เปิดกรุ ที่ดินราชพัสดุ ต่างแดน 150แปลงแก้กม.ขาย-เปลี่ยนมือ
วันที่ : 30 พฤศจิกายน 2563
คลังถกทรัพย์สินไทยในต่างแดนรับกฎกระทรวงใหม่ ระบุวิธี ขาย/แลกเปลี่ยน คลายล็อกที่ดินราชการ 150 แห่งในต่างประเทศ
คลังถกทรัพย์สินไทยในต่างแดนรับกฎกระทรวงใหม่ ระบุวิธี "ขาย/แลกเปลี่ยน" คลายล็อกที่ดินราชการ 150 แห่งในต่างประเทศ ด้านกรมธนารักษ์ชี้แจงเพื่อความคล่องตัว เผยมี 10 สถานทูตจ่อขายนำรายได้เข้าแผ่นดิน
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เมื่อเร็ว ๆ นี้ ราชกิจจานุเบกษาได้ประกาศกฎกระทรวง การโอนกรรมสิทธิ์ที่ราชพัสดุนอกราชอาณาจักร พ.ศ. 2563 ซึ่งท้ายประกาศระบุถึงเหตุผลในการประกาศใช้กฎกระทรวงฉบับนี้ว่า เป็นไปตามมาตรา 41 แห่งพระราชบัญญัติที่ราชพัสดุ พ.ศ. 2562 บัญญัติให้การโอนกรรมสิทธิ์ที่ราชพัสดุนอกราชอาณาจักร ต้องได้รับความเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรี (ครม.) จึงจำเป็น ต้องออกกฎกระทรวง เพื่อกำหนด หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข
นายยุทธนา หยิมการุณ อธิบดีกรมธนารักษ์ กล่าวกับ "ประชาชาติธุรกิจ" ว่า ที่ราชพัสดุในต่างประเทศ ส่วนใหญ่กระทรวงการต่างประเทศจะเป็น ผู้ครอบครอง เพื่อใช้งานเป็นสถานทูต, การพาณิชย์ และกองทัพ อย่างไรก็ดี หากเป็นการเช่าที่ดินจะไม่ถือเป็นที่ ราชพัสดุ แต่จะถือเป็นที่ราชพัสดุเมื่อมีการใช้งบประมาณไปจัดซื้อที่ดิน ดังกล่าวมา
ทั้งนี้ กรมธนารักษ์ได้รับรายงานจากกระทรวงการต่างประเทศว่า ขณะนี้อยู่ระหว่างการรวบรวมข้อมูลที่ราชพัสดุนอกราชอาณาจักรทั้งหมด คาดว่าจะได้ข้อสรุปในเร็ว ๆ นี้ ว่ามีทั้งหมดกี่ประเทศ กี่แปลง และมูลค่าทั้งสิ้นราคาเท่าไหร่
นายยุทธนากล่าวด้วยว่า เมื่อวันที่ 23 พ.ย.ที่ผ่านมา กรมธนารักษ์ก็ได้มีการประชุมหารือถึงเรื่องที่ราชพัสดุในต่างประเทศ เพื่อรวบรวมข้อมูล แต่เนื่องจากข้อมูลที่ได้มายังไม่ครบทุกประเทศ จึงต้องรอรวบรวมผ่านทางกระทรวงการต่างประเทศอีกครั้ง
"ข้อมูลที่ได้มายังรวบรวมไม่ครบ จึงได้สั่งให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องไปรวบรวมมาให้แล้วเสร็จ ว่ายังเหลือที่ราชพัสดุที่ไหน มูลค่าเท่าไหร่ ซึ่งจะต้องส่งผ่านเข้ามาทางกระทรวงการต่างประเทศ โดยคาดว่าจะได้ข้อสรุปเร็ว ๆ นี้" นายยุทธนากล่าว
นางศุกร์ศิริ บุญญเศรษฐ์ รองอธิบดีกรมธนารักษ์ กล่าวว่า ตามที่กระทรวงการคลังได้ออกกฎกระทรวงการโอนกรรมสิทธิ์ที่ราชพัสดุนอกราชอาณาจักร พ.ศ. 2563 นั้น ที่ผ่านมามีการดำเนินการในเรื่องนี้อยู่แล้ว เพียงแต่ว่าของเดิมจะดำเนินการภายใต้มติคณะรัฐมนตรี (ครม.)
ดังนั้น เมื่อมีการแก้ไข พ.ร.บ.ที่ราชพัสดุ จึงได้นำมติ ครม.ดังกล่าวมาออกเป็นกฎกระทรวง ซึ่งการขายที่ราชพัสดุนอกประเทศนั้น กรมธนารักษ์ไม่สามารถดำเนินการขายเองได้ จะต้องมีการหารือร่วมกับกระทรวงการต่างประเทศ รวมทั้งจะต้องผ่านคณะกรรมการพิจารณาให้ความเห็นการโอนกรรมสิทธิ์ที่ราชพัสดุนอกราชอาณาจักร ซึ่งมีหน้าที่กลั่นกรองและเสนอความเห็นเกี่ยวกับการโอนกรรมสิทธิ์ที่ราชพัสดุ ที่มีปลัดกระทรวงการคลัง เป็นประธาน
ทั้งนี้ ที่ราชพัสดุในต่างประเทศนั้น เท่าที่รวบรวมมีอยู่กว่า 150 ประเทศ ซึ่งส่วนใหญ่เป็นที่ราชพัสดุที่ใช้ดำเนินการ เช่น สถานทูต แต่ก็จะมีหน่วยงานอื่น ๆ เข้ามาขอใช้พื้นที่ด้วย, ที่ราชพัสดุใช้เป็นที่ตั้งของพาณิชย์, และที่ทำการของกองทัพ เป็นต้น
"กฎกระทรวงที่ออกมาระบุไว้ว่า ให้สามารถขายหรือแลกเปลี่ยนที่ราชพัสดุในต่างประเทศได้ หรือสามารถเปิดประมูลที่ราชพัสดุได้ด้วย อย่างไรก็ดี ก็ต้องขึ้นอยู่กับกฎหมายของประเทศนั้น ๆ ด้วย ว่ากำหนดให้ดำเนินการอย่างไรได้บ้าง ซึ่งบางประเทศหากไม่ให้มีการซื้อขาย เปิดให้เช่าเพียงอย่างเดียว ก็ต้องเช่า เช่น กรณีของประเทศจีน ลักษณะการใช้ที่ราชพัสดุซื้อขายไม่ได้" นางศุกร์ศิริกล่าวและว่า
แต่การออกกฎกระทรวงฉบับนี้ ไม่ได้ออกมาเพื่อมีวัตถุประสงค์การขายเป็นหลัก แต่จะจำหน่ายเมื่อจำเป็น โดยขณะนี้มีหน่วยงานที่มีแผนจะขายที่ราชพัสดุในต่างประเทศอยู่ราว 10 แห่ง ซึ่งเมื่อขายได้ ก็จะเข้าเป็นรายได้ของแผ่นดิน
นางศุกร์ศิริกล่าวว่า ที่ผ่านมาก็เคยมีการดำเนินการการขายที่ราชพัสดุใน ต่างประเทศ เช่น สถานทูตเก่าในประเทศ เบลเยียม โดยได้ผ่านมติของคณะกรรมการ พิจารณาให้ความเห็นการโอนกรรมสิทธิ์ ที่ราชพัสดุนอกราชอาณาจักร และ ครม.ไปแล้ว ซึ่งขายได้แล้ว ขณะนี้ อยู่ระหว่างการดำเนินการในเรื่องสัญญา
"วิธีการขายที่ราชพัสดุนอกประเทศ ไม่ใช่ว่าเราอยากได้เงินก็ขาย แต่ส่วนใหญ่ จะเป็นลักษณะของที่ตั้งสถานทูตเก่า ที่อาจจะมีพื้นที่คับแคบแล้ว ดูแล้วอาจจะไม่สมฐานะ และบังเอิญได้ที่ใหม่ ก็จะย้ายไปอยู่ที่ใหม่ ส่วนที่เก่าไม่ได้ใช้ประโยชน์แล้ว จึงจะขาย ซึ่งกระทรวงการต่างประเทศจะเป็นผู้เสนอมาที่ คณะกรรมการพิจารณา และหากได้ ข้อสรุปแล้วก็ต้องเสนอ ครม.ต่อไป" นางศุกร์ศิริกล่าว
รายงานข่าวแจ้งว่า ก่อนหน้านี้ เมื่อปี 2562 ที่ผ่านมา กระทรวงพาณิชย์ก็มีแนวคิดจัดซื้อที่ดินในต่างประเทศ เพื่อใช้เป็นสำนักงานทูตพาณิชย์แทนการเช่า ซึ่งบางประเทศค่าเช่ามีราคาแพง อาทิ สำนักงานผู้แทนการค้าไทย ประจำองค์การการค้าโลก ที่กรุงเจนีวา ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ รวมถึงสำนักงานที่กรุงบรัสเซลส์ ประเทศเบลเยียม เป็นต้น เนื่องจากสามารถซื้อที่ดินได้ในราคาถูกลง จากสถานการณ์เงินบาทแข็งค่าในปีที่ผ่านมา
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เมื่อเร็ว ๆ นี้ ราชกิจจานุเบกษาได้ประกาศกฎกระทรวง การโอนกรรมสิทธิ์ที่ราชพัสดุนอกราชอาณาจักร พ.ศ. 2563 ซึ่งท้ายประกาศระบุถึงเหตุผลในการประกาศใช้กฎกระทรวงฉบับนี้ว่า เป็นไปตามมาตรา 41 แห่งพระราชบัญญัติที่ราชพัสดุ พ.ศ. 2562 บัญญัติให้การโอนกรรมสิทธิ์ที่ราชพัสดุนอกราชอาณาจักร ต้องได้รับความเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรี (ครม.) จึงจำเป็น ต้องออกกฎกระทรวง เพื่อกำหนด หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข
นายยุทธนา หยิมการุณ อธิบดีกรมธนารักษ์ กล่าวกับ "ประชาชาติธุรกิจ" ว่า ที่ราชพัสดุในต่างประเทศ ส่วนใหญ่กระทรวงการต่างประเทศจะเป็น ผู้ครอบครอง เพื่อใช้งานเป็นสถานทูต, การพาณิชย์ และกองทัพ อย่างไรก็ดี หากเป็นการเช่าที่ดินจะไม่ถือเป็นที่ ราชพัสดุ แต่จะถือเป็นที่ราชพัสดุเมื่อมีการใช้งบประมาณไปจัดซื้อที่ดิน ดังกล่าวมา
ทั้งนี้ กรมธนารักษ์ได้รับรายงานจากกระทรวงการต่างประเทศว่า ขณะนี้อยู่ระหว่างการรวบรวมข้อมูลที่ราชพัสดุนอกราชอาณาจักรทั้งหมด คาดว่าจะได้ข้อสรุปในเร็ว ๆ นี้ ว่ามีทั้งหมดกี่ประเทศ กี่แปลง และมูลค่าทั้งสิ้นราคาเท่าไหร่
นายยุทธนากล่าวด้วยว่า เมื่อวันที่ 23 พ.ย.ที่ผ่านมา กรมธนารักษ์ก็ได้มีการประชุมหารือถึงเรื่องที่ราชพัสดุในต่างประเทศ เพื่อรวบรวมข้อมูล แต่เนื่องจากข้อมูลที่ได้มายังไม่ครบทุกประเทศ จึงต้องรอรวบรวมผ่านทางกระทรวงการต่างประเทศอีกครั้ง
"ข้อมูลที่ได้มายังรวบรวมไม่ครบ จึงได้สั่งให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องไปรวบรวมมาให้แล้วเสร็จ ว่ายังเหลือที่ราชพัสดุที่ไหน มูลค่าเท่าไหร่ ซึ่งจะต้องส่งผ่านเข้ามาทางกระทรวงการต่างประเทศ โดยคาดว่าจะได้ข้อสรุปเร็ว ๆ นี้" นายยุทธนากล่าว
นางศุกร์ศิริ บุญญเศรษฐ์ รองอธิบดีกรมธนารักษ์ กล่าวว่า ตามที่กระทรวงการคลังได้ออกกฎกระทรวงการโอนกรรมสิทธิ์ที่ราชพัสดุนอกราชอาณาจักร พ.ศ. 2563 นั้น ที่ผ่านมามีการดำเนินการในเรื่องนี้อยู่แล้ว เพียงแต่ว่าของเดิมจะดำเนินการภายใต้มติคณะรัฐมนตรี (ครม.)
ดังนั้น เมื่อมีการแก้ไข พ.ร.บ.ที่ราชพัสดุ จึงได้นำมติ ครม.ดังกล่าวมาออกเป็นกฎกระทรวง ซึ่งการขายที่ราชพัสดุนอกประเทศนั้น กรมธนารักษ์ไม่สามารถดำเนินการขายเองได้ จะต้องมีการหารือร่วมกับกระทรวงการต่างประเทศ รวมทั้งจะต้องผ่านคณะกรรมการพิจารณาให้ความเห็นการโอนกรรมสิทธิ์ที่ราชพัสดุนอกราชอาณาจักร ซึ่งมีหน้าที่กลั่นกรองและเสนอความเห็นเกี่ยวกับการโอนกรรมสิทธิ์ที่ราชพัสดุ ที่มีปลัดกระทรวงการคลัง เป็นประธาน
ทั้งนี้ ที่ราชพัสดุในต่างประเทศนั้น เท่าที่รวบรวมมีอยู่กว่า 150 ประเทศ ซึ่งส่วนใหญ่เป็นที่ราชพัสดุที่ใช้ดำเนินการ เช่น สถานทูต แต่ก็จะมีหน่วยงานอื่น ๆ เข้ามาขอใช้พื้นที่ด้วย, ที่ราชพัสดุใช้เป็นที่ตั้งของพาณิชย์, และที่ทำการของกองทัพ เป็นต้น
"กฎกระทรวงที่ออกมาระบุไว้ว่า ให้สามารถขายหรือแลกเปลี่ยนที่ราชพัสดุในต่างประเทศได้ หรือสามารถเปิดประมูลที่ราชพัสดุได้ด้วย อย่างไรก็ดี ก็ต้องขึ้นอยู่กับกฎหมายของประเทศนั้น ๆ ด้วย ว่ากำหนดให้ดำเนินการอย่างไรได้บ้าง ซึ่งบางประเทศหากไม่ให้มีการซื้อขาย เปิดให้เช่าเพียงอย่างเดียว ก็ต้องเช่า เช่น กรณีของประเทศจีน ลักษณะการใช้ที่ราชพัสดุซื้อขายไม่ได้" นางศุกร์ศิริกล่าวและว่า
แต่การออกกฎกระทรวงฉบับนี้ ไม่ได้ออกมาเพื่อมีวัตถุประสงค์การขายเป็นหลัก แต่จะจำหน่ายเมื่อจำเป็น โดยขณะนี้มีหน่วยงานที่มีแผนจะขายที่ราชพัสดุในต่างประเทศอยู่ราว 10 แห่ง ซึ่งเมื่อขายได้ ก็จะเข้าเป็นรายได้ของแผ่นดิน
นางศุกร์ศิริกล่าวว่า ที่ผ่านมาก็เคยมีการดำเนินการการขายที่ราชพัสดุใน ต่างประเทศ เช่น สถานทูตเก่าในประเทศ เบลเยียม โดยได้ผ่านมติของคณะกรรมการ พิจารณาให้ความเห็นการโอนกรรมสิทธิ์ ที่ราชพัสดุนอกราชอาณาจักร และ ครม.ไปแล้ว ซึ่งขายได้แล้ว ขณะนี้ อยู่ระหว่างการดำเนินการในเรื่องสัญญา
"วิธีการขายที่ราชพัสดุนอกประเทศ ไม่ใช่ว่าเราอยากได้เงินก็ขาย แต่ส่วนใหญ่ จะเป็นลักษณะของที่ตั้งสถานทูตเก่า ที่อาจจะมีพื้นที่คับแคบแล้ว ดูแล้วอาจจะไม่สมฐานะ และบังเอิญได้ที่ใหม่ ก็จะย้ายไปอยู่ที่ใหม่ ส่วนที่เก่าไม่ได้ใช้ประโยชน์แล้ว จึงจะขาย ซึ่งกระทรวงการต่างประเทศจะเป็นผู้เสนอมาที่ คณะกรรมการพิจารณา และหากได้ ข้อสรุปแล้วก็ต้องเสนอ ครม.ต่อไป" นางศุกร์ศิริกล่าว
รายงานข่าวแจ้งว่า ก่อนหน้านี้ เมื่อปี 2562 ที่ผ่านมา กระทรวงพาณิชย์ก็มีแนวคิดจัดซื้อที่ดินในต่างประเทศ เพื่อใช้เป็นสำนักงานทูตพาณิชย์แทนการเช่า ซึ่งบางประเทศค่าเช่ามีราคาแพง อาทิ สำนักงานผู้แทนการค้าไทย ประจำองค์การการค้าโลก ที่กรุงเจนีวา ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ รวมถึงสำนักงานที่กรุงบรัสเซลส์ ประเทศเบลเยียม เป็นต้น เนื่องจากสามารถซื้อที่ดินได้ในราคาถูกลง จากสถานการณ์เงินบาทแข็งค่าในปีที่ผ่านมา
ข่าวกฎหมายอสังหาฯ อื่นๆ