ไฟเขียวศึกษาปม ภาษีที่ดิน ไม่เป็นธรรมแถมจัดเก็บได้ต่ำ
วันที่ : 7 ตุลาคม 2565
นอกจากการจัดเก็บภาษีต่ำกว่าที่ควรจะเป็นแล้ว ยังพบความไม่เป็นธรรม พร้อมตั้งข้อสังเกตอาจมีนายทุนอสังหาริมทรัพย์ใช้ช่องว่างกฎหมาย แบ่งซอยที่ดินเพื่อให้ที่ดินมีหน้ากว้างที่แคบ ทำให้ราคาประเมินต่ำลง
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ในที่ประชุมสภากทม. สมัยสามัญ สมัยที่ 4 ประจำปี 65 นายพุทธิพัชร์ ธันยาธรรมนนท์ ส.ก.เขตยานนาวา และ นายสุทธิชัย วีรกุลสุนทร ส.ก.เขตจอมทอง ได้เสนอญัตติการตั้งคณะกรรมการวิสามัญเพื่อศึกษาเกี่ยวกับการจัดเก็บภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง ซึ่งมีรายละเอียดเดียวกัน สภา กทม.จึงเห็นชอบให้รวมญัตติ และเปลี่ยนชื่อเป็นคณะกรรมการวิสามัญศึกษาปัญหาการจัดเก็บภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างและแนวทางการเสียภาษีของผู้ถือครองที่ดิน เพื่อให้ กทม.จัด เก็บรายได้อย่างมีประสิทธิภาพและเป็นธรรม สอดคล้องกับกฎหมายผังเมืองรวม และให้ตั้งคณะกรรมการวิสามัญศึกษาฯ 21 คน
โดย นายพุทธิพัชร์ เผยนอกจากการจัดเก็บภาษีต่ำกว่าที่ควรจะเป็นแล้ว ยังพบความไม่เป็นธรรม พร้อมตั้งข้อสังเกตอาจมีนายทุนอสังหาริมทรัพย์ใช้ช่องว่างกฎหมาย แบ่งซอยที่ดินเพื่อให้ที่ดินมีหน้ากว้างที่แคบ ทำให้ราคาประเมินต่ำลง และผ่องถ่ายให้กับบริษัทลูกถือครอง รวมทั้งนำเอาพืชล้มลุก เช่น กล้วยหอม มะนาว มาปลูกเพื่ออ้างเป็นที่ดินเกษตรกรรม
ขณะที่นายสุทธิชัย ระบุ ช่วงโควิด-19 ระบาด ผู้ประกอบการได้รับผลกระทบ การนำพื้นที่ที่ไม่ได้อยู่ในผังเมืองของเกษตรกรรมมาปลูกพืชเพื่อเลี่ยงภาษี การจัดส่งจดหมายแจ้งเตือนล่าช้า ไม่ถูกต้อง ทำให้เจ้าของ ที่ดินไม่ทราบและต้องเสียค่าปรับจำนวนมาก เป็นเรื่องที่ประชาชนร้องเรียนต่อเนื่อง และบางส่วนได้รับมรดกแต่ไม่มีเงินจ่ายภาษี ทำให้ถูกบังคับขายที่ดินราคาถูกซึ่งผู้บริหาร กทม.ควรมีแนวทางในการผ่อนปรน ลดความเดือดร้อน
ทั้งนี้ นายชัชชาติ สิทธิพันธุ์ ผู้ว่าฯ กทม. ระบุ ภาษีที่ดินเป็นรายได้หลักของ กทม. มีประมาณการจัดเก็บไว้ที่ 7,500 ล้านบาท เก็บได้จริงราว 14,000 ล้านบาท อย่างไรก็ตาม พบว่ามีหลายประเด็นที่ต้องเสนอรัฐบาล เพราะ กทม.จัดเก็บตามที่รัฐบาลสั่ง สามารถปรับได้แต่ไม่เกินกรอบที่รัฐบาลกำหนด และพบหลายพื้นที่มีเกษตรกรตัวจริง ปัญหาคือแยกเกษตรกรตัวจริงและตัวปลอมอย่างไร รวมทั้งภาษีอาคารทำให้ผู้เช่าอยู่ไม่ได้รับความเป็นธรรมด้วย มีหลายประเด็นที่ไม่เป็นธรรม หลายจุดต้องทำเป็นข้อเสนอแนะไปยังรัฐบาล พร้อมขอบคุณสภากทม.ที่เห็นความสำคัญเรื่องนี้
โดย นายพุทธิพัชร์ เผยนอกจากการจัดเก็บภาษีต่ำกว่าที่ควรจะเป็นแล้ว ยังพบความไม่เป็นธรรม พร้อมตั้งข้อสังเกตอาจมีนายทุนอสังหาริมทรัพย์ใช้ช่องว่างกฎหมาย แบ่งซอยที่ดินเพื่อให้ที่ดินมีหน้ากว้างที่แคบ ทำให้ราคาประเมินต่ำลง และผ่องถ่ายให้กับบริษัทลูกถือครอง รวมทั้งนำเอาพืชล้มลุก เช่น กล้วยหอม มะนาว มาปลูกเพื่ออ้างเป็นที่ดินเกษตรกรรม
ขณะที่นายสุทธิชัย ระบุ ช่วงโควิด-19 ระบาด ผู้ประกอบการได้รับผลกระทบ การนำพื้นที่ที่ไม่ได้อยู่ในผังเมืองของเกษตรกรรมมาปลูกพืชเพื่อเลี่ยงภาษี การจัดส่งจดหมายแจ้งเตือนล่าช้า ไม่ถูกต้อง ทำให้เจ้าของ ที่ดินไม่ทราบและต้องเสียค่าปรับจำนวนมาก เป็นเรื่องที่ประชาชนร้องเรียนต่อเนื่อง และบางส่วนได้รับมรดกแต่ไม่มีเงินจ่ายภาษี ทำให้ถูกบังคับขายที่ดินราคาถูกซึ่งผู้บริหาร กทม.ควรมีแนวทางในการผ่อนปรน ลดความเดือดร้อน
ทั้งนี้ นายชัชชาติ สิทธิพันธุ์ ผู้ว่าฯ กทม. ระบุ ภาษีที่ดินเป็นรายได้หลักของ กทม. มีประมาณการจัดเก็บไว้ที่ 7,500 ล้านบาท เก็บได้จริงราว 14,000 ล้านบาท อย่างไรก็ตาม พบว่ามีหลายประเด็นที่ต้องเสนอรัฐบาล เพราะ กทม.จัดเก็บตามที่รัฐบาลสั่ง สามารถปรับได้แต่ไม่เกินกรอบที่รัฐบาลกำหนด และพบหลายพื้นที่มีเกษตรกรตัวจริง ปัญหาคือแยกเกษตรกรตัวจริงและตัวปลอมอย่างไร รวมทั้งภาษีอาคารทำให้ผู้เช่าอยู่ไม่ได้รับความเป็นธรรมด้วย มีหลายประเด็นที่ไม่เป็นธรรม หลายจุดต้องทำเป็นข้อเสนอแนะไปยังรัฐบาล พร้อมขอบคุณสภากทม.ที่เห็นความสำคัญเรื่องนี้
ข่าวกฎหมายอสังหาฯ อื่นๆ