เร่งสปีดบ้านเอื้ออาทรเหลือหมื่นหน่วย รอพัฒนาที่ดินก่อสร้างเสร็จภายใน4ปี
วันที่ : 30 มกราคม 2562
การเคหะแห่งชาติเตรียมปิดมหากาพย์ 16 ปี โครงการ บ้านเอื้ออาทรจำนวน 281,556 หน่วย เหลือขายแค่หมื่นกว่าหน่วย เร่งสปีดให้จบโดยเร็ว ส่วนสินทรัพย์รอการพัฒนา (Sunk Cost) 3,087 ไร่ วางแผนก่อสร้างให้เสร็จภายใน 4 ปี ภายใต้รูปแบบโครงการที่หลากหลาย
การเคหะแห่งชาติเตรียมปิดมหากาพย์ 16 ปี โครงการ บ้านเอื้ออาทรจำนวน 281,556 หน่วย เหลือขายแค่หมื่นกว่าหน่วย เร่งสปีดให้จบโดยเร็ว ส่วนสินทรัพย์รอการพัฒนา (Sunk Cost) 3,087 ไร่ วางแผนก่อสร้างให้เสร็จภายใน 4 ปี ภายใต้รูปแบบโครงการที่หลากหลาย
ดร.ธัชพล กาญจนกูล ผู้ว่าการการเคหะแห่งชาติ เปิดเผยว่า การเคหะแห่งชาติใกล้บรรลุความสำเร็จในการดำเนินโครงการบ้านเอื้ออาทรครบถ้วนตามเป้าหมาย 281,556 หน่วย ตามมติคณะรัฐมนตรีที่ให้ปรับลดหน่วยก่อสร้างครั้งหลังสุด เมื่อวันที่ 30 มิถุนายน 2552 ปัจจุบันก่อสร้าง แล้วเสร็จ 280,790 หน่วย มียอดขาย 269,973 หน่วย คิดเป็น 96.15%
ส่วนที่เหลือจำนวน 10,817 หน่วยนั้น การเคหะแห่งชาติวางแนวทางการขายไว้หลายรูปแบบ เช่น เข้าร่วมโครงการบ้านล้านหลังของ ธอส. พร้อมอัดแคมเปญ ลด แลก แจก แถม รวมถึงจ้างเอกชนบริหารการขาย ให้ค่าตอบแทนผู้แนะนำลูกค้ามาซื้อโครงการ เช่าเพื่อซื้อ (Rent to Buy) ให้เอกชนเช่าเหมาอาคาร และขายในราคาพิเศษให้เป็นสวัสดิการหน่วยงานรัฐ เป็นต้น
"การดำเนินการโครงการในส่วนนี้จะพยายามเร่งรัดให้แล้วเสร็จโดยเร็ว เพราะเหลือหน่วยก่อสร้างและหน่วยขายไม่มาก"
ส่วนสินทรัพย์รอการพัฒนา (Sunk Cost) พื้นที่รวม 7,119 ไร่ ซึ่งชะลอโครงการบ้านเอื้ออาทรเดิมแล้วปรับเปลี่ยนรูปแบบโครงการให้สอดคล้องกับศักยภาพของที่ดินและความต้องการซื้อของประชาชนขณะนี้วางแผนพัฒนาแล้ว 4,032 ไร่ อยู่ระหว่างดำเนินการก่อสร้างที่อยู่อาศัย 35,641 หน่วย มียอดขาย แล้ว 27,525 หน่วย คิดเป็น 77.23% และอีก 3,087 ไร่ กำลังวางแผนพัฒนาในระยะ 4 ปี (พ.ศ.2562 - 2565) ในรูปแบบใหม่ๆ เช่น โครงการร่วมทุนภาคเอกชน (Joint Inverstment/Joint Operation) หรือบ้านสำหรับผู้สูงอายุ (Senior Complex) บ้านโครงเหล็กสำเร็จรูป (Smart Home) ลานตลาดหรือพื้นที่จัดประโยชน์
"โครงการที่พัฒนาแล้ว มีทำเลดี มีการปรับปรุงแบบที่ทันสมัย ซึ่งได้รับการตอบรับจากลูกค้าเป็นอย่างดี ส่วนโครงการที่จะพัฒนาในระยะ 4 ปีนับแต่นี้ ส่วนใหญ่กว่า 2,500 ไร่ มีศักยภาพดี มีการพัฒนารูปแบบให้เหมาะสมกับแต่ละกลุ่มเป้าหมาย ทำให้ขายง่ายขึ้น"
ขณะเดียวกัน การเคหะแห่งชาติได้เร่งรัดการก่อสร้างโครงการให้แล้วเสร็จโดยเร็วและเป็นไปตามแผนมากขึ้น โดยจำกัดว่าผู้รับเหมารายหนึ่งรับงานก่อสร้างได้ไม่เกิน 3 โครงการ เพื่อลดปัญหาการขาดแคลนแรงงานและขาดทุนทรัพย์ ซึ่งจะทำให้การก่อสร้างเป็นไปอย่างมีคุณภาพเสร็จทันตามกำหนดและเปิดการขายได้ตามเป้าหมายที่วางไว้
โครงการบ้านเอื้ออาทรเกิดขึ้นตามมติ ครม. ปี 2546 มีจำนวนหน่วย ก่อสร้างรวม 601,727 หน่วย หลังจากนั้นในปี 2552 ครม.มีมติปรับลดลง เหลือ 281,556 หน่วย และ มติ ครม. ปี 2554 เห็นชอบแผนพลิกฟื้นองค์กร ในส่วนของแผนการบริหารสินทรัพย์รอการพัฒนา (Sunk Cost) เพื่อแก้ไขปัญหาหนี้สินระยะยาว และใช้ประโยชน์ในที่ดิน ซึ่งการเคหะแห่งชาติ ดำเนินการสรุปแนวทางในการแก้ไขปัญหาบ้านเอื้ออาทรที่ยืดเยื้อมาเป็นเวลานานให้สำเร็จลุล่วงภายในรัฐบาลนี้จนเข้าสู่การพัฒนาระยะสุดท้าย
ดร.ธัชพล กาญจนกูล ผู้ว่าการการเคหะแห่งชาติ เปิดเผยว่า การเคหะแห่งชาติใกล้บรรลุความสำเร็จในการดำเนินโครงการบ้านเอื้ออาทรครบถ้วนตามเป้าหมาย 281,556 หน่วย ตามมติคณะรัฐมนตรีที่ให้ปรับลดหน่วยก่อสร้างครั้งหลังสุด เมื่อวันที่ 30 มิถุนายน 2552 ปัจจุบันก่อสร้าง แล้วเสร็จ 280,790 หน่วย มียอดขาย 269,973 หน่วย คิดเป็น 96.15%
ส่วนที่เหลือจำนวน 10,817 หน่วยนั้น การเคหะแห่งชาติวางแนวทางการขายไว้หลายรูปแบบ เช่น เข้าร่วมโครงการบ้านล้านหลังของ ธอส. พร้อมอัดแคมเปญ ลด แลก แจก แถม รวมถึงจ้างเอกชนบริหารการขาย ให้ค่าตอบแทนผู้แนะนำลูกค้ามาซื้อโครงการ เช่าเพื่อซื้อ (Rent to Buy) ให้เอกชนเช่าเหมาอาคาร และขายในราคาพิเศษให้เป็นสวัสดิการหน่วยงานรัฐ เป็นต้น
"การดำเนินการโครงการในส่วนนี้จะพยายามเร่งรัดให้แล้วเสร็จโดยเร็ว เพราะเหลือหน่วยก่อสร้างและหน่วยขายไม่มาก"
ส่วนสินทรัพย์รอการพัฒนา (Sunk Cost) พื้นที่รวม 7,119 ไร่ ซึ่งชะลอโครงการบ้านเอื้ออาทรเดิมแล้วปรับเปลี่ยนรูปแบบโครงการให้สอดคล้องกับศักยภาพของที่ดินและความต้องการซื้อของประชาชนขณะนี้วางแผนพัฒนาแล้ว 4,032 ไร่ อยู่ระหว่างดำเนินการก่อสร้างที่อยู่อาศัย 35,641 หน่วย มียอดขาย แล้ว 27,525 หน่วย คิดเป็น 77.23% และอีก 3,087 ไร่ กำลังวางแผนพัฒนาในระยะ 4 ปี (พ.ศ.2562 - 2565) ในรูปแบบใหม่ๆ เช่น โครงการร่วมทุนภาคเอกชน (Joint Inverstment/Joint Operation) หรือบ้านสำหรับผู้สูงอายุ (Senior Complex) บ้านโครงเหล็กสำเร็จรูป (Smart Home) ลานตลาดหรือพื้นที่จัดประโยชน์
"โครงการที่พัฒนาแล้ว มีทำเลดี มีการปรับปรุงแบบที่ทันสมัย ซึ่งได้รับการตอบรับจากลูกค้าเป็นอย่างดี ส่วนโครงการที่จะพัฒนาในระยะ 4 ปีนับแต่นี้ ส่วนใหญ่กว่า 2,500 ไร่ มีศักยภาพดี มีการพัฒนารูปแบบให้เหมาะสมกับแต่ละกลุ่มเป้าหมาย ทำให้ขายง่ายขึ้น"
ขณะเดียวกัน การเคหะแห่งชาติได้เร่งรัดการก่อสร้างโครงการให้แล้วเสร็จโดยเร็วและเป็นไปตามแผนมากขึ้น โดยจำกัดว่าผู้รับเหมารายหนึ่งรับงานก่อสร้างได้ไม่เกิน 3 โครงการ เพื่อลดปัญหาการขาดแคลนแรงงานและขาดทุนทรัพย์ ซึ่งจะทำให้การก่อสร้างเป็นไปอย่างมีคุณภาพเสร็จทันตามกำหนดและเปิดการขายได้ตามเป้าหมายที่วางไว้
โครงการบ้านเอื้ออาทรเกิดขึ้นตามมติ ครม. ปี 2546 มีจำนวนหน่วย ก่อสร้างรวม 601,727 หน่วย หลังจากนั้นในปี 2552 ครม.มีมติปรับลดลง เหลือ 281,556 หน่วย และ มติ ครม. ปี 2554 เห็นชอบแผนพลิกฟื้นองค์กร ในส่วนของแผนการบริหารสินทรัพย์รอการพัฒนา (Sunk Cost) เพื่อแก้ไขปัญหาหนี้สินระยะยาว และใช้ประโยชน์ในที่ดิน ซึ่งการเคหะแห่งชาติ ดำเนินการสรุปแนวทางในการแก้ไขปัญหาบ้านเอื้ออาทรที่ยืดเยื้อมาเป็นเวลานานให้สำเร็จลุล่วงภายในรัฐบาลนี้จนเข้าสู่การพัฒนาระยะสุดท้าย
ข่าวโครงการอสังหาฯ ภาครัฐ อื่นๆ