ส่องกล้องอสังหาริมทรัพย์ปี 2568 ยังหนักหน่วงเอกชนตบเท้าพบนายก
วันที่ : 20 มกราคม 2568
สมาคมอสังหาริมทรัพย์ไทย กล่าวว่า สมาคมเสนอขยายอายุลดค่าธรรมเนียมการโอนและจดจำนองต่อเนื่อง รวมถึงอยากให้ธนาคารแห่งประเทศไทย (แบงก์ชาติ) ผ่อนปรนมาตรการ LTV ให้คนที่มีความจำเป็นซื้อที่อยู่อาศัยหลังที่สองใกล้แหล่งงาน สถานศึกษาบุตรหลาน ให้สามารถกู้ได้ 100% เหมือนบ้านหลังแรก
วิกฤตอสังหาริมทรัพย์ปี 2567 ตกต่ำสุดในรอบ 10 ปี ดีไม่ดีจะยังคงลากยาวมาถึงปี 2568 ผู้ประกอบการต้องปรับตัว และเตรียมรับมือกับผลจากสถานการณ์ที่จะเกิดขึ้นทั้งเศรษฐกิจภายในประเทศและทั่วโลกผันผวน เหตุการณ์ไม่คาดฝัน ขณะที่ปัญหาหนี้ครัวเรือนยังไม่คลี่คลายกดดันการบริโภคทั้งระบบจากคาดการณ์จีดีพีปี 2568 โต 2.9% ซึ่งขยายตัวมาจากปีที่ผ่านมาเล็กน้อยเท่านั้น ปมปัญหาใหญ่ที่ผู้ประกอบการอสังหาริมทรัพย์เห็นตรงกันมาตั้งแต่ปี 2567 ที่ผ่านมาคือ “ขายได้ แต่โอนไม่ได้” สะท้อนจากสถาบันการเงินเข้มงวดสินเชื่อและยังคงเข้มงวดต่อไป ขณะภาคเอกชนนัดรวมตัวตบเท้าเข้าพบนายกฯ อุ๊งอิ๊งกันอีกครั้งภายในเดือนมกราคม 2568 เพื่อขอการสนับสนุนการกระตุ้นฟื้นฟูธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ไทยอย่างเร่งด่วน!!
นายอิสระ บุญยัง ประธานคณะกรรมการสมาคมการค้ากลุ่มอสังหาริมทรัพย์ ออกแบบและก่อสร้าง สภาหอการค้าแห่งประเทศไทย ให้ความเห็นว่า ปี 2568 มีแนวโน้มจะเป็นปีที่ยากลำบากอีก 1 ปีสำหรับภาคเอกชนที่ประกอบธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ ขณะที่ภาพรวมเศรษฐกิจไทยในปี 2568 ยังคงประเมินยาก เนื่องจากเพิ่งเริ่มต้นปี โดยมีมาตรการต่างๆ ที่รัฐบาลกำลังคิกออฟ เช่น แจกเงิน 10,000 สำหรับผู้สูงอายุ โครงการ Easy E-Receipt ลดหย่อนภาษีได้สูงสุด 50,000 บาท มาตรการแก้หนี้ “คุณสู้ เราช่วย” ที่กำลังเปิดให้ลงทะเบียนถึงวันที่ 28 กุมภาพันธ์นี้ และมาตรการที่เกี่ยวข้องกับอสังหาริมทรัพย์โดยตรง คือโครงการบ้านเพื่อคนไทย ไม่มีเงินดาวน์ ผ่อนเดือนละ 4,000 บาท ครบ 30 ปี ได้สิทธิ์เช่ายาว 99 ปี ถือว่าเป็นมาตรการที่ดี อย่างไรก็ตามบางมาตรการอาจต้องใช้เวลาและบางมาตรการอาจจะต้องมีมาตรการอื่นมาสนับสนุนร่วมกันด้วย เหตุนี้ภาคเอกชนธุรกิจอสังหาริมทรัพย์จึงนัดหมายกันรวมกลุ่มเพื่อขอเข้าพบนายกรัฐมนตรีแพทองธาร ให้ดำเนินมาตรการเพื่อกระตุ้นอสังหาริมทรัพย์ ซึ่งจะเป็นผลดีเนื่องจากธุรกิจอสังหาริมทรัพย์เป็นหัวขบวนที่นำพาระบบเศรษฐกิจที่เกี่ยวเนื่องเติบโตไปด้วยกันได้อีกมาก
“ธุรกิจอสังหาฯ ถือเป็นส่วนหนึ่งที่สามารถกระตุ้นเศรษฐกิจได้ เพราะเกี่ยวเนื่องกับหลายธุรกิจ เช่น การก่อสร้าง วัสดุก่อสร้าง และเพื่อให้ตลาดอสังหาฯ ได้ขับเคลื่อนอย่างต่อเนื่อง ประมาณกลางเดือนมกราคม 2568 ทั้ง 7 องค์กรด้านอสังหาริมทรัพย์ ประกอบด้วย คณะกรรมการสมาคมการค้ากลุ่มอสังหาริมทรัพย์ ออกแบบ และก่อสร้าง สภาหอการค้าแห่งประเทศไทย สมาคมธุรกิจบ้านจัดสรร สมาคมอาคารชุดไทย สมาคมอสังหาริมทรัพย์ไทย สมาคมธุรกิจรับสร้างบ้าน สมาคมการขายและการตลาดอสังหาริมทรัพย์ สมาคมนายหน้าอสังหาริมทรัพย์ไทย จะทำหนังสือถึง นายกฯ แพทองธาร ชินวัตร และ นายพิชัย ชุณหวชิร รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง รวมถึงกระทรวงมหาดไทย”
ทั้งนี้การนัดรวมตัวของภาคเอกชนดังกล่าว เพื่อขอให้พิจารณามาตรการกระตุ้นอสังหาริมทรัพย์ และต่ออายุมาตรการกระตุ้นอสังหาฯ ที่หมดอายุออกไปอีก และยกเลิกมาตรการที่เป็นอุปสรรค เช่น LTV
“สถานการณ์เศรษฐกิจยังไม่ฟื้นตัว ต้นทุนต่างๆ ที่เกิดจากปัจจัยภายในและภายนอกไม่ลดลง ควรต้องมีมาตรการกระตุ้นตลาดอสังหาฯ อย่างต่อเนื่อง เช่น มาตรการลดค่าธรรมเนียมการโอนและจดจำนองมีความจำเป็น”
นายอิสระกล่าวว่า หากได้เข้าพบนายกรัฐมนตรีจะมีข้อเสนอ 4 ข้อคือ
1. ขยายอายุมาตรการลดค่าธรรมเนียมการโอนและจดจำนอง เหลือ 0.01% ออกไปก่อน
2. สนับสนุนดอกเบี้ยต่ำ ขอสินเชื่อง่ายขึ้นสำหรับคนที่พร้อม
3. ลดภาระภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างปี 2568 ลง 50% จนกว่าเศรษฐกิจจะฟื้นตัวดี
4. ลดขนาดที่ดินจัดสรรให้ประชาชนมีโอกาสอยู่ในเมือง
นอกจากนี้ยังมีมาตรการอื่นอย่างเช่นรับสร้างบ้านลดหย่อนภาษีล้านละหมื่น มาตรการยังไม่หมดอายุ ตลอดจนการแก้กฎหมายอาคารชุดต่างชาติถือครองกรรมสิทธิ์ 75% ขณะการเช่าที่ดิน 99 ปี รัฐบาลมีนโยบายโครงการบ้านเพื่อคนไทยใช้ “กฎหมายทรัพย์อิงสิทธิ์” ที่ดำเนินการอยู่แล้ว
สำหรับมาตรการ LTV (Loan to Value Ratio) หรือ อัตราส่วนที่ธนาคารสามารถให้สินเชื่อได้ เมื่อเทียบกับราคาบ้านที่ซื้อ ข้อนี้จะเสนอต่อธนาคารแห่งประเทศไทยอีกครั้ง เพื่อพิจารณาทบทวนหรือยกเลิกชั่วคราว เพื่อให้ผู้ที่มีความจำเป็นซื้อบ้านหลังที่สองอยู่ใกล้แหล่งงานสามารถกู้ได้เต็ม100% เท่ากับบ้านหลังแรก
นายอธิป พีชานนท์ นายกกิตติมศักดิ์สมาคมธุรกิจบ้านจัดสรร วิเคราะห์ว่าตลาดอสังหาฯ ยังมีปัจจัยเสี่ยง ส่วนมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจผ่านภาคอสังหาฯ ต้องมีความต่อเนื่อง โดยเฉพาะการขยายอายุมาตรการลดค่าธรรมเนียมการโอนและจดจำนอง ที่หวังว่าจะได้ต่ออายุออกไป หากไม่ดำเนินการต่อเชื่อว่าตลาดอสังหาฯ จะโคม่ามากกว่าปี 2567 ที่ผ่านมา
“สิ่งที่มองว่าจำเป็นและควรผลักดันต่อเนื่องคือ การลดภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างลง 50% เนื่องจากเศรษฐกิจชะลอตัวหากเรียกเก็บเต็ม 100% จะกระทบกับประชาชนและเกิดการค้างชำระภาษีตามมา”
นายสุนทร สถาพร นายกสมาคมธุรกิจบ้านจัดสรร กล่าวว่าภายในเดือนมกราคมนี้ สมาคมมีแผนเสนอต่ออายุมาตรการลดค่าธรรมเนียมการโอนและจดจำนองเพื่อให้เกิดความต่อเนื่อง ทั้งนี้มองว่าอสังหาฯ ปี 2567 ที่ผ่านมาตกต่ำที่สุดในรอบ 10 ปี และหวังว่าปี 2568 จะเริ่มฟื้นตัวได้และคาดว่าปี 2569 น่าจะฟื้นตัวกลับมายืนได้ตามปกติจากอานิสงส์มาตรการรัฐบาลที่อัดฉีดทั้งโครงการแก้หนี้ คุณสู้ เราช่วย มาตรการสินเชื่อดอกเบี้ยต่ำจาก ธอส. วงเงิน 1.2 แสนล้านบาทรวมถึงมาตรการใหม่ๆ ที่จะออกมา ซึ่งจะช่วยให้ประชาชนและธุรกิจเอสเอ็มอีลดภาระหนี้ลงและสามารถกลับมาขอสินเชื่อใหม่
นายพรนริศ ชวนไชยสิทธิ์ นายกสมาคมอสังหาริมทรัพย์ไทย กล่าวว่า สมาคมเสนอขยายอายุลดค่าธรรมเนียมการโอนและจดจำนองต่อเนื่อง รวมถึงอยากให้ธนาคารแห่งประเทศไทย (แบงก์ชาติ) ผ่อนปรนมาตรการ LTV ให้คนที่มีความจำเป็นซื้อที่อยู่อาศัยหลังที่สองใกล้แหล่งงาน สถานศึกษาบุตรหลาน ให้สามารถกู้ได้ 100% เหมือนบ้านหลังแรก
นายประเสริฐ แต่ดุลยสาธิต นายกสมาคมอาคารชุดไทย กล่าวว่า สมาคมเตรียมเสนอมาตรการกระตุ้นอสังหาฯ ต่อรัฐบาลซึ่งประกอบด้วย ต่ออายุมาตรการลดค่าธรรมเนียมการโอน และจดจำนอง, สถาบันการเงินสนับสนุนสินเชื่อดอกเบี้ยต่ำและปล่อยสินเชื่อตามข้อเท็จจริง รวมถึงเสนอประธานคณะกรรมการแบงก์ชาติคนใหม่และผู้ว่าการแบงก์ชาติ พิจารณาทบทวน หรือยกเลิก LTV ชั่วคราว เพื่อกระตุ้นกำลังซื้อให้เกิดการหมุนเวียนกลับมาได้
“แนวโน้มในปี 2568 คาดว่าตลาดอสังหาฯ จะเริ่มฟื้นตัว โดยยอดขายอาจเพิ่มขึ้น 5-10% จากปีนี้ แต่ยังต่ำกว่าปีก่อนหน้า และยังเผชิญความท้าทาย โดยเฉพาะดีมานด์ในประเทศที่ยังไม่ฟื้นตัวเต็มที่ ขณะที่ดีมานด์ต่างชาติยังคงเข้ามาประคับประคองตลาด โดยเฉพาะในเมืองท่องเที่ยวอย่างภูเก็ต ชลบุรี เชียงใหม่ และกรุงเทพฯ ปัญหาสำคัญคือดอกเบี้ยที่ยังสูง และนโยบาย LTV ของธนาคารแห่งประเทศไทย ซึ่งส่งผลกระทบอย่างหนักต่อดีมานด์ในประเทศ ทำให้คนไทย โดยเฉพาะกลุ่มรายได้ระดับกลางล่าง ไม่มีโอกาสซื้อบ้านเป็นของตนเอง
ขอเรียกร้องให้มีการลดอัตราดอกเบี้ยและทบทวนนโยบาย LTV เพื่อกระตุ้นกำลังซื้อในประเทศ พร้อมสนับสนุนนโยบายเพื่อดึงดูด และจัดระเบียบดีมานด์จากต่างชาติให้โปร่งใส เกิดประโยชน์สูงสุดต่อเศรษฐกิจไทย โดยเฉพาะในตลาดอสังหาริมทรัพย์ที่ถือเป็นเสาหลักของเศรษฐกิจประเทศ จากการจัดเก็บภาษีเพื่อนำมาสนับสนุนให้คนในประเทศได้มีที่อยู่อาศัย”
อสังหาฯ เป็นหนึ่งในเครื่องยนต์สำคัญที่ทุกรัฐบาลใช้ขับเคลื่อนเศรษฐกิจประเทศ และเชื่อว่าไม่มีใครอยากเห็นเครื่องยนต์ตัวนี้ต้องดับวูบลง!!
นายอุทัย อุทัยแสงสุข กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท แสนสิริ วิเคราะห์ว่า ภาพรวมตลาดอสังหาริมทรัพย์ปี 2568 ขึ้นอยู่กับภาวะเศรษฐกิจ หากจีดีพีขยายตัว 3% จะช่วยกระตุ้นกำลังซื้อในประเทศ ทำให้ตลาดอสังหาริมทรัพย์ปรับตัวดีขึ้น นอกจากนี้ต้องรอดูว่าภาคการท่องเที่ยวไทย จะมีจำนวนนักท่องเที่ยวมาเยือนได้ 40 ล้านคนตามเป้าหมายหรือไม่ รวมทั้งภาคการส่งออก หลังมีนโยบายของ โดนัลด์ ทรัมป์ จะส่งผลดีหรือไม่ต่อการส่งออกของไทย ขณะที่การท่องเที่ยวและส่งออกเป็นเครื่องยนต์หลักในการกระตุ้นเศรษฐกิจประเทศหากขยายตัวได้ดีจะส่งผลต่อจีดีพีอาจจะเติบโตมากกว่า 3% จะส่งผลดีต่อเนื่องถึงภาคอสังหาริมทรัพย์
“ที่สำคัญต้องรอดูนโยบายรัฐบาลที่เข้ามาช่วยแก้ปัญหาหนี้ครัวเรือน จะช่วยได้มากน้อยแค่ไหน เพราะเป็นปัญหาใหญ่ของคนที่ต้องการซื้อบ้าน โดยเฉพาะกลุ่มราคาไม่เกิน 3 ล้านบาท ซึ่งเป็นตลาดใหญ่ที่เผชิญปัญหากู้ไม่ผ่าน 50% ทำให้การโอนกรรมสิทธิ์ล่าช้า หากหนี้ครัวเรือนได้รับการแก้ไข และเศรษฐกิจดีขึ้นจะทำให้ความสามารถในการใช้จ่ายของผู้บริโภคเพิ่มขึ้นส่งผลดีต่อการซื้อบ้าน
อย่างไรก็ดี จากแนวโน้มนักลงทุนย้ายฐานผลิตมายังประเทศไทยเพิ่มขึ้น ถือเป็นสัญญาณที่ดีต่ออสังหาริมทรัพย์ เพราะทำให้ดีมานด์ที่อยู่อาศัยเพิ่มขึ้นตามไปด้วย”
นายวิทการ จันทวิมล รองกรรมการผู้อำนวยการ สายงานกลยุทธ์องค์กรและการสร้างสรรค์ บริษัท เอพี (ไทยแลนด์) กล่าวว่าการดำเนินธุรกิจในปี 2568 ผู้ประกอบการเผชิญความท้าทายไม่ต่างจากปี 2567 ดังนั้น ต้องระมัดระวังการลงทุน “ไม่ประมาท” ส่วนปัจจัยที่มีผลกระทบต่อตลาดที่สำคัญยังคงเป็นเรื่องกำลังซื้อในประเทศที่อ่อนแอ อีกปัจจัยสำคัญที่ต้องจับตามองคือ นโยบายประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ ของสหรัฐ ที่มีผลกระทบต่อเศรษฐกิจโลก รวมทั้งประเทศไทย
นางสาวเกษรา ธัญลักษณ์ภาคย์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท เสนาดีเวลลอปเม้นท์ คาดการณ์ว่า สภาพเศรษฐกิจในปี 2568 ยังคงมีปัจจัยลบที่มีความผันผวนสูงทั้งในประเทศและต่างประเทศ ส่งผลกระทบต่อกำลังซื้อในตลาดอสังหาริมทรัพย์อย่างชัดเจน โดยเฉพาะยอดการปฏิเสธสินเชื่อที่อยู่อาศัยเพิ่มสูงขึ้น เนื่องจากสถาบันการเงินกังวลปัญหาหนี้เสีย ขณะที่รายได้ของประชาชนไม่ได้เพิ่มขึ้นมากตามราคาที่อยู่อาศัยที่เพิ่มสูงขึ้น ทำให้ผู้บริโภครุ่นใหม่ หันมาเลือกเช่าที่อยู่อาศัยแทนการซื้อมากขึ้น
นายขจรศิษฐ์ สิ่งสรรเสริญ ประธานกรรมการและประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ไซมิส แอสเสท กล่าวว่า ในปี 2568 ตลาดอสังหาริมทรัพย์จะยังไม่ฟื้นตัว เป็นผลมาจากปัญหาขอสินเชื่อไม่ผ่าน โดยเฉพาะกลุ่มที่อยู่อาศัยระดับราคา 3 ล้านบาท ซึ่งเป็นปัญหาจากภาวะหนี้ครัวเรือนสูง ทำให้สถาบันการเงินเข้มงวดในการปล่อยสินเชื่อ ทำให้ยอดปฏิเสธสินเชื่อยังคงสูง ดังนั้น ตั้งแต่ปี 2568-2570 บริษัทชะลอการลงทุนซื้อที่ดินมาพัฒนาโครงการใหม่ เน้นพัฒนาโครงการจากที่ดินที่มีอยู่ ล่าสุดได้เปิดตัวโปรแกรมการลงทุนในรูปแบบของ “Investment Program” เพื่อเพิ่มโอกาสในการขาย เน้นให้บริการลูกค้าที่ต้องการสร้างรายได้แบบ Passive Income เจาะลูกค้าคนไทย และต่างชาติ
นายกรมเชษฐ์ วิพันธ์พงษ์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท แอสเซทไวส์ กล่าวว่า แนวโน้มตลาดอสังหาริมทรัพย์ในตอนนี้ถ้ามองในแง่บวกคิดว่ามีโอกาสดี เนื่องจากอัตราดอกเบี้ยน่าจะปรับลดลงในอนาคต ซึ่งจะช่วยกระตุ้นความสามารถในการซื้อของผู้บริโภค อีกทั้งซัพพลายในตลาดที่หายไป และต้นทุนค่าก่อสร้างยังไม่ปรับตัวเพิ่มขึ้นมาก เพราะราคาน้ำมันซึ่งเป็นต้นทุนหลักยังคงทรงตัว ต้นทุนวัสดุก่อสร้างจึงไม่ได้เพิ่มขึ้น ทำให้ผู้บริโภคยังมีโอกาสซื้อในราคาที่ไม่สูงเกินไป
ภาวะหนี้ครัวเรือนที่อยู่ในระดับสูงยังเป็นปัจจัยที่กดดันกำลังซื้อของประชาชน หากอัตราดอกเบี้ยลดลงจริงในอนาคต ก็อาจช่วยบรรเทาภาระในส่วนนี้ได้ นอกจากนี้ หากรัฐบาลมีมาตรการปรับโครงสร้างหนี้ครัวเรือนและกระตุ้นเศรษฐกิจเพื่อเพิ่มรายได้ให้ประชาชน จะช่วยสร้างแรงขับเคลื่อนที่สำคัญ ทั้งในด้านการจับจ่ายใช้สอยและการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ อีกทั้ง บ้านเป็นหนึ่งในปัจจัย 4 ที่สำคัญของชีวิต หากไม่พร้อม แต่ก็ไม่ควรเร่งรีบซื้อเพราะจะทำให้กลายเป็นภาระ แต่หากมีความพร้อม บ้านถือเป็นรากฐานของความมั่นคงในชีวิต การตัดสินใจซื้อบ้านจึงควรอยู่บนพื้นฐานของความพร้อมและความจำเป็นในชีวิต
ดร.ประทีป ตั้งมติธรรม ประธานกรรมการบริหาร บริษัท ศุภาลัย กล่าวว่า ภาพรวมตลาดอสังหาริมทรัพย์ปีนี้ไปจนถึงปีหน้า มองว่าสถานการณ์จะดีขึ้น จากการเบิกจ่ายงบประมาณรัฐ เกิดนโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจอีกทั้งดอกเบี้ยที่มีแนวโน้มอยู่ในช่วงขาลง จะทำให้หนี้คนที่มีจะผ่อนค่างวดสบายขึ้น สถานการณ์หนี้ครัวเรือนที่มีอยู่มากอาจผ่อนคลายลง เพราะดอกเบี้ยน้อยลง ธนาคารลดต้นทุน เพิ่มวงเงินสำหรับกู้ซื้อบ้านง่ายขึ้น เศรษฐกิจจะเติบโตอย่างแน่นอน
นายภูมิพัฒน์ สินาเจริญ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท พราว เรียล เอสเตท วิเคราะห์ว่า ตลาดอสังหาริมทรัพย์เมื่อปี 2567 มีความน่าสนใจในหลายแง่มุม หากดูผลกำไร พบว่าหลายบริษัทมีกำไรในระดับที่สูง บางแห่งแตะถึง 3,000-4,000 ล้านบาท แม้ว่าจะไม่ได้ถึงเป้าหมายยอดขายที่ตั้งไว้ ซึ่งอาจหมายถึงความเหนื่อยยากในการทำธุรกิจ แต่ไม่ได้สะท้อนว่าตลาดอยู่ในสถานการณ์ที่เลวร้ายมากจนเกินไป ในทางกลับกันตัวเลขหนี้เสีย (NPL) ของภาคอสังหาริมทรัพย์พุ่งสูงขึ้นแตะ 3.7% ซึ่งเป็นระดับที่สูงที่สุดในรอบหลายปี จากปี 2566 เพียง 3% เท่านั้น ส่งผลให้ธนาคารระมัดระวังในการปล่อยสินเชื่อ ส่งผลต่อภาพรวมของตลาดสินเชื่ออสังหาริมทรัพย์ที่ลดลงถึง 11% ในปี 2567 โดยในไตรมาส 3/2567 การปล่อยสินเชื่อลดลงประมาณ 1%
แม้สภาพตลาดจะเผชิญความยากลำบากจากการปล่อยสินเชื่อ แต่ยังคงมีกลุ่มลูกค้าที่สามารถซื้อได้ ซึ่งส่วนใหญ่เป็นผู้ที่มีความพร้อมทางการเงิน ในขณะเดียวกัน มาตรการ LTV ส่งผลให้กลุ่มนักเก็งกำไรเกือบทั้งหมดหายไปจากตลาด แต่ตัวเลขยอดขาย (Presale) ในหลายโครงการของพราวก็ยังดำเนินไปได้ดี เฉลี่ยประมาณ 70% ของยอดขายทั้งหมดในแต่ละโครงการ
“ในปี 2568 คาดว่าปัจจัยสำคัญที่ทำให้ตลาดดูมีเสถียรภาพแม้จะชะลอตัว คือ Supply ที่ลดลงอย่างมาก การเปิดตัวโครงการใหม่ลดลงประมาณ 40% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว ซึ่งการลดลงของอุปทาน หรือ Supply ขณะที่ยังมีอุปสงค์จากฝั่งผู้บริโภค จะช่วยสร้างสมดุลให้กับตลาดอสังหาริมทรัพย์เมื่อช่วงที่มีความต้องการลดลง
นายอุทัย อุทัยแสงสุข กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท แสนสิริ กล่าวว่า ตลาดอสังหาริมทรัพย์ยังคงมีแนวโน้มเติบโตตามการขยายตัวของ GDP ซึ่งคาดการณ์ว่าอาจเติบโตได้ถึง 3% หรือมากกว่านั้น โดยได้รับแรงหนุนจากการฟื้นตัวของภาคการท่องเที่ยวและการส่งออก อย่างไรก็ตาม ประเทศไทยจำเป็นต้องรักษาความสามารถในภาคอุตสาหกรรมเหล่านี้เพื่อสนับสนุนการเติบโตของเศรษฐกิจ ปัจจัยสำคัญที่ยังคงเป็นอุปสรรคต่อการเติบโตของตลาดอสังหาริมทรัพย์คือปัญหาหนี้ครัวเรือนที่อยู่ในระดับสูง ซึ่งส่งผลกระทบต่อกลุ่มผู้บริโภคที่ต้องการซื้อบ้านในช่วงราคาประมาณ 3-4 ล้านบาท หลายคนไม่สามารถเข้าถึงสินเชื่อได้ และยังทำให้การโอนกรรมสิทธิ์ล่าช้า หากปัญหาหนี้ครัวเรือนได้รับการแก้ไข จะช่วยเพิ่มความสามารถในการใช้จ่ายของผู้บริโภค และส่งผลดีต่อตลาดอสังหาริมทรัพย์โดยรวม
นายสุรเชษฐ กองชีพ หัวหน้าฝ่ายวิจัยและที่ปรึกษา คุชแมน แอนด์ เวคฟิลด์ ประเทศไทย ประเมินว่า ภาคเอกชนอาจจะยังคงมีการลงทุนต่อเนื่อง เพียงแต่เป็นการลงทุนในจังหวัดที่น่าสนใจ และมีกำลังซื้ออยู่แล้ว ไม่ได้กระจายการลงทุนไปในส่วนอื่นๆ หรือในพื้นที่ใหม่ๆ การท่องเที่ยวกลับมาดีขึ้นกว่าก่อนหน้านี้แบบชัดเจน ปี 2567 ที่ผ่านมามีนักท่องเที่ยวต่างชาติเข้าประเทศไทยประมาณ 35 ล้านคน ปี 2568 คาดว่าจะถึง 40 ล้านคนหรือมากกว่านั้น เพราะหลายกิจกรรมที่เกิดขึ้นในแต่ละช่วงเวลาในประเทศไทยในปีที่ผ่านมามีการเผยแพร่ออกไปหลายประเทศและได้รับความสนใจมาก จึงคาดว่าปีนี้จะมีนักท่องเที่ยวต่างชาติเข้าประเทศไทยมากขึ้น เพียงรูปแบบการท่องเที่ยวอาจจะไม่เหมือนช่วงก่อนปี 2563 อาจจะมีการใช่จ่ายเงินลดลง เน้นการท่องเที่ยวด้วยตนเอง อาจจะไม่ได้ประหยัดมาก แต่เน้นที่ประสบการณ์ใหม่ๆ มากขึ้น ธุรกิจการท่องเที่ยวในปี 2568 จะยังมีการขยายตัวที่ดีต่อเนื่องแน่นอน
การลงทุนจากต่างประเทศในปีที่ผ่านมามีมากขึ้นจากช่วงหลายปีก่อนหน้านี้ และคาดว่าจะมากขึ้นในปี 2568 เพราะเรื่องของประธานาธิบดีคนใหม่ของสหรัฐอเมริกาและนโยบายที่คาดว่าจะมีผลแน่นอนในปี 2568 ส่งผลให้การลงทุนในหลายประเทศต้องมีการเปลี่ยนแปลง โรงงานผลิตสินค้าบางอย่างจำเป็นต้องหาฐานการผลิตใหม่ ซึ่งประเทศไทยก็เป็นหนึ่งในประเทศเป้าหมายที่มีกลุ่มของนักลงทุนต่างชาติเข้ามาลงทุนในประเทศไทยมากขึ้น เพียงแต่ไม่ใช่ประเทศเป้าหมายอันดับต้นๆ เท่านั้น ซึ่งการเคลื่อนไหวนี้เห็นได้ชัดเจนตั้งแต่ปี 2567 แล้ว
นายอิสระ บุญยัง ประธานคณะกรรมการสมาคมการค้ากลุ่มอสังหาริมทรัพย์ ออกแบบและก่อสร้าง สภาหอการค้าแห่งประเทศไทย ให้ความเห็นว่า ปี 2568 มีแนวโน้มจะเป็นปีที่ยากลำบากอีก 1 ปีสำหรับภาคเอกชนที่ประกอบธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ ขณะที่ภาพรวมเศรษฐกิจไทยในปี 2568 ยังคงประเมินยาก เนื่องจากเพิ่งเริ่มต้นปี โดยมีมาตรการต่างๆ ที่รัฐบาลกำลังคิกออฟ เช่น แจกเงิน 10,000 สำหรับผู้สูงอายุ โครงการ Easy E-Receipt ลดหย่อนภาษีได้สูงสุด 50,000 บาท มาตรการแก้หนี้ “คุณสู้ เราช่วย” ที่กำลังเปิดให้ลงทะเบียนถึงวันที่ 28 กุมภาพันธ์นี้ และมาตรการที่เกี่ยวข้องกับอสังหาริมทรัพย์โดยตรง คือโครงการบ้านเพื่อคนไทย ไม่มีเงินดาวน์ ผ่อนเดือนละ 4,000 บาท ครบ 30 ปี ได้สิทธิ์เช่ายาว 99 ปี ถือว่าเป็นมาตรการที่ดี อย่างไรก็ตามบางมาตรการอาจต้องใช้เวลาและบางมาตรการอาจจะต้องมีมาตรการอื่นมาสนับสนุนร่วมกันด้วย เหตุนี้ภาคเอกชนธุรกิจอสังหาริมทรัพย์จึงนัดหมายกันรวมกลุ่มเพื่อขอเข้าพบนายกรัฐมนตรีแพทองธาร ให้ดำเนินมาตรการเพื่อกระตุ้นอสังหาริมทรัพย์ ซึ่งจะเป็นผลดีเนื่องจากธุรกิจอสังหาริมทรัพย์เป็นหัวขบวนที่นำพาระบบเศรษฐกิจที่เกี่ยวเนื่องเติบโตไปด้วยกันได้อีกมาก
“ธุรกิจอสังหาฯ ถือเป็นส่วนหนึ่งที่สามารถกระตุ้นเศรษฐกิจได้ เพราะเกี่ยวเนื่องกับหลายธุรกิจ เช่น การก่อสร้าง วัสดุก่อสร้าง และเพื่อให้ตลาดอสังหาฯ ได้ขับเคลื่อนอย่างต่อเนื่อง ประมาณกลางเดือนมกราคม 2568 ทั้ง 7 องค์กรด้านอสังหาริมทรัพย์ ประกอบด้วย คณะกรรมการสมาคมการค้ากลุ่มอสังหาริมทรัพย์ ออกแบบ และก่อสร้าง สภาหอการค้าแห่งประเทศไทย สมาคมธุรกิจบ้านจัดสรร สมาคมอาคารชุดไทย สมาคมอสังหาริมทรัพย์ไทย สมาคมธุรกิจรับสร้างบ้าน สมาคมการขายและการตลาดอสังหาริมทรัพย์ สมาคมนายหน้าอสังหาริมทรัพย์ไทย จะทำหนังสือถึง นายกฯ แพทองธาร ชินวัตร และ นายพิชัย ชุณหวชิร รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง รวมถึงกระทรวงมหาดไทย”
ทั้งนี้การนัดรวมตัวของภาคเอกชนดังกล่าว เพื่อขอให้พิจารณามาตรการกระตุ้นอสังหาริมทรัพย์ และต่ออายุมาตรการกระตุ้นอสังหาฯ ที่หมดอายุออกไปอีก และยกเลิกมาตรการที่เป็นอุปสรรค เช่น LTV
“สถานการณ์เศรษฐกิจยังไม่ฟื้นตัว ต้นทุนต่างๆ ที่เกิดจากปัจจัยภายในและภายนอกไม่ลดลง ควรต้องมีมาตรการกระตุ้นตลาดอสังหาฯ อย่างต่อเนื่อง เช่น มาตรการลดค่าธรรมเนียมการโอนและจดจำนองมีความจำเป็น”
นายอิสระกล่าวว่า หากได้เข้าพบนายกรัฐมนตรีจะมีข้อเสนอ 4 ข้อคือ
1. ขยายอายุมาตรการลดค่าธรรมเนียมการโอนและจดจำนอง เหลือ 0.01% ออกไปก่อน
2. สนับสนุนดอกเบี้ยต่ำ ขอสินเชื่อง่ายขึ้นสำหรับคนที่พร้อม
3. ลดภาระภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างปี 2568 ลง 50% จนกว่าเศรษฐกิจจะฟื้นตัวดี
4. ลดขนาดที่ดินจัดสรรให้ประชาชนมีโอกาสอยู่ในเมือง
นอกจากนี้ยังมีมาตรการอื่นอย่างเช่นรับสร้างบ้านลดหย่อนภาษีล้านละหมื่น มาตรการยังไม่หมดอายุ ตลอดจนการแก้กฎหมายอาคารชุดต่างชาติถือครองกรรมสิทธิ์ 75% ขณะการเช่าที่ดิน 99 ปี รัฐบาลมีนโยบายโครงการบ้านเพื่อคนไทยใช้ “กฎหมายทรัพย์อิงสิทธิ์” ที่ดำเนินการอยู่แล้ว
สำหรับมาตรการ LTV (Loan to Value Ratio) หรือ อัตราส่วนที่ธนาคารสามารถให้สินเชื่อได้ เมื่อเทียบกับราคาบ้านที่ซื้อ ข้อนี้จะเสนอต่อธนาคารแห่งประเทศไทยอีกครั้ง เพื่อพิจารณาทบทวนหรือยกเลิกชั่วคราว เพื่อให้ผู้ที่มีความจำเป็นซื้อบ้านหลังที่สองอยู่ใกล้แหล่งงานสามารถกู้ได้เต็ม100% เท่ากับบ้านหลังแรก
นายอธิป พีชานนท์ นายกกิตติมศักดิ์สมาคมธุรกิจบ้านจัดสรร วิเคราะห์ว่าตลาดอสังหาฯ ยังมีปัจจัยเสี่ยง ส่วนมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจผ่านภาคอสังหาฯ ต้องมีความต่อเนื่อง โดยเฉพาะการขยายอายุมาตรการลดค่าธรรมเนียมการโอนและจดจำนอง ที่หวังว่าจะได้ต่ออายุออกไป หากไม่ดำเนินการต่อเชื่อว่าตลาดอสังหาฯ จะโคม่ามากกว่าปี 2567 ที่ผ่านมา
“สิ่งที่มองว่าจำเป็นและควรผลักดันต่อเนื่องคือ การลดภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างลง 50% เนื่องจากเศรษฐกิจชะลอตัวหากเรียกเก็บเต็ม 100% จะกระทบกับประชาชนและเกิดการค้างชำระภาษีตามมา”
นายสุนทร สถาพร นายกสมาคมธุรกิจบ้านจัดสรร กล่าวว่าภายในเดือนมกราคมนี้ สมาคมมีแผนเสนอต่ออายุมาตรการลดค่าธรรมเนียมการโอนและจดจำนองเพื่อให้เกิดความต่อเนื่อง ทั้งนี้มองว่าอสังหาฯ ปี 2567 ที่ผ่านมาตกต่ำที่สุดในรอบ 10 ปี และหวังว่าปี 2568 จะเริ่มฟื้นตัวได้และคาดว่าปี 2569 น่าจะฟื้นตัวกลับมายืนได้ตามปกติจากอานิสงส์มาตรการรัฐบาลที่อัดฉีดทั้งโครงการแก้หนี้ คุณสู้ เราช่วย มาตรการสินเชื่อดอกเบี้ยต่ำจาก ธอส. วงเงิน 1.2 แสนล้านบาทรวมถึงมาตรการใหม่ๆ ที่จะออกมา ซึ่งจะช่วยให้ประชาชนและธุรกิจเอสเอ็มอีลดภาระหนี้ลงและสามารถกลับมาขอสินเชื่อใหม่
นายพรนริศ ชวนไชยสิทธิ์ นายกสมาคมอสังหาริมทรัพย์ไทย กล่าวว่า สมาคมเสนอขยายอายุลดค่าธรรมเนียมการโอนและจดจำนองต่อเนื่อง รวมถึงอยากให้ธนาคารแห่งประเทศไทย (แบงก์ชาติ) ผ่อนปรนมาตรการ LTV ให้คนที่มีความจำเป็นซื้อที่อยู่อาศัยหลังที่สองใกล้แหล่งงาน สถานศึกษาบุตรหลาน ให้สามารถกู้ได้ 100% เหมือนบ้านหลังแรก
นายประเสริฐ แต่ดุลยสาธิต นายกสมาคมอาคารชุดไทย กล่าวว่า สมาคมเตรียมเสนอมาตรการกระตุ้นอสังหาฯ ต่อรัฐบาลซึ่งประกอบด้วย ต่ออายุมาตรการลดค่าธรรมเนียมการโอน และจดจำนอง, สถาบันการเงินสนับสนุนสินเชื่อดอกเบี้ยต่ำและปล่อยสินเชื่อตามข้อเท็จจริง รวมถึงเสนอประธานคณะกรรมการแบงก์ชาติคนใหม่และผู้ว่าการแบงก์ชาติ พิจารณาทบทวน หรือยกเลิก LTV ชั่วคราว เพื่อกระตุ้นกำลังซื้อให้เกิดการหมุนเวียนกลับมาได้
“แนวโน้มในปี 2568 คาดว่าตลาดอสังหาฯ จะเริ่มฟื้นตัว โดยยอดขายอาจเพิ่มขึ้น 5-10% จากปีนี้ แต่ยังต่ำกว่าปีก่อนหน้า และยังเผชิญความท้าทาย โดยเฉพาะดีมานด์ในประเทศที่ยังไม่ฟื้นตัวเต็มที่ ขณะที่ดีมานด์ต่างชาติยังคงเข้ามาประคับประคองตลาด โดยเฉพาะในเมืองท่องเที่ยวอย่างภูเก็ต ชลบุรี เชียงใหม่ และกรุงเทพฯ ปัญหาสำคัญคือดอกเบี้ยที่ยังสูง และนโยบาย LTV ของธนาคารแห่งประเทศไทย ซึ่งส่งผลกระทบอย่างหนักต่อดีมานด์ในประเทศ ทำให้คนไทย โดยเฉพาะกลุ่มรายได้ระดับกลางล่าง ไม่มีโอกาสซื้อบ้านเป็นของตนเอง
ขอเรียกร้องให้มีการลดอัตราดอกเบี้ยและทบทวนนโยบาย LTV เพื่อกระตุ้นกำลังซื้อในประเทศ พร้อมสนับสนุนนโยบายเพื่อดึงดูด และจัดระเบียบดีมานด์จากต่างชาติให้โปร่งใส เกิดประโยชน์สูงสุดต่อเศรษฐกิจไทย โดยเฉพาะในตลาดอสังหาริมทรัพย์ที่ถือเป็นเสาหลักของเศรษฐกิจประเทศ จากการจัดเก็บภาษีเพื่อนำมาสนับสนุนให้คนในประเทศได้มีที่อยู่อาศัย”
อสังหาฯ เป็นหนึ่งในเครื่องยนต์สำคัญที่ทุกรัฐบาลใช้ขับเคลื่อนเศรษฐกิจประเทศ และเชื่อว่าไม่มีใครอยากเห็นเครื่องยนต์ตัวนี้ต้องดับวูบลง!!
นายอุทัย อุทัยแสงสุข กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท แสนสิริ วิเคราะห์ว่า ภาพรวมตลาดอสังหาริมทรัพย์ปี 2568 ขึ้นอยู่กับภาวะเศรษฐกิจ หากจีดีพีขยายตัว 3% จะช่วยกระตุ้นกำลังซื้อในประเทศ ทำให้ตลาดอสังหาริมทรัพย์ปรับตัวดีขึ้น นอกจากนี้ต้องรอดูว่าภาคการท่องเที่ยวไทย จะมีจำนวนนักท่องเที่ยวมาเยือนได้ 40 ล้านคนตามเป้าหมายหรือไม่ รวมทั้งภาคการส่งออก หลังมีนโยบายของ โดนัลด์ ทรัมป์ จะส่งผลดีหรือไม่ต่อการส่งออกของไทย ขณะที่การท่องเที่ยวและส่งออกเป็นเครื่องยนต์หลักในการกระตุ้นเศรษฐกิจประเทศหากขยายตัวได้ดีจะส่งผลต่อจีดีพีอาจจะเติบโตมากกว่า 3% จะส่งผลดีต่อเนื่องถึงภาคอสังหาริมทรัพย์
“ที่สำคัญต้องรอดูนโยบายรัฐบาลที่เข้ามาช่วยแก้ปัญหาหนี้ครัวเรือน จะช่วยได้มากน้อยแค่ไหน เพราะเป็นปัญหาใหญ่ของคนที่ต้องการซื้อบ้าน โดยเฉพาะกลุ่มราคาไม่เกิน 3 ล้านบาท ซึ่งเป็นตลาดใหญ่ที่เผชิญปัญหากู้ไม่ผ่าน 50% ทำให้การโอนกรรมสิทธิ์ล่าช้า หากหนี้ครัวเรือนได้รับการแก้ไข และเศรษฐกิจดีขึ้นจะทำให้ความสามารถในการใช้จ่ายของผู้บริโภคเพิ่มขึ้นส่งผลดีต่อการซื้อบ้าน
อย่างไรก็ดี จากแนวโน้มนักลงทุนย้ายฐานผลิตมายังประเทศไทยเพิ่มขึ้น ถือเป็นสัญญาณที่ดีต่ออสังหาริมทรัพย์ เพราะทำให้ดีมานด์ที่อยู่อาศัยเพิ่มขึ้นตามไปด้วย”
นายวิทการ จันทวิมล รองกรรมการผู้อำนวยการ สายงานกลยุทธ์องค์กรและการสร้างสรรค์ บริษัท เอพี (ไทยแลนด์) กล่าวว่าการดำเนินธุรกิจในปี 2568 ผู้ประกอบการเผชิญความท้าทายไม่ต่างจากปี 2567 ดังนั้น ต้องระมัดระวังการลงทุน “ไม่ประมาท” ส่วนปัจจัยที่มีผลกระทบต่อตลาดที่สำคัญยังคงเป็นเรื่องกำลังซื้อในประเทศที่อ่อนแอ อีกปัจจัยสำคัญที่ต้องจับตามองคือ นโยบายประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ ของสหรัฐ ที่มีผลกระทบต่อเศรษฐกิจโลก รวมทั้งประเทศไทย
นางสาวเกษรา ธัญลักษณ์ภาคย์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท เสนาดีเวลลอปเม้นท์ คาดการณ์ว่า สภาพเศรษฐกิจในปี 2568 ยังคงมีปัจจัยลบที่มีความผันผวนสูงทั้งในประเทศและต่างประเทศ ส่งผลกระทบต่อกำลังซื้อในตลาดอสังหาริมทรัพย์อย่างชัดเจน โดยเฉพาะยอดการปฏิเสธสินเชื่อที่อยู่อาศัยเพิ่มสูงขึ้น เนื่องจากสถาบันการเงินกังวลปัญหาหนี้เสีย ขณะที่รายได้ของประชาชนไม่ได้เพิ่มขึ้นมากตามราคาที่อยู่อาศัยที่เพิ่มสูงขึ้น ทำให้ผู้บริโภครุ่นใหม่ หันมาเลือกเช่าที่อยู่อาศัยแทนการซื้อมากขึ้น
นายขจรศิษฐ์ สิ่งสรรเสริญ ประธานกรรมการและประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ไซมิส แอสเสท กล่าวว่า ในปี 2568 ตลาดอสังหาริมทรัพย์จะยังไม่ฟื้นตัว เป็นผลมาจากปัญหาขอสินเชื่อไม่ผ่าน โดยเฉพาะกลุ่มที่อยู่อาศัยระดับราคา 3 ล้านบาท ซึ่งเป็นปัญหาจากภาวะหนี้ครัวเรือนสูง ทำให้สถาบันการเงินเข้มงวดในการปล่อยสินเชื่อ ทำให้ยอดปฏิเสธสินเชื่อยังคงสูง ดังนั้น ตั้งแต่ปี 2568-2570 บริษัทชะลอการลงทุนซื้อที่ดินมาพัฒนาโครงการใหม่ เน้นพัฒนาโครงการจากที่ดินที่มีอยู่ ล่าสุดได้เปิดตัวโปรแกรมการลงทุนในรูปแบบของ “Investment Program” เพื่อเพิ่มโอกาสในการขาย เน้นให้บริการลูกค้าที่ต้องการสร้างรายได้แบบ Passive Income เจาะลูกค้าคนไทย และต่างชาติ
นายกรมเชษฐ์ วิพันธ์พงษ์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท แอสเซทไวส์ กล่าวว่า แนวโน้มตลาดอสังหาริมทรัพย์ในตอนนี้ถ้ามองในแง่บวกคิดว่ามีโอกาสดี เนื่องจากอัตราดอกเบี้ยน่าจะปรับลดลงในอนาคต ซึ่งจะช่วยกระตุ้นความสามารถในการซื้อของผู้บริโภค อีกทั้งซัพพลายในตลาดที่หายไป และต้นทุนค่าก่อสร้างยังไม่ปรับตัวเพิ่มขึ้นมาก เพราะราคาน้ำมันซึ่งเป็นต้นทุนหลักยังคงทรงตัว ต้นทุนวัสดุก่อสร้างจึงไม่ได้เพิ่มขึ้น ทำให้ผู้บริโภคยังมีโอกาสซื้อในราคาที่ไม่สูงเกินไป
ภาวะหนี้ครัวเรือนที่อยู่ในระดับสูงยังเป็นปัจจัยที่กดดันกำลังซื้อของประชาชน หากอัตราดอกเบี้ยลดลงจริงในอนาคต ก็อาจช่วยบรรเทาภาระในส่วนนี้ได้ นอกจากนี้ หากรัฐบาลมีมาตรการปรับโครงสร้างหนี้ครัวเรือนและกระตุ้นเศรษฐกิจเพื่อเพิ่มรายได้ให้ประชาชน จะช่วยสร้างแรงขับเคลื่อนที่สำคัญ ทั้งในด้านการจับจ่ายใช้สอยและการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ อีกทั้ง บ้านเป็นหนึ่งในปัจจัย 4 ที่สำคัญของชีวิต หากไม่พร้อม แต่ก็ไม่ควรเร่งรีบซื้อเพราะจะทำให้กลายเป็นภาระ แต่หากมีความพร้อม บ้านถือเป็นรากฐานของความมั่นคงในชีวิต การตัดสินใจซื้อบ้านจึงควรอยู่บนพื้นฐานของความพร้อมและความจำเป็นในชีวิต
ดร.ประทีป ตั้งมติธรรม ประธานกรรมการบริหาร บริษัท ศุภาลัย กล่าวว่า ภาพรวมตลาดอสังหาริมทรัพย์ปีนี้ไปจนถึงปีหน้า มองว่าสถานการณ์จะดีขึ้น จากการเบิกจ่ายงบประมาณรัฐ เกิดนโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจอีกทั้งดอกเบี้ยที่มีแนวโน้มอยู่ในช่วงขาลง จะทำให้หนี้คนที่มีจะผ่อนค่างวดสบายขึ้น สถานการณ์หนี้ครัวเรือนที่มีอยู่มากอาจผ่อนคลายลง เพราะดอกเบี้ยน้อยลง ธนาคารลดต้นทุน เพิ่มวงเงินสำหรับกู้ซื้อบ้านง่ายขึ้น เศรษฐกิจจะเติบโตอย่างแน่นอน
นายภูมิพัฒน์ สินาเจริญ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท พราว เรียล เอสเตท วิเคราะห์ว่า ตลาดอสังหาริมทรัพย์เมื่อปี 2567 มีความน่าสนใจในหลายแง่มุม หากดูผลกำไร พบว่าหลายบริษัทมีกำไรในระดับที่สูง บางแห่งแตะถึง 3,000-4,000 ล้านบาท แม้ว่าจะไม่ได้ถึงเป้าหมายยอดขายที่ตั้งไว้ ซึ่งอาจหมายถึงความเหนื่อยยากในการทำธุรกิจ แต่ไม่ได้สะท้อนว่าตลาดอยู่ในสถานการณ์ที่เลวร้ายมากจนเกินไป ในทางกลับกันตัวเลขหนี้เสีย (NPL) ของภาคอสังหาริมทรัพย์พุ่งสูงขึ้นแตะ 3.7% ซึ่งเป็นระดับที่สูงที่สุดในรอบหลายปี จากปี 2566 เพียง 3% เท่านั้น ส่งผลให้ธนาคารระมัดระวังในการปล่อยสินเชื่อ ส่งผลต่อภาพรวมของตลาดสินเชื่ออสังหาริมทรัพย์ที่ลดลงถึง 11% ในปี 2567 โดยในไตรมาส 3/2567 การปล่อยสินเชื่อลดลงประมาณ 1%
แม้สภาพตลาดจะเผชิญความยากลำบากจากการปล่อยสินเชื่อ แต่ยังคงมีกลุ่มลูกค้าที่สามารถซื้อได้ ซึ่งส่วนใหญ่เป็นผู้ที่มีความพร้อมทางการเงิน ในขณะเดียวกัน มาตรการ LTV ส่งผลให้กลุ่มนักเก็งกำไรเกือบทั้งหมดหายไปจากตลาด แต่ตัวเลขยอดขาย (Presale) ในหลายโครงการของพราวก็ยังดำเนินไปได้ดี เฉลี่ยประมาณ 70% ของยอดขายทั้งหมดในแต่ละโครงการ
“ในปี 2568 คาดว่าปัจจัยสำคัญที่ทำให้ตลาดดูมีเสถียรภาพแม้จะชะลอตัว คือ Supply ที่ลดลงอย่างมาก การเปิดตัวโครงการใหม่ลดลงประมาณ 40% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว ซึ่งการลดลงของอุปทาน หรือ Supply ขณะที่ยังมีอุปสงค์จากฝั่งผู้บริโภค จะช่วยสร้างสมดุลให้กับตลาดอสังหาริมทรัพย์เมื่อช่วงที่มีความต้องการลดลง
นายอุทัย อุทัยแสงสุข กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท แสนสิริ กล่าวว่า ตลาดอสังหาริมทรัพย์ยังคงมีแนวโน้มเติบโตตามการขยายตัวของ GDP ซึ่งคาดการณ์ว่าอาจเติบโตได้ถึง 3% หรือมากกว่านั้น โดยได้รับแรงหนุนจากการฟื้นตัวของภาคการท่องเที่ยวและการส่งออก อย่างไรก็ตาม ประเทศไทยจำเป็นต้องรักษาความสามารถในภาคอุตสาหกรรมเหล่านี้เพื่อสนับสนุนการเติบโตของเศรษฐกิจ ปัจจัยสำคัญที่ยังคงเป็นอุปสรรคต่อการเติบโตของตลาดอสังหาริมทรัพย์คือปัญหาหนี้ครัวเรือนที่อยู่ในระดับสูง ซึ่งส่งผลกระทบต่อกลุ่มผู้บริโภคที่ต้องการซื้อบ้านในช่วงราคาประมาณ 3-4 ล้านบาท หลายคนไม่สามารถเข้าถึงสินเชื่อได้ และยังทำให้การโอนกรรมสิทธิ์ล่าช้า หากปัญหาหนี้ครัวเรือนได้รับการแก้ไข จะช่วยเพิ่มความสามารถในการใช้จ่ายของผู้บริโภค และส่งผลดีต่อตลาดอสังหาริมทรัพย์โดยรวม
นายสุรเชษฐ กองชีพ หัวหน้าฝ่ายวิจัยและที่ปรึกษา คุชแมน แอนด์ เวคฟิลด์ ประเทศไทย ประเมินว่า ภาคเอกชนอาจจะยังคงมีการลงทุนต่อเนื่อง เพียงแต่เป็นการลงทุนในจังหวัดที่น่าสนใจ และมีกำลังซื้ออยู่แล้ว ไม่ได้กระจายการลงทุนไปในส่วนอื่นๆ หรือในพื้นที่ใหม่ๆ การท่องเที่ยวกลับมาดีขึ้นกว่าก่อนหน้านี้แบบชัดเจน ปี 2567 ที่ผ่านมามีนักท่องเที่ยวต่างชาติเข้าประเทศไทยประมาณ 35 ล้านคน ปี 2568 คาดว่าจะถึง 40 ล้านคนหรือมากกว่านั้น เพราะหลายกิจกรรมที่เกิดขึ้นในแต่ละช่วงเวลาในประเทศไทยในปีที่ผ่านมามีการเผยแพร่ออกไปหลายประเทศและได้รับความสนใจมาก จึงคาดว่าปีนี้จะมีนักท่องเที่ยวต่างชาติเข้าประเทศไทยมากขึ้น เพียงรูปแบบการท่องเที่ยวอาจจะไม่เหมือนช่วงก่อนปี 2563 อาจจะมีการใช่จ่ายเงินลดลง เน้นการท่องเที่ยวด้วยตนเอง อาจจะไม่ได้ประหยัดมาก แต่เน้นที่ประสบการณ์ใหม่ๆ มากขึ้น ธุรกิจการท่องเที่ยวในปี 2568 จะยังมีการขยายตัวที่ดีต่อเนื่องแน่นอน
การลงทุนจากต่างประเทศในปีที่ผ่านมามีมากขึ้นจากช่วงหลายปีก่อนหน้านี้ และคาดว่าจะมากขึ้นในปี 2568 เพราะเรื่องของประธานาธิบดีคนใหม่ของสหรัฐอเมริกาและนโยบายที่คาดว่าจะมีผลแน่นอนในปี 2568 ส่งผลให้การลงทุนในหลายประเทศต้องมีการเปลี่ยนแปลง โรงงานผลิตสินค้าบางอย่างจำเป็นต้องหาฐานการผลิตใหม่ ซึ่งประเทศไทยก็เป็นหนึ่งในประเทศเป้าหมายที่มีกลุ่มของนักลงทุนต่างชาติเข้ามาลงทุนในประเทศไทยมากขึ้น เพียงแต่ไม่ใช่ประเทศเป้าหมายอันดับต้นๆ เท่านั้น ซึ่งการเคลื่อนไหวนี้เห็นได้ชัดเจนตั้งแต่ปี 2567 แล้ว
ข่าวโครงการอสังหาฯ ภาคเอกชน อื่นๆ