หุ้นกู้อสังหาดอกพุ่ง
Loading

หุ้นกู้อสังหาดอกพุ่ง

วันที่ : 21 มกราคม 2562
รายงานข่าวจากธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยว่า ได้ติดตามความเคลื่อนไหวของหุ้นกู้ที่จะครบกำหนดไถ่ถอนในช่วงปี 2562-2563 ของกลุ่มอสังหาริมทรัพย์ พบว่าต้นทุนการระดมทุนมีแนวโน้มสูงขึ้น จากอัตราดอกเบี้ยอยู่ในภาวะขาขึ้น โดยเฉพาะหุ้นกู้ที่ไม่มีอันดับความน่าเชื่อถือที่ ผู้ออกตราสารอาจมีความเสี่ยงมากกว่ากลุ่มอื่นๆ ที่จะประสบปัญหาในการ ออกตราสารใหม่ ทดแทนตราสารหนี้เดิมที่ครบกำหนด
          ธปท.จับตาหุ้นกู้ครบกำหนดไถ่ถอน หวั่นกลุ่มอสังหาริมทรัพย์ต้นทุนพุ่งหลังดอกเบี้ยในประเทศขยับ

          รายงานข่าวจากธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยว่า ได้ติดตามความเคลื่อนไหวของหุ้นกู้ที่จะครบกำหนดไถ่ถอนในช่วงปี 2562-2563 ของกลุ่มอสังหาริมทรัพย์ พบว่าต้นทุนการระดมทุนมีแนวโน้มสูงขึ้น จากอัตราดอกเบี้ยอยู่ในภาวะขาขึ้น โดยเฉพาะหุ้นกู้ที่ไม่มีอันดับความน่าเชื่อถือที่ ผู้ออกตราสารอาจมีความเสี่ยงมากกว่ากลุ่มอื่นๆ ที่จะประสบปัญหาในการ ออกตราสารใหม่ ทดแทนตราสารหนี้เดิมที่ครบกำหนด

          ขณะที่บางบริษัทมีอัตราส่วนหนี้สินต่อส่วนของผู้ถือหุ้นค่อนข้างสูง ซึ่งอาจมีผลต่อการพิจารณาให้สินเชื่อของสถาบันการเงิน หรือการออกหุ้นกู้ใหม่มาทดแทนหุ้นกู้เดิมที่หมดอายุในระยะต่อไปได้ หากอัตราดอกเบี้ยในตลาดมีแนวโน้มปรับเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ก็จะกระทบต่อต้นทุนทางการเงินเช่นกัน

          "9 เดือนแรกปี 2561 มีธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ออกหุ้นกู้เพื่อขยายธุรกิจ 1.72 แสนล้านบาท เพิ่มขึ้น 19% จากช่วงเดียวกันของปี 2560 แต่เป็นการออกหุ้นกู้ในช่วงอายุมากกว่า 1 ปี 1 แสนล้านบาท เพิ่มขึ้น 27.6% เมื่อเปรียบเทียบกับปีก่อน" รายงานข่าวระบุ

          ด้านสมาคมตลาดตราสารหนี้ไทย (Thai BMA) เปิดเผยว่า อัตราดอกเบี้ยในตลาดโลกมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างชัดเจนในปีนี้ จากการทยอยปรับขึ้นดอกเบี้ยนโยบายของธนาคารกลางสหรัฐ และธนาคารกลางต่างๆ ทั่วโลก ในขณะที่ ธปท.ก็ขึ้นดอกเบี้ยเช่นกัน ในภาวะดอกเบี้ยขาขึ้นแบบนี้จะมีผล กระทบถึงธุรกิจภาคเอกชนที่กำลังจะระดมทุนด้วยการออกหุ้นกู้และผู้ที่ออกหุ้นกู้ไปแล้วจะครบกำหนดไถ่ถอนใน ปีนี้อาจมีต้นทุนที่เพิ่มขึ้น

          ทั้งนี้ มีหุ้นกู้เอกชนที่จะครบกำหนดอายุไถ่ถอนปีนี้ร่วม 5.68 แสนล้านบาท หรือ 16% ของมูลค่าคงค้างตลาดหุ้นกู้ 3.5 ล้านล้านบาท ถือว่ามีมูลค่าสูงกว่าทุกปีที่ผ่านมา

          อย่างไรก็ตาม 94% หรือ 5.25 แสนล้านบาท เป็นหุ้นกู้ที่มีเรตติ้งในระดับที่น่าลงทุนกว่า 4.5 แสนล้านบาท เครดิต A- และหุ้นกู้อันดับ BBB-, BBB, BBB+ ประมาณ 8 หมื่นล้านบาท ส่วน 7% หรือประมาณ 3.7 หมื่นล้านบาท เป็นหุ้นกู้ไม่มีเรตติ้ง โดย 1.95 หมื่นล้านบาท อยู่ในภาคอสังหาริมทรัพย์

          น.ส.อริยา ติรณะประกิจ รองกรรมการผู้จัดการสมาคมตลาดตราสารหนี้ กล่าวว่า การครบกำหนดชำระของหุ้นกู้จะไม่มีผลทำให้สภาพคล่องในระบบลดลง สภาพคล่องที่มีอยู่รองรับได้
 
ข่าวนโยบายการเงิน-การคลัง อื่นๆ