ภาคธุรกิจชี้ปัจจัยลบท่วมปี68 จี้รัฐเร่งแก้หวั่นลาม30กลุ่มอุตฯ
วันที่ : 24 กุมภาพันธ์ 2568
เสนาฯ กล่าวว่า สถานการณ์อสังหาริมทรัพย์ปี 2568 ยังมีปัจจัยลบเดิม ทั้งอัตราดอกเบี้ย ที่ยังไม่มีทีท่าว่าจะลดลง และ หนี้ครัวเรือนที่มี สัดส่วนสูงกว่า 90% ส่งผลต่อสภาพคล่องผู้บริโภค ทำให้กำลังซื้อในภาพรวมยังไม่ดีจากการระมัดระวังการใช้จ่าย ประกอบกับสถาบันการเงินยังคง เข้มงวดการให้สินเชื่อบุคคลหรือรายย่อย อย่างต่อเนื่อง
ภาคธุรกิจมองเศรษฐกิจ หนี้เสีย หนี้ครัวเรือน ดอกเบี้ยสูง ส่งผลกระทบปี 68 เร่งปรับตัว อสังหาฯ รายใหญ่ลดโครงการใหม่ รายเล็กชะลอลงทุน หันจับตลาดต่างประเทศชดเชย ค้าปลีกต่างจังหวัดระบุรายเล็กตาย รายใหญ่ป่วย ท่องเที่ยวประคองตัว เน้นตลาด เดินทางด้วยตัวเอง ยานยนต์หวั่นเศรษฐกิจโลกกระทบส่งออก ด้าน สอท. จี้รัฐเร่งแก้ปัญหา หวั่นผลกระทบลาม 30 กลุ่มอุตสาหกรรม จับตาสินค้าราคาถูกจีนทะลักต่อเนื่อง
นายสมบูรณ์ วศินชัชวาล รักษาการประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท เฟรเซอร์ส พร็อพเพอร์ตี้ โฮม (ประเทศไทย) จำกัด กล่าวว่าปี 2568 ตลาดยังคงเผชิญกับความท้าทายที่ซับซ้อน ไม่ว่าจะเป็น อัตราดอกเบี้ยที่สูงทำให้การขอสินเชื่อยากขึ้น หนี้ครัวเรือนที่เพิ่มสูงแตะ 90% ของ GDP รวมถึงความไม่แน่นอนจากภูมิรัฐศาสตร์
"บริษัทขนาดใหญ่ยังเหนื่อย รายกลาง รายเล็กคงลำบากขึ้นเพราะการแข่งขันรุนแรง แม้แต่บ้านราคาแพงยังขายได้ช้าลงเชื่อว่ามีหลายคน หยุดพัฒนาโครงการใหม่จนกว่าเศรษฐกิจและกำลังซื้อฟื้นตัว"
ในส่วนเฟรเซอร์สฯ ปรับกลยุทธ์ด้วยการขยายฐานลูกค้าต่างประเทศ โดยเฉพาะจีน ซึ่งมีความสนใจในโครงการคอนโดมิเนียม เพื่อสร้างความสมดุลพอร์ต และลดความเสี่ยงจากเดิม ที่เน้นโครงการแนวราบซึ่งแข่งขันสูง
นางสาวเกษรา ธัญลักษณ์ภาคย์ กรรมการ ผู้จัดการ บริษัท เสนา ดีเวลลอปเม้นท์ จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า สถานการณ์อสังหาริมทรัพย์ปี 2568 ยังมีปัจจัยลบเดิม ทั้งอัตราดอกเบี้ย ที่ยังไม่มีทีท่าว่าจะลดลง และ หนี้ครัวเรือนที่มี สัดส่วนสูงกว่า 90% ส่งผลต่อสภาพคล่องผู้บริโภค ทำให้กำลังซื้อในภาพรวมยังไม่ดีจากการระมัดระวังการใช้จ่าย ประกอบกับสถาบันการเงินยังคง เข้มงวดการให้สินเชื่อบุคคลหรือรายย่อย อย่างต่อเนื่อง
ปัจจัยดังกล่าวจะส่งผลกระทบต่ออสังหาริมทรัพย์ในเซกเมนต์ affordable กลุ่มราคาที่ผู้บริโภค เข้าถึงได้ง่ายในระดับราคาไม่เกิน 3 ล้านบาท ทำให้อัตราการปฏิเสธสินเชื่อสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ส่งผลกระทบต่อยอดโอนลดลงและลุกลามไปถึงภาคเอกชนผู้พัฒนาโครงการ และเศรษฐกิจ ในภาพรวมได้เช่นกัน
"ปีนี้ยังคงเป็นอีกปีที่ยากในการพัฒนา โครงการทั้งรายใหญ่กลางและย่อยต้องระมัดระวังในการลงทุนมากขึ้น"
นายไตรเตชะ ตั้งมติธรรม กรรมการผู้จัดการ บริษัท ศุภาลัย จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า ตลาดยังคง ได้รับผลกระทบจากหลายปัจจัย ทั้งการลดลงของซัพพลายจากผู้ประกอบการที่ลดการเปิดโครงการใหม่ ที่ดินทำเลดีหายาก และอัตราดอกเบี้ยที่อยู่ในระดับสูง ความเข้มงวดในการปล่อยสินเชื่อ
แต่จากสถานะการเงินที่แข็งแรงเป็นโอกาสให้ศุภาลัยจะช่วงชิงส่วนแบ่งตลาดจากคู่แข่งท่ามกลางซัพพลายที่จำกัด แม้ปีนี้จะมีการเปิดตัวแนวราบลดลง แต่จะมีโครงการคอนโดมิเนียมเพิ่มขึ้น "เท่าตัว"
"ภาพรวมการเปิดตัวโครงการปีนี้ลดลงต่ำสุดรอบ 15 ปี แต่ศุภาลัยมั่นใจในความพร้อมความแข็งแกร่งของเงินทุน โดยเฉพาะในภาวะที่ดีเวลลอปเปอร์บางส่วน ไม่สามารถเปิดโครงการใหม่ได้ถือเป็นโอกาสเข้าถึงลูกค้าใน 2-3 ปี จากนี้"
ค้าปลีกต่างจังหวัดเหนื่อย ฝ่าวิกฤติกำลังซื้อ
นายมิลินทร์ วีระรัตนโรจน์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ตั้งงี่สุน ซูเปอร์โสตร์ จำกัด ดำเนินธุรกิจค้าส่ง-ค้าปลีก รายใหญ่ในอุดรธานีกล่าวว่าเศรษฐกิจไทยปัจจุบันสอดคล้องกับสถานการณ์ "รายเล็กตาย รายใหญ่ป่วย" สะท้อนจากกลุ่มธุรกิจค้าปลีกเมื่อรายเล็ก ทั้งร้านค้าโชห่วยและร้านค้าปลีกเล็กๆ ชะลอสั่งซื้อสินค้า ทำให้รายกลางได้รับผลกระทบ ต่อเนื่อง ลามไปถึงซัพพลายเออร์ที่เป็นผู้ผลิตสินค้าอุปโภคบริโภคต่าง ๆ หดตัวลงตามเป็นวัฏจักรทั้งระบบ
เมื่อประเมินสถานการณ์กำลังซื้อต่างจังหวัดไตรมาสแรกปี 2568 ไม่ดีนัก โดยเดือน ก.พ. ชะลอตัว ต่างจากเดือน ม.ค.ที่ปรับขึ้นเล็กน้อยจากเทศกาลปีใหม่ และแรงหนุนจากมาตรการ เงินดิจิทัล 10,000 บาท
สำหรับการเลือกซื้อสินค้าที่ปรับตัวลดลง กลุ่มที่น่ากังวลมากสุดคือ กลุ่มใช้แรงงานก่อสร้าง ที่อาจต้องพึ่งพาการทำงานแบบรายวัน แต่หากงานก่อสร้างในจังหวัดชะลอออกไป จึงมีผลกระทบต่อรายได้ ในแต่ละวันให้ลดลงไปด้วย ส่วนกลุ่มอื่นๆ ที่ลดการใช้จ่ายเนื่องจากมีความกังวล เรื่องสถานการณ์เศรษฐกิจในอนาคต และมีผลกระทบจากเรื่องหนี้ที่สะสมไว้
อีกปัจจัยที่ต้องติดตามคือ ภาพรวมราคาสินค้าอุปโภคบริโภคหลายรายการมีโอกาสปรับขึ้นจึงต้องติดตามสถานการณ์ความขัดแย้งในโลกและสงครามการค้า อาจส่งผลต่อต้นทุนสินค้าในโลกให้เพิ่มขึ้นอีก
"หากมองว่าสุขภาพของค้าปลีก ในต่างจังหวัดเป็นอย่างไร มีการชะลอตัวลงตั้งแต่โควิด มาร่วม 4 ปีแล้ว ยังไม่กลับมาดี เหมือนเดิมอีกเลย แม้ว่าภาครัฐมีการกระตุ้น แต่ไม่ได้มีผลต่อตลาดและกำลังซื้อ โดยรวมมากนัก"
"บริษัททัวร์" ประคองธุรกิจฝ่าหล่มเศรษฐกิจ
นายศิษฎิวัชร ชีวรัตนพร นายกสมาคมไทยธุรกิจการท่องเที่ยว (แอตต้า) กล่าวว่า สุขภาพของธุรกิจบริษัททัวร์ซึ่งส่วนใหญ่ เป็นรายเล็กและรายกลาง พบว่าหลังผ่าน ยุคโควิด-19 มีทั้งล้มหายตายจาก และเกิดใหม่ กลับมาค้าขายได้อีกครั้ง แม้ว่าอาจจะไม่แข็งแรงมากนัก แต่ผู้ประกอบการหลายรายยังรักการทำทัวร์และอยากกลับมาสร้างงานสร้างกำไร จึงปรับตัวให้เข้ากับสถานการณ์ตลาดท่องเที่ยวที่เปลี่ยนไป เช่น หันมาขายแพ็กเกจทัวร์เจาะนักท่องเที่ยวกลุ่มเดินทางด้วยตัวเอง (F.I.T.) มากขึ้น
ทั้งนี้ ประเมินว่าภาพรวมตลาดบริษัททัวร์ในปี 2568 มีแนวโน้มดีกว่าปีที่แล้ว ด้วยดีมานด์นักท่องเที่ยวต่างชาติเดินทางเข้าไทยตลอดปีนี้น่าจะเติบโตจากปีที่แล้ว แม้ว่า บางตลาด เช่น จีน จะแข่งขันกันอย่างหนักและไม่สิ้นสุด เนื่องจากมีขนาดเล็กลง คาดว่า ตลอดปีนี้จะมีนักท่องเที่ยว 7 ล้านคน ยังไม่กลับไปเท่าเดิมในระดับ 11 ล้านคน เมื่อปี 2562 ก่อนโควิดระบาด เพราะเศรษฐกิจจีนไม่ดี และมีสงครามการค้าระลอกใหม่ ขณะเดียวกันรัฐบาลจีนเดินหน้านโยบาย ส่งเสริมให้ชาวจีนท่องเที่ยวในประเทศอย่างต่อเนื่อง
"รายเล็กๆ เจอการแข่งขันหนัก ๆ ในตลาดนักท่องเที่ยวจีนที่ยังฟื้นตัวช้า เมื่องานลด ไม่พอกิน ทำให้ต้องหันไปทำตลาดดึงนักท่องเที่ยวชาติอื่น ๆ ด้วย ขณะที่รายใหญ่ ต้องทำตลาดหลากหลายมากขึ้น เช่น ตลาดตะวันออกกลาง เพื่อประคับประคองธุรกิจ ภายใต้ความหวังว่าจะเห็นการฟื้นตัว จากกุญแจ 3 เรื่องหลัก ได้แก่ เศรษฐกิจดี การเมืองดี และภาพลักษณ์ประเทศไทยดี โดยเฉพาะเรื่องความปลอดภัย"
"ไมเนอร์" ปรับตัวเร็ว-ทันท่วงที
นายดิลิป ราชากาเรีย ประธานเจ้าหน้าที่บริหารกลุ่ม บริษัท ไมเนอร์ อินเตอร์ เนชั่นแนล จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า ความท้าทาย ที่คาดไม่ถึงไม่ว่าจะเป็นโรคระบาด น้ำท่วม การเมือง ปัญหาภูมิรัฐศาสตร์ ไมเนอร์ผ่านมาหมดและกำไรมาตลอด ยกเว้นโควิด-19 แต่ก็ผ่านมาได้ด้วยดีและกลับมาแข็งแกร่งทำลายสถิติด้านผลประกอบการทุกปี พิสูจน์ให้เห็นว่าสามารถปรับตัวได้ดี
"ด้านปัจจัยภายใน ไมเนอร์มุ่งสู่เป้าหมายสร้างการเติบโตให้ธุรกิจ โดย ขยายโรงแรมแตะ 1,000 แห่ง จากปัจจุบัน 560 แห่งใน 58 ประเทศ ขยายร้านอาหารสู่ 4,500 สาขา จากปัจจุบัน 2,700 สาขาใน 24 ประเทศ"
ยานยนต์จับตา ศก.โลก ส่งออก สินเชื่อ หนี้
บริษัท โตโยต้า มอเตอร์ ประเทศไทย จำกัด ผู้นำตลาดรถยนต์ ระบุว่าแนวโน้ม อุตสาหกรรมยานยนต์อยู่ในสภาวะ ฟื้นตัวอย่างค่อยเป็นค่อยไป มีแรงหนุนจาก กิจกรรมภาคธุรกิจและการลงทุน การท่องเที่ยวเติบโต นโยบายรัฐที่จะสนับสนุน การเร่งใช้จ่าย การลงทุนโครงสร้างพื้นฐาน
แต่ยังต้องดูสถานการณ์เศรษฐกิจโลก ที่อาจส่งผลต่อการส่งออก สถาบันการเงิน อาจยังเข้มงวดปล่อยสินเชื่อ จากภาวะ หนี้ครัวเรือนที่ยังคงสูงและอัตราหนี้เสียระดับสูง
ส่วนแนวทางของโตโยต้าในการดำเนินธุรกิจจะเน้นนำเสนอผลิตภัณฑ์และบริการที่มีคุณภาพ ทนทาน ความน่าเชื่อถือ และเป้าหมาย การเป็น Mobility Company รวมถึง เป้าหมายการสร้างความเป็นกลางทางคาร์บอนกับหลายทางเลือกของพลังงาน หรือ มัลติ พาร์ตเวย์
จี้รัฐเร่งเครื่องป้อง47อุตสาหกรรมไทย
นายเกรียงไกร เธียรนุกุล ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) กล่าวว่า กลุ่มสินค้าสำคัญที่ได้รับผลกระทบ มาก เช่น เหล็ก พลาสติก เครื่องใช้ไฟฟ้า ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร เครื่องนุ่งห่ม แก้วและกระจก และเครื่องสำอาง รวม 23 กลุ่มอุตสาหกรรม ซึ่งหากภาครัฐไม่เร่งแก้ปัญหาคาดว่าปีนี้จะเพิ่มเป็น 30 กลุ่มอุตสาหกรรม จาก 47 กลุ่มอุตสาหกรรม
"ผลกระทบยังครอบคลุมผลกระทบจากการนำเข้า ผลกระทบต่อการผลิต และชั่วโมงทำงาน โดยเฉพาะอุตสาหกรรมเหล็ก มีผลกระทบจากการนำเข้าต่อผลิตภัณฑ์โลหะ รวมทั้งผลกระทบการผลิตต่อโลหะขั้นมูลฐาน และผลกระทบชั่วโมงทำงานต่อผลิตภัณฑ์โลหะประดิษฐ์"
ทั้งนี้เอกชนกังวลผลกระทบทางอ้อมโดยเฉพาะสินค้าราคาถูกจากจีน ผู้ส่งออกรายใหญ่ของโลก และได้ดุลการค้าสหรัฐสูงสุดตลอดมา ส่งผลให้ปี 2566 สหรัฐมีมาตรการกีดกันเข้มข้นจึงลดสัดส่วนการส่งออกไปถึง 20% ทำให้ต้องหาตลาดใหม่แทนเป็นต้นเหตุให้เกิดการไหลบ่ามาไทยรวมถึงกลุ่มอาเซียน
"ปัญหาหนี้ครัวเรือนที่ยังอยู่ในระดับสูง กระทบต่อระบบเศรษฐกิจโดยรวมส่งผลให้ กำลังซื้อในประเทศฟื้นตัวช้าอีกทั้ง ยอดขาย รถยนต์ยังฟื้นตัวได้ช้าจากการเข้มงวดในการอนุมัติสินเชื่อของสถาบันการเงินและการแข่งขันของรถยนต์ไฟฟ้าจากจีน"
นายสมบูรณ์ วศินชัชวาล รักษาการประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท เฟรเซอร์ส พร็อพเพอร์ตี้ โฮม (ประเทศไทย) จำกัด กล่าวว่าปี 2568 ตลาดยังคงเผชิญกับความท้าทายที่ซับซ้อน ไม่ว่าจะเป็น อัตราดอกเบี้ยที่สูงทำให้การขอสินเชื่อยากขึ้น หนี้ครัวเรือนที่เพิ่มสูงแตะ 90% ของ GDP รวมถึงความไม่แน่นอนจากภูมิรัฐศาสตร์
"บริษัทขนาดใหญ่ยังเหนื่อย รายกลาง รายเล็กคงลำบากขึ้นเพราะการแข่งขันรุนแรง แม้แต่บ้านราคาแพงยังขายได้ช้าลงเชื่อว่ามีหลายคน หยุดพัฒนาโครงการใหม่จนกว่าเศรษฐกิจและกำลังซื้อฟื้นตัว"
ในส่วนเฟรเซอร์สฯ ปรับกลยุทธ์ด้วยการขยายฐานลูกค้าต่างประเทศ โดยเฉพาะจีน ซึ่งมีความสนใจในโครงการคอนโดมิเนียม เพื่อสร้างความสมดุลพอร์ต และลดความเสี่ยงจากเดิม ที่เน้นโครงการแนวราบซึ่งแข่งขันสูง
นางสาวเกษรา ธัญลักษณ์ภาคย์ กรรมการ ผู้จัดการ บริษัท เสนา ดีเวลลอปเม้นท์ จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า สถานการณ์อสังหาริมทรัพย์ปี 2568 ยังมีปัจจัยลบเดิม ทั้งอัตราดอกเบี้ย ที่ยังไม่มีทีท่าว่าจะลดลง และ หนี้ครัวเรือนที่มี สัดส่วนสูงกว่า 90% ส่งผลต่อสภาพคล่องผู้บริโภค ทำให้กำลังซื้อในภาพรวมยังไม่ดีจากการระมัดระวังการใช้จ่าย ประกอบกับสถาบันการเงินยังคง เข้มงวดการให้สินเชื่อบุคคลหรือรายย่อย อย่างต่อเนื่อง
ปัจจัยดังกล่าวจะส่งผลกระทบต่ออสังหาริมทรัพย์ในเซกเมนต์ affordable กลุ่มราคาที่ผู้บริโภค เข้าถึงได้ง่ายในระดับราคาไม่เกิน 3 ล้านบาท ทำให้อัตราการปฏิเสธสินเชื่อสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ส่งผลกระทบต่อยอดโอนลดลงและลุกลามไปถึงภาคเอกชนผู้พัฒนาโครงการ และเศรษฐกิจ ในภาพรวมได้เช่นกัน
"ปีนี้ยังคงเป็นอีกปีที่ยากในการพัฒนา โครงการทั้งรายใหญ่กลางและย่อยต้องระมัดระวังในการลงทุนมากขึ้น"
นายไตรเตชะ ตั้งมติธรรม กรรมการผู้จัดการ บริษัท ศุภาลัย จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า ตลาดยังคง ได้รับผลกระทบจากหลายปัจจัย ทั้งการลดลงของซัพพลายจากผู้ประกอบการที่ลดการเปิดโครงการใหม่ ที่ดินทำเลดีหายาก และอัตราดอกเบี้ยที่อยู่ในระดับสูง ความเข้มงวดในการปล่อยสินเชื่อ
แต่จากสถานะการเงินที่แข็งแรงเป็นโอกาสให้ศุภาลัยจะช่วงชิงส่วนแบ่งตลาดจากคู่แข่งท่ามกลางซัพพลายที่จำกัด แม้ปีนี้จะมีการเปิดตัวแนวราบลดลง แต่จะมีโครงการคอนโดมิเนียมเพิ่มขึ้น "เท่าตัว"
"ภาพรวมการเปิดตัวโครงการปีนี้ลดลงต่ำสุดรอบ 15 ปี แต่ศุภาลัยมั่นใจในความพร้อมความแข็งแกร่งของเงินทุน โดยเฉพาะในภาวะที่ดีเวลลอปเปอร์บางส่วน ไม่สามารถเปิดโครงการใหม่ได้ถือเป็นโอกาสเข้าถึงลูกค้าใน 2-3 ปี จากนี้"
ค้าปลีกต่างจังหวัดเหนื่อย ฝ่าวิกฤติกำลังซื้อ
นายมิลินทร์ วีระรัตนโรจน์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ตั้งงี่สุน ซูเปอร์โสตร์ จำกัด ดำเนินธุรกิจค้าส่ง-ค้าปลีก รายใหญ่ในอุดรธานีกล่าวว่าเศรษฐกิจไทยปัจจุบันสอดคล้องกับสถานการณ์ "รายเล็กตาย รายใหญ่ป่วย" สะท้อนจากกลุ่มธุรกิจค้าปลีกเมื่อรายเล็ก ทั้งร้านค้าโชห่วยและร้านค้าปลีกเล็กๆ ชะลอสั่งซื้อสินค้า ทำให้รายกลางได้รับผลกระทบ ต่อเนื่อง ลามไปถึงซัพพลายเออร์ที่เป็นผู้ผลิตสินค้าอุปโภคบริโภคต่าง ๆ หดตัวลงตามเป็นวัฏจักรทั้งระบบ
เมื่อประเมินสถานการณ์กำลังซื้อต่างจังหวัดไตรมาสแรกปี 2568 ไม่ดีนัก โดยเดือน ก.พ. ชะลอตัว ต่างจากเดือน ม.ค.ที่ปรับขึ้นเล็กน้อยจากเทศกาลปีใหม่ และแรงหนุนจากมาตรการ เงินดิจิทัล 10,000 บาท
สำหรับการเลือกซื้อสินค้าที่ปรับตัวลดลง กลุ่มที่น่ากังวลมากสุดคือ กลุ่มใช้แรงงานก่อสร้าง ที่อาจต้องพึ่งพาการทำงานแบบรายวัน แต่หากงานก่อสร้างในจังหวัดชะลอออกไป จึงมีผลกระทบต่อรายได้ ในแต่ละวันให้ลดลงไปด้วย ส่วนกลุ่มอื่นๆ ที่ลดการใช้จ่ายเนื่องจากมีความกังวล เรื่องสถานการณ์เศรษฐกิจในอนาคต และมีผลกระทบจากเรื่องหนี้ที่สะสมไว้
อีกปัจจัยที่ต้องติดตามคือ ภาพรวมราคาสินค้าอุปโภคบริโภคหลายรายการมีโอกาสปรับขึ้นจึงต้องติดตามสถานการณ์ความขัดแย้งในโลกและสงครามการค้า อาจส่งผลต่อต้นทุนสินค้าในโลกให้เพิ่มขึ้นอีก
"หากมองว่าสุขภาพของค้าปลีก ในต่างจังหวัดเป็นอย่างไร มีการชะลอตัวลงตั้งแต่โควิด มาร่วม 4 ปีแล้ว ยังไม่กลับมาดี เหมือนเดิมอีกเลย แม้ว่าภาครัฐมีการกระตุ้น แต่ไม่ได้มีผลต่อตลาดและกำลังซื้อ โดยรวมมากนัก"
"บริษัททัวร์" ประคองธุรกิจฝ่าหล่มเศรษฐกิจ
นายศิษฎิวัชร ชีวรัตนพร นายกสมาคมไทยธุรกิจการท่องเที่ยว (แอตต้า) กล่าวว่า สุขภาพของธุรกิจบริษัททัวร์ซึ่งส่วนใหญ่ เป็นรายเล็กและรายกลาง พบว่าหลังผ่าน ยุคโควิด-19 มีทั้งล้มหายตายจาก และเกิดใหม่ กลับมาค้าขายได้อีกครั้ง แม้ว่าอาจจะไม่แข็งแรงมากนัก แต่ผู้ประกอบการหลายรายยังรักการทำทัวร์และอยากกลับมาสร้างงานสร้างกำไร จึงปรับตัวให้เข้ากับสถานการณ์ตลาดท่องเที่ยวที่เปลี่ยนไป เช่น หันมาขายแพ็กเกจทัวร์เจาะนักท่องเที่ยวกลุ่มเดินทางด้วยตัวเอง (F.I.T.) มากขึ้น
ทั้งนี้ ประเมินว่าภาพรวมตลาดบริษัททัวร์ในปี 2568 มีแนวโน้มดีกว่าปีที่แล้ว ด้วยดีมานด์นักท่องเที่ยวต่างชาติเดินทางเข้าไทยตลอดปีนี้น่าจะเติบโตจากปีที่แล้ว แม้ว่า บางตลาด เช่น จีน จะแข่งขันกันอย่างหนักและไม่สิ้นสุด เนื่องจากมีขนาดเล็กลง คาดว่า ตลอดปีนี้จะมีนักท่องเที่ยว 7 ล้านคน ยังไม่กลับไปเท่าเดิมในระดับ 11 ล้านคน เมื่อปี 2562 ก่อนโควิดระบาด เพราะเศรษฐกิจจีนไม่ดี และมีสงครามการค้าระลอกใหม่ ขณะเดียวกันรัฐบาลจีนเดินหน้านโยบาย ส่งเสริมให้ชาวจีนท่องเที่ยวในประเทศอย่างต่อเนื่อง
"รายเล็กๆ เจอการแข่งขันหนัก ๆ ในตลาดนักท่องเที่ยวจีนที่ยังฟื้นตัวช้า เมื่องานลด ไม่พอกิน ทำให้ต้องหันไปทำตลาดดึงนักท่องเที่ยวชาติอื่น ๆ ด้วย ขณะที่รายใหญ่ ต้องทำตลาดหลากหลายมากขึ้น เช่น ตลาดตะวันออกกลาง เพื่อประคับประคองธุรกิจ ภายใต้ความหวังว่าจะเห็นการฟื้นตัว จากกุญแจ 3 เรื่องหลัก ได้แก่ เศรษฐกิจดี การเมืองดี และภาพลักษณ์ประเทศไทยดี โดยเฉพาะเรื่องความปลอดภัย"
"ไมเนอร์" ปรับตัวเร็ว-ทันท่วงที
นายดิลิป ราชากาเรีย ประธานเจ้าหน้าที่บริหารกลุ่ม บริษัท ไมเนอร์ อินเตอร์ เนชั่นแนล จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า ความท้าทาย ที่คาดไม่ถึงไม่ว่าจะเป็นโรคระบาด น้ำท่วม การเมือง ปัญหาภูมิรัฐศาสตร์ ไมเนอร์ผ่านมาหมดและกำไรมาตลอด ยกเว้นโควิด-19 แต่ก็ผ่านมาได้ด้วยดีและกลับมาแข็งแกร่งทำลายสถิติด้านผลประกอบการทุกปี พิสูจน์ให้เห็นว่าสามารถปรับตัวได้ดี
"ด้านปัจจัยภายใน ไมเนอร์มุ่งสู่เป้าหมายสร้างการเติบโตให้ธุรกิจ โดย ขยายโรงแรมแตะ 1,000 แห่ง จากปัจจุบัน 560 แห่งใน 58 ประเทศ ขยายร้านอาหารสู่ 4,500 สาขา จากปัจจุบัน 2,700 สาขาใน 24 ประเทศ"
ยานยนต์จับตา ศก.โลก ส่งออก สินเชื่อ หนี้
บริษัท โตโยต้า มอเตอร์ ประเทศไทย จำกัด ผู้นำตลาดรถยนต์ ระบุว่าแนวโน้ม อุตสาหกรรมยานยนต์อยู่ในสภาวะ ฟื้นตัวอย่างค่อยเป็นค่อยไป มีแรงหนุนจาก กิจกรรมภาคธุรกิจและการลงทุน การท่องเที่ยวเติบโต นโยบายรัฐที่จะสนับสนุน การเร่งใช้จ่าย การลงทุนโครงสร้างพื้นฐาน
แต่ยังต้องดูสถานการณ์เศรษฐกิจโลก ที่อาจส่งผลต่อการส่งออก สถาบันการเงิน อาจยังเข้มงวดปล่อยสินเชื่อ จากภาวะ หนี้ครัวเรือนที่ยังคงสูงและอัตราหนี้เสียระดับสูง
ส่วนแนวทางของโตโยต้าในการดำเนินธุรกิจจะเน้นนำเสนอผลิตภัณฑ์และบริการที่มีคุณภาพ ทนทาน ความน่าเชื่อถือ และเป้าหมาย การเป็น Mobility Company รวมถึง เป้าหมายการสร้างความเป็นกลางทางคาร์บอนกับหลายทางเลือกของพลังงาน หรือ มัลติ พาร์ตเวย์
จี้รัฐเร่งเครื่องป้อง47อุตสาหกรรมไทย
นายเกรียงไกร เธียรนุกุล ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) กล่าวว่า กลุ่มสินค้าสำคัญที่ได้รับผลกระทบ มาก เช่น เหล็ก พลาสติก เครื่องใช้ไฟฟ้า ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร เครื่องนุ่งห่ม แก้วและกระจก และเครื่องสำอาง รวม 23 กลุ่มอุตสาหกรรม ซึ่งหากภาครัฐไม่เร่งแก้ปัญหาคาดว่าปีนี้จะเพิ่มเป็น 30 กลุ่มอุตสาหกรรม จาก 47 กลุ่มอุตสาหกรรม
"ผลกระทบยังครอบคลุมผลกระทบจากการนำเข้า ผลกระทบต่อการผลิต และชั่วโมงทำงาน โดยเฉพาะอุตสาหกรรมเหล็ก มีผลกระทบจากการนำเข้าต่อผลิตภัณฑ์โลหะ รวมทั้งผลกระทบการผลิตต่อโลหะขั้นมูลฐาน และผลกระทบชั่วโมงทำงานต่อผลิตภัณฑ์โลหะประดิษฐ์"
ทั้งนี้เอกชนกังวลผลกระทบทางอ้อมโดยเฉพาะสินค้าราคาถูกจากจีน ผู้ส่งออกรายใหญ่ของโลก และได้ดุลการค้าสหรัฐสูงสุดตลอดมา ส่งผลให้ปี 2566 สหรัฐมีมาตรการกีดกันเข้มข้นจึงลดสัดส่วนการส่งออกไปถึง 20% ทำให้ต้องหาตลาดใหม่แทนเป็นต้นเหตุให้เกิดการไหลบ่ามาไทยรวมถึงกลุ่มอาเซียน
"ปัญหาหนี้ครัวเรือนที่ยังอยู่ในระดับสูง กระทบต่อระบบเศรษฐกิจโดยรวมส่งผลให้ กำลังซื้อในประเทศฟื้นตัวช้าอีกทั้ง ยอดขาย รถยนต์ยังฟื้นตัวได้ช้าจากการเข้มงวดในการอนุมัติสินเชื่อของสถาบันการเงินและการแข่งขันของรถยนต์ไฟฟ้าจากจีน"
ข่าวโครงการอสังหาฯ ภาคเอกชน อื่นๆ