ถอดรหัสตลาดที่อยู่อาศัยEEC จุดเปลี่ยน หรือ จุดพักใหญ่?
วันที่ : 20 เมษายน 2568
ศูนย์ข้อมูลอสังหาริมทรัพย์ ระบุว่า ที่อยู่อาศัยแนวราบ ยังคงเป็นขวัญใจของผู้บริโภค ด้วยสัดส่วนถึง 68.8% ของการโอนกรรมสิทธิ์ทั้งหมด
ถอดรหัสตลาดที่อยู่อาศัย EEC จุดเปลี่ยน หรือ จุดพักใหญ่ หลังโอนกรรมสิทธิ์ที่อยู่อาศัยส่งสัญญาณชะลอตัวจากปีก่อนหน้าทั้งในแง่จำนวนและมูลค่าติดลบ 6.7% และ7.8% ตามลำดับ
พื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออก (EEC) เป็น "ขุมทรัพย์เมืองใหม่" ที่นักลงทุนไทยและต่างชาติสนใจ ทว่าตัวเลขจากการโอนกรรมสิทธิ์ที่อยู่อาศัยล่าสุดได้สะท้อนว่าภาพเศรษฐกิจไม่ได้โตแบบก้าวกระโดดเหมือนในอดีตอีกต่อไป!โดยในปี 2567 มีการโอนกรรมสิทธิ์ที่อยู่อาศัยรวม 48,095 หน่วย คิดเป็นมูลค่า 119,663 ล้านบาท"ลดลง"จากปีก่อนหน้าทั้งในแง่จำนวน -6.7% และมูลค่า -7.8% ซึ่งนับเป็นการส่งสัญญาณการชะลอตัวที่ต้องจับตามอง!
แนวราบครองตลาดแต่ชะลอตัว
ตัวเลขจาก ศูนย์ข้อมูลอสังหาริมทรัพย์ ระบุว่า ที่อยู่อาศัยแนวราบ ยังคงเป็นขวัญใจของผู้บริโภค ด้วยสัดส่วนถึง 68.8% ของการโอนกรรมสิทธิ์ทั้งหมด แต่ก็ลดลงถึง -8.7% ในด้านจำนวน และ -6.3% ในด้านมูลค่า เทียบกับปี 2566 ส่วน อาคารชุด/คอนโด แม้จะครองสัดส่วน 31.2% แต่ก็ไม่ได้รอดพ้นภาวะตกต่ำ ลดลง -1.9% ในจำนวน และหนักถึง -11.1% ในมูลค่า
การลดลงนี้ ไม่ได้สะท้อนแค่กำลังซื้อที่ลดลง แต่ยังอาจชี้ให้เห็นถึง การเปลี่ยนพฤติกรรมผู้บริโภค ที่ระมัดระวังมากขึ้น พร้อมเลือกลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ที่ “ตอบโจทย์” มากกว่าแค่ทำเลดีหรือราคาโดนใจ
ชลบุรี รั้งแชมป์
เมื่อแยกดูตามจังหวัดชลบุรี ยังคงเป็น "แม่เหล็กหลัก" ของ EEC ด้วยยอดการโอนกรรมสิทธิ์ 32,797 หน่วย มูลค่า 85,983 ล้านบาท ถึงแม้จะลดลงจากปีก่อนหน้า แต่ยังคงนำโด่ง เหตุผลคือการเป็นศูนย์กลางของอุตสาหกรรม เทคโนโลยี และแหล่งงาน ทาวน์เฮ้าส์ยังคงได้รับความนิยมสูงสุดในชลบุรี คิดเป็นกว่า 7,875 หน่วย สะท้อนภาพของผู้ซื้อกลุ่ม middle-class ที่ยังคงมองหา "บ้านในเขตอุตสาหกรรม" ที่จับต้องได้
ระยอง – ฉะเชิงเทราทรงตัว
ระยองและฉะเชิงเทรามีสัญญาณ "หดตัว" โดยเฉพาะฉะเชิงเทราที่ลดลงถึง -16% ในด้านจำนวน และ -17.1% ในด้านมูลค่า ซึ่งอาจสะท้อนถึงข้อจำกัดเชิงโครงสร้างพื้นฐาน และความสามารถในการดึงดูดประชากรแฝงที่น้อยกว่าชลบุรี
บ้านใหม่ vs มือสอง
แม้ในแง่จำนวน บ้านมือสองจะยังคงเหนือกว่าบ้านใหม่สัดส่วน 59:41 แต่มูลค่าการโอนเริ่มใกล้เคียงกันบ้านใหม่ 49% vs มือสอง 51% ซึ่งอาจบอกเราได้อย่างหนึ่งว่า "บ้านใหม่กำลังกลายเป็นของที่น่าลงทุน" มากขึ้นในสายตาผู้บริโภค ในปี 2567 มีการโอนกรรมสิทธิ์บ้านสร้างใหม่ 13,606 หน่วย 41,771 ล้านบาท ขณะที่บ้านมือสองอยู่ที่ 19,491 หน่วย 42,842 ล้านบาท แนวโน้มนี้อาจสะท้อนทั้งคุณภาพการก่อสร้างใหม่ ๆ ที่ตอบโจทย์มากขึ้น หรือแม้แต่โปรโมชั่นของผู้ประกอบการที่แข่งขันกันดุเดือดมากกว่าตลาดมือสอง
บ้าน2 –3 ล้านได้รับความนิยมสูงสุด
กลุ่มราคาที่ได้รับความนิยมมากที่สุดคือช่วง 2– 3 ล้านบาท ทั้งในแง่จำนวนและมูลค่า ซึ่งตอกย้ำว่า "กลุ่มชนชั้นกลาง" ยังเป็นแรงขับเคลื่อนสำคัญของตลาดอสังหาฯ แนวราบใน EEC โดยมีมูลค่าการโอนสูงถึง 26,743 ล้านบาท คิดเป็น 31.6% ของมูลค่าทั้งหมดในปี 2567แม้ภาพรวมของปี 2567 จะดูเป็นปีแห่งการ “พักฐาน” ของตลาด แต่คาดการณ์สำหรับปี 2568 กลับเต็มไปด้วยความหวัง ว่าจะมีการฟื้นตัวทั้งในแง่ จำนวน เพิ่มขึ้น 2.4% และ มูลค่า เพิ่มขึ้น 1.2%
โดยมีการคาดการณ์หน่วยโอนกรรมสิทธิ์อยู่ที่ 49,259 หน่วย และมูลค่ารวมราว 121,137 ล้านบาทนี่คือสัญญาณบวกเล็ก ๆ ว่าตลาดอาจกำลัง “ฟื้นตัวแบบค่อยเป็นค่อยไป” แทนที่จะกลับมาแบบพุ่งแรงในทันที
แม้เสียงแห่งความคึกคักของตลาดอสังหาริมทรัพย์ใน EEC จะเบาลงในปี 2567 แต่สำหรับนักลงทุนที่มองเห็น “โอกาส” มากกว่าแค่ “ราคา” ทำปีนี้อาจเป็นปีที่น่าจับตาไม่น้อยเพราะบางครั้ง ตลาดที่เงียบที่สุด ก็คือช่วงที่ให้ผลตอบแทนดีที่สุด... สำหรับคนที่ "มองออก"
พื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออก (EEC) เป็น "ขุมทรัพย์เมืองใหม่" ที่นักลงทุนไทยและต่างชาติสนใจ ทว่าตัวเลขจากการโอนกรรมสิทธิ์ที่อยู่อาศัยล่าสุดได้สะท้อนว่าภาพเศรษฐกิจไม่ได้โตแบบก้าวกระโดดเหมือนในอดีตอีกต่อไป!โดยในปี 2567 มีการโอนกรรมสิทธิ์ที่อยู่อาศัยรวม 48,095 หน่วย คิดเป็นมูลค่า 119,663 ล้านบาท"ลดลง"จากปีก่อนหน้าทั้งในแง่จำนวน -6.7% และมูลค่า -7.8% ซึ่งนับเป็นการส่งสัญญาณการชะลอตัวที่ต้องจับตามอง!
แนวราบครองตลาดแต่ชะลอตัว
ตัวเลขจาก ศูนย์ข้อมูลอสังหาริมทรัพย์ ระบุว่า ที่อยู่อาศัยแนวราบ ยังคงเป็นขวัญใจของผู้บริโภค ด้วยสัดส่วนถึง 68.8% ของการโอนกรรมสิทธิ์ทั้งหมด แต่ก็ลดลงถึง -8.7% ในด้านจำนวน และ -6.3% ในด้านมูลค่า เทียบกับปี 2566 ส่วน อาคารชุด/คอนโด แม้จะครองสัดส่วน 31.2% แต่ก็ไม่ได้รอดพ้นภาวะตกต่ำ ลดลง -1.9% ในจำนวน และหนักถึง -11.1% ในมูลค่า
การลดลงนี้ ไม่ได้สะท้อนแค่กำลังซื้อที่ลดลง แต่ยังอาจชี้ให้เห็นถึง การเปลี่ยนพฤติกรรมผู้บริโภค ที่ระมัดระวังมากขึ้น พร้อมเลือกลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ที่ “ตอบโจทย์” มากกว่าแค่ทำเลดีหรือราคาโดนใจ
ชลบุรี รั้งแชมป์
เมื่อแยกดูตามจังหวัดชลบุรี ยังคงเป็น "แม่เหล็กหลัก" ของ EEC ด้วยยอดการโอนกรรมสิทธิ์ 32,797 หน่วย มูลค่า 85,983 ล้านบาท ถึงแม้จะลดลงจากปีก่อนหน้า แต่ยังคงนำโด่ง เหตุผลคือการเป็นศูนย์กลางของอุตสาหกรรม เทคโนโลยี และแหล่งงาน ทาวน์เฮ้าส์ยังคงได้รับความนิยมสูงสุดในชลบุรี คิดเป็นกว่า 7,875 หน่วย สะท้อนภาพของผู้ซื้อกลุ่ม middle-class ที่ยังคงมองหา "บ้านในเขตอุตสาหกรรม" ที่จับต้องได้
ระยอง – ฉะเชิงเทราทรงตัว
ระยองและฉะเชิงเทรามีสัญญาณ "หดตัว" โดยเฉพาะฉะเชิงเทราที่ลดลงถึง -16% ในด้านจำนวน และ -17.1% ในด้านมูลค่า ซึ่งอาจสะท้อนถึงข้อจำกัดเชิงโครงสร้างพื้นฐาน และความสามารถในการดึงดูดประชากรแฝงที่น้อยกว่าชลบุรี
บ้านใหม่ vs มือสอง
แม้ในแง่จำนวน บ้านมือสองจะยังคงเหนือกว่าบ้านใหม่สัดส่วน 59:41 แต่มูลค่าการโอนเริ่มใกล้เคียงกันบ้านใหม่ 49% vs มือสอง 51% ซึ่งอาจบอกเราได้อย่างหนึ่งว่า "บ้านใหม่กำลังกลายเป็นของที่น่าลงทุน" มากขึ้นในสายตาผู้บริโภค ในปี 2567 มีการโอนกรรมสิทธิ์บ้านสร้างใหม่ 13,606 หน่วย 41,771 ล้านบาท ขณะที่บ้านมือสองอยู่ที่ 19,491 หน่วย 42,842 ล้านบาท แนวโน้มนี้อาจสะท้อนทั้งคุณภาพการก่อสร้างใหม่ ๆ ที่ตอบโจทย์มากขึ้น หรือแม้แต่โปรโมชั่นของผู้ประกอบการที่แข่งขันกันดุเดือดมากกว่าตลาดมือสอง
บ้าน2 –3 ล้านได้รับความนิยมสูงสุด
กลุ่มราคาที่ได้รับความนิยมมากที่สุดคือช่วง 2– 3 ล้านบาท ทั้งในแง่จำนวนและมูลค่า ซึ่งตอกย้ำว่า "กลุ่มชนชั้นกลาง" ยังเป็นแรงขับเคลื่อนสำคัญของตลาดอสังหาฯ แนวราบใน EEC โดยมีมูลค่าการโอนสูงถึง 26,743 ล้านบาท คิดเป็น 31.6% ของมูลค่าทั้งหมดในปี 2567แม้ภาพรวมของปี 2567 จะดูเป็นปีแห่งการ “พักฐาน” ของตลาด แต่คาดการณ์สำหรับปี 2568 กลับเต็มไปด้วยความหวัง ว่าจะมีการฟื้นตัวทั้งในแง่ จำนวน เพิ่มขึ้น 2.4% และ มูลค่า เพิ่มขึ้น 1.2%
โดยมีการคาดการณ์หน่วยโอนกรรมสิทธิ์อยู่ที่ 49,259 หน่วย และมูลค่ารวมราว 121,137 ล้านบาทนี่คือสัญญาณบวกเล็ก ๆ ว่าตลาดอาจกำลัง “ฟื้นตัวแบบค่อยเป็นค่อยไป” แทนที่จะกลับมาแบบพุ่งแรงในทันที
แม้เสียงแห่งความคึกคักของตลาดอสังหาริมทรัพย์ใน EEC จะเบาลงในปี 2567 แต่สำหรับนักลงทุนที่มองเห็น “โอกาส” มากกว่าแค่ “ราคา” ทำปีนี้อาจเป็นปีที่น่าจับตาไม่น้อยเพราะบางครั้ง ตลาดที่เงียบที่สุด ก็คือช่วงที่ให้ผลตอบแทนดีที่สุด... สำหรับคนที่ "มองออก"
ข่าว reic จากสื่อสิ่งพิมพ์ อื่นๆ