รัตนากร ผุด5เนเบอร์ฮูดมอลล์ ทุ่ม3พันล.ทำเลพัทยา-ระยองฝ่าโควิด
วันที่ : 23 สิงหาคม 2564
ปัจจุบันทั้ง 5 โครงการได้ที่ดินหมดแล้ว อยู่ระหว่างการออกแบบ โดย 2 ใน 5 โครงการจะแล้วเสร็จอย่างเร็วกลางปี 2565
"กลุ่มรัตนากร" ผู้ประกอบการอสังหาฯ รายใหญ่ จ.ชลบุรี พลิกกลยุทธ์ฝ่าวิกฤตโควิด-19 ทุ่มกว่า 3 พันล้านบาท ผุด Neighborhood Mall ขึ้น 5 โครงการ เมืองพัทยา-ระยอง ตอบโจทย์รับสถานการณ์โควิด ทั้ง drive thru/pick and pay เน้นกลุ่มเป้าหมายคนในชุมชน พร้อมเปิดโคเวิร์กกิ้งสเปซ-ให้คนขายของออนไลน์เช่า self storage-ทำ cloud kitchen
นายจักรรัตน์ เรืองรัตนากร กรรมการผู้จัดการ บริษัท รัตนากร แอสเซท จำกัด จังหวัดชลบุรี ผู้ประกอบการอสังหาริมทรัพย์ โรงแรม และธุรกิจในเครืออีกกว่า 20 กลุ่ม เปิดเผย "ประชาชาติธุรกิจ" ว่า ขณะนี้บริษัทมีแผนลงทุนโครงการคอมมิวนิตี้มอลล์ หรือศูนย์การค้าใกล้บ้าน (neighborhood mall) 5 โครงการ แบ่งเป็น ภายใน จ.ชลบุรี 4 โครงการ และ จ.ระยอง 1 โครงการ รวมมูลค่า 3,309 ล้านบาท เพื่อเป็นตลาดชุมชนใกล้บ้าน ตอบโจทย์พฤติกรรมการดำเนินชีวิตและไลฟ์สไตล์ของคนที่เปลี่ยนไปภายใต้สถานการณ์โควิด-19
"ตอนนี้ไม่คิดอะไรเกี่ยวกับโควิดแล้ว หากรอโควิดเบาบางลง นักธุรกิจไม่ต้องทำอะไรกันแล้ว ตอนนี้เราไม่มานั่งคุยกันแล้วว่า โควิดจะหายไปเมื่อไหร่ เราคุยกันว่า ถ้าโควิดอยู่อย่างนี้ เราจะอยู่กันอย่างไร เราจึงมาตีโจทย์ให้แตกในการลงทุนช่วงโควิด
ปัจจุบันโควิด-19 ทำให้ผู้ประกอบการห้างสรรพสินค้าใหญ่เหนื่อย คนไม่อยาก เข้าห้างใหญ่ เพราะไม่อยากไปอยู่ในที่แออัด คนไม่กล้าไปเดินห้างนาน ๆ แต่คนยังกล้าไปเดินตลาด รีบไปรีบมา ขับรถมาเสียบ ซื้อเสร็จรีบไป คอนเซ็ปต์นี้ทำมาเพื่อแก้โจทย์โควิดโดยเฉพาะ แก้โจทย์คนที่อยากมีสำนักงาน แต่ว่าสู้ค่าเช่าสูงไม่ไหว
เรามีแนวคิดทำเป็นห้างสำหรับชุมชน อารมณ์แบบตลาดนัดผสมตลาดติดแอร์ เน้นพื้นที่กว้าง มีทั้งส่วน out door และ in door คนไม่ต้องมารวมตัวกันมาก เป็นเชิงไลฟ์สไตล์ เน้นให้คนมากินข้าว ออกกำลังกาย เดินเล่น กลับบ้าน ไม่มีสถานบันเทิง ไม่มีโรงหนัง ไม่มีโบว์ลิ่ง ไม่มีสวนสนุก กลุ่มเป้าหมายคนในชุมชน
คนจะขับรถวิ่งมาซื้อของและกลับบ้าน โดยมีอาหาร เครื่องดื่ม ไลฟ์สไตล์ มีสินค้าครบทุกอย่างในชุมชนทีเดียว ไม่ต้องวิ่งฝ่ารถติด 30 นาที กว่าจะถึงตัวเมืองพัทยา โดยเรามี 3 ส่วน ทั้ง drive thru/pick and pay/มีส่วนที่เข้าไปเดินในห้าง" นายจักรรัตน์กล่าวและว่า
สำหรับรายละเอียดแต่ละโครงการ ประกอบด้วย
1.Community Mall เมืองพัทยา ตั้งอยู่บนถนนประภานิมิต ติดกับตลาดไร่วนาสินธุ์ และศูนย์การค้าวนาสินธุ์ เมืองพัทยา ต.หนองปรือ อ.บางละมุง พื้นที่ 20,000 ตารางเมตร มูลค่าโครงการ 800 ล้านบาท บริเวณนี้ปัจจุบันมีตลาดสดค้าผักและผลไม้ของรัตนากรอยู่แล้ว สร้างห้างขึ้นมาเพิ่ม
2.Community Mall หาดตาแหวนเกาะล้าน ตั้งอยู่บนเกาะล้าน ติดกับท่าเรือหาดตาแหวน เป็น open mall พื้นที่ 5,000 ตารางเมตร มูลค่าโครงการ 355 ล้านบาท อยู่ระหว่างออกแบบ
3.Community Mall สุขุมวิท พัทยา ตั้งอยู่แยกชัยพฤกษ์ 1 ติดถนนสุขุมวิท ทางลงหาดจอมเทียน พื้นที่ 30,000 ตารางเมตร มูลค่าโครงการ 1,530 ล้านบาท มีตลาดรัตนากรอยู่ด้วย
4.Community Mall สุขุมวิท จอมเทียน อ.สัตหีบ ตั้งอยู่แยกห้วยใหญ่ ติดถนนสุขุมวิท เป็น open mall พื้นที่ 5,000 ตารางเมตร มูลค่าโครงการ 280 ล้านบาท Q3 หรือปลายปีหน้า ปัจจุบันสร้างเสร็จแล้ว กำลังหาผู้เช่า
5.Community Mall ระยอง ตั้งอยู่บนถนนสุขุมวิท ใจกลางเมืองระยอง พื้นที่ 10,000 ตารางเมตร มูลค่าโครงการ 344 ล้านบาท
ทั้งนี้ ปัจจุบันทั้ง 5 โครงการได้ที่ดินหมดแล้ว อยู่ระหว่างการออกแบบ โดย 2 ใน 5 โครงการจะแล้วเสร็จอย่างเร็วกลางปี 2565 หรืออย่างช้าปลายปี 2565 แต่การเปิดโครงการคงต้องรอดูสถานการณ์โควิด-19 ด้วยว่าจะสามารถเปิดได้ช่วงใด
จุดเด่นของทั้ง 5 โครงการ คือ ทำเลดี มีตลาดรัตนากรรองรับอยู่แล้ว เป็นธุรกิจที่ตั้งขึ้นมาเพื่อเสริมตลาดรัตนากรให้มีความเข้มข้นมากขึ้น โดยมีการแบ่งประเภท ธุรกิจที่จะอยู่ใน "ศูนย์การค้าใกล้บ้าน (neighborhood mall) เป็น 8 ประเภท ได้แก่ 1.ซูเปอร์มาร์เก็ต 2.ร้านอาหาร (food) 3.แฟชั่น 4.ศูนย์ธุรกิจ (business center) มีออฟฟิศให้เช่าทำสำนักงาน, โรงเรียนสอนพิเศษ, cloud kitchen
5.ช็อปปิ้งเซ็นเตอร์ 6.รีเทลต่าง ๆ ไลฟ์สไตล์เป็นสินค้าท้องถิ่น 7.ธุรกิจโคเวิร์กกิ้งสเปซ และ 8.ธุรกิจพื้นที่ห้องเก็บของให้เช่า (self storage) สำหรับคนขายของออนไลน์ที่ไม่มีพื้นที่จัดเก็บ
นายจักรรัตน์กล่าวต่อไปว่า ตลอดเวลาในแวดวงธุรกิจ กลุ่มรัตนากรปรับตัวรับการเปลี่ยนแปลงมาตลอด ตั้งแต่ก่อนเกิดการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 เดิมธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ และธุรกิจโรงแรมในหลายจังหวัด มีเซอร์วิสอพาร์ตเมนต์ให้เช่า ถือเป็นธุรกิจที่สร้างรายได้หลักให้กลุ่มรัตนากรถึง 95% แต่ธุรกิจอสังหาฯมีไซเคิลขาขึ้น-ขาลง ดังนั้น ช่วงปี 2556 จึงขยายธุรกิจมาทำตลาดกลางค้าส่ง-ค้าปลีกในระดับภูมิภาคกว่า 11 แห่งใน จ.ชลบุรี, ทำโรงงานปุ๋ยอินทรีย์เคมีนันทกรี ตรามุกมังกร จ.นครปฐม, มีธุรกิจโรงเรียนสว่างบริบูรณ์วิทยา, วิทยาลัยเทคโนโลยีสว่างบริบูรณ์ โรงเรียนไตรนิธิวิทยา ฯลฯ ปัจจุบันบริษัทในเครือรวมกว่า 40 บริษัท 16 กลุ่มธุรกิจ มีสินทรัพย์รวมกว่า 30,000 ล้านบาท
"เมื่อสถานการณ์โควิด-19 มา กระทบทำให้ธุรกิจบางประเภทไปไม่ได้ ต้องยอมรับต้องปล่อยไป บางตัวชะลอ โรงแรมเปลี่ยนจากรายวันมาเช่ารายเดือน รายได้หายไป 60-70% แต่ยังพอมีรายได้มาเลี้ยงพนักงาน มีเงินจ่ายเงินต้นและดอกเบี้ย โรงเรียนก็ได้รับผลกระทบ แต่สอนออนไลน์ไป ส่วนธุรกิจที่ไปได้ดี คือ โรงงานปุ๋ย จนมาถึงธุรกิจใหม่ คอมมิวนิตี้มอลล์ มั่นใจว่าไปได้ ถ้าไม่ลงทุน ไม่ทำอะไรตายแน่ แต่ถ้าทำมีได้บ้างเสียบ้าง แต่ยังมีโอกาสรอด ทุกวันนี้ไม่ได้ให้พนักงานออก ไม่ลดเงินเดือน ทุกคนเต็มที่ กับองค์กร เรารับรู้ทุกคนเดือดร้อน เราไม่ทิ้งลูกน้อง" นายจักรรัตน์กล่าวและว่า
คาดการณ์ผลกำไรปี 2561 ประมาณ 1,546 ล้านบาท ปี 2562 ประมาณ 1,400 กว่าล้านบาท ปี 2563 ประมาณ 1,300 กว่าล้าน เทียบปี 2562 หายไป 12% คาดว่าปี 2564 พยายามให้ใกล้เคียงกับปีก่อน
นายจักรรัตน์ เรืองรัตนากร กรรมการผู้จัดการ บริษัท รัตนากร แอสเซท จำกัด จังหวัดชลบุรี ผู้ประกอบการอสังหาริมทรัพย์ โรงแรม และธุรกิจในเครืออีกกว่า 20 กลุ่ม เปิดเผย "ประชาชาติธุรกิจ" ว่า ขณะนี้บริษัทมีแผนลงทุนโครงการคอมมิวนิตี้มอลล์ หรือศูนย์การค้าใกล้บ้าน (neighborhood mall) 5 โครงการ แบ่งเป็น ภายใน จ.ชลบุรี 4 โครงการ และ จ.ระยอง 1 โครงการ รวมมูลค่า 3,309 ล้านบาท เพื่อเป็นตลาดชุมชนใกล้บ้าน ตอบโจทย์พฤติกรรมการดำเนินชีวิตและไลฟ์สไตล์ของคนที่เปลี่ยนไปภายใต้สถานการณ์โควิด-19
"ตอนนี้ไม่คิดอะไรเกี่ยวกับโควิดแล้ว หากรอโควิดเบาบางลง นักธุรกิจไม่ต้องทำอะไรกันแล้ว ตอนนี้เราไม่มานั่งคุยกันแล้วว่า โควิดจะหายไปเมื่อไหร่ เราคุยกันว่า ถ้าโควิดอยู่อย่างนี้ เราจะอยู่กันอย่างไร เราจึงมาตีโจทย์ให้แตกในการลงทุนช่วงโควิด
ปัจจุบันโควิด-19 ทำให้ผู้ประกอบการห้างสรรพสินค้าใหญ่เหนื่อย คนไม่อยาก เข้าห้างใหญ่ เพราะไม่อยากไปอยู่ในที่แออัด คนไม่กล้าไปเดินห้างนาน ๆ แต่คนยังกล้าไปเดินตลาด รีบไปรีบมา ขับรถมาเสียบ ซื้อเสร็จรีบไป คอนเซ็ปต์นี้ทำมาเพื่อแก้โจทย์โควิดโดยเฉพาะ แก้โจทย์คนที่อยากมีสำนักงาน แต่ว่าสู้ค่าเช่าสูงไม่ไหว
เรามีแนวคิดทำเป็นห้างสำหรับชุมชน อารมณ์แบบตลาดนัดผสมตลาดติดแอร์ เน้นพื้นที่กว้าง มีทั้งส่วน out door และ in door คนไม่ต้องมารวมตัวกันมาก เป็นเชิงไลฟ์สไตล์ เน้นให้คนมากินข้าว ออกกำลังกาย เดินเล่น กลับบ้าน ไม่มีสถานบันเทิง ไม่มีโรงหนัง ไม่มีโบว์ลิ่ง ไม่มีสวนสนุก กลุ่มเป้าหมายคนในชุมชน
คนจะขับรถวิ่งมาซื้อของและกลับบ้าน โดยมีอาหาร เครื่องดื่ม ไลฟ์สไตล์ มีสินค้าครบทุกอย่างในชุมชนทีเดียว ไม่ต้องวิ่งฝ่ารถติด 30 นาที กว่าจะถึงตัวเมืองพัทยา โดยเรามี 3 ส่วน ทั้ง drive thru/pick and pay/มีส่วนที่เข้าไปเดินในห้าง" นายจักรรัตน์กล่าวและว่า
สำหรับรายละเอียดแต่ละโครงการ ประกอบด้วย
1.Community Mall เมืองพัทยา ตั้งอยู่บนถนนประภานิมิต ติดกับตลาดไร่วนาสินธุ์ และศูนย์การค้าวนาสินธุ์ เมืองพัทยา ต.หนองปรือ อ.บางละมุง พื้นที่ 20,000 ตารางเมตร มูลค่าโครงการ 800 ล้านบาท บริเวณนี้ปัจจุบันมีตลาดสดค้าผักและผลไม้ของรัตนากรอยู่แล้ว สร้างห้างขึ้นมาเพิ่ม
2.Community Mall หาดตาแหวนเกาะล้าน ตั้งอยู่บนเกาะล้าน ติดกับท่าเรือหาดตาแหวน เป็น open mall พื้นที่ 5,000 ตารางเมตร มูลค่าโครงการ 355 ล้านบาท อยู่ระหว่างออกแบบ
3.Community Mall สุขุมวิท พัทยา ตั้งอยู่แยกชัยพฤกษ์ 1 ติดถนนสุขุมวิท ทางลงหาดจอมเทียน พื้นที่ 30,000 ตารางเมตร มูลค่าโครงการ 1,530 ล้านบาท มีตลาดรัตนากรอยู่ด้วย
4.Community Mall สุขุมวิท จอมเทียน อ.สัตหีบ ตั้งอยู่แยกห้วยใหญ่ ติดถนนสุขุมวิท เป็น open mall พื้นที่ 5,000 ตารางเมตร มูลค่าโครงการ 280 ล้านบาท Q3 หรือปลายปีหน้า ปัจจุบันสร้างเสร็จแล้ว กำลังหาผู้เช่า
5.Community Mall ระยอง ตั้งอยู่บนถนนสุขุมวิท ใจกลางเมืองระยอง พื้นที่ 10,000 ตารางเมตร มูลค่าโครงการ 344 ล้านบาท
ทั้งนี้ ปัจจุบันทั้ง 5 โครงการได้ที่ดินหมดแล้ว อยู่ระหว่างการออกแบบ โดย 2 ใน 5 โครงการจะแล้วเสร็จอย่างเร็วกลางปี 2565 หรืออย่างช้าปลายปี 2565 แต่การเปิดโครงการคงต้องรอดูสถานการณ์โควิด-19 ด้วยว่าจะสามารถเปิดได้ช่วงใด
จุดเด่นของทั้ง 5 โครงการ คือ ทำเลดี มีตลาดรัตนากรรองรับอยู่แล้ว เป็นธุรกิจที่ตั้งขึ้นมาเพื่อเสริมตลาดรัตนากรให้มีความเข้มข้นมากขึ้น โดยมีการแบ่งประเภท ธุรกิจที่จะอยู่ใน "ศูนย์การค้าใกล้บ้าน (neighborhood mall) เป็น 8 ประเภท ได้แก่ 1.ซูเปอร์มาร์เก็ต 2.ร้านอาหาร (food) 3.แฟชั่น 4.ศูนย์ธุรกิจ (business center) มีออฟฟิศให้เช่าทำสำนักงาน, โรงเรียนสอนพิเศษ, cloud kitchen
5.ช็อปปิ้งเซ็นเตอร์ 6.รีเทลต่าง ๆ ไลฟ์สไตล์เป็นสินค้าท้องถิ่น 7.ธุรกิจโคเวิร์กกิ้งสเปซ และ 8.ธุรกิจพื้นที่ห้องเก็บของให้เช่า (self storage) สำหรับคนขายของออนไลน์ที่ไม่มีพื้นที่จัดเก็บ
นายจักรรัตน์กล่าวต่อไปว่า ตลอดเวลาในแวดวงธุรกิจ กลุ่มรัตนากรปรับตัวรับการเปลี่ยนแปลงมาตลอด ตั้งแต่ก่อนเกิดการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 เดิมธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ และธุรกิจโรงแรมในหลายจังหวัด มีเซอร์วิสอพาร์ตเมนต์ให้เช่า ถือเป็นธุรกิจที่สร้างรายได้หลักให้กลุ่มรัตนากรถึง 95% แต่ธุรกิจอสังหาฯมีไซเคิลขาขึ้น-ขาลง ดังนั้น ช่วงปี 2556 จึงขยายธุรกิจมาทำตลาดกลางค้าส่ง-ค้าปลีกในระดับภูมิภาคกว่า 11 แห่งใน จ.ชลบุรี, ทำโรงงานปุ๋ยอินทรีย์เคมีนันทกรี ตรามุกมังกร จ.นครปฐม, มีธุรกิจโรงเรียนสว่างบริบูรณ์วิทยา, วิทยาลัยเทคโนโลยีสว่างบริบูรณ์ โรงเรียนไตรนิธิวิทยา ฯลฯ ปัจจุบันบริษัทในเครือรวมกว่า 40 บริษัท 16 กลุ่มธุรกิจ มีสินทรัพย์รวมกว่า 30,000 ล้านบาท
"เมื่อสถานการณ์โควิด-19 มา กระทบทำให้ธุรกิจบางประเภทไปไม่ได้ ต้องยอมรับต้องปล่อยไป บางตัวชะลอ โรงแรมเปลี่ยนจากรายวันมาเช่ารายเดือน รายได้หายไป 60-70% แต่ยังพอมีรายได้มาเลี้ยงพนักงาน มีเงินจ่ายเงินต้นและดอกเบี้ย โรงเรียนก็ได้รับผลกระทบ แต่สอนออนไลน์ไป ส่วนธุรกิจที่ไปได้ดี คือ โรงงานปุ๋ย จนมาถึงธุรกิจใหม่ คอมมิวนิตี้มอลล์ มั่นใจว่าไปได้ ถ้าไม่ลงทุน ไม่ทำอะไรตายแน่ แต่ถ้าทำมีได้บ้างเสียบ้าง แต่ยังมีโอกาสรอด ทุกวันนี้ไม่ได้ให้พนักงานออก ไม่ลดเงินเดือน ทุกคนเต็มที่ กับองค์กร เรารับรู้ทุกคนเดือดร้อน เราไม่ทิ้งลูกน้อง" นายจักรรัตน์กล่าวและว่า
คาดการณ์ผลกำไรปี 2561 ประมาณ 1,546 ล้านบาท ปี 2562 ประมาณ 1,400 กว่าล้านบาท ปี 2563 ประมาณ 1,300 กว่าล้าน เทียบปี 2562 หายไป 12% คาดว่าปี 2564 พยายามให้ใกล้เคียงกับปีก่อน
ข่าวอสังหาริมทรัพย์ภูมิภาค อื่นๆ