเปิดตัวในปี 2562
"ประกอบการยังคงต้องให้ความสำคัญกับการบริหารสินค้าที่อยู่อาศัยที่อยู่ระหว่างการก่อสร้างและที่อยู่อาศัยสร้างเสร็จรอการขาย เพื่อให้อุปทานไม่ค้างอยู่มากเกินไป และยังต้องระมัดระวังการเปิดตัวโครงการใหม่ๆ ที่มากจนตลาดไม่สามารถดูดซับไม่ทัน เพราะว่ากำลังซื้อในตลาดถึงแม้ยังมีอยู่ แต่มีอยู่ไม่มากเท่ากับ 2 ปีก่อน"
ในส่วนของทำเลที่มีศักยภาพ โดยพิจารณาการขยายตัวของยอดขายใหม่ในทุก 6 เดือน ย้อนหลัง 18 เดือนที่ผ่านมา รวมไปถึงซัพพลายคงเหลือ หรือหน่วยเหลือขายน้อย โดยพิจารณาครึ่งแรกของปี 2562 รวมไปถึงอัตราการเปลี่ยนแปลงการดูดซับ ในช่วง 18 เดือนที่ผ่านมายังคงมีต่อเนื่อง ตลอดจนพื้นที่การพัฒนาสอดคล้องกับทำเลที่อยู่อาศัย และจำนวนที่ดินเปล่ารองรับการเปิดตัวและมีราคาที่ดินที่เหมาะสม
จึงพบว่ามี 5 ทำเลที่ได้รับความสนใจในการเปิดโครงการใหม่ และมีแนวโน้มความต้องการยังมีต่อเนื่อง ประกอบด้วย 1.มีนบุรี-ลาดกระบัง 2.แจ้งวัฒนะงามวงศ์วาน 3.ห้วยขวาง-จตุจักร-ดินแดง 4.พระโขนง-แยกบางนา 5.วุฒากาศ- แยกบางหว้า
ส่วนอัตราการถือครองกรรมสิทธิ์ห้องชุดของคนต่างชาติ ยอดโอนกรรมสิทธิ์ใน ปี 2652 เริ่มสะท้อนถึงสัญญาณที่ลดลง เนื่องจากผลกระทบจากสงครามการค้า และเศรษฐกิจโลก รวมไปถึงอัตราแลกเปลี่ยนเงินบาทที่แข็งค่าขึ้น โดยในปี 2561 คนต่างด้าวถือครองกรรมสิทธิ์ห้องชุดทั่วประเทศ จำนวน 13,113 หน่วย มูลค่า 55,007 ล้านบาท พื้นที่ห้องชุดรวม 545,518 ตารางเมตร ขณะที่ ช่วง 9 เดือนแรกปี 2562 มีการถือครอง 9,427 ยูนิต เพิ่มขึ้น 1.8% ซึ่งเป็นการเพิ่มขึ้น ในกรุงเทพฯ และปริมณฑล และภาคตะวันตก โดยมีมูลค่ารวม 35,987 ล้านบาท ลดลง 5.8% เป็นการลดลงทุกภาค ยกเว้นภาคตะวันตก ซึ่งมีมูลค่าเพิ่มขึ้น
ต่างชาติที่ถือครองกรรมสิทธิ์ในไทย ได้แก่ จีน, รัสเซีย, ฝรั่งเศส, อังกฤษ, ญี่ปุ่น, สหรัฐ, เยอรมัน, ออสเตรเลีย, ไต้หวัน และสิงคโปร์ เป็นหลัก
"อัตราการถือครองกรรมสิทธิ์ที่อยู่อาศัยต่างชาติ มีมูลค่าและพื้นที่ลดลง สะท้อนให้เห็นว่าสัดส่วนต่างชาติเริ่มมีแนวโน้มลดลง แม้จะยังไม่สะท้อนในอัตราการถือครองกรรมสิทธิ์ปัจจุบันชัดเจน เพราะเป็นยอดการขายในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมา ที่ยังมีการโอนกรรมสิทธิ์ แต่คาดว่า แนวโน้มต่างชาติลดลงจะสะท้อนผ่านยอดขายในปี 2563 ทำให้บางทำเลที่จับกลุ่มตลาดต่างชาติต้องเลื่อนเปิดโครงการ ซึ่งในปีหน้าจึงอาจจะหันไปจับตลาด คนไทยทดแทน"
กรุงเทพธุรกิจ
ปี 2562 ภาคธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ เผชิญกับปัจจัยรุมเร้าหลายด้าน จนเข้าสู่ ภาวะอุปทานในตลาด (ซัพพลาย) เกินความต้องการ (ดีมานด์) ทั้งสงครามการค้า ส่งผลทำให้ตลาดต่างประเทศได้รับ ผลกระทบ อัตราการซื้อต่างชาติลดลง โดยเฉพาะจีน ที่เป็นผู้ซื้อหลัก มาตรการคุมเข้มการปล่อยสินเชื่อ (LTV) และอัตราแลกเปลี่ยนค่าเงินบาท จนทำให้ภาครัฐ ต้องใช้มาตรการกระตุ้นภาคอสังหาฯ เพราะเป็นหนึ่งในฟันเฟืองกระตุ้นการเติบโตทางเศรษฐกิจที่มีสัดส่วนถึง 6% ของ 15.7 ล้านล้านบาท
วิชัย วิรัตกพันธ์ ผู้ตรวจการธนาคารอาคารสงเคราะห์ (ธอส.) และรักษาการผู้อำนวยการศูนย์ข้อมูลอสังหาริมทรัพย์ ประเมินสถานการณ์ตลาดที่อยู่อาศัย ปี 2562 แนวโน้มปี 2563 พบว่าหลังจากภาครัฐ ออกมาตรการกระตุ้นภาคอสังหาฯ ให้ครอบคลุมกลุ่มผู้มีรายได้ปานกลางมากขึ้น โดยออกมาตรการลดค่าธรรมเนียมการโอนและค่าธรรมเนียมการจดจำนองเหลือ 0.01% ครอบคลุมถึงบ้านในระดับราคาไม่เกิน 3 ล้านบาท เมื่อวันที่ 22 ต.ค. และโครงการ "บ้านดีมีดาวน์" ซึ่งให้การสนับสนุน เงินดาวน์ 50,000 บาท แก่ผู้ซื้อที่อยู่อาศัย ส่งผลทำให้จำนวนหน่วยเหลือขาย ติดลบลดลงเหลือ -0.6%
โดยในกรุงเทพฯ -ปริมณฑล มีจำนวน 149,000 หน่วย และส่งมูลค่าการโอนกรรมสิทธิ์ที่อยู่อาศัยทั่วประเทศในปี 2562 ติดลบ 2.2% เมื่อเทียบกับปี 2561 หรืออาจจะไม่ติดลบเลย จากเดิมคาดว่าจำนวนหน่วยเหลือขายจะติดลบถึง 7.7% และ และยอดโอนกรรมสิทธิ์ติดลบ -2.7%
นอกจากนี้ ยังส่งผลไปถึงอัตราการ ดูดซับซัพพลาย(อุปทาน) มีความต่อเนื่องทำให้มีขายบ้านใหม่ได้ประมาณ 71,000 หน่วย และในปี 2563 จะมีการขายบ้านใหม่ได้ถึงประมาณ 166,000 หน่วย เพิ่มขึ้น 20% ในแต่ละครึ่งปี และส่งผลให้ซัพพลายที่อยู่อาศัยในตลาดปีหน้าจะลดลงถึง 10% ในแต่ละครึ่งปี เมื่อเทียบกับการที่ไม่มีมาตรการ
"ปี 2563 ภาคอสังหาฯ ถือเป็นปีแห่งการฟื้นตัว หรือฟื้นไข้ หากไม่กินของแสลง และหากไม่มีมาตรคุมเข้มขึ้นในบางเรื่อง และมีปัจจัยอุปสรรคขัดขวางในการซื้อที่อยู่อาศัย คาดว่าจะทำให้กลับไปสู่จุดสมดุลที่ประมาณ 1.39 แสนหน่วย เพราะตลาดเมืองไทยนั้นเป็นตลาดเล็กไม่ควรปล่อยให้โอเวอร์ซัพพลาย เพราะอัตราการดูดซับ มีจำกัด จึงควรมีการควบคุมซัพพลาย ไม่ให้สูงเกินไป"
ส่วนทิศทางตลาด ปี 2563 คาดว่าความต้องการซื้อที่อยู่อาศัยจะมีการขยายตัวอย่างต่อเนื่อง โดยมีปัจจัยสำคัญคืออัตราดอกเบี้ยขาลง และ มาตรการกระตุ้นอสังหาริมทรัพย์ของรัฐบาล จึงทำให้มีการขยายตัวอย่าง ต่อเนื่องจากปลายปี 2562 ทำให้คาดว่า ภาคอสังหาขยายตัว 5% ส่งผลในเชิงบวกทำให้ผู้ประกอบการมีการเปิดตัวโครงการใหม่ ต่อเนื่องจากช่วงปลายปีรองรับมาตรการรัฐซึ่งคาดว่าจะมีจำนวนใกล้เคียงกับยอดการเปิดตัวในปี 2562
"ประกอบการยังคงต้องให้ความสำคัญกับการบริหารสินค้าที่อยู่อาศัยที่อยู่ระหว่างการก่อสร้างและที่อยู่อาศัยสร้างเสร็จรอการขาย เพื่อให้อุปทานไม่ค้างอยู่มากเกินไป และยังต้องระมัดระวังการเปิดตัวโครงการใหม่ๆ ที่มากจนตลาดไม่สามารถดูดซับไม่ทัน เพราะว่ากำลังซื้อในตลาดถึงแม้ยังมีอยู่ แต่มีอยู่ไม่มากเท่ากับ 2 ปีก่อน"
ในส่วนของทำเลที่มีศักยภาพ โดยพิจารณาการขยายตัวของยอดขายใหม่ในทุก 6 เดือน ย้อนหลัง 18 เดือนที่ผ่านมา รวมไปถึงซัพพลายคงเหลือ หรือหน่วยเหลือขายน้อย โดยพิจารณาครึ่งแรกของปี 2562 รวมไปถึงอัตราการเปลี่ยนแปลงการดูดซับ ในช่วง 18 เดือนที่ผ่านมายังคงมีต่อเนื่อง ตลอดจนพื้นที่การพัฒนาสอดคล้องกับทำเลที่อยู่อาศัย และจำนวนที่ดินเปล่ารองรับการเปิดตัวและมีราคาที่ดินที่เหมาะสม
จึงพบว่ามี 5 ทำเลที่ได้รับความสนใจในการเปิดโครงการใหม่ และมีแนวโน้มความต้องการยังมีต่อเนื่อง ประกอบด้วย 1.มีนบุรี-ลาดกระบัง 2.แจ้งวัฒนะงามวงศ์วาน 3.ห้วยขวาง-จตุจักร-ดินแดง 4.พระโขนง-แยกบางนา 5.วุฒากาศ- แยกบางหว้า
ส่วนอัตราการถือครองกรรมสิทธิ์ห้องชุดของคนต่างชาติ ยอดโอนกรรมสิทธิ์ใน ปี 2652 เริ่มสะท้อนถึงสัญญาณที่ลดลง เนื่องจากผลกระทบจากสงครามการค้า และเศรษฐกิจโลก รวมไปถึงอัตราแลกเปลี่ยนเงินบาทที่แข็งค่าขึ้น โดยในปี 2561 คนต่างด้าวถือครองกรรมสิทธิ์ห้องชุดทั่วประเทศ จำนวน 13,113 หน่วย มูลค่า 55,007 ล้านบาท พื้นที่ห้องชุดรวม 545,518 ตารางเมตร ขณะที่ ช่วง 9 เดือนแรกปี 2562 มีการถือครอง 9,427 ยูนิต เพิ่มขึ้น 1.8% ซึ่งเป็นการเพิ่มขึ้น ในกรุงเทพฯ และปริมณฑล และภาคตะวันตก โดยมีมูลค่ารวม 35,987 ล้านบาท ลดลง 5.8% เป็นการลดลงทุกภาค ยกเว้นภาคตะวันตก ซึ่งมีมูลค่าเพิ่มขึ้น
ต่างชาติที่ถือครองกรรมสิทธิ์ในไทย ได้แก่ จีน, รัสเซีย, ฝรั่งเศส, อังกฤษ, ญี่ปุ่น, สหรัฐ, เยอรมัน, ออสเตรเลีย, ไต้หวัน และสิงคโปร์ เป็นหลัก
"อัตราการถือครองกรรมสิทธิ์ที่อยู่อาศัยต่างชาติ มีมูลค่าและพื้นที่ลดลง สะท้อนให้เห็นว่าสัดส่วนต่างชาติเริ่มมีแนวโน้มลดลง แม้จะยังไม่สะท้อนในอัตราการถือครองกรรมสิทธิ์ปัจจุบันชัดเจน เพราะเป็นยอดการขายในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมา ที่ยังมีการโอนกรรมสิทธิ์ แต่คาดว่า แนวโน้มต่างชาติลดลงจะสะท้อนผ่านยอดขายในปี 2563 ทำให้บางทำเลที่จับกลุ่มตลาดต่างชาติต้องเลื่อนเปิดโครงการ ซึ่งในปีหน้าจึงอาจจะหันไปจับตลาด คนไทยทดแทน"
ข่าว reic จากสื่อสิ่งพิมพ์ อื่นๆ