สินเชื่อแบงก์ลบสูงสุดรอบ15ปี หดตัว0.4% เล็งพิจารณาเกณฑ์LTV
วันที่ : 19 กุมภาพันธ์ 2568
ธปท. เผยสินเชื่อระบบธนาคารพาณิชย์ปี 2567 ติดลบ 0.4% ช่วงเดียวกันปีก่อน (2566) สินเชื่อหดตัวสูงสุดในรอบ 15 ปี โดยสินเชื่อเช่าซื้อทรุดหนักติดลบ 9.9% เล็งพิจารณาเกณฑ์ LTV สัญญา 2 สัญญา 3 หลังกลุ่มผู้ประกอบการอสังหาริมทรัพย์เข้า หารือเมื่อวันที่ 11 กุมภาพันธ์ที่ผ่านมา และร้องขอให้พิจารณาเกณฑ์ LTV เพื่อกระตุ้นสินเชื่อและภาคอสังหาริมทรัพย์
นางสาวสุวรรณี เจษฎาศักดิ์ ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายกำกับสถาบันการเงิน ธนาคารแห่งประเทศ ไทย (ธปท.) เปิดเผยว่า ผลการดำเนินงานธนาคารพาณิชย์ ปี 2567 ปรับดีขึ้นจากปีก่อน จากทั้งรายได้ที่มิใช่ดอกเบี้ยตามการวัดมูลค่าตราสารทางการเงินเป็นสำคัญ และรายได้ดอกเบี้ยสุทธิ ประกอบกับค่าใช้จ่ายสำรองลดลงจากการตั้งสำรองสูงในปีก่อน ระบบธนาคารพาณิชย์มีความมั่นคงและมีเสถียรภาพ โดยมีเงินกองทุน เงินสำรอง และสภาพคล่องอยู่ในระดับสูง โดยสินเชื่อระบบธนาคารพาณิชย์ (รวมเครือ) ปี 2567 หดตัวอยู่ที่ 0.4 % จากระยะเดียวกันปีก่อน เป็นการลดลงสูงสุดในรอบ 15 ปี และลดลงต่อเนื่องจากปี 2566 ที่หดตัว 0.3 % เมื่อเทียบกับช่วงก่อนหน้า
โดยสินเชื่อธุรกิจขยายตัว 0.5% ขณะที่ สินเชื่อธุรกิจขนาดใหญ่ขยายตัว ด้านสินเชื่อธุรกิจ SMEs หดตัวลดลง ส่วนสินเชื่ออุปโภคบริโภคหดตัว ติดลบ 1.9% ลดลงต่อเนื่อง โดยเฉพาะสินเชื่อเช่าซื้อที่ได้รับผลกระทบจากปัจจัยเชิงโครงสร้างลดลง 9.9% เป็นการลดลงต่อเนื่อง ส่วนสินเชื่อบัตรเครดิตลดลง 2.3% ลดลงน้อยกว่าช่วงก่อนหน้า ขณะที่สินเชื่อส่วนบุคคลขยายตัว 1.3% เติบโตน้อยลงจากเดิมที่เคยขยายตัวได้ 3.7% ด้านสินเชื่อที่อยู่อาศัยขยายตัว 0.3% ทั้งนี้ยอดคงค้างสินเชื่อ NPL ไตรมาส 4 ปี 2567 ปรับลดลงมาอยู่ที่ 552.1 พันล้านบาท ส่งผลให้สัดส่วน NPL ต่อสินเชื่อรวมปรับลดลงมาอยู่ที่ 2.78% โดยหลักจากสินเชื่อธุรกิจ
สินเชื่อบ้าน NPL เพิ่มขึ้น 3.88% จากเดิม 3.82% ซึ่งส่วนหนึ่งเป็นผลจากการบริหารจัดการคุณภาพหนี้และการให้ความช่วยเหลือลูกหนี้อย่างต่อเนื่องของธนาคารพาณิชย์ รวมทั้งลูกหนี้บางส่วนสามารถกลับมาชำระหนี้ได้ตามเงื่อนไขการปรับโครงสร้างหนี้ NPLบัตรเครดิต 3.12% ลดลงจาก 3.65% ดีขึ้นจากการที่คงอัตราชำระขั้นต่ำบัตรเครดิตไว้ที่ 8% และลูกหนี้บางส่วนสามารถกลับมาชำระหนี้ได้ โดยรวมลูกหนี้ปรับชั้นดีขึ้นประกอบกับมีการจัดชั้นเชิงคุณภาพของสินเชื่อธุรกิจ ส่งผลให้สินเชื่อ stage 2 เพิ่มขึ้น 6.98%
นางสาวชญาวดี ชัยอนันต์ ผู้ช่วยผู้ว่าการ ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.)กล่าวว่า วันที่ 11 กุมภาพันธ์ 2567 ที่ผ่านมา ธปท.ได้เชิญสมาคมและตัวแทนผู้ประกอบการในธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ และก่อสร้าง รวมถึงธนาคารพาณิชย์ ร่วมแลกเปลี่ยนมุมมองต่อภาวะและแนวโน้มของธุรกิจ รับฟังความกังวลต่อปัจจัยเสี่ยงต่างๆ รวมถึงการปรับตัวเพื่อรองรับความท้าทายและโอกาสในการดำเนินธุรกิจในหลายๆ มิติ โดยธ ปท.จะนำข้อมูลที่ได้จากการประชุมประกอบการพิจารณาดำเนินนโยบายให้เหมาะสมต่อสภาพเศรษฐกิจและการเงิน
"ผู้ประกอบการอสังหาริมทรัพย์ได้ขอให้ธปท.พิจารณาเกณฑ์อัตราส่วนเงินให้สินเชื่อต่อมูลค่าหลักประกัน (Loan to Value หรือ LTV) เพราะยอดขายอสังหาริมทรัพย์ยังไม่ฟื้นตัว ซึ่งธปท. เห็นข้อมูลดังกล่าว มีความเป็นห่วงและกำลังอยู่ในขั้นตอนของการเก็บข้อมูล เพื่อนำมาประกอบการพิจารณา ซึ่งต้องพิจารณากันให้ครบทุกด้าน ทุกมิติ ซึ่งประเด็นการพิจารณาผ่อนคลาย LTV จะกระตุ้นอสังหาฯได้จริงหรือไม่ ต้องหารือร่วมกันหลายภาคส่วน ตอนนี้แบงก์ปล่อยกู้ได้น้อยลง เพราะความเสี่ยงสูง การจะใช้ LTV มาช่วย ก็ต้องพิจารณาอย่างละเอียด โดยเฉพาะบ้านหลังที่ 2 หลังที่ 3 ส่วนจุดยืนธปท.จะดูสถานการณ์ที่เหมาะสม และต้องมีประโยชน์ได้จริง ส่วนจะเห็นการปรับ LTV ภายในครึ่งปีแรกของปี 2568 หรือไม่นั้นยังตอบไม่ได้" ผู้ช่วย ผู้ว่าการ ธปท. กล่าว
โดยสินเชื่อธุรกิจขยายตัว 0.5% ขณะที่ สินเชื่อธุรกิจขนาดใหญ่ขยายตัว ด้านสินเชื่อธุรกิจ SMEs หดตัวลดลง ส่วนสินเชื่ออุปโภคบริโภคหดตัว ติดลบ 1.9% ลดลงต่อเนื่อง โดยเฉพาะสินเชื่อเช่าซื้อที่ได้รับผลกระทบจากปัจจัยเชิงโครงสร้างลดลง 9.9% เป็นการลดลงต่อเนื่อง ส่วนสินเชื่อบัตรเครดิตลดลง 2.3% ลดลงน้อยกว่าช่วงก่อนหน้า ขณะที่สินเชื่อส่วนบุคคลขยายตัว 1.3% เติบโตน้อยลงจากเดิมที่เคยขยายตัวได้ 3.7% ด้านสินเชื่อที่อยู่อาศัยขยายตัว 0.3% ทั้งนี้ยอดคงค้างสินเชื่อ NPL ไตรมาส 4 ปี 2567 ปรับลดลงมาอยู่ที่ 552.1 พันล้านบาท ส่งผลให้สัดส่วน NPL ต่อสินเชื่อรวมปรับลดลงมาอยู่ที่ 2.78% โดยหลักจากสินเชื่อธุรกิจ
สินเชื่อบ้าน NPL เพิ่มขึ้น 3.88% จากเดิม 3.82% ซึ่งส่วนหนึ่งเป็นผลจากการบริหารจัดการคุณภาพหนี้และการให้ความช่วยเหลือลูกหนี้อย่างต่อเนื่องของธนาคารพาณิชย์ รวมทั้งลูกหนี้บางส่วนสามารถกลับมาชำระหนี้ได้ตามเงื่อนไขการปรับโครงสร้างหนี้ NPLบัตรเครดิต 3.12% ลดลงจาก 3.65% ดีขึ้นจากการที่คงอัตราชำระขั้นต่ำบัตรเครดิตไว้ที่ 8% และลูกหนี้บางส่วนสามารถกลับมาชำระหนี้ได้ โดยรวมลูกหนี้ปรับชั้นดีขึ้นประกอบกับมีการจัดชั้นเชิงคุณภาพของสินเชื่อธุรกิจ ส่งผลให้สินเชื่อ stage 2 เพิ่มขึ้น 6.98%
นางสาวชญาวดี ชัยอนันต์ ผู้ช่วยผู้ว่าการ ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.)กล่าวว่า วันที่ 11 กุมภาพันธ์ 2567 ที่ผ่านมา ธปท.ได้เชิญสมาคมและตัวแทนผู้ประกอบการในธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ และก่อสร้าง รวมถึงธนาคารพาณิชย์ ร่วมแลกเปลี่ยนมุมมองต่อภาวะและแนวโน้มของธุรกิจ รับฟังความกังวลต่อปัจจัยเสี่ยงต่างๆ รวมถึงการปรับตัวเพื่อรองรับความท้าทายและโอกาสในการดำเนินธุรกิจในหลายๆ มิติ โดยธ ปท.จะนำข้อมูลที่ได้จากการประชุมประกอบการพิจารณาดำเนินนโยบายให้เหมาะสมต่อสภาพเศรษฐกิจและการเงิน
"ผู้ประกอบการอสังหาริมทรัพย์ได้ขอให้ธปท.พิจารณาเกณฑ์อัตราส่วนเงินให้สินเชื่อต่อมูลค่าหลักประกัน (Loan to Value หรือ LTV) เพราะยอดขายอสังหาริมทรัพย์ยังไม่ฟื้นตัว ซึ่งธปท. เห็นข้อมูลดังกล่าว มีความเป็นห่วงและกำลังอยู่ในขั้นตอนของการเก็บข้อมูล เพื่อนำมาประกอบการพิจารณา ซึ่งต้องพิจารณากันให้ครบทุกด้าน ทุกมิติ ซึ่งประเด็นการพิจารณาผ่อนคลาย LTV จะกระตุ้นอสังหาฯได้จริงหรือไม่ ต้องหารือร่วมกันหลายภาคส่วน ตอนนี้แบงก์ปล่อยกู้ได้น้อยลง เพราะความเสี่ยงสูง การจะใช้ LTV มาช่วย ก็ต้องพิจารณาอย่างละเอียด โดยเฉพาะบ้านหลังที่ 2 หลังที่ 3 ส่วนจุดยืนธปท.จะดูสถานการณ์ที่เหมาะสม และต้องมีประโยชน์ได้จริง ส่วนจะเห็นการปรับ LTV ภายในครึ่งปีแรกของปี 2568 หรือไม่นั้นยังตอบไม่ได้" ผู้ช่วย ผู้ว่าการ ธปท. กล่าว
ข่าวนโยบายการเงิน-การคลัง อื่นๆ