เร่งพัฒนาไอเอเตือน ฟองสบู่อสังหา
วันที่ : 30 เมษายน 2562
วิศวฯจุฬาฯ ศูนย์ข้อมูล อสังหาฯ และโฮมดอทเทค ผนึกพัฒนาเอไอ วิเคราะห์ข้อมูลอสังหาฯ สร้างระบบเตือนภัยฟองสบู่ โอเวอร์ซัพพลาย หวังเป็น ข้อมูลให้ภาครัฐออกมาตรการช่วยเหลือ ทันท่วงที สร้างความเชื่อมั่นผู้ประกอบการ- ผู้ซื้อ
วิศวฯจุฬาฯ ศูนย์ข้อมูล อสังหาฯ และโฮมดอทเทค ผนึกพัฒนาเอไอ วิเคราะห์ข้อมูลอสังหาฯ สร้างระบบเตือนภัยฟองสบู่ โอเวอร์ซัพพลาย หวังเป็น ข้อมูลให้ภาครัฐออกมาตรการช่วยเหลือ ทันท่วงที สร้างความเชื่อมั่นผู้ประกอบการ- ผู้ซื้อ
รศ.สุพจน์ เตชวรสินสกุล คณบดีคณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวว่า ในยุคนี้ข้อมูลข่าวสาร เทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ หรือ เอไอ เข้ามามีบทบาทสำคัญในวิเคราะห์ข้อมูล เพื่อช่วยในการตัดสินใจ จึงเป็นเสมือนเป็นเข็มทิศนำทาง ในวงการอสังหาริมทรัพย์ ใช้ประโยชน์ ในการวางแผน ตัดสินใจลงทุน รวมทั้ง ส่งสัญญาณเตือนก่อนเกิดวิกฤติ เพื่อไม่ให้เกิดฟองสบู่แตกในธุรกิจอสังหาฯ
ทั้งนี้ เพราะธุรกิจอสังหาฯ ถือเป็น ดัชนีชี้วัดสภาพเศรษฐกิจประเทศที่สำคัญ การใช้เทคโนโลยี "Data Science" หรือวิทยาศาสตร์ข้อมูล ที่ครอบคลุม ตั้งแต่ขั้นตอนการเก็บข้อมูล การจัดการข้อมูล การวิเคราะห์ข้อมูล เพื่อช่วยตัดสินใจ รวมทั้งการMachine Learning และ AI เพื่อวิเคราะห์ข้อมูลอสังหาฯให้กับ หน่วยงานต่าง ๆ ล่าสุดได้ต่อยอดการพัฒนานวัตกรรมในโครงการความร่วมมือ Chula -HOME dot TECH ซึ่งเป็นโครงการความร่วมมือของคณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กับ ศูนย์ข้อมูลอสังหาริมทรัพย์ ธนาคารอาคารสงเคราะห์ (REIC) เข้ามาร่วมในการพัฒนา"Prediction Model" เพื่อให้เกิดประโยชน์ในภาพรวม อาทิ การสร้างแบบจำลองพยากรณ์สถานการณ์ ที่เปลี่ยนแปลงไปจากผลกระทบหรือ ปัจจัยด้านต่างๆ พัฒนาดัชนีชี้วัดที่เกี่ยวข้องกับ ธุรกิจอสังหาฯ โดยเฉพาะการวิเคราะห์ดีมานด์ หรืออุปสงค์ความต้องการของตลาดอสังหาฯ ซึ่งจะเป็นครั้งแรกที่จะได้ข้อมูลความต้องการซื้อที่อยู่อาศัยที่แท้จริงในแต่ละช่วงเวลาหรือแต่ละปี
นายวิชัย วิรัตกพันธ์ ผู้ตรวจการ และรักษาการผู้อำนวยการศูนย์ข้อมูลอสังหาริมทรัพย์ กล่าวว่า ความร่วมมือในครั้งนี้ถือเป็น การปรับตัวรับกับเทรนด์เทคโนโลยีที่ มาเร็ว ที่เข้ามาวิเคราะห์ข้อมูล จากเดิม ที่ต้องเสียเวลาในการนำข้อมูล มารันในโปรแกรม เปลี่ยนมาใช้โปรแกรมมิ่งสำเร็จรูป เข้ามาช่วยวิเคราะห์ได้ทันที เป็นการดิสรัปในภาคอสังหาฯในไทย เกิดประโยชน์ให้การทำงานเร็วขึ้นจากเดิม
ขณะเดียวกันได้ข้อมูลจากการสำรวจ ในอินเทอร์เน็ต ซึ่งเป็นข้อมูลแบบไม่มีโครงสร้าง (Unstructured Data) มาผสม กับข้อมูลจากการสำรวจของศูนย์ข้อมูลอสังหาฯมาใช้วิเคราะห์พฤติกรรรมความต้องการของผู้บริโภค "จากเดิมที่เราทำข้อมูลด้านซัพพลายไซด์แต่เมื่อทำงานร่วมกันจะได้ข้อมูลด้านดีมานด์ไซด์เพิ่มขึ้นทำให้การเปลี่ยนแปลงควบคู่กันไปทำให้เห็นสัญญาณบางอย่าง ที่ผ่านมา หลายคนบอกว่าฟองสบู่จะเกิด ใช้แต่ความรู้สึกไม่ได้เพราะผลกระทบเยอะ ตรงนี้เป็นจุดหนึ่งที่เราต้องการสร้างเครื่องมือ มามอนิเตอร์เหตุการณ์ที่เป็นฟองสบู่หรือ ตัวโอเวอร์ซัพพลายให้เกิดความชัดเจน เพราะการสร้างมากหรือน้อยไม่ได้หมายความว่าจะเกิดซัพพลาย แต่ขึ้นอยู่ที่คนซื้อมีแนวโน้ม ความเชื่อมั่นจะซื้อหรือไม่ "
นายบริสุทธิ์ กาสินพิลา ประธาน เจ้าหน้าที่บริหาร โฮมดอทเทค กล่าวว่า ขณะนี้บริษัทได้พัฒนา Home Hop แอพพลิเคชั่น ค้นหาที่อยู่อาศัยจากการเดินทางและไลฟ์สไตล์ เป็นแอพที่จะสร้างประสบการณ์ใหม่ เหนือความคาดหมายในการเลือกซื้อที่อยู่อาศัย เนื่องจากมีการใช้เอไอเข้ามาวิเคราะห์ ขณะนี้อยู่ระหว่างการเปิดให้ทดลองใช้ รวมถึง Home Event App เพื่อเครื่องมือ ในการ Matching ผู้ซื้อและผู้ขายที่จะไป ร่วมงานแสดงสินค้าที่อยู่อาศัย ซึ่งได้อัพเกรดเวอร์ชั่นให้ตรงกับความต้องการของผู้บริโภคและโครงการมากขึ้น
รศ.สุพจน์ เตชวรสินสกุล คณบดีคณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวว่า ในยุคนี้ข้อมูลข่าวสาร เทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ หรือ เอไอ เข้ามามีบทบาทสำคัญในวิเคราะห์ข้อมูล เพื่อช่วยในการตัดสินใจ จึงเป็นเสมือนเป็นเข็มทิศนำทาง ในวงการอสังหาริมทรัพย์ ใช้ประโยชน์ ในการวางแผน ตัดสินใจลงทุน รวมทั้ง ส่งสัญญาณเตือนก่อนเกิดวิกฤติ เพื่อไม่ให้เกิดฟองสบู่แตกในธุรกิจอสังหาฯ
ทั้งนี้ เพราะธุรกิจอสังหาฯ ถือเป็น ดัชนีชี้วัดสภาพเศรษฐกิจประเทศที่สำคัญ การใช้เทคโนโลยี "Data Science" หรือวิทยาศาสตร์ข้อมูล ที่ครอบคลุม ตั้งแต่ขั้นตอนการเก็บข้อมูล การจัดการข้อมูล การวิเคราะห์ข้อมูล เพื่อช่วยตัดสินใจ รวมทั้งการMachine Learning และ AI เพื่อวิเคราะห์ข้อมูลอสังหาฯให้กับ หน่วยงานต่าง ๆ ล่าสุดได้ต่อยอดการพัฒนานวัตกรรมในโครงการความร่วมมือ Chula -HOME dot TECH ซึ่งเป็นโครงการความร่วมมือของคณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กับ ศูนย์ข้อมูลอสังหาริมทรัพย์ ธนาคารอาคารสงเคราะห์ (REIC) เข้ามาร่วมในการพัฒนา"Prediction Model" เพื่อให้เกิดประโยชน์ในภาพรวม อาทิ การสร้างแบบจำลองพยากรณ์สถานการณ์ ที่เปลี่ยนแปลงไปจากผลกระทบหรือ ปัจจัยด้านต่างๆ พัฒนาดัชนีชี้วัดที่เกี่ยวข้องกับ ธุรกิจอสังหาฯ โดยเฉพาะการวิเคราะห์ดีมานด์ หรืออุปสงค์ความต้องการของตลาดอสังหาฯ ซึ่งจะเป็นครั้งแรกที่จะได้ข้อมูลความต้องการซื้อที่อยู่อาศัยที่แท้จริงในแต่ละช่วงเวลาหรือแต่ละปี
นายวิชัย วิรัตกพันธ์ ผู้ตรวจการ และรักษาการผู้อำนวยการศูนย์ข้อมูลอสังหาริมทรัพย์ กล่าวว่า ความร่วมมือในครั้งนี้ถือเป็น การปรับตัวรับกับเทรนด์เทคโนโลยีที่ มาเร็ว ที่เข้ามาวิเคราะห์ข้อมูล จากเดิม ที่ต้องเสียเวลาในการนำข้อมูล มารันในโปรแกรม เปลี่ยนมาใช้โปรแกรมมิ่งสำเร็จรูป เข้ามาช่วยวิเคราะห์ได้ทันที เป็นการดิสรัปในภาคอสังหาฯในไทย เกิดประโยชน์ให้การทำงานเร็วขึ้นจากเดิม
ขณะเดียวกันได้ข้อมูลจากการสำรวจ ในอินเทอร์เน็ต ซึ่งเป็นข้อมูลแบบไม่มีโครงสร้าง (Unstructured Data) มาผสม กับข้อมูลจากการสำรวจของศูนย์ข้อมูลอสังหาฯมาใช้วิเคราะห์พฤติกรรรมความต้องการของผู้บริโภค "จากเดิมที่เราทำข้อมูลด้านซัพพลายไซด์แต่เมื่อทำงานร่วมกันจะได้ข้อมูลด้านดีมานด์ไซด์เพิ่มขึ้นทำให้การเปลี่ยนแปลงควบคู่กันไปทำให้เห็นสัญญาณบางอย่าง ที่ผ่านมา หลายคนบอกว่าฟองสบู่จะเกิด ใช้แต่ความรู้สึกไม่ได้เพราะผลกระทบเยอะ ตรงนี้เป็นจุดหนึ่งที่เราต้องการสร้างเครื่องมือ มามอนิเตอร์เหตุการณ์ที่เป็นฟองสบู่หรือ ตัวโอเวอร์ซัพพลายให้เกิดความชัดเจน เพราะการสร้างมากหรือน้อยไม่ได้หมายความว่าจะเกิดซัพพลาย แต่ขึ้นอยู่ที่คนซื้อมีแนวโน้ม ความเชื่อมั่นจะซื้อหรือไม่ "
นายบริสุทธิ์ กาสินพิลา ประธาน เจ้าหน้าที่บริหาร โฮมดอทเทค กล่าวว่า ขณะนี้บริษัทได้พัฒนา Home Hop แอพพลิเคชั่น ค้นหาที่อยู่อาศัยจากการเดินทางและไลฟ์สไตล์ เป็นแอพที่จะสร้างประสบการณ์ใหม่ เหนือความคาดหมายในการเลือกซื้อที่อยู่อาศัย เนื่องจากมีการใช้เอไอเข้ามาวิเคราะห์ ขณะนี้อยู่ระหว่างการเปิดให้ทดลองใช้ รวมถึง Home Event App เพื่อเครื่องมือ ในการ Matching ผู้ซื้อและผู้ขายที่จะไป ร่วมงานแสดงสินค้าที่อยู่อาศัย ซึ่งได้อัพเกรดเวอร์ชั่นให้ตรงกับความต้องการของผู้บริโภคและโครงการมากขึ้น
ข่าว reic จากสื่อสิ่งพิมพ์ อื่นๆ