ที่ดิน ปทุมฯ-กทม.-ปากน้ำ ราคาพุ่ง รับเปิดหวูดรถไฟฟ้าสายสีเขียว-สีทอง
วันที่ : 9 ธันวาคม 2563
ราคาที่ดิน ปทุมฯ-กทม.-ปากน้ำ ราคาพุ่ง หลังมีการก่อสร้างและเปิดบริการของรถไฟฟ้าสายสีเขียวและสายสีทอง
นับถอยหลังวันที่ 16 ธ.ค. 2563 "กทม.-กรุงเทพมหานคร" จะเปิดบริการรถไฟฟ้าเพิ่มอีก 2 สายเชื่อมการเดินทางเข้าสู่ใจกลางเมือง
นั่นคือสายสีเขียวต่อขยายจะเปิดตลอดสาย "หมอชิต-สะพานใหม่-คูคต" ระยะทาง 18.7 กม. จากปัจจุบันเปิดถึงสถานีวัดพระศรีมหาธาตุ
สำหรับรถไฟฟ้าสายนี้เริ่มสร้างวันที่ 1 มิ.ย. 2558 มี 16 สถานี ประกอบด้วย ห้าแยกลาดพร้าว พหลโยธิน 24 รัชโยธิน เสนานิคม ม.เกษตรศาสตร์ กรมป่าไม้ บางบัว กรมทหารราบที่ 11 วัดพระศรีมหาธาตุ อนุสาวรีย์หลักสี่ สายหยุด สะพานใหม่ โรงพยาบาลภูมิพลอดุลยเดช พิพิธภัณฑ์กองทัพอากาศ แยก คปอ. และคูคต
กทม.เปิดพร้อมกันสีเขียว-สีทอง
หลัง "กทม." รับโอนโครงการจาก "รฟม.-การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย" ได้ทดลองเปิดบริการ เป็นช่วง ๆ ในวันที่ 9 ธ.ค. 2562 เปิด 1 สถานี "หมอชิต-ห้าแยกลาดพร้าว" จากนั้นวันที่ 4 ธ.ค. 2562 เปิดถึง ม.เกษตรศาสตร์ และวันที่ 5 มิ.ย. 2563 เปิดถึงสถานีวัดพระศรีมหาธาตุ และ วันที่ 16 ธ.ค.จะวิ่งถึงสถานีคูคต
ทำให้การเดินทาง 3 จังหวัด ปทุมธานี กทม. และสมุทรปราการ เชื่อมกันแบบ ไร้รอยต่อด้วยสายสีเขียว สามารถตีตั๋ว นั่งยาวถึงสายสีเขียวช่วงแบริ่งสมุทรปราการ ภายในเวลา 1 ชั่วโมง 30 นาที โดยที่ไม่ต้องเปลี่ยนขบวนรถ ซึ่ง กทม.ยังเปิดฟรีถึง 1 ม.ค. 2564 คาดว่าจะมี ผู้โดยสารอยู่ที่ 330,000 เที่ยวคน/วัน
ในแนวเส้นทางจะมีอาคารจอดแล้วจร 3 แห่งรองรับการเดินทาง โดยช่วงแบริ่ง- สมุทรปราการ อยู่สถานีเคหะฯ จอดได้ 783 คัน ส่วนช่วงหมอชิต-คูคต อยู่บริเวณถนนพหลโยธิน กม.25 ติดสถานีแยก คปอ. จอดรถได้ 1,042 คัน และสถานีคูคต สามารถจอดรถได้ 713 คัน โดย รฟม.เก็บค่าจอดทันที อัตรา 2 ชั่วโมง 10 บาท สำหรับผู้ใช้รถไฟฟ้า ส่วนผู้ไม่ใช้บริการ จะเสียชั่วโมงละ 20 บาท
อีกสายเป็นรถไฟฟ้าขนาดรอง "สาย สีทอง" จากกรุงธนบุรี-คลองสาน ระยะทาง 1.88 กม. หลังใช้เวลาสร้างกว่า 2 ปี นับจากเดือน มี.ค. 2561 ได้ฤกษ์เปิดบริการรับช่วงเทศกาลปีใหม่พอดี
ซึ่งรถไฟฟ้าสายนี้ เป็นความร่วมมือระหว่างเอกชนและ กทม.เดินหน้าพัฒนาวงเงิน 2,512 ล้านบาท มี 3 สถานี ได้แก่ สถานีกรุงธนบุรีเชื่อมบีทีเอส สถานีเจริญนครอยู่หน้าศูนย์การค้าไอคอนสยาม และสถานีคลองสานอยู่หน้าโรงพยาบาลตากสิน เก็บค่าโดยสาร 15 บาทตลอดสาย โดย "กทม." คาดว่าหลังเปิดแล้ว จะมี ผู้โดยสาร 47,300 เที่ยวคนต่อวัน
ทั้งนี้หลังมีการก่อสร้างและเปิดบริการของรถไฟฟ้าสายสีเขียวและสายสีทอง ทำให้ราคาที่ดินปรับตัวสูงขึ้นตามไปด้วย
ดันราคาที่ดินกทม.-ปทุมฯ-ปากน้ำ
"ฐนัญพงษ์ สุขสมศักดิ์" ผู้อำนวยการกองประเมินราคาทรัพย์สิน กรมธนารักษ์ เปิดเผย "ประชาชาติธุรกิจ" ว่า จากการเก็บข้อมูลราคาประเมินที่ดินแนวสายสีเขียวช่วงแบริ่ง-สมุทรปราการ และหมอชิต-คูคตและสายสีทอง ในรอบปี 2564-2567 พบว่าราคาประเมิน จ.ปทุมธานี เพิ่มขึ้น 7.12% ราคาประเมินสูงสุดถนนพหลโยธิน (ธูปะเตมีย์- ซอยพหลโยธิน 87) ลำลูกกา 100,000 บาท/ตร.ว. ต่ำสุดเป็นที่ดินไม่มีทางเข้าออก ลำลูกกา 600 บาท/ตร.ว.
ราคาบนถนนสำคัญ เช่น ถนนพหลโยธิน (จากธูปะเตมีย์-ซอยพหลโยธิน 87) 100,000 บาท/ตร.ว. ถนนพหลโยธิน 90,000-100,000 บาท/ตร.ว. ถนนรังสิต-ปทุมธานี 75,000-100,000 บาท/ตร.ว. ถนนพหลโยธิน 50,000-80,000 บาท/ตร.ว. ถนนติวานนท์ (306) 45,000-60,000 บาท/ตร.ว. ทางหลวงสายนนทบุรี-ปทุมธานี (307) 40,000-50,000 บาท/ตร.ว. ถนนรังสิต-ปทุมธานี (346) 35,000-50,500 บาท/ตร.ว. ถนนคลองหลวง-บางขันธ์ 25,000-47,500 บาท/ตร.ว. ทางหลวงสายนนทบุรี-บางบัวทอง (345) 20,000-40,000 บาท/ตร.ว. ถนนพหลโยธิน-ลำลูกกา (ปท.3312) 14,000-56,000 บาท/ตร.ว.
ในพื้นที่กรุงเทพฯเป็นพื้นที่รอยต่อ เช่น เขตบางเขนและสายไหม ปรับขึ้น 1.64% เช่น ถนนพหลโยธิน ช่วงกรมทหารราบที่ 11-วงเวียนบางเขน-แยกกรมพลาธิการทหารอากาศ-ถนนลำลูกกา 130,000-250,000 บาท/ตร.ว. ถนนรามอินทรา 170,000 บาท/ตร.ว.
ด้าน จ.สมุทรปราการ เพิ่มขึ้น 6.15% สูงสุดถนนสุขุมวิท จากเขตกรุงเทพฯถึงคลองสำโรง อ.เมือง 160,000 บาท/ตร.ว. ต่ำสุดอ.พระสมุทรเจดีย์ 500 บาท/ตร.ว. ขณะที่ถนนสายสำคัญ เช่น ถนนสุขุมวิท 15,000-160,000 บาท/ตร.ว. ถนนบางนา-ตราด 45,000-100,000 บาท/ตร.ว. ถนนเทพารักษ์ 50,000-120,000 บาท/ตร.ว. ถนนศรีนครินทร์ 100,000 บาท/ตร.ว. ถนนปู่เจ้าสมิงพราย 120,000 บาท/ตร.ว. ถนนตำหรุ-บางพลี 30,000-40,000 บาท/ตร.ว. ถนนบางพลี-กิ่งแก้ว 65,500 บาท/ตร.ว. ถนนกิ่งแก้ว-ลาดกระบัง 65,500 บาท/ตร.ว. ถนนสุขสวัสดิ์ 80,000-100,000 บาท/ตร.ว. ถนนลาดกระบัง-เทพราช 20,000 บาท/ตร.ว.
พื้นที่รอยต่อในเขตพระโขนง-วัฒนาคลองเตย-บางนา ปรับขึ้น 0.32% เช่น ถนนสุขุมวิท ช่วงทางด่วนเฉลิมมหานคร-แยกอโศกมนตรี 750,000 บาท/ตร.ว. ถนนพระราม 4 450,000-500,000 บาท/ตร.ว. ถนนทองหล่อ 500,000 บาท/ตร.ว. ถนนบางนา-ตราด 140,000-200,000 บาท/ตร.ว.
ขณะที่สายสีทอง ทำให้ราคาประเมิน ในพื้นที่เขตธนบุรี-คลองสาน-บางกอกใหญ่-ราษฎร์บูรณะ-ทุ่งครุ ปรับขึ้น 0.47% อาทิ ถนนกรุงธนบุรี 150,000-450,000 บาท/ตร.ว. ถนนเจริญนคร 135,000-250,000 บาท/ตร.ว. ถนนสมเด็จพระเจ้าตากสิน ช่วงวงเวียนใหญ่-แยกกรุงธนบุรี-แยกมไหสวรรย์-คลองสำเหร่-คลองดาวคะนอง 145,000-220,000 บาท/ตร.ว. เป็นต้น
ราคาซื้อขายขยับทุกปี
นายโสภณ พรโชคชัย ประธาน ศูนย์ข้อมูลวิจัยและประเมินค่าอสังหาริมทรัพย์ไทย บจ. เอเจนซี่ ฟอร์ เรียลเอสเตท แอฟแฟร์ส เปิดเผยว่า ราคาซื้อขายที่ดินถนนเจริญนครปรับขึ้นจาก 390,000 บาท/ตร.ว. เป็น 410,000 บาท/ตร.ว. สายสีแดง ช่วงบางซื่อ-รังสิต บริเวณถนนสรงประภา จาก 42,000 บาท/ตร.ว. เป็น 44,000 บาท/ ตร.ว. และสายสีแดงช่วงตลิ่งชัน จาก 85,000 บาท/ตร.ว. เป็น 89,000 บาท/ตร.ว.
หลังรถไฟฟ้าเปิดราคาน่าจะขยับขึ้นอีก
นั่นคือสายสีเขียวต่อขยายจะเปิดตลอดสาย "หมอชิต-สะพานใหม่-คูคต" ระยะทาง 18.7 กม. จากปัจจุบันเปิดถึงสถานีวัดพระศรีมหาธาตุ
สำหรับรถไฟฟ้าสายนี้เริ่มสร้างวันที่ 1 มิ.ย. 2558 มี 16 สถานี ประกอบด้วย ห้าแยกลาดพร้าว พหลโยธิน 24 รัชโยธิน เสนานิคม ม.เกษตรศาสตร์ กรมป่าไม้ บางบัว กรมทหารราบที่ 11 วัดพระศรีมหาธาตุ อนุสาวรีย์หลักสี่ สายหยุด สะพานใหม่ โรงพยาบาลภูมิพลอดุลยเดช พิพิธภัณฑ์กองทัพอากาศ แยก คปอ. และคูคต
กทม.เปิดพร้อมกันสีเขียว-สีทอง
หลัง "กทม." รับโอนโครงการจาก "รฟม.-การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย" ได้ทดลองเปิดบริการ เป็นช่วง ๆ ในวันที่ 9 ธ.ค. 2562 เปิด 1 สถานี "หมอชิต-ห้าแยกลาดพร้าว" จากนั้นวันที่ 4 ธ.ค. 2562 เปิดถึง ม.เกษตรศาสตร์ และวันที่ 5 มิ.ย. 2563 เปิดถึงสถานีวัดพระศรีมหาธาตุ และ วันที่ 16 ธ.ค.จะวิ่งถึงสถานีคูคต
ทำให้การเดินทาง 3 จังหวัด ปทุมธานี กทม. และสมุทรปราการ เชื่อมกันแบบ ไร้รอยต่อด้วยสายสีเขียว สามารถตีตั๋ว นั่งยาวถึงสายสีเขียวช่วงแบริ่งสมุทรปราการ ภายในเวลา 1 ชั่วโมง 30 นาที โดยที่ไม่ต้องเปลี่ยนขบวนรถ ซึ่ง กทม.ยังเปิดฟรีถึง 1 ม.ค. 2564 คาดว่าจะมี ผู้โดยสารอยู่ที่ 330,000 เที่ยวคน/วัน
ในแนวเส้นทางจะมีอาคารจอดแล้วจร 3 แห่งรองรับการเดินทาง โดยช่วงแบริ่ง- สมุทรปราการ อยู่สถานีเคหะฯ จอดได้ 783 คัน ส่วนช่วงหมอชิต-คูคต อยู่บริเวณถนนพหลโยธิน กม.25 ติดสถานีแยก คปอ. จอดรถได้ 1,042 คัน และสถานีคูคต สามารถจอดรถได้ 713 คัน โดย รฟม.เก็บค่าจอดทันที อัตรา 2 ชั่วโมง 10 บาท สำหรับผู้ใช้รถไฟฟ้า ส่วนผู้ไม่ใช้บริการ จะเสียชั่วโมงละ 20 บาท
อีกสายเป็นรถไฟฟ้าขนาดรอง "สาย สีทอง" จากกรุงธนบุรี-คลองสาน ระยะทาง 1.88 กม. หลังใช้เวลาสร้างกว่า 2 ปี นับจากเดือน มี.ค. 2561 ได้ฤกษ์เปิดบริการรับช่วงเทศกาลปีใหม่พอดี
ซึ่งรถไฟฟ้าสายนี้ เป็นความร่วมมือระหว่างเอกชนและ กทม.เดินหน้าพัฒนาวงเงิน 2,512 ล้านบาท มี 3 สถานี ได้แก่ สถานีกรุงธนบุรีเชื่อมบีทีเอส สถานีเจริญนครอยู่หน้าศูนย์การค้าไอคอนสยาม และสถานีคลองสานอยู่หน้าโรงพยาบาลตากสิน เก็บค่าโดยสาร 15 บาทตลอดสาย โดย "กทม." คาดว่าหลังเปิดแล้ว จะมี ผู้โดยสาร 47,300 เที่ยวคนต่อวัน
ทั้งนี้หลังมีการก่อสร้างและเปิดบริการของรถไฟฟ้าสายสีเขียวและสายสีทอง ทำให้ราคาที่ดินปรับตัวสูงขึ้นตามไปด้วย
ดันราคาที่ดินกทม.-ปทุมฯ-ปากน้ำ
"ฐนัญพงษ์ สุขสมศักดิ์" ผู้อำนวยการกองประเมินราคาทรัพย์สิน กรมธนารักษ์ เปิดเผย "ประชาชาติธุรกิจ" ว่า จากการเก็บข้อมูลราคาประเมินที่ดินแนวสายสีเขียวช่วงแบริ่ง-สมุทรปราการ และหมอชิต-คูคตและสายสีทอง ในรอบปี 2564-2567 พบว่าราคาประเมิน จ.ปทุมธานี เพิ่มขึ้น 7.12% ราคาประเมินสูงสุดถนนพหลโยธิน (ธูปะเตมีย์- ซอยพหลโยธิน 87) ลำลูกกา 100,000 บาท/ตร.ว. ต่ำสุดเป็นที่ดินไม่มีทางเข้าออก ลำลูกกา 600 บาท/ตร.ว.
ราคาบนถนนสำคัญ เช่น ถนนพหลโยธิน (จากธูปะเตมีย์-ซอยพหลโยธิน 87) 100,000 บาท/ตร.ว. ถนนพหลโยธิน 90,000-100,000 บาท/ตร.ว. ถนนรังสิต-ปทุมธานี 75,000-100,000 บาท/ตร.ว. ถนนพหลโยธิน 50,000-80,000 บาท/ตร.ว. ถนนติวานนท์ (306) 45,000-60,000 บาท/ตร.ว. ทางหลวงสายนนทบุรี-ปทุมธานี (307) 40,000-50,000 บาท/ตร.ว. ถนนรังสิต-ปทุมธานี (346) 35,000-50,500 บาท/ตร.ว. ถนนคลองหลวง-บางขันธ์ 25,000-47,500 บาท/ตร.ว. ทางหลวงสายนนทบุรี-บางบัวทอง (345) 20,000-40,000 บาท/ตร.ว. ถนนพหลโยธิน-ลำลูกกา (ปท.3312) 14,000-56,000 บาท/ตร.ว.
ในพื้นที่กรุงเทพฯเป็นพื้นที่รอยต่อ เช่น เขตบางเขนและสายไหม ปรับขึ้น 1.64% เช่น ถนนพหลโยธิน ช่วงกรมทหารราบที่ 11-วงเวียนบางเขน-แยกกรมพลาธิการทหารอากาศ-ถนนลำลูกกา 130,000-250,000 บาท/ตร.ว. ถนนรามอินทรา 170,000 บาท/ตร.ว.
ด้าน จ.สมุทรปราการ เพิ่มขึ้น 6.15% สูงสุดถนนสุขุมวิท จากเขตกรุงเทพฯถึงคลองสำโรง อ.เมือง 160,000 บาท/ตร.ว. ต่ำสุดอ.พระสมุทรเจดีย์ 500 บาท/ตร.ว. ขณะที่ถนนสายสำคัญ เช่น ถนนสุขุมวิท 15,000-160,000 บาท/ตร.ว. ถนนบางนา-ตราด 45,000-100,000 บาท/ตร.ว. ถนนเทพารักษ์ 50,000-120,000 บาท/ตร.ว. ถนนศรีนครินทร์ 100,000 บาท/ตร.ว. ถนนปู่เจ้าสมิงพราย 120,000 บาท/ตร.ว. ถนนตำหรุ-บางพลี 30,000-40,000 บาท/ตร.ว. ถนนบางพลี-กิ่งแก้ว 65,500 บาท/ตร.ว. ถนนกิ่งแก้ว-ลาดกระบัง 65,500 บาท/ตร.ว. ถนนสุขสวัสดิ์ 80,000-100,000 บาท/ตร.ว. ถนนลาดกระบัง-เทพราช 20,000 บาท/ตร.ว.
พื้นที่รอยต่อในเขตพระโขนง-วัฒนาคลองเตย-บางนา ปรับขึ้น 0.32% เช่น ถนนสุขุมวิท ช่วงทางด่วนเฉลิมมหานคร-แยกอโศกมนตรี 750,000 บาท/ตร.ว. ถนนพระราม 4 450,000-500,000 บาท/ตร.ว. ถนนทองหล่อ 500,000 บาท/ตร.ว. ถนนบางนา-ตราด 140,000-200,000 บาท/ตร.ว.
ขณะที่สายสีทอง ทำให้ราคาประเมิน ในพื้นที่เขตธนบุรี-คลองสาน-บางกอกใหญ่-ราษฎร์บูรณะ-ทุ่งครุ ปรับขึ้น 0.47% อาทิ ถนนกรุงธนบุรี 150,000-450,000 บาท/ตร.ว. ถนนเจริญนคร 135,000-250,000 บาท/ตร.ว. ถนนสมเด็จพระเจ้าตากสิน ช่วงวงเวียนใหญ่-แยกกรุงธนบุรี-แยกมไหสวรรย์-คลองสำเหร่-คลองดาวคะนอง 145,000-220,000 บาท/ตร.ว. เป็นต้น
ราคาซื้อขายขยับทุกปี
นายโสภณ พรโชคชัย ประธาน ศูนย์ข้อมูลวิจัยและประเมินค่าอสังหาริมทรัพย์ไทย บจ. เอเจนซี่ ฟอร์ เรียลเอสเตท แอฟแฟร์ส เปิดเผยว่า ราคาซื้อขายที่ดินถนนเจริญนครปรับขึ้นจาก 390,000 บาท/ตร.ว. เป็น 410,000 บาท/ตร.ว. สายสีแดง ช่วงบางซื่อ-รังสิต บริเวณถนนสรงประภา จาก 42,000 บาท/ตร.ว. เป็น 44,000 บาท/ ตร.ว. และสายสีแดงช่วงตลิ่งชัน จาก 85,000 บาท/ตร.ว. เป็น 89,000 บาท/ตร.ว.
หลังรถไฟฟ้าเปิดราคาน่าจะขยับขึ้นอีก
ข่าวกฎหมายอสังหาฯ อื่นๆ