ดัชนีเชื่อมั่นอสังหาฯทรงตัว
วันที่ : 5 เมษายน 2562
นายวิชัย วิรัตกพันธ์ ผู้ตรวจการธนาคารอาคารสงเคราะห์ (ธอส.) และรักษาการผู้อำนวยการศูนย์ข้อมูลอสังหาริมทรัพย์ เปิดเผยว่า ดัชนีความเชื่อมั่นในภาวะปัจจุบัน ในไตรมาส 1 ปี 2562 มีค่าเท่ากับ 50.9 จุด เพิ่มขึ้นเล็กน้อยจากไตรมาสก่อนหน้าซึ่งอยู่ที่ระดับ 50.4 จุด แต่เมื่อพิจารณาในแต่ละกลุ่มผู้ประกอบการ พบว่าผู้ประกอบการกลุ่ม บริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์มีค่าดัชนีเท่ากับ 52.2 จุด ลดลงจากไตรมาสก่อนหน้า ซึ่งมีค่าดัชนีอยู่ที่ 55.7 จุด
หวังเศรษฐกิจดีขึ้นหลังจัดตั้งรบ.
นายวิชัย วิรัตกพันธ์ ผู้ตรวจการธนาคารอาคารสงเคราะห์ (ธอส.) และรักษาการผู้อำนวยการศูนย์ข้อมูลอสังหาริมทรัพย์ เปิดเผยว่า ดัชนีความเชื่อมั่นในภาวะปัจจุบัน ในไตรมาส 1 ปี 2562 มีค่าเท่ากับ 50.9 จุด เพิ่มขึ้นเล็กน้อยจากไตรมาสก่อนหน้าซึ่งอยู่ที่ระดับ 50.4 จุด แต่เมื่อพิจารณาในแต่ละกลุ่มผู้ประกอบการ พบว่าผู้ประกอบการกลุ่ม บริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์มีค่าดัชนีเท่ากับ 52.2 จุด ลดลงจากไตรมาสก่อนหน้า ซึ่งมีค่าดัชนีอยู่ที่ 55.7 จุด โดยความเชื่อมั่นของผู้ประกอบการลดลงในทุกปัจจัย ในเกือบทุกด้าน ยกเว้นด้านต้นทุนการประกอบการ ซึ่งการที่ดัชนีลดลงนี้ อาจเป็นผลมาจากที่ผู้ประกอบการยังมีความกังวลต่อผลกระทบที่อาจเกิดจากมาตรการการกำกับดูแลสินเชื่อที่อยู่อาศัย (LTV) ที่ทางธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ออกมาเพื่อดูแลเสถียรภาพระบบการเงิน และอุปสงค์ในตลาดมีจำนวนลดลงจากปัจจัยต่างๆ ที่จะส่งผลต่อการระบายอุปทานเหลือขายออกไปซึ่งทำให้ผู้ประกอบการอาจมีการปรับตัวในการทบทวนแผนการเปิดโครงการใหม่ และการขยายลงทุนที่ต้องมีความระมัดระวังมากขึ้น
นายวิชัยกล่าวว่า สำหรับกลุ่มผู้ประกอบการที่อยู่นอกตลาด มีค่าดัชนีเท่ากับ 47.7 จุด แม้จะเพิ่มขึ้นจากไตรมาสก่อนหน้าที่ระดับ 42.3 จุด แต่ยังคงมีค่าต่ำกว่าค่ากลางที่ระดับ 50 จุด แสดงให้เห็นว่าผู้ประกอบการกลุ่มนี้มีความเชื่อมั่นต่อการดำเนินธุรกิจในภาวะปัจจุบันดีขึ้นแต่ยังอยู่ในระดับต่ำ โดยเป็นผลจากยอดขาย และผลประกอบการ (กำไร) ที่ลดลงมากจากช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน
นายวิชัยกล่าวว่า สำหรับดัชนีความเชื่อมั่นในอีก 6 เดือนข้างหน้า ในภาพรวมไตรมาส 1 ปี 2562 มีค่าเท่ากับ 58.4 ลดลงจากไตรมาสก่อนหน้า ซึ่งอยู่ที่ระดับ 60.5 จุด แสดงให้เห็นว่าผู้ประกอบการยังมีมุมมองที่เป็นบวกต่อทิศทางของธุรกิจ โดยคาดหวังว่าเศรษฐกิจจะมีโอกาสขยายตัวดีขึ้นหลังการจัดตั้งรัฐบาล อย่างไรก็ตามหากพิจารณาเป็นรายกลุ่มพบว่ากลุ่มจดทะเบียน มีค่าดัชนีความเชื่อมั่นในอีก 6 เดือนข้างหน้าเท่ากับ 59.9 จุด ลดลงจากไตรมาสก่อนซึ่งอยู่ที่ระดับ 65.4 จุด โดยมีสาเหตุจากปัจจัยผลประกอบการ (กำไร) และยอดขายในอนาคตจะลดลง ส่งผลต่อการตัดสินใจลงทุนและจะกระทบต่อการจ้างงานลดลง ขณะที่ผู้ประกอบการกลุ่มนอกตลาดหลักทรัพย์ มีค่าดัชนีความเชื่อมั่นในอีก 6 เดือนข้างหน้าเท่ากับ 56.1 จุด เพิ่มขึ้นจากไตรมาสก่อนหน้าซึ่งอยู่ที่ระดับ 53.2 จุด เนื่องจากส่วนใหญ่มีความเชื่อมั่นว่าในอีก 6 เดือนข้างหน้าการประกอบธุรกิจอสังหาริมทรัพย์จะดีขึ้นกว่าไตรมาสปัจจุบันทุกด้าน
นายวิชัย วิรัตกพันธ์ ผู้ตรวจการธนาคารอาคารสงเคราะห์ (ธอส.) และรักษาการผู้อำนวยการศูนย์ข้อมูลอสังหาริมทรัพย์ เปิดเผยว่า ดัชนีความเชื่อมั่นในภาวะปัจจุบัน ในไตรมาส 1 ปี 2562 มีค่าเท่ากับ 50.9 จุด เพิ่มขึ้นเล็กน้อยจากไตรมาสก่อนหน้าซึ่งอยู่ที่ระดับ 50.4 จุด แต่เมื่อพิจารณาในแต่ละกลุ่มผู้ประกอบการ พบว่าผู้ประกอบการกลุ่ม บริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์มีค่าดัชนีเท่ากับ 52.2 จุด ลดลงจากไตรมาสก่อนหน้า ซึ่งมีค่าดัชนีอยู่ที่ 55.7 จุด โดยความเชื่อมั่นของผู้ประกอบการลดลงในทุกปัจจัย ในเกือบทุกด้าน ยกเว้นด้านต้นทุนการประกอบการ ซึ่งการที่ดัชนีลดลงนี้ อาจเป็นผลมาจากที่ผู้ประกอบการยังมีความกังวลต่อผลกระทบที่อาจเกิดจากมาตรการการกำกับดูแลสินเชื่อที่อยู่อาศัย (LTV) ที่ทางธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ออกมาเพื่อดูแลเสถียรภาพระบบการเงิน และอุปสงค์ในตลาดมีจำนวนลดลงจากปัจจัยต่างๆ ที่จะส่งผลต่อการระบายอุปทานเหลือขายออกไปซึ่งทำให้ผู้ประกอบการอาจมีการปรับตัวในการทบทวนแผนการเปิดโครงการใหม่ และการขยายลงทุนที่ต้องมีความระมัดระวังมากขึ้น
นายวิชัยกล่าวว่า สำหรับกลุ่มผู้ประกอบการที่อยู่นอกตลาด มีค่าดัชนีเท่ากับ 47.7 จุด แม้จะเพิ่มขึ้นจากไตรมาสก่อนหน้าที่ระดับ 42.3 จุด แต่ยังคงมีค่าต่ำกว่าค่ากลางที่ระดับ 50 จุด แสดงให้เห็นว่าผู้ประกอบการกลุ่มนี้มีความเชื่อมั่นต่อการดำเนินธุรกิจในภาวะปัจจุบันดีขึ้นแต่ยังอยู่ในระดับต่ำ โดยเป็นผลจากยอดขาย และผลประกอบการ (กำไร) ที่ลดลงมากจากช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน
นายวิชัยกล่าวว่า สำหรับดัชนีความเชื่อมั่นในอีก 6 เดือนข้างหน้า ในภาพรวมไตรมาส 1 ปี 2562 มีค่าเท่ากับ 58.4 ลดลงจากไตรมาสก่อนหน้า ซึ่งอยู่ที่ระดับ 60.5 จุด แสดงให้เห็นว่าผู้ประกอบการยังมีมุมมองที่เป็นบวกต่อทิศทางของธุรกิจ โดยคาดหวังว่าเศรษฐกิจจะมีโอกาสขยายตัวดีขึ้นหลังการจัดตั้งรัฐบาล อย่างไรก็ตามหากพิจารณาเป็นรายกลุ่มพบว่ากลุ่มจดทะเบียน มีค่าดัชนีความเชื่อมั่นในอีก 6 เดือนข้างหน้าเท่ากับ 59.9 จุด ลดลงจากไตรมาสก่อนซึ่งอยู่ที่ระดับ 65.4 จุด โดยมีสาเหตุจากปัจจัยผลประกอบการ (กำไร) และยอดขายในอนาคตจะลดลง ส่งผลต่อการตัดสินใจลงทุนและจะกระทบต่อการจ้างงานลดลง ขณะที่ผู้ประกอบการกลุ่มนอกตลาดหลักทรัพย์ มีค่าดัชนีความเชื่อมั่นในอีก 6 เดือนข้างหน้าเท่ากับ 56.1 จุด เพิ่มขึ้นจากไตรมาสก่อนหน้าซึ่งอยู่ที่ระดับ 53.2 จุด เนื่องจากส่วนใหญ่มีความเชื่อมั่นว่าในอีก 6 เดือนข้างหน้าการประกอบธุรกิจอสังหาริมทรัพย์จะดีขึ้นกว่าไตรมาสปัจจุบันทุกด้าน
ข่าว reic จากสื่อสิ่งพิมพ์ อื่นๆ