บ้านฉางนำร่อง สมาร์ทซิตี้ โมเดลเมือง 5G ต่อยอดอีอีซี
วันที่ : 29 มีนาคม 2564
บ้านฉาง สมาร์ทซิตี้ต้นแบบ 5G แห่งแรกของไทย และอาเซียน
เมืองอัจฉริยะไม่ใช่เรื่องไกลตัวอีกต่อไป เริ่มนำร่องที่อำเภอบ้างฉาง จังหวัดระยองเป็นแห่งแรก ภายใต้ความร่วมมือของภาคส่วนต่าง ๆ ทั้งภาครัฐ-เอกชน หน่วยงานในท้องถิ่น และ ภาคประชาชนในพื้นที่
จุดพลุ 5G กระตุ้นเศรษฐกิจ
นายคณิศ แสงสุพรรณ เลขาธิการคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (สกพอ.) กล่าวว่า ประเทศไทยมีบริการ 5G ในพื้นที่ EEC เกือบเต็มรูปแบบแล้ว และเร็วกว่าประเทศอื่นในอาเซียน จึงจะนำโครงข่าย 5G มาใช้ให้เกิดประโยชน์กับชุมชนรอบ ๆ พื้นที่ EEC โดยสร้างให้เป็นเมืองอัจฉริยะ (smart city) ยึดสนามบินอู่ตะเภา เป็นศูนย์กลาง และขยายโครงข่ายไปยังชุมชนในรัศมี 30 กิโลเมตร ครอบคลุมพื้นที่อำเภอสัตหีบ บ้านฉาง มาบตาพุด พัทยา และระยอง เพื่อยกระดับพื้นที่ EEC ให้เป็น "มหานครการบินแห่งภาคตะวันออก"
"บ้านฉาง" จะเป็นสมาร์ทซิตี้ต้นแบบ 5G แห่งแรกของไทย และอาเซียน ในเบื้องต้นประเมินว่าปีนี้อุตสาหกรรม 5G ในเอเชีย จะมีมูลค่า 2.2 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐ และคาดว่าในปี 2569 จะเพิ่มเป็น 3.3 แสนล้านเหรียญสหรัฐ มีเงินลงทุนสะพัดอยู่ในไทย โดยเฉพาะใน EEC ไม่ต่ำกว่า 5 แสนล้านบาทต่อปี
"บ้านฉางเองก็มีแผนที่จะทำอยู่แล้ว โดยเข้ามาเสนอแผนกับ EEC ขณะนี้ อยู่ระหว่างการติดตั้งเสาสัญญาณอัจฉริยะทั้งในบ้านฉาง และอำเภอใกล้เคียง ครอบคลุมพื้นที่กว่า 238 ตารางกิโลเมตร ที่มีประชากรกว่า 32,000 ครัวเรือน เชื่อว่า จะทำให้นักลงทุนที่ต้องการทำธุรกิจเกี่ยวกับ 5G เข้ามาในพื้นที่ EEC แน่นอน"
"บิ๊กดาต้า" ต่อยอดธุรกิจ
ด้านนายชิต เหล่าวัฒนา ที่ปรึกษาพิเศษ EEC ด้านการพัฒนาการศึกษา บุคลากร และเทคโนโลยี กล่าวว่า กุญแจสำคัญของการทำสมาร์ทซิตี้คือการบริหารจัดการบิ๊กดาต้าให้เกิดประโยชน์สูงสุด โดยข้อมูลในพื้นที่บ้านฉางจะมีการจัดเก็บในรูปแบบ "common data lake" ที่ดาต้าเซ็นเตอร์ของ EEC และเปิดโอกาสให้ผู้ประกอบการใช้ข้อมูลสาธารณะเพื่อต่อยอดธุรกิจได้ เช่น จำนวนรถเข้าออกในบ้านฉาง ที่มี 40,000 คันในรอบสัปดาห์ กว่า 80% เป็นรถจากนอกพื้นที่ ขณะที่ภาครัฐก็ใช้ประโยชน์จากบิ๊กดาต้าในการเข้าถึงประชาชนเพื่อให้บริการประชาชนได้
ดร.ณัฐวุฒิ ศาสตราวาหะ รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ สายงานสื่อสารไร้สาย 2 บมจ.โทรคมนาคมแห่งชาติ หรือ NT กล่าวว่า เอ็นทีพร้อมให้บริการโครงข่าย 5G บนคลื่น 26 GHz โดยทำ MOU กับ EEC เพื่อดำเนินการวางโครงสร้างพื้นฐานโทรคมนาคม และเทคโนโลยี 5G ให้ประชาชนได้เข้าถึงบริการอินเทอร์เน็ตที่แรงกว่า 4G 100 เท่า
จากเมืองน่าอยู่สู่ "สมาร์ทซิตี้"
นายปรมินทร์ แสงศักดิ์สิทธารา รองปลัดเทศบาลตำบลบ้านฉาง กล่าวว่า บ้านฉางวางแผนจะทำเมืองน่าอยู่หรือ ecotown ตั้งแต่ปี 2559 จัดเตรียมแผน สำรวจความต้องการและปัญหาความเป็นอยู่ของประชาชน จนนำไปสู่การสร้างแพลตฟอร์มระดับท้องถิ่น เพื่ออำนวยความสะดวกประชาชน โดยร่วมมือภาคประชาชนและ หน่วยงานท้องถิ่น
หลังวางระบบเสาอัจฉริยะ 5G ครบ 160 ต้นใน 3 เดือนข้างหน้า ประโยชน์ที่ประชาชน บ้านฉางจะได้รับอย่างเป็นรูปธรรมคือ ระบบ "คมนาคม" จะมีกล้อง CCTV พร้อมระบบ AI ตรวจจับใบหน้าอาชญากร จับภาพรถยนต์ ตรวจหาคนหาย พร้อมโดรน 5G บินตรวจสอบพื้นที่ในทะเล เพื่อป้องกันการลักลอบเข้าเมืองผิดกฎหมาย
"บ้านฉางอยู่ใกล้นิคมอุตสาหกรรม ทำให้การบริหารจัดการเรื่องสิ่งแวดล้อมสำคัญ เรามีระบบเซ็นเซอร์ตรวจวัดคุณภาพน้ำ คุณภาพอากาศ และ PM 2.5 สร้างความเชื่อมั่นให้นักลงทุนและนักท่องเที่ยว"
ขณะที่ด้าน "สาธารณสุข" นอกจากมีเป้าหมายเพื่อสร้างความเท่าเทียมในการรับบริการแล้ว ประชาชนยังแจ้งอุบัติเหตุผ่านปุ่มขอความช่วยเหลือบนเสาสัญญาณอัจฉริยะได้ด้วย ในอนาคตจะพัฒนา "เทเลเมดิคอล" ให้บริการทางการแพทย์กับผู้สูงอายุ ผู้พิการ และผู้ด้อยโอกาสในพื้นที่
ทั้งยังดึงพื้นที่ใกล้เคียง เช่น เทศบาลเมืองพลา และตำบลสำนักท้อนเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งในการขับเคลื่อนสมาร์ทซิตี้ โดยหารือร่วมกับนิคมอุตสาหกรรมละแวกใกล้เคียง สถานีตำรวจภูธรบ้านฉาง โรงพยาบาลบ้านฉาง เพื่อร่วมกันใช้ 5G ให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อประชาชน และเมื่อบ้านฉางมีความปลอดภัย มีการบริหารจัดการสิ่งแวดล้อม และระบบ สาธารณสุขที่ดี ไม่เพียงทำให้ประชาชนสร้างรายได้จาก 5G ได้ดึงดูดนักลงทุนทั้งไทยและต่างชาติให้เข้ามาในพื้นที่มากขึ้น ส่งเสริมให้เกิดเงินหมุนเวียนในระบบเศรษฐกิจไทย
จุดพลุ 5G กระตุ้นเศรษฐกิจ
นายคณิศ แสงสุพรรณ เลขาธิการคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (สกพอ.) กล่าวว่า ประเทศไทยมีบริการ 5G ในพื้นที่ EEC เกือบเต็มรูปแบบแล้ว และเร็วกว่าประเทศอื่นในอาเซียน จึงจะนำโครงข่าย 5G มาใช้ให้เกิดประโยชน์กับชุมชนรอบ ๆ พื้นที่ EEC โดยสร้างให้เป็นเมืองอัจฉริยะ (smart city) ยึดสนามบินอู่ตะเภา เป็นศูนย์กลาง และขยายโครงข่ายไปยังชุมชนในรัศมี 30 กิโลเมตร ครอบคลุมพื้นที่อำเภอสัตหีบ บ้านฉาง มาบตาพุด พัทยา และระยอง เพื่อยกระดับพื้นที่ EEC ให้เป็น "มหานครการบินแห่งภาคตะวันออก"
"บ้านฉาง" จะเป็นสมาร์ทซิตี้ต้นแบบ 5G แห่งแรกของไทย และอาเซียน ในเบื้องต้นประเมินว่าปีนี้อุตสาหกรรม 5G ในเอเชีย จะมีมูลค่า 2.2 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐ และคาดว่าในปี 2569 จะเพิ่มเป็น 3.3 แสนล้านเหรียญสหรัฐ มีเงินลงทุนสะพัดอยู่ในไทย โดยเฉพาะใน EEC ไม่ต่ำกว่า 5 แสนล้านบาทต่อปี
"บ้านฉางเองก็มีแผนที่จะทำอยู่แล้ว โดยเข้ามาเสนอแผนกับ EEC ขณะนี้ อยู่ระหว่างการติดตั้งเสาสัญญาณอัจฉริยะทั้งในบ้านฉาง และอำเภอใกล้เคียง ครอบคลุมพื้นที่กว่า 238 ตารางกิโลเมตร ที่มีประชากรกว่า 32,000 ครัวเรือน เชื่อว่า จะทำให้นักลงทุนที่ต้องการทำธุรกิจเกี่ยวกับ 5G เข้ามาในพื้นที่ EEC แน่นอน"
"บิ๊กดาต้า" ต่อยอดธุรกิจ
ด้านนายชิต เหล่าวัฒนา ที่ปรึกษาพิเศษ EEC ด้านการพัฒนาการศึกษา บุคลากร และเทคโนโลยี กล่าวว่า กุญแจสำคัญของการทำสมาร์ทซิตี้คือการบริหารจัดการบิ๊กดาต้าให้เกิดประโยชน์สูงสุด โดยข้อมูลในพื้นที่บ้านฉางจะมีการจัดเก็บในรูปแบบ "common data lake" ที่ดาต้าเซ็นเตอร์ของ EEC และเปิดโอกาสให้ผู้ประกอบการใช้ข้อมูลสาธารณะเพื่อต่อยอดธุรกิจได้ เช่น จำนวนรถเข้าออกในบ้านฉาง ที่มี 40,000 คันในรอบสัปดาห์ กว่า 80% เป็นรถจากนอกพื้นที่ ขณะที่ภาครัฐก็ใช้ประโยชน์จากบิ๊กดาต้าในการเข้าถึงประชาชนเพื่อให้บริการประชาชนได้
ดร.ณัฐวุฒิ ศาสตราวาหะ รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ สายงานสื่อสารไร้สาย 2 บมจ.โทรคมนาคมแห่งชาติ หรือ NT กล่าวว่า เอ็นทีพร้อมให้บริการโครงข่าย 5G บนคลื่น 26 GHz โดยทำ MOU กับ EEC เพื่อดำเนินการวางโครงสร้างพื้นฐานโทรคมนาคม และเทคโนโลยี 5G ให้ประชาชนได้เข้าถึงบริการอินเทอร์เน็ตที่แรงกว่า 4G 100 เท่า
จากเมืองน่าอยู่สู่ "สมาร์ทซิตี้"
นายปรมินทร์ แสงศักดิ์สิทธารา รองปลัดเทศบาลตำบลบ้านฉาง กล่าวว่า บ้านฉางวางแผนจะทำเมืองน่าอยู่หรือ ecotown ตั้งแต่ปี 2559 จัดเตรียมแผน สำรวจความต้องการและปัญหาความเป็นอยู่ของประชาชน จนนำไปสู่การสร้างแพลตฟอร์มระดับท้องถิ่น เพื่ออำนวยความสะดวกประชาชน โดยร่วมมือภาคประชาชนและ หน่วยงานท้องถิ่น
หลังวางระบบเสาอัจฉริยะ 5G ครบ 160 ต้นใน 3 เดือนข้างหน้า ประโยชน์ที่ประชาชน บ้านฉางจะได้รับอย่างเป็นรูปธรรมคือ ระบบ "คมนาคม" จะมีกล้อง CCTV พร้อมระบบ AI ตรวจจับใบหน้าอาชญากร จับภาพรถยนต์ ตรวจหาคนหาย พร้อมโดรน 5G บินตรวจสอบพื้นที่ในทะเล เพื่อป้องกันการลักลอบเข้าเมืองผิดกฎหมาย
"บ้านฉางอยู่ใกล้นิคมอุตสาหกรรม ทำให้การบริหารจัดการเรื่องสิ่งแวดล้อมสำคัญ เรามีระบบเซ็นเซอร์ตรวจวัดคุณภาพน้ำ คุณภาพอากาศ และ PM 2.5 สร้างความเชื่อมั่นให้นักลงทุนและนักท่องเที่ยว"
ขณะที่ด้าน "สาธารณสุข" นอกจากมีเป้าหมายเพื่อสร้างความเท่าเทียมในการรับบริการแล้ว ประชาชนยังแจ้งอุบัติเหตุผ่านปุ่มขอความช่วยเหลือบนเสาสัญญาณอัจฉริยะได้ด้วย ในอนาคตจะพัฒนา "เทเลเมดิคอล" ให้บริการทางการแพทย์กับผู้สูงอายุ ผู้พิการ และผู้ด้อยโอกาสในพื้นที่
ทั้งยังดึงพื้นที่ใกล้เคียง เช่น เทศบาลเมืองพลา และตำบลสำนักท้อนเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งในการขับเคลื่อนสมาร์ทซิตี้ โดยหารือร่วมกับนิคมอุตสาหกรรมละแวกใกล้เคียง สถานีตำรวจภูธรบ้านฉาง โรงพยาบาลบ้านฉาง เพื่อร่วมกันใช้ 5G ให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อประชาชน และเมื่อบ้านฉางมีความปลอดภัย มีการบริหารจัดการสิ่งแวดล้อม และระบบ สาธารณสุขที่ดี ไม่เพียงทำให้ประชาชนสร้างรายได้จาก 5G ได้ดึงดูดนักลงทุนทั้งไทยและต่างชาติให้เข้ามาในพื้นที่มากขึ้น ส่งเสริมให้เกิดเงินหมุนเวียนในระบบเศรษฐกิจไทย
ข่าวเขตเศรษฐกิจพิเศษ อื่นๆ