14แบงก์นำร่องหนังสือค้ำฯ อิเล็กทรอนิกส์ ลดกระดาษ
วันที่ : 20 มีนาคม 2561
ธนาคารในไทยทั้ง 14 แห่งจับมือรัฐวิสาหกิจและองค์กรธุรกิจใหญ่ 7 แห่งจัดทำโครงการไทยแลนด์ บลอคเชนคอมมิวนิตี้ อินิติอะทีฟ
นายปรีดี ดาวฉาย ประธานสมาคมธนาคารไทย เปิดเผยว่า ธนาคารในไทยทั้ง 14 แห่งจับมือรัฐวิสาหกิจและองค์กรธุรกิจใหญ่ 7 แห่งจัดทำโครงการไทยแลนด์ บลอคเชนคอมมิวนิตี้ อินิติอะทีฟ เพื่อนำเทคโนโลยีบลอคเชนมาพัฒนาเพิ่มประสิทธิภาพและความสามารถในการแข่งขันทางธุรกิจของประเทศโดยเริ่มต้นด้วยการใช้หนังสือค้ำประกันอิเล็กทรอนิกส์ซึ่งจะต่อยอดในการลดใช้เอกสารรูปแบบของกระดาษในอนาคตและยังทำให้ลดค่าใช้จ่ายได้ถึง 2 เท่าโดยคาดว่าจะเริ่มใช้ในไตรมาสที่ 3 ปีนี้
สำหรับการลดใช้เอกสารรูปแบบของกระดาษมาเป็นรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ผ่านระบบบลอคเชนจะมีความปลอดภัยสูง ตรวจสอบได้ง่ายปลอมแปลงได้ยาก สะดวกรวดเร็วกว่ารูปแบบเดิมซึ่งสามารถเข้าตรวจสอบได้ทุกที่ ทุกเวลาและจะบันทึกประวัติเป็นห่วงโซ่แบบอัตโนมัติทุกครั้งที่มีการเปลี่ยนแปลงทำให้เกิดการเชื่อมต่อไปยังเครือข่ายธนาคารและภาคธุรกิจต่าง ๆ เพิ่มขึ้นได้ในอนาคต โดยปีที่ผ่านมาได้ออกหนังสือค้ำประกันผ่านระบบธนาคารพาณิชย์มูลค่ารวมกว่า 1.35 ล้านล้านบาท คิดเป็น 500,000 ฉบับ
นอกจากนี้ยังเป็นการใช้เทคโนโลยีบลอคเชนผ่านระบบคลาวด์ เทคโนโลยีซึ่งจะช่วยให้ผู้ใช้งานมีความคล่องตัวสูงเพราะสามารถกำหนดการตั้งค่าใช้งานได้หลากหลายมากขึ้นรองรับการทำธุรกรรมและตรวจสอบได้ 24 ชั่วโมง
นายวิรไท สันติประภพ ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) กล่าวว่าความร่วมมือในครั้งนี้จะก่อให้เกิดประโยชน์ต่อภาพรวมของเศรษฐกิจไทยทั้งใน ภาคธนาคารที่เข้าร่วมโครงการและภาคธุรกิจโดยการใช้เทคโนโลยีบลอคเชนที่สามารถเปลี่ยนรูปแบบการทำธุรกรรมทางการเงินในหลายมิติและเพิ่มประสิทธิภาพรวมถึงลดต้นทุนในการให้บริการขณะเดียวกันภาคธุรกิจจะ ช่วยลดความซ้ำซ้อนในการเชื่อมต่อบริการเดียวกันที่มีกับต่างธนาคารสามารถตรวจสอบข้อมูลในระบบเครือข่ายที่ใช้งานร่วมกันลดความเสี่ยงการปลอมแปลงข้อมูลเพิ่ม ความรวดเร็วและความปลอดภัยในการใช้งานและยังเป็น การเพิ่มศักยภาพและยกระดับขีดความสามารถการแข่งขันของประเทศให้สูงขึ้น
สำหรับธนาคาร 14 แห่ง เช่น กรุงเทพ, กรุงไทย, กรุงศรีอยุธยา, กสิกรไทย, เกียรตินาคิน, ซีไอเอ็มบีไทย, ทหารไทย, ทิสโก้, ไทยพาณิชย์, ธนชาต, ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร, ยูโอบี, ธนาคารสแตนดาร์ดชาร์เตอร์ด (ไทย), ออมสิน และธุรกิจขนาดใหญ่ เช่น การไฟฟ้านครหลวง, การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค, การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย, บมจ.พีทีทีโกลบอล เคมิคอล เครือปูนซิเมนต์ไทย มีบริษัทผู้เชี่ยวชาญที่ช่วยสนับสนุนด้านเทคโนโลยี
สำหรับการลดใช้เอกสารรูปแบบของกระดาษมาเป็นรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ผ่านระบบบลอคเชนจะมีความปลอดภัยสูง ตรวจสอบได้ง่ายปลอมแปลงได้ยาก สะดวกรวดเร็วกว่ารูปแบบเดิมซึ่งสามารถเข้าตรวจสอบได้ทุกที่ ทุกเวลาและจะบันทึกประวัติเป็นห่วงโซ่แบบอัตโนมัติทุกครั้งที่มีการเปลี่ยนแปลงทำให้เกิดการเชื่อมต่อไปยังเครือข่ายธนาคารและภาคธุรกิจต่าง ๆ เพิ่มขึ้นได้ในอนาคต โดยปีที่ผ่านมาได้ออกหนังสือค้ำประกันผ่านระบบธนาคารพาณิชย์มูลค่ารวมกว่า 1.35 ล้านล้านบาท คิดเป็น 500,000 ฉบับ
นอกจากนี้ยังเป็นการใช้เทคโนโลยีบลอคเชนผ่านระบบคลาวด์ เทคโนโลยีซึ่งจะช่วยให้ผู้ใช้งานมีความคล่องตัวสูงเพราะสามารถกำหนดการตั้งค่าใช้งานได้หลากหลายมากขึ้นรองรับการทำธุรกรรมและตรวจสอบได้ 24 ชั่วโมง
นายวิรไท สันติประภพ ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) กล่าวว่าความร่วมมือในครั้งนี้จะก่อให้เกิดประโยชน์ต่อภาพรวมของเศรษฐกิจไทยทั้งใน ภาคธนาคารที่เข้าร่วมโครงการและภาคธุรกิจโดยการใช้เทคโนโลยีบลอคเชนที่สามารถเปลี่ยนรูปแบบการทำธุรกรรมทางการเงินในหลายมิติและเพิ่มประสิทธิภาพรวมถึงลดต้นทุนในการให้บริการขณะเดียวกันภาคธุรกิจจะ ช่วยลดความซ้ำซ้อนในการเชื่อมต่อบริการเดียวกันที่มีกับต่างธนาคารสามารถตรวจสอบข้อมูลในระบบเครือข่ายที่ใช้งานร่วมกันลดความเสี่ยงการปลอมแปลงข้อมูลเพิ่ม ความรวดเร็วและความปลอดภัยในการใช้งานและยังเป็น การเพิ่มศักยภาพและยกระดับขีดความสามารถการแข่งขันของประเทศให้สูงขึ้น
สำหรับธนาคาร 14 แห่ง เช่น กรุงเทพ, กรุงไทย, กรุงศรีอยุธยา, กสิกรไทย, เกียรตินาคิน, ซีไอเอ็มบีไทย, ทหารไทย, ทิสโก้, ไทยพาณิชย์, ธนชาต, ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร, ยูโอบี, ธนาคารสแตนดาร์ดชาร์เตอร์ด (ไทย), ออมสิน และธุรกิจขนาดใหญ่ เช่น การไฟฟ้านครหลวง, การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค, การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย, บมจ.พีทีทีโกลบอล เคมิคอล เครือปูนซิเมนต์ไทย มีบริษัทผู้เชี่ยวชาญที่ช่วยสนับสนุนด้านเทคโนโลยี
ข่าวนโยบายการเงิน-การคลัง อื่นๆ