สถานการณ์ตลาดที่อยู่อาศัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ปี 2565 สินค้าใหม่เพิ่มกว่า 60.3% ระวังหน่วยเหลือขายฉุดตลาด
วันที่ : 23 มีนาคม 2565
รายงานสรุปผลการสำรวจอุปทานและอุปสงค์ของโครงการที่อยู่อาศัยที่อยู่ระหว่างการขายในช่วงครึ่งหลังปี 2564 พื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ได้แก่ จังหวัดนครราชสีมา จังหวัดขอนแก่น จังหวัดอุดรธานี จังหวัดอุบลราชธานี และจังหวัดมหาสารคาม โดยนับเฉพาะโครงการที่มีหน่วยเหลือขายไม่ต่ำกว่า 6 หน่วย
ศูนย์ข้อมูลอสังหาริมทรัพย์ รายงานสรุปผลการสำรวจอุปทานและอุปสงค์ของโครงการที่อยู่อาศัยที่อยู่ระหว่างการขายในช่วงครึ่งหลังปี 2564 พื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ได้แก่ จังหวัดนครราชสีมา จังหวัดขอนแก่น จังหวัดอุดรธานี จังหวัดอุบลราชธานี และจังหวัดมหาสารคาม โดยนับเฉพาะโครงการที่มีหน่วยเหลือขายไม่ต่ำกว่า 6 หน่วย จากการสำรวจตลาดที่อยู่อาศัยในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ พบว่า ณ สิ้นปี 2564 มีจำนวนที่อยู่อาศัยที่อยู่ระหว่างเสนอขายจำนวนทั้งสิ้น 285 โครงการ จำนวน 12,271 หน่วย คิดเป็นมูลค่า 42,565 ล้านบาท จำนวนหน่วยลดลงจากช่วงเดียวกันของปี 2563 ร้อยละ -9.1 มูลค่าลดลงจากช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้าร้อยละ -10.5 มีโครงการที่เปิดขายใหม่ในช่วงครึ่งปีหลังเพียง 867 หน่วย มูลค่า 2,897 ล้าน ส่งผลให้มีหน่วยเหลือขายในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มีจำนวนรวมทั้งสิ้น 10,439 หน่วย ลดลงจากช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้าร้อยละ -15.6 มีมูลค่าหน่วยเหลือขายรวม 36,095 ล้านบาท ลดลงจากช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้าร้อยละ -17.9
ทั้งนี้ การเคลื่อนไหวด้านการขาย พบว่ามีหน่วยที่ขายได้ใหม่ในช่วงครึ่งหลังปี 2564 จำนวน 1,832 หน่วย เพิ่มขึ้นร้อยละ 61.4 มูลค่าขายได้ใหม่จำนวน 6,470 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 80.5 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้า โดย ส่งผลให้ภาพรวมมีอัตราดูดซับดีขึ้นเล็กน้อย โดยปรับขึ้นจากร้อยละ 1.4 ในช่วงปลายปี 2563 เพิ่มเป็นร้อยละ 2.5 ในช่วงปลายปี 2564
ดร.วิชัย วิรัตกพันธ์ ผู้ตรวจการธนาคารอาคารสงเคราะห์และรักษาการผู้อำนวยการศูนย์ข้อมูลอสังหาริมทรัพย์ กล่าวว่าในช่วง 2 ปีที่ผ่านมาภายใต้การแพร่ระบาดของ COVID-19 การลงทุนพัฒนาโครงการที่อยู่อาศัยในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างมากทั้งในด้านอุปสงค์ และอุปทาน เมื่อเข้าสู่ช่วงครึ่งหลังของปี 2564 สถานการณ์โดยรวมเริ่มกลับเข้าสู่ช่วงการฟื้นตัว เมื่อผู้ประกอบการลดการเติมอุปทานใหม่เข้ามาในตลาด ส่งผลให้อัตราดูดซับเริ่มดีขึ้น โครงการเหลือขายลดจำนวนลง
ทั้งนี้ การเคลื่อนไหวด้านการขาย พบว่ามีหน่วยที่ขายได้ใหม่ในช่วงครึ่งหลังปี 2564 จำนวน 1,832 หน่วย เพิ่มขึ้นร้อยละ 61.4 มูลค่าขายได้ใหม่จำนวน 6,470 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 80.5 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้า โดย ส่งผลให้ภาพรวมมีอัตราดูดซับดีขึ้นเล็กน้อย โดยปรับขึ้นจากร้อยละ 1.4 ในช่วงปลายปี 2563 เพิ่มเป็นร้อยละ 2.5 ในช่วงปลายปี 2564
ดร.วิชัย วิรัตกพันธ์ ผู้ตรวจการธนาคารอาคารสงเคราะห์และรักษาการผู้อำนวยการศูนย์ข้อมูลอสังหาริมทรัพย์ กล่าวว่าในช่วง 2 ปีที่ผ่านมาภายใต้การแพร่ระบาดของ COVID-19 การลงทุนพัฒนาโครงการที่อยู่อาศัยในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างมากทั้งในด้านอุปสงค์ และอุปทาน เมื่อเข้าสู่ช่วงครึ่งหลังของปี 2564 สถานการณ์โดยรวมเริ่มกลับเข้าสู่ช่วงการฟื้นตัว เมื่อผู้ประกอบการลดการเติมอุปทานใหม่เข้ามาในตลาด ส่งผลให้อัตราดูดซับเริ่มดีขึ้น โครงการเหลือขายลดจำนวนลง
สามารถดาวน์โหลดได้ที่นี่
PRESS RELEASE อื่นๆ