ธนารักษ์จ่อใช้ดาวเทียมสแกนที่ราชพัสดุ ขึ้นค่าเช่า!ที่ดินเชิงพาณิชย์-อุตสาหกรรม
วันที่ : 26 ธันวาคม 2565
อธิบดีกรมธนารักษ์ เปิดเผยว่า กรมกำลังหารือกับสำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ (องค์การมหาชน) หรือจีสท์ดา เพื่อขอให้นำข้อมูลภาพถ่ายทางดาวเทียมมาช่วยสำรวจที่ราชพัสดุ โดยนำระบบแบ่งสีพื้นที่ตามการใช้งาน
นายจำเริญ โพธิยอด อธิบดีกรมธนารักษ์ เปิดเผยว่า นโยบายปี 66 กรมมีแผนลงสำรวจเพื่อพัฒนาการจัดเก็บค่าเช่าที่ราชพัสดุทั่วประเทศให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น โดยปัจจุบันกรมฯมีที่ราชพัสดุ 12.7 ล้านไร่ โดยให้ส่วนราชการใช้งาน 10.5 ล้านไร่ และให้เช่าในรูปแบบต่างๆ 940,000 ไร่ แบ่งเป็นให้เช่าเพื่อการอยู่อาศัย 95,000 ไร่ ให้เช่าเพื่อทำการเกษตร 53,000 ไร่ และส่วนที่เช่าเชิงพาณิชย์และอุตสาหกรรม 28,000 ไร่
ทั้งนี้ กรมกำลังหารือกับสำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ (องค์การมหาชน) หรือจีสท์ดา เพื่อขอให้นำข้อมูลภาพถ่ายทางดาวเทียมมาช่วยสำรวจที่ราชพัสดุ โดยนำระบบแบ่งสีพื้นที่ตามการใช้งาน เช่น ที่อยู่อาศัย การเกษตร และพาณิชย์อุตสาหกรรม จากนั้นจะมาตรวจสอบว่ามีการใช้ประโยชน์ถูกต้องตามที่มาขออนุญาตเช่าหรือไม่ เช่น ที่ดินแปลงไหนเคยเป็นสัญญาเป็นที่อยู่อาศัย หรือเพื่อการเกษตร แต่ต่อมาไปใช้งานเป็นเชิงพาณิชย์หรืออุตสาหกรรมก็จะต้องมาทำสัญญาใหม่ และคิดค่าเช่าเพิ่มเป็นเชิงพาณิชย์แทน เพราะค่าเช่าที่อยู่อาศัยราคาจะถูกกว่าเชิงพาณิชย์มาก ซึ่งวิธีนี้จะช่วยลดเวลาการทำงานของเจ้าหน้าที่ธนารักษ์ที่มีบุคลากรจำกัดได้
อย่างไรก็ตามกรมฯยืนยันว่าจะไม่มีการปรับขึ้นค่าเช่าที่ราชพัสดุที่ปล่อยเช่าเพื่ออยู่อาศัยและการเกษตรเพราะเป้าหมายกรมต้องการดูแลผู้มีรายได้น้อย ให้มีที่อยู่อาศัยและที่ทำกินอยู่แล้วแต่ในส่วนของที่ราชพัสดุที่ใช้ประโยชน์เชิงพาณิชย์และอุตสาหกรรมอาจจะทบทวนให้สอดคล้องกับสถานการณ์และสภาพเศรษฐกิจมากขึ้น โดยตั้งเป้าหมายเพิ่มอัตราผลตอบแทนจากสินทรัพย์ (อาร์โอเอ) ของค่าเช่าที่ราชพัสดุให้เพิ่มขึ้นในอนาคต
ทั้งนี้ กรมกำลังหารือกับสำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ (องค์การมหาชน) หรือจีสท์ดา เพื่อขอให้นำข้อมูลภาพถ่ายทางดาวเทียมมาช่วยสำรวจที่ราชพัสดุ โดยนำระบบแบ่งสีพื้นที่ตามการใช้งาน เช่น ที่อยู่อาศัย การเกษตร และพาณิชย์อุตสาหกรรม จากนั้นจะมาตรวจสอบว่ามีการใช้ประโยชน์ถูกต้องตามที่มาขออนุญาตเช่าหรือไม่ เช่น ที่ดินแปลงไหนเคยเป็นสัญญาเป็นที่อยู่อาศัย หรือเพื่อการเกษตร แต่ต่อมาไปใช้งานเป็นเชิงพาณิชย์หรืออุตสาหกรรมก็จะต้องมาทำสัญญาใหม่ และคิดค่าเช่าเพิ่มเป็นเชิงพาณิชย์แทน เพราะค่าเช่าที่อยู่อาศัยราคาจะถูกกว่าเชิงพาณิชย์มาก ซึ่งวิธีนี้จะช่วยลดเวลาการทำงานของเจ้าหน้าที่ธนารักษ์ที่มีบุคลากรจำกัดได้
อย่างไรก็ตามกรมฯยืนยันว่าจะไม่มีการปรับขึ้นค่าเช่าที่ราชพัสดุที่ปล่อยเช่าเพื่ออยู่อาศัยและการเกษตรเพราะเป้าหมายกรมต้องการดูแลผู้มีรายได้น้อย ให้มีที่อยู่อาศัยและที่ทำกินอยู่แล้วแต่ในส่วนของที่ราชพัสดุที่ใช้ประโยชน์เชิงพาณิชย์และอุตสาหกรรมอาจจะทบทวนให้สอดคล้องกับสถานการณ์และสภาพเศรษฐกิจมากขึ้น โดยตั้งเป้าหมายเพิ่มอัตราผลตอบแทนจากสินทรัพย์ (อาร์โอเอ) ของค่าเช่าที่ราชพัสดุให้เพิ่มขึ้นในอนาคต
ข่าวกฎหมายอสังหาฯ อื่นๆ