ชี้ยอดขายที่ดินหด3.86%
วันที่ : 9 กรกฎาคม 2563
โควิด ฉุด ยอดขายที่ดินลดลง
น.ส.สมจิณณ์ พิลึก ผู้ว่าการการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (กนอ.) เปิดเผยว่า ในช่วง 3 ไตรมาสของปีงบประมาณ 63 (ต.ค. 62 - มิ.ย. 63) กนอ.มียอดขาย เช่าพื้นที่นิคมอุตสาหกรรม จำนวน 1,696.92 ไร่ ลดลง 3.86% เทียบจากช่วงเดียวกันของปีก่อน เนื่องจากการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ที่ทำให้นักลงทุนไม่สามารถเดินทางมาเยี่ยมชมสถานที่และติดต่อธุรกิจเพื่อประกอบการตัดสินใจจอง ซื้อ เช่าที่ดินในนิคมอุตสาหกรรม ทั้งในนิคมอุตสาหกรรมร่วมดำเนินงานและนิคมอุตสาห กรรมที่ กนอ. ดำเนินการเองได้
ทั้งนี้ยอดขายส่วนใหญ่อยู่ในพื้นที่เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (อีอีซี) มียอดการขาย เช่าจำนวน 1,598.95 ไร่ และนอกพื้นที่อีอีซี จำนวน 97.97 ไร่ มีการแจ้งเริ่มกิจการใหม่ 114 โรงงาน เกิดการจ้างงานเพิ่ม 12,019 คน
อย่างไรก็ตาม กนอ.ยังเดินหน้าขยาย นิคมฯ อย่างต่อเนื่อง หลังต้นปี 63 ได้ลงนามในสัญญาร่วมดำเนินงานไปแล้วจำนวน 4 แห่ง และประกาศเป็นเขตอุตสาหกรรมในราชกิจจานุเบกษาแล้ว จำนวน 2 แห่ง โดยทั้งหมดยังคงเดินหน้าตามแผน ประกอบด้วย นิคมอุตสาหกรรมปิ่นทอง โครงการ 6 จ.ระยอง มูลค่า 2,625.78 ล้านบาท นิคมอุตสาหกรรมเวิลด์ ฟู๊ด วัลเลย์ ไทยแลนด์ จ.อ่างทอง มูลค่า 4,237.17 ล้านบาท นิคมอุตสาหกรรมที่อยู่ระหว่างการประกาศเป็นเขตอุตสาหกรรม 2 แห่ง ได้แก่ นิคมอุตสาหกรรมโรจนะชลบุรี 2 (เขาคันทรง) มูลค่า 2,100 ล้านบาท นิคมอุตสาหกรรมเอเชีย คลีน อินดัสเตรียล ปาร์ค มูลค่า 2,447.75 ล้านบาท
ทั้งนี้ปัจจัยบวกด้านการลงทุนของประเทศไทยเวลานี้ คือ การได้รับอานิสงส์จากสงครามการค้า(เทรดวอร์) ระหว่างสหรัฐอเมริกาและจีน ทำให้นักลงทุนบางส่วนจากจีนและไต้หวันย้ายฐานการผลิตมายังประเทศไทย ที่ผ่านมาจึงเน้นทำสัญญาจองเช่าไว้ก่อน และจากการตรวจสอบใบอนุญาตใช้ที่ดินในนิคมอุตสาหกรรม พบว่า ช่วงต้นปี 63 นักลงทุนทยอยมายื่นขออนุญาตการใช้ที่ดินในนิคมอุตสาหกรรมเป็นผลให้มีการจ้างงานในนิคมอุตสาหกรรมเพิ่มขึ้น
ทั้งนี้ยอดขายส่วนใหญ่อยู่ในพื้นที่เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (อีอีซี) มียอดการขาย เช่าจำนวน 1,598.95 ไร่ และนอกพื้นที่อีอีซี จำนวน 97.97 ไร่ มีการแจ้งเริ่มกิจการใหม่ 114 โรงงาน เกิดการจ้างงานเพิ่ม 12,019 คน
อย่างไรก็ตาม กนอ.ยังเดินหน้าขยาย นิคมฯ อย่างต่อเนื่อง หลังต้นปี 63 ได้ลงนามในสัญญาร่วมดำเนินงานไปแล้วจำนวน 4 แห่ง และประกาศเป็นเขตอุตสาหกรรมในราชกิจจานุเบกษาแล้ว จำนวน 2 แห่ง โดยทั้งหมดยังคงเดินหน้าตามแผน ประกอบด้วย นิคมอุตสาหกรรมปิ่นทอง โครงการ 6 จ.ระยอง มูลค่า 2,625.78 ล้านบาท นิคมอุตสาหกรรมเวิลด์ ฟู๊ด วัลเลย์ ไทยแลนด์ จ.อ่างทอง มูลค่า 4,237.17 ล้านบาท นิคมอุตสาหกรรมที่อยู่ระหว่างการประกาศเป็นเขตอุตสาหกรรม 2 แห่ง ได้แก่ นิคมอุตสาหกรรมโรจนะชลบุรี 2 (เขาคันทรง) มูลค่า 2,100 ล้านบาท นิคมอุตสาหกรรมเอเชีย คลีน อินดัสเตรียล ปาร์ค มูลค่า 2,447.75 ล้านบาท
ทั้งนี้ปัจจัยบวกด้านการลงทุนของประเทศไทยเวลานี้ คือ การได้รับอานิสงส์จากสงครามการค้า(เทรดวอร์) ระหว่างสหรัฐอเมริกาและจีน ทำให้นักลงทุนบางส่วนจากจีนและไต้หวันย้ายฐานการผลิตมายังประเทศไทย ที่ผ่านมาจึงเน้นทำสัญญาจองเช่าไว้ก่อน และจากการตรวจสอบใบอนุญาตใช้ที่ดินในนิคมอุตสาหกรรม พบว่า ช่วงต้นปี 63 นักลงทุนทยอยมายื่นขออนุญาตการใช้ที่ดินในนิคมอุตสาหกรรมเป็นผลให้มีการจ้างงานในนิคมอุตสาหกรรมเพิ่มขึ้น
ข่าวเขตเศรษฐกิจพิเศษ อื่นๆ