เผย ไฮสปีดเทรน เริ่มตั้งไข่
วันที่ : 7 มิถุนายน 2564
เดินหน้า รถไฟฟ้าความเร็วสูง อีอีซี เอกชนเริ่มเข้าพื้นที่ออกเเบบ เเละ เตรียมส่งมอบพื้นที่ช่วงสนามบินสุวรรณภูมิถึงสนามบินอู่ตะเภา ประมาณ 5,521 ไร่
นายสุพัฒนพงษ์ พันธ์มีเชาว์ รองนายกรัฐมนตรี และรมว.พลังงาน เปิดเผยภายหลังการประชุมคณะอนุกรรมการบริหารการพัฒนาเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (กบอ.) ว่า ที่ประชุมรับทราบความก้าวหน้าโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อมสามสนามบิน ล่าสุด การรถไฟแห่งประเทศไทย หรือ รฟท. เตรียมส่งมอบพื้นที่ช่วงสนามบินสุวรรณภูมิถึงสนามบินอู่ตะเภา ระยะทาง 170 กิโลเมตร ซึ่งเป็นพื้นที่โครงการประมาณ 5,521 ไร่ งานมีความคืบหน้า 86% ให้กับเอกชนคู่สัญญาแล้ว โดยพร้อมส่งมอบพื้นที่ได้ทั้งหมด ภายในเดือน ก.ย.นี้
ทั้งนี้ปัจจุบันเอกชนได้เข้าพื้นที่ และเริ่มออกแบบเตรียมการก่อสร้าง เช่น งานปรับพื้นที่สำหรับเตรียมก่อสร้างช่วงสุวรรณภูมิถึงอู่ตะเภา งานก่อสร้างถนนและสะพานชั่วคราวเพื่อลำเลียงวัสดุ งานก่อสร้างสำนักงานสนาม บ้านพักคนงาน โรงหล่อชิ้นงานโครงสร้าง งานด้านสิ่งแวดล้อม ความปลอดภัยและการจัดจราจร โดย การก่อสร้างทั้งหมดจะใช้เวลาประมาณ 4-5 ปี และจะเปิดให้บริการช่วงพญาไท สุวรรณภูมิถึงอู่ตะเภา ในปี 68 ส่วนการส่งมอบรถไฟฟ้าแอร์พอร์ต เรลลิงก์ พร้อมส่งมอบให้เอกชนคู่สัญญา โดยยืนยันว่า ผู้โดยสารจะไม่ได้รับผลกระทบใด ๆ ระหว่างการถ่ายโอนกิจการ โดยเฉพาะเรื่องบัตรโดยสารที่สามารถใช้บัตรรายเดือนได้ตามเดิม
ส่วนการพัฒนาสนามบินอู่ตะเภา โดยเฉพาะการก่อสร้างทางวิ่งที่ 2 กองทัพเรือได้ออกแบบทางวิ่งและทางขับที่ 2 งานทางขับเชื่อมระหว่างทางวิ่ง พร้อมลานจอดศูนย์ซ่อมอากาศยานเสร็จแล้ว คือ ทางวิ่งความยาว 3,505 เมตร ทางขับที่เกี่ยวข้อง 6 เส้นทาง อุโมงค์ลอดใต้ทางวิ่ง และงานระบบที่เกี่ยวข้อง ขณะที่การเตรียมส่งมอบพื้นที่ สำนักงานคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (สกพอ.) ได้จัดทำร่างระเบียบการปฏิบัติงานในพื้นที่เขตส่งเสริม สำหรับช่วงการก่อสร้างเพื่อใช้ในการบริหารจัดการพื้นที่ รวมถึงดูแลรักษาความปลอดภัยพื้นที่ เช่นเดียวกับงานก่อสร้างระบบไฟฟ้าและน้ำเย็น
นอกจากนี้ยังมีกิจกรรมพัฒนาพื้นที่อุตสาห กรรมการบิน โดยเตรียมพัฒนาพื้นที่ประมาณ 539 ไร่ เพื่อรองรับอุตสาหกรรมการบิน ซึ่งเป็นอุตสาหกรรมเป้าหมาย เพื่อให้สนามบินอู่ตะเภาเป็นศูนย์กลางพัฒนาธุรกิจด้านอากาศยาน ซึ่งกิจกรรมในพื้นที่ สำคัญ ๆ เช่น ศูนย์ซ่อมบำรุงอากาศยาน (เอ็มอาร์โอ) ให้บริการซ่อมบำรุงเบาหรือหนัก เป็นต้น
ทั้งนี้ปัจจุบันเอกชนได้เข้าพื้นที่ และเริ่มออกแบบเตรียมการก่อสร้าง เช่น งานปรับพื้นที่สำหรับเตรียมก่อสร้างช่วงสุวรรณภูมิถึงอู่ตะเภา งานก่อสร้างถนนและสะพานชั่วคราวเพื่อลำเลียงวัสดุ งานก่อสร้างสำนักงานสนาม บ้านพักคนงาน โรงหล่อชิ้นงานโครงสร้าง งานด้านสิ่งแวดล้อม ความปลอดภัยและการจัดจราจร โดย การก่อสร้างทั้งหมดจะใช้เวลาประมาณ 4-5 ปี และจะเปิดให้บริการช่วงพญาไท สุวรรณภูมิถึงอู่ตะเภา ในปี 68 ส่วนการส่งมอบรถไฟฟ้าแอร์พอร์ต เรลลิงก์ พร้อมส่งมอบให้เอกชนคู่สัญญา โดยยืนยันว่า ผู้โดยสารจะไม่ได้รับผลกระทบใด ๆ ระหว่างการถ่ายโอนกิจการ โดยเฉพาะเรื่องบัตรโดยสารที่สามารถใช้บัตรรายเดือนได้ตามเดิม
ส่วนการพัฒนาสนามบินอู่ตะเภา โดยเฉพาะการก่อสร้างทางวิ่งที่ 2 กองทัพเรือได้ออกแบบทางวิ่งและทางขับที่ 2 งานทางขับเชื่อมระหว่างทางวิ่ง พร้อมลานจอดศูนย์ซ่อมอากาศยานเสร็จแล้ว คือ ทางวิ่งความยาว 3,505 เมตร ทางขับที่เกี่ยวข้อง 6 เส้นทาง อุโมงค์ลอดใต้ทางวิ่ง และงานระบบที่เกี่ยวข้อง ขณะที่การเตรียมส่งมอบพื้นที่ สำนักงานคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (สกพอ.) ได้จัดทำร่างระเบียบการปฏิบัติงานในพื้นที่เขตส่งเสริม สำหรับช่วงการก่อสร้างเพื่อใช้ในการบริหารจัดการพื้นที่ รวมถึงดูแลรักษาความปลอดภัยพื้นที่ เช่นเดียวกับงานก่อสร้างระบบไฟฟ้าและน้ำเย็น
นอกจากนี้ยังมีกิจกรรมพัฒนาพื้นที่อุตสาห กรรมการบิน โดยเตรียมพัฒนาพื้นที่ประมาณ 539 ไร่ เพื่อรองรับอุตสาหกรรมการบิน ซึ่งเป็นอุตสาหกรรมเป้าหมาย เพื่อให้สนามบินอู่ตะเภาเป็นศูนย์กลางพัฒนาธุรกิจด้านอากาศยาน ซึ่งกิจกรรมในพื้นที่ สำคัญ ๆ เช่น ศูนย์ซ่อมบำรุงอากาศยาน (เอ็มอาร์โอ) ให้บริการซ่อมบำรุงเบาหรือหนัก เป็นต้น
ข่าวเขตเศรษฐกิจพิเศษ อื่นๆ