ลดโอนจดจำนองผ่อน LTV มาแพ็กคู่ เริ่ม 1 พ.ค.นี้ กู้วิกฤตอสังหาฯหลังแผ่นดินไหว
วันที่ : 8 เมษายน 2568
ธนาคารอาคารสงเคราะห์ (ธอส.) เปิดเผยว่า สถานการณ์การโอนที่อยู่อาศัย และคอนโดมิเนียม เริ่มกลับมาเป็นปกติแล้ว หลังจากเกิดเหตุสถานการณ์แผ่นดินไหว วันที่ 28 มีนาคม โดยมียอดโอน เฉลี่ยใกล้เคียงสถานการณ์ปกติวันละ 400 ราย หลังจากธนาคารและผู้ประกอบการคอนโดมิเนียม มีการร่วมมือกันเร่งสร้างความเชื่อมั่นตรวจรับรองว่าโครงสร้างอาคารมีความแข็งแกร่ง และสามารถเข้าอยู่อาศัยได้ก็ทำให้ลูกค้ามีความเชื่อมั่นมากขึ้น และกลับมาโอนเป็นปกติ
เศรษฐกิจโลกและเศรษฐกิจในประเทศขยายตัวต่ำ ตลาดอสังหาริมทรัพย์ซบเซา กำลังซื้อหดหาย โดยมีตัวแปรมาจากหนี้ครัวเรือนสูง ขณะสถาบันการเงินปฏิเสธการปล่อยสินเชื่อและลุกลามมาถึงกลุ่มระดับกลางบน ภาครัฐมีมาตรการกระตุ้นอสังหาริมทรัพย์ ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ออกมาตรการผ่อนคลายเกณฑ์ LTV กู้ได้ทุกราคาทุกสัญญาเต็ม 100% ตามราคาที่อยู่อาศัย มีผลวันที่ 1 พฤษภาคม2568 ถึงวันที่ 30 มิถุนายน2569 ขณะมาตรการลดค่าธรรมเนียมการโอนและลดจำนองคาดว่า มีกำหนดให้บังคับใช้ในช่วงเดียวกันกับมาตรการ LTV เพื่อเป็นแพ็กเกจคู่กระตุ้นกำลังซื้อกลุ่มที่ต้องการซื้อบ้าน อย่างไรก็ตามยังไม่ทันที่จะบังคับใช้มาตรการรัฐปรากฎว่าเกิดสถานการณ์แผ่นดินไหว ทุบซ้ำตลาดอสังหาริมทรัพย์ หลายฝ่ายประเมินกันว่า อาจนำมาซึ่งการชะลอซื้อ ชะลอโอนกรรมสิทธิ์ที่อยู่อาศัยหรือไม่ โดยเฉพาะคอนโดมิเนียม และหันมาซื้อที่อยู่อาศัยแนวราบกันมากขึ้น ขณะมาตรการดังกล่าวเข้ามาในจังหวะพอดีที่ดึงความสนใจ
ทั้งกลุ่มคนที่ต้องการที่อยู่อาศัยแนวราบที่หนีมาจากคอนโดมิเนียมสามารถกู้ได้ 100% ทุกสัญญา บ้านหลังที่ 1 หลังที่2 ขึ้นไปทุกระดับราคา แต่ทั้งนี้ประเมินว่า ความวิตกกังวลจากเหตุการณ์แผ่นดินไหวจะกลับเข้าสู่ภาวะปกติ สอดรับกับมาตรการที่ออกมา
นายพรนริศ ชวนไชยสิทธิ์ นายกสมาคมอสังหาริมทรัพย์ไทย เปิดเผย "ฐานเศรษฐกิจ" ว่าจะต้องใช้เวลาและแม้ว่าในระยะสั้น จะมีคนให้ความสนใจบ้านแนวราบมากขึ้นแต่ในที่สุดแล้วด้วย ไลฟ์สไตล์การใช้ชีวิตแบบคนเมือง ที่เลือกไม่ได้ทั้งบุตรหลานต้องไปโรงเรียน ขณะตัวเองต้องทำงานในเมืองการเดินทางที่ต้องพึ่งพารถไฟฟ้าเชื่อว่า จะกลับเข้าสู้ภาวะปกติ ในไม่ช้า
เช่นเดียวกับ นายสุนทร สถาพร นายกสมาคมธุรกิจบ้านจัดสรร ระบุว่า ยอมรับว่าเมื่อเกิดเหตุการณ์แผ่นดินไหว จะมี คนให้ความสนใจบ้านแนวราบจำนวนหนึ่ง รวมถึงบ้านเช่าคอนโดโลว์ไรส์เพราะความตื่นกลัว และเช่าเพื่อรอซ่อมแซมคอนโดมิเนียมที่ได้รับผลกระทบให้แล้วเสร็จก่อน แต่เมื่อสถานการณ์เข้าสู่ภาวะปกติไม่มีแผ่นดินไหวซ้ำทุกอย่างจะกลับเข้าที่เพราะเชื่อว่าไลฟ์สไตล์การใช้ชีวิตมักอยู่ในสังคมเมืองคือคอนโดมิเนียม
"เชื่อว่าสถานการณ์จะกลับเข้าสู่ภาวะปกติ ใช้เวลาเดือนครึ่ง คือทุกอย่างจะจบภายในเดือนเมษายน และพฤษภาคม มีมาตรการรัฐออกมาทั้งผ่อนเกณฑ์ LTV และ ลดค่าโอนจดจำนอง ซึ่งจะช่วยเพิ่มการตัดสินใจของผู้ซื้อ"
เช่นเดียวกับ นายประเสริฐ แต่ดุลยสาธิต นายกสมาคมอาคารชุดไทย ที่ระบุว่ามาตรการออกมาในจังหวะพอดีสำหรับคนที่ต้องการเปลี่ยนจากคอนโดมิเนียมเป็นบ้านแนวราบเพราะจากแผ่นดินไหว ถามว่าหากมีรายได้ที่มากพอ และธนาคารปล่อยกู้ได้ง่าย ก็สามารถทำได้ เพราะ วันที่ 1พฤษภาคม ทุกสัญญาทุกราคาสามารถกู้ได้100% แต่ถามว่าจะเปลี่ยนไลฟ์สไตล์ตนเองได้หรือไม่ เชื่อว่าไม่สามารถทำได้ และมั่นใจว่าสถานการณ์กลับเข้าสู่ภาวะปกติโดยเร็วเมื่อที่พักอาศัยที่ได้รับการซ่อมแซมสู่ภาวะปกติ
"สมาคมอาคารชุดไทยและผู้ประกอบการร่วมมือกันฟื้นฟูลูกบ้านให้กับมาใช้ชีวิตได้โดยเร็วและเชื่อว่ามาตรฐานโครงสร้างอาคารตั้งแต่ปี2550 ภายใต้กฎกระทรวงรับแรงแผนดินไหว และกฎหมายอาคารชุดที่มีประกันภัยไว้ให้ทุกห้องทุกอาคาร"
นายกมลภพ วีระพละ กรรมการผู้จัดการธนาคารอาคารสงเคราะห์ (ธอส.) เปิดเผยว่า สถานการณ์การโอนที่อยู่อาศัย และคอนโดมิเนียม เริ่มกลับมาเป็นปกติแล้ว หลังจากเกิดเหตุสถานการณ์แผ่นดินไหว วันที่ 28 มีนาคม โดยมียอดโอน เฉลี่ยใกล้เคียงสถานการณ์ปกติวันละ 400 ราย หลังจากธนาคารและผู้ประกอบการคอนโดมิเนียม มีการร่วมมือกันเร่งสร้างความเชื่อมั่นตรวจรับรองว่าโครงสร้างอาคารมีความแข็งแกร่ง และสามารถเข้าอยู่อาศัยได้ก็ทำให้ลูกค้ามีความเชื่อมั่นมากขึ้น และกลับมาโอนเป็นปกติ
"ยอมรับว่าในช่วงวันแรก หลังเกิดแผ่นเหตุแผ่นดินไหว มีลูกค้าชะลอการตัดสินใจโอนคอนโดมิเนียมไปบ้างแต่เป็นแค่ช่วงระยะสั้น และเชื่อว่าจะไม่เกิดปัญหาเรื่องการทิ้งใบจองหรือยกเลิกสัญญาอย่างที่กังวลแต่อย่างใด เนื่องจากตอนนี้ความต้องการที่อยู่อาศัยยังคงมีต่อเนื่องทั้งในส่วนของบ้านเดี่ยวทาวน์เฮาส์รวมถึงคอนโดคอนโดมิเนียม"
อย่างไรก็ตาม นายเผ่าภูมิ โรจนสกุล รัฐมนตรีช่วยว่ากากระทรวงการคลัง ได้ออกมาตอกย้ำว่า กระทรวงการคลังเตรียมออกมาตรการลดค่าธรรมเนียมโอนและค่าจดจำนองในเร็วที่สุด รวมทั้งทางธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ได้เตรียมผ่อนปรนมาตรการ LTV ที่จะเริ่มวันที่ 1 พฤษภาคมนี้ จะช่วยสนับสนุนให้ภาคอสังหาริมทรัพย์ ไปในทิศทางที่ดีขึ้น โดยได้มีการประเมินว่าหากภาครัฐไม่มีมาตรการออกมาเลย จะส่งผลต่อความต้องการซื้อที่อยู่อาศัยหดตัวที่ -3.5% ส่วนกรณีถ้ามีเพียงหนึ่งมาตรการ จะขยายตัว 1.6% และถ้ามีสองมาตรการ จะขยายตัว 9.7%
ขณะที่ในฝั่งซัพพลายหรือความต้องการขายนั้น มาตรการจะส่งผลผู้ประกอบการ วางแผนการลงทุนยูนิตขายใหม่มากขึ้น โดยหากไม่มีมาตรการเลย การเพิ่มขึ้นของยูนิตใหม่ หดตัวที่ -0.8% ถ้ามีหนึ่งมาตรการ จะขยายตัวที่ 16.8% และถ้ามีสองมาตรการ จะขยายตัวที่ 22.6%
เชื่อว่านับจากนี้ ทุกอย่างจะเริ่มเข้าที่เข้าทางหากไม่ภัยพิบัติ หรือสถานการณ์ที่ไม่สามารถคาดเดาซ้ำอีก
ทั้งกลุ่มคนที่ต้องการที่อยู่อาศัยแนวราบที่หนีมาจากคอนโดมิเนียมสามารถกู้ได้ 100% ทุกสัญญา บ้านหลังที่ 1 หลังที่2 ขึ้นไปทุกระดับราคา แต่ทั้งนี้ประเมินว่า ความวิตกกังวลจากเหตุการณ์แผ่นดินไหวจะกลับเข้าสู่ภาวะปกติ สอดรับกับมาตรการที่ออกมา
นายพรนริศ ชวนไชยสิทธิ์ นายกสมาคมอสังหาริมทรัพย์ไทย เปิดเผย "ฐานเศรษฐกิจ" ว่าจะต้องใช้เวลาและแม้ว่าในระยะสั้น จะมีคนให้ความสนใจบ้านแนวราบมากขึ้นแต่ในที่สุดแล้วด้วย ไลฟ์สไตล์การใช้ชีวิตแบบคนเมือง ที่เลือกไม่ได้ทั้งบุตรหลานต้องไปโรงเรียน ขณะตัวเองต้องทำงานในเมืองการเดินทางที่ต้องพึ่งพารถไฟฟ้าเชื่อว่า จะกลับเข้าสู้ภาวะปกติ ในไม่ช้า
เช่นเดียวกับ นายสุนทร สถาพร นายกสมาคมธุรกิจบ้านจัดสรร ระบุว่า ยอมรับว่าเมื่อเกิดเหตุการณ์แผ่นดินไหว จะมี คนให้ความสนใจบ้านแนวราบจำนวนหนึ่ง รวมถึงบ้านเช่าคอนโดโลว์ไรส์เพราะความตื่นกลัว และเช่าเพื่อรอซ่อมแซมคอนโดมิเนียมที่ได้รับผลกระทบให้แล้วเสร็จก่อน แต่เมื่อสถานการณ์เข้าสู่ภาวะปกติไม่มีแผ่นดินไหวซ้ำทุกอย่างจะกลับเข้าที่เพราะเชื่อว่าไลฟ์สไตล์การใช้ชีวิตมักอยู่ในสังคมเมืองคือคอนโดมิเนียม
"เชื่อว่าสถานการณ์จะกลับเข้าสู่ภาวะปกติ ใช้เวลาเดือนครึ่ง คือทุกอย่างจะจบภายในเดือนเมษายน และพฤษภาคม มีมาตรการรัฐออกมาทั้งผ่อนเกณฑ์ LTV และ ลดค่าโอนจดจำนอง ซึ่งจะช่วยเพิ่มการตัดสินใจของผู้ซื้อ"
เช่นเดียวกับ นายประเสริฐ แต่ดุลยสาธิต นายกสมาคมอาคารชุดไทย ที่ระบุว่ามาตรการออกมาในจังหวะพอดีสำหรับคนที่ต้องการเปลี่ยนจากคอนโดมิเนียมเป็นบ้านแนวราบเพราะจากแผ่นดินไหว ถามว่าหากมีรายได้ที่มากพอ และธนาคารปล่อยกู้ได้ง่าย ก็สามารถทำได้ เพราะ วันที่ 1พฤษภาคม ทุกสัญญาทุกราคาสามารถกู้ได้100% แต่ถามว่าจะเปลี่ยนไลฟ์สไตล์ตนเองได้หรือไม่ เชื่อว่าไม่สามารถทำได้ และมั่นใจว่าสถานการณ์กลับเข้าสู่ภาวะปกติโดยเร็วเมื่อที่พักอาศัยที่ได้รับการซ่อมแซมสู่ภาวะปกติ
"สมาคมอาคารชุดไทยและผู้ประกอบการร่วมมือกันฟื้นฟูลูกบ้านให้กับมาใช้ชีวิตได้โดยเร็วและเชื่อว่ามาตรฐานโครงสร้างอาคารตั้งแต่ปี2550 ภายใต้กฎกระทรวงรับแรงแผนดินไหว และกฎหมายอาคารชุดที่มีประกันภัยไว้ให้ทุกห้องทุกอาคาร"
นายกมลภพ วีระพละ กรรมการผู้จัดการธนาคารอาคารสงเคราะห์ (ธอส.) เปิดเผยว่า สถานการณ์การโอนที่อยู่อาศัย และคอนโดมิเนียม เริ่มกลับมาเป็นปกติแล้ว หลังจากเกิดเหตุสถานการณ์แผ่นดินไหว วันที่ 28 มีนาคม โดยมียอดโอน เฉลี่ยใกล้เคียงสถานการณ์ปกติวันละ 400 ราย หลังจากธนาคารและผู้ประกอบการคอนโดมิเนียม มีการร่วมมือกันเร่งสร้างความเชื่อมั่นตรวจรับรองว่าโครงสร้างอาคารมีความแข็งแกร่ง และสามารถเข้าอยู่อาศัยได้ก็ทำให้ลูกค้ามีความเชื่อมั่นมากขึ้น และกลับมาโอนเป็นปกติ
"ยอมรับว่าในช่วงวันแรก หลังเกิดแผ่นเหตุแผ่นดินไหว มีลูกค้าชะลอการตัดสินใจโอนคอนโดมิเนียมไปบ้างแต่เป็นแค่ช่วงระยะสั้น และเชื่อว่าจะไม่เกิดปัญหาเรื่องการทิ้งใบจองหรือยกเลิกสัญญาอย่างที่กังวลแต่อย่างใด เนื่องจากตอนนี้ความต้องการที่อยู่อาศัยยังคงมีต่อเนื่องทั้งในส่วนของบ้านเดี่ยวทาวน์เฮาส์รวมถึงคอนโดคอนโดมิเนียม"
อย่างไรก็ตาม นายเผ่าภูมิ โรจนสกุล รัฐมนตรีช่วยว่ากากระทรวงการคลัง ได้ออกมาตอกย้ำว่า กระทรวงการคลังเตรียมออกมาตรการลดค่าธรรมเนียมโอนและค่าจดจำนองในเร็วที่สุด รวมทั้งทางธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ได้เตรียมผ่อนปรนมาตรการ LTV ที่จะเริ่มวันที่ 1 พฤษภาคมนี้ จะช่วยสนับสนุนให้ภาคอสังหาริมทรัพย์ ไปในทิศทางที่ดีขึ้น โดยได้มีการประเมินว่าหากภาครัฐไม่มีมาตรการออกมาเลย จะส่งผลต่อความต้องการซื้อที่อยู่อาศัยหดตัวที่ -3.5% ส่วนกรณีถ้ามีเพียงหนึ่งมาตรการ จะขยายตัว 1.6% และถ้ามีสองมาตรการ จะขยายตัว 9.7%
ขณะที่ในฝั่งซัพพลายหรือความต้องการขายนั้น มาตรการจะส่งผลผู้ประกอบการ วางแผนการลงทุนยูนิตขายใหม่มากขึ้น โดยหากไม่มีมาตรการเลย การเพิ่มขึ้นของยูนิตใหม่ หดตัวที่ -0.8% ถ้ามีหนึ่งมาตรการ จะขยายตัวที่ 16.8% และถ้ามีสองมาตรการ จะขยายตัวที่ 22.6%
เชื่อว่านับจากนี้ ทุกอย่างจะเริ่มเข้าที่เข้าทางหากไม่ภัยพิบัติ หรือสถานการณ์ที่ไม่สามารถคาดเดาซ้ำอีก
ข่าวนโยบายการเงิน-การคลัง อื่นๆ