ธปท.สั่งแบงก์รัฐตรวจเข้มบัญชีก่อนปล่อยเงินกู้
วันที่ : 2 เมษายน 2561
ธปท.หนุนแบงก์เฉพาะกิจเพิ่มความสำคัญดูบัญชีและงบลูกค้าแสดงกรมสรรพากรสอดคล้องมาตรการบัญชีเดียว มีผล 1 ม.ค. 2562
นายวิรไท สันติประภพ ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยว่า ได้ส่งหนังสือเวียนไปยังสถาบันการเงินเฉพาะกิจทุกแห่ง แจ้งแนวนโยบาย ธปท. เรื่องการทำธุรกรรมด้านสินเชื่อ การลงทุนในหลักทรัพย์ และการขายสินทรัพย์ของสถาบันการเงินเฉพาะกิจ ที่ได้ปรับปรุงใหม่ กำหนดให้สถาบันการเงินเฉพาะกิจเพิ่มความสำคัญต่อบัญชีและงบการเงินที่ลูกค้าแสดงต่อกรมสรรพากรในการยื่นภาษีเงินได้ ให้ถือว่าเป็นปัจจัยสำคัญใช้พิจารณาความสามารถการชำระหนี้และระดับความเสี่ยงของลูกค้า ที่จะสะท้อนศักยภาพการดำเนินงานและการขยายธุรกิจมาร่วมพิจารณาด้วย
ทั้งนี้ แนวนโยบายใหม่นี้มีผลบังคับใช้สำหรับสินเชื่อที่สถาบันการเงินเฉพาะกิจอนุมัติหรือทบทวนตั้งแต่วันที่ 1 ม.ค. 2562 เป็นต้นไป เพื่อส่งเสริมให้บริษัทจัดทำบัญชีและงบการเงินสะท้อนสภาพที่แท้จริงของกิจการมากขึ้น สอดคล้องกับนโยบายของภาครัฐในการเพิ่มประสิทธิภาพระบบจัดเก็บภาษีเงินได้ โดยแนวนโยบายนี้ได้แบ่งแยกอำนาจ หน้าที่ และกำหนดผู้รับผิดชอบที่ชัดเจนเหมาะสม มีเอกสารประกอบการพิจารณาการทำธุรกรรมด้านสินเชื่อ เพื่อประโยชน์ในการดำเนินกิจการของสถาบันการเงินเฉพาะกิจให้มีประสิทธิภาพ
ขณะเดียวกันนโยบายนี้จะครอบคลุมการใช้กับลูกค้าเดิม ในส่วนของการทบทวนวงเงินเดิมสินเชื่อเดิม รวมถึงพิจารณาให้วงเงินสินเชื่อใหม่และลูกค้าใหม่ ในส่วนของการพิจารณาวงเงินสินเชื่อใหม่ สำหรับบริษัทที่จัดตั้งใหม่และยังไม่จัดส่งงบการเงินให้กรมสรรพากรนั้น ให้สถาบันการเงินเฉพาะกิจพิจารณาความสามารถชำระหนี้จากข้อมูลทางการเงินที่แสดงถึงฐานะและผลการดำเนินงานของลูกหนี้ตลอดจนปัจจัยเชิงปริมาณและคุณภาพที่เกี่ยวข้องกับความสามารถชำระหนี้ ที่มีเอกสารหลักฐานชัดเจนและน่าเชื่อถือ
อย่างไรก็ตาม หากลูกหนี้ธุรกิจ ดังกล่าวมีงบการเงินที่ยื่นต่อกรมสรรพากรแล้ว ให้สถาบันการเงินเฉพาะกิจนำงบการเงินดังกล่าวมาใช้พิจารณาทบทวนความสามารถชำระหนี้ของลูกหนี้รายดังกล่าวด้วย
นอกจากนี้ สถาบันการเงินเฉพาะกิจควรจัดทำนโยบาย กระบวนการ ระเบียบวิธีปฏิบัติ และหลักเกณฑ์ เงื่อนไขการทำธุรกรรมด้านสินเชื่อและการบริหารความเสี่ยงด้านเครดิต โดยให้ความสำคัญต่อบัญชีและงบการเงินของลูกค้าที่เป็นบริษัทและห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่แสดงต่อกรมสรรพากรในการยื่นรายการภาษีเงินได้ที่สะท้อนถึงสภาพที่แท้จริงของกิจการลูกค้า และถือเป็นปัจจัยสำคัญพิจารณาความเสี่ยงของลูกค้า ที่จะนำไปพิจารณากำหนดวงเงินและอัตราดอกเบี้ยที่สอดคล้องกับความเสี่ยงด้วย
ทั้งนี้ แนวนโยบายใหม่นี้มีผลบังคับใช้สำหรับสินเชื่อที่สถาบันการเงินเฉพาะกิจอนุมัติหรือทบทวนตั้งแต่วันที่ 1 ม.ค. 2562 เป็นต้นไป เพื่อส่งเสริมให้บริษัทจัดทำบัญชีและงบการเงินสะท้อนสภาพที่แท้จริงของกิจการมากขึ้น สอดคล้องกับนโยบายของภาครัฐในการเพิ่มประสิทธิภาพระบบจัดเก็บภาษีเงินได้ โดยแนวนโยบายนี้ได้แบ่งแยกอำนาจ หน้าที่ และกำหนดผู้รับผิดชอบที่ชัดเจนเหมาะสม มีเอกสารประกอบการพิจารณาการทำธุรกรรมด้านสินเชื่อ เพื่อประโยชน์ในการดำเนินกิจการของสถาบันการเงินเฉพาะกิจให้มีประสิทธิภาพ
ขณะเดียวกันนโยบายนี้จะครอบคลุมการใช้กับลูกค้าเดิม ในส่วนของการทบทวนวงเงินเดิมสินเชื่อเดิม รวมถึงพิจารณาให้วงเงินสินเชื่อใหม่และลูกค้าใหม่ ในส่วนของการพิจารณาวงเงินสินเชื่อใหม่ สำหรับบริษัทที่จัดตั้งใหม่และยังไม่จัดส่งงบการเงินให้กรมสรรพากรนั้น ให้สถาบันการเงินเฉพาะกิจพิจารณาความสามารถชำระหนี้จากข้อมูลทางการเงินที่แสดงถึงฐานะและผลการดำเนินงานของลูกหนี้ตลอดจนปัจจัยเชิงปริมาณและคุณภาพที่เกี่ยวข้องกับความสามารถชำระหนี้ ที่มีเอกสารหลักฐานชัดเจนและน่าเชื่อถือ
อย่างไรก็ตาม หากลูกหนี้ธุรกิจ ดังกล่าวมีงบการเงินที่ยื่นต่อกรมสรรพากรแล้ว ให้สถาบันการเงินเฉพาะกิจนำงบการเงินดังกล่าวมาใช้พิจารณาทบทวนความสามารถชำระหนี้ของลูกหนี้รายดังกล่าวด้วย
นอกจากนี้ สถาบันการเงินเฉพาะกิจควรจัดทำนโยบาย กระบวนการ ระเบียบวิธีปฏิบัติ และหลักเกณฑ์ เงื่อนไขการทำธุรกรรมด้านสินเชื่อและการบริหารความเสี่ยงด้านเครดิต โดยให้ความสำคัญต่อบัญชีและงบการเงินของลูกค้าที่เป็นบริษัทและห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่แสดงต่อกรมสรรพากรในการยื่นรายการภาษีเงินได้ที่สะท้อนถึงสภาพที่แท้จริงของกิจการลูกค้า และถือเป็นปัจจัยสำคัญพิจารณาความเสี่ยงของลูกค้า ที่จะนำไปพิจารณากำหนดวงเงินและอัตราดอกเบี้ยที่สอดคล้องกับความเสี่ยงด้วย
ข่าวนโยบายการเงิน-การคลัง อื่นๆ