คอลัมน์ ก่อสร้างและที่ดิน: AI อสังหาฯ
วันที่ : 3 พฤษภาคม 2562
เมื่อวันที่ 29 เมษายน 2562 ที่ผ่านมา มีการแถลงข่าวความร่วมมือระหว่างคณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย บริษัท โฮมดอทเทค จำกัด และศูนย์ข้อมูลอสังหาริมทรัพย์ (REIC) ธอส.
นาย ต.
เมื่อวันที่ 29 เมษายน 2562 ที่ผ่านมา มีการแถลงข่าวความร่วมมือระหว่างคณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย บริษัท โฮมดอทเทค จำกัด และศูนย์ข้อมูลอสังหาริมทรัพย์ (REIC) ธอส.
ในการนำเทคโนโลยี AI มาใช้กับธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ เพื่อให้เกิดประโยชน์กับผู้บริโภค ธุรกิจเอกชน และเศรษฐกิจมหภาค
2 ปีที่ผ่านมา บริษัท โฮมดอทเทค จำกัด ซึ่งเป็นบริษัทในเครือโฮมบายเออร์กรุ๊ป ได้ร่วมมือกับคณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาฯ ทำโครงการศึกษาวิจัย Chula-HOMEdotTECH โดยนำข้อมูลการค้นหาที่อยู่อาศัยของผู้บริโภคจากเว็บ home.co.th เดือนละกว่าล้านคน และข้อมูลจากเครื่องมือออนไลน์อื่นๆ มาทำการศึกษาเพื่อทำความเข้าใจกับพฤติกรรมของผู้บริโภค
มีวัตถุประสงค์เพื่อนำความรู้นี้ไปสร้างเครื่องมือการค้นหาที่อยู่อาศัยของผู้บริโภคให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น เกินกว่าประสบการณ์ส่วนตัวของบุคคลจะทำได้
ขณะเดียวกันก็จะจัดทำรายงานเพื่อให้บริษัทอสังหาฯ เข้าใจพฤติกรรมและความต้องการของผู้ซื้อ สามารถตอบสนองและค้นหาผู้ซื้อที่ตรงกับสินค้าที่อยู่อาศัยได้แม่นยำขึ้น
สำหรับศูนย์ข้อมูลอสังหาริมทรัพย์ หรือ REIC นั้น มีเป้าหมายที่จะนำเทคโนโลยียุคใหม่ Data science; Machin learning และ AI มาใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล เพื่อให้บริการแก่หน่วยงานต่างๆ ซึ่งเป็นภารกิจของ REIC ความร่วมมือกับคณะวิศวะ จุฬาฯ และบริษัทโฮมดอทเทคซึ่งมีเทคโนโลยีและบุคลากรเหล่านี้อยู่แล้ว จึงเป็นทางเลือกที่ดี
จะเป็นการนำข้อมูลมหาศาลด้าน Demand side ที่แสดงถึงพฤติกรรมความต้องการของผู้ซื้อ มาร่วมกับข้อมูลด้าน Supply side จากการสำรวจภาคสนาม การนำข้อมูลทั้งแบบมีโครงสร้าง (Structured Data) ข้อมูลแบบไม่มีโครงสร้าง (Unstructured Data) ข้อมูลเชิงสถิติและข้อมูลจากการสำรวจของ REIC มาร่วมวิเคราะห์
ผลการวิเคราะห์เหล่านี้จะเป็นประโยชน์กับหน่วยงานภาครัฐที่มีหน้าที่ในการกำหนดนโยบายเกี่ยวข้องกับธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ สถาบันการเงิน บริษัทอสังหาฯ และประชาชนทั่วไป
อาทิ การสร้างดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคที่อยู่อาศัยที่สามารถสะท้อนทัศนคติของผู้บริโภคได้อย่างรวดเร็วในแต่ละช่วงเวลา การสร้างแบบจำลองพยากรณ์ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ที่เชื่อมโยงกับปัจจัยต่างๆ ในระบบเศรษฐกิจ เพื่อนำมาเป็นเครื่องมือส่งสัญญาณให้กับภาครัฐและภาคธุรกิจที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้มีการปรับตัวทั้งด้านดีมานด์และด้านซัพพลายให้สอดคล้องกันเป็นการป้องกันปัญหา
หรือใช้เป็นสัญญาณเตือนภัยฟองสบู่ล่วงหน้าได้
ที่ผ่านมา REIC ได้รายงานผลสำรวจและวิเคราะห์อสังหาฯ รายครึ่งปี รายปีอย่างต่อเนื่องซึ่งได้ส่งผลให้ผู้ประกอบการ อสังหาฯ มีการปรับตัวได้ดีขึ้นระดับหนึ่ง หากมีข้อมูลครบถ้วนมากขึ้น ใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่ที่รวดเร็วแม่นยำมากขึ้น ย่อมทำให้การส่งสัญญาณให้เกิดการปรับตัวมีประสิทธิภาพมากขึ้น
การนำเทคโนโลยีสมัยใหม่ AI มาใช้กับอสังหาฯ มีทั้งระดับการให้บริการแก่บุคคลในการใช้ชีวิตภายในที่อยู่อาศัย ซึ่งเริ่มมีผลิตภัณฑ์ที่ให้บริการเหล่านี้เข้าสู่ตลาดบ้างแล้ว
ในขั้นการค้นหาที่อยู่อาศัย ซึ่งที่ผ่านมามีเครื่องมือค้นหาตามที่ผู้ค้นหา "คิดไว้" และต่อไปกำลังจะมีเครื่องมือการค้นตาม "ไลฟ์สไตล์หรือวิถีชีวิต" ของผู้จะซื้อที่อยู่อาศัย ซึ่งเครื่องมือจะประมวลผลข้อมูลจราจรการเดินทาง ลักษณะความชื่นชอบ (persona) และระดับราคา
โดยจะได้ผลลัพธ์เป็นข้อมูลโครงการต่างๆ ที่อยู่ในเงื่อนไขที่กำหนดให้เลือกเครื่องมือดังกล่าวตั้งชื่อว่า homehop ซึ่งปัจจุบันอยู่ในขั้นที่เป็นต้นแบบ (prototype) เพื่อการพัฒนาต่อไปให้มีประสิทธิภาพและสะดวกในการใช้งานให้มากขึ้นในระดับมหภาคจากความร่วมมือ 3 ฝ่ายดังกล่าว นับเป็นครั้งแรกของประเทศที่มีความริเริ่มที่จะนำเทคโนโลยี AI มาใช้ในการประมวลและวิเคราะห์ เพื่อสนับสนุนหน่วยงานที่มีบทบาทกำหนดนโยบายที่เกี่ยวข้องกับอสังหาริมทรัพย์
อนาคตอาจมีมาตรการอะไรใหม่ๆ จากภาครัฐมากกว่ามาตรการเดิมๆ ที่ใช้กัน ก็เป็นได้
เมื่อวันที่ 29 เมษายน 2562 ที่ผ่านมา มีการแถลงข่าวความร่วมมือระหว่างคณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย บริษัท โฮมดอทเทค จำกัด และศูนย์ข้อมูลอสังหาริมทรัพย์ (REIC) ธอส.
ในการนำเทคโนโลยี AI มาใช้กับธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ เพื่อให้เกิดประโยชน์กับผู้บริโภค ธุรกิจเอกชน และเศรษฐกิจมหภาค
2 ปีที่ผ่านมา บริษัท โฮมดอทเทค จำกัด ซึ่งเป็นบริษัทในเครือโฮมบายเออร์กรุ๊ป ได้ร่วมมือกับคณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาฯ ทำโครงการศึกษาวิจัย Chula-HOMEdotTECH โดยนำข้อมูลการค้นหาที่อยู่อาศัยของผู้บริโภคจากเว็บ home.co.th เดือนละกว่าล้านคน และข้อมูลจากเครื่องมือออนไลน์อื่นๆ มาทำการศึกษาเพื่อทำความเข้าใจกับพฤติกรรมของผู้บริโภค
มีวัตถุประสงค์เพื่อนำความรู้นี้ไปสร้างเครื่องมือการค้นหาที่อยู่อาศัยของผู้บริโภคให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น เกินกว่าประสบการณ์ส่วนตัวของบุคคลจะทำได้
ขณะเดียวกันก็จะจัดทำรายงานเพื่อให้บริษัทอสังหาฯ เข้าใจพฤติกรรมและความต้องการของผู้ซื้อ สามารถตอบสนองและค้นหาผู้ซื้อที่ตรงกับสินค้าที่อยู่อาศัยได้แม่นยำขึ้น
สำหรับศูนย์ข้อมูลอสังหาริมทรัพย์ หรือ REIC นั้น มีเป้าหมายที่จะนำเทคโนโลยียุคใหม่ Data science; Machin learning และ AI มาใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล เพื่อให้บริการแก่หน่วยงานต่างๆ ซึ่งเป็นภารกิจของ REIC ความร่วมมือกับคณะวิศวะ จุฬาฯ และบริษัทโฮมดอทเทคซึ่งมีเทคโนโลยีและบุคลากรเหล่านี้อยู่แล้ว จึงเป็นทางเลือกที่ดี
จะเป็นการนำข้อมูลมหาศาลด้าน Demand side ที่แสดงถึงพฤติกรรมความต้องการของผู้ซื้อ มาร่วมกับข้อมูลด้าน Supply side จากการสำรวจภาคสนาม การนำข้อมูลทั้งแบบมีโครงสร้าง (Structured Data) ข้อมูลแบบไม่มีโครงสร้าง (Unstructured Data) ข้อมูลเชิงสถิติและข้อมูลจากการสำรวจของ REIC มาร่วมวิเคราะห์
ผลการวิเคราะห์เหล่านี้จะเป็นประโยชน์กับหน่วยงานภาครัฐที่มีหน้าที่ในการกำหนดนโยบายเกี่ยวข้องกับธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ สถาบันการเงิน บริษัทอสังหาฯ และประชาชนทั่วไป
อาทิ การสร้างดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคที่อยู่อาศัยที่สามารถสะท้อนทัศนคติของผู้บริโภคได้อย่างรวดเร็วในแต่ละช่วงเวลา การสร้างแบบจำลองพยากรณ์ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ที่เชื่อมโยงกับปัจจัยต่างๆ ในระบบเศรษฐกิจ เพื่อนำมาเป็นเครื่องมือส่งสัญญาณให้กับภาครัฐและภาคธุรกิจที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้มีการปรับตัวทั้งด้านดีมานด์และด้านซัพพลายให้สอดคล้องกันเป็นการป้องกันปัญหา
หรือใช้เป็นสัญญาณเตือนภัยฟองสบู่ล่วงหน้าได้
ที่ผ่านมา REIC ได้รายงานผลสำรวจและวิเคราะห์อสังหาฯ รายครึ่งปี รายปีอย่างต่อเนื่องซึ่งได้ส่งผลให้ผู้ประกอบการ อสังหาฯ มีการปรับตัวได้ดีขึ้นระดับหนึ่ง หากมีข้อมูลครบถ้วนมากขึ้น ใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่ที่รวดเร็วแม่นยำมากขึ้น ย่อมทำให้การส่งสัญญาณให้เกิดการปรับตัวมีประสิทธิภาพมากขึ้น
การนำเทคโนโลยีสมัยใหม่ AI มาใช้กับอสังหาฯ มีทั้งระดับการให้บริการแก่บุคคลในการใช้ชีวิตภายในที่อยู่อาศัย ซึ่งเริ่มมีผลิตภัณฑ์ที่ให้บริการเหล่านี้เข้าสู่ตลาดบ้างแล้ว
ในขั้นการค้นหาที่อยู่อาศัย ซึ่งที่ผ่านมามีเครื่องมือค้นหาตามที่ผู้ค้นหา "คิดไว้" และต่อไปกำลังจะมีเครื่องมือการค้นตาม "ไลฟ์สไตล์หรือวิถีชีวิต" ของผู้จะซื้อที่อยู่อาศัย ซึ่งเครื่องมือจะประมวลผลข้อมูลจราจรการเดินทาง ลักษณะความชื่นชอบ (persona) และระดับราคา
โดยจะได้ผลลัพธ์เป็นข้อมูลโครงการต่างๆ ที่อยู่ในเงื่อนไขที่กำหนดให้เลือกเครื่องมือดังกล่าวตั้งชื่อว่า homehop ซึ่งปัจจุบันอยู่ในขั้นที่เป็นต้นแบบ (prototype) เพื่อการพัฒนาต่อไปให้มีประสิทธิภาพและสะดวกในการใช้งานให้มากขึ้นในระดับมหภาคจากความร่วมมือ 3 ฝ่ายดังกล่าว นับเป็นครั้งแรกของประเทศที่มีความริเริ่มที่จะนำเทคโนโลยี AI มาใช้ในการประมวลและวิเคราะห์ เพื่อสนับสนุนหน่วยงานที่มีบทบาทกำหนดนโยบายที่เกี่ยวข้องกับอสังหาริมทรัพย์
อนาคตอาจมีมาตรการอะไรใหม่ๆ จากภาครัฐมากกว่ามาตรการเดิมๆ ที่ใช้กัน ก็เป็นได้
ข่าว reic จากสื่อสิ่งพิมพ์ อื่นๆ