ดึงต่างชาติลงทุนอีอีซี นายกฯสั่งปรับสิทธิประโยชน์จูงใจ
วันที่ : 23 มิถุนายน 2563
ลงทุน อีอีซี 5 เดือน ลดวูบ 10%
"นายคณิศ แสงสุพรรณ เลขาธิการคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก หรืออีอีซี เปิดเผย ภายหลังการประชุมคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (กพอ.) ครั้งที่ 3/2563 โดยมีพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีเป็นประธาน ว่า คณะกรรมการ ส่งเสริมการลงทุน(บีโอไอ)ได้รายงานข้อมูลคำขอในภาพรวมทั้งหมดลดลง 27% โดยมูลค่าคำขอลงทุนในพื้นที่อีอีซีลดลง 10% คาดว่าผลกระทบจะมากที่สุดในไตรมาสที่ 2 เพราะปัญหาการแพร่ระบาดของโควิด-19 เกิดขึ้นทั่วโลก กลุ่มนักลงทุนที่ยังเข้ามา 5 อันดับแรกคือ จีน ญี่ปุ่น สิงคโปร์ เนเธอร์แลนด์ และไต้หวัน
"เรามั่นใจว่าสถานการณ์จะกลับมาดีขึ้นในไตรมาส 3-4 ของปีนี้ โดยเฉพาะกลุ่มนักลงทุนที่กำลังย้ายฐานการผลิตมาไทย จากสงครามการค้าเช่น จีน ญี่ปุ่น ยุโรป ส่วนใหญ่เป็นกลุ่มที่ลงทุนเกี่ยวกับระบบ 5 จี ด้านสุขภาพ ด้านอุตสาหกรรมระบบไฮยีน เช่น นวัตกรรมอาหาร ยังมีเวลาเหลือ 4-6 เดือน ที่จะติดต่อเจรจาเพื่อดึงดูดนักลงทุน" นายคณิศกล่าว
ทั้งนี้ นายกรัฐมนตรีได้มอบหมายให้ปรับสิทธิประโยชน์การลงทุนใหม่หรืออินเซนทีฟ โดยเน้นเจาะกลุ่มอุตสาหกรรมเป้าหมายของไทย (S-curve) ซึ่งให้พิจารณาจากประเทศคู่แข่งว่ามีการให้สิทธิประโยชน์อย่างไรบ้าง ขณะเดียวกัน ที่ประชุมยังเสนอแนวทางการผ่อนปรนการเดินทางเข้าประเทศ เฉพาะอุตสาหกรรมในพื้นที่อีอีซี โดยการเดินทางเข้าประเทศจะเป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่วางไว้ในการกักตัว 14 วัน แต่อาจผ่อนปรนช่วงการกักตัว ให้สามารถเซ็นเอกสารในการทำงานได้ โดยจะเสนอศูนย์บริหารสถานการณ์แพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 1019 (ศบค.) พิจารณาต่อไป
"สกพอ. อยู่ระหว่างหารือร่วมกับกระทรวงการต่างประเทศ และกระทรวงสาธารณสุข ถึงแนวทางผ่อนปรนการเดินทางเข้าประเทศไทย ได้แก่ การสร้างภาคี เครือข่ายองค์กร บุคลากรทางการแพทย์ในประเทศต้นทาง กับสถานเอกอัครราชทูตไทย หรือสถานกงสุลใหญ่ จัดให้มีการตรวจและ ออกใบรับรองแพทย์ที่ยืนยันว่าผู้เดินทาง มีสุขภาพเหมาะสมกับการเดินทาง ทางอากาศ การขึ้นทะเบียนสถานที่และการบริการ Alternative State Quarantine เพิ่มเติมในพื้นที่อีอีซี รวมทั้งทบทวนข้อกำหนด หรือมาตรการให้บุคลากรต่างชาติทำภารกิจในพื้นที่ได้คล่องตัวยิ่งขึ้น รวมทั้งสนับสนุนการอนุญาตให้เดินทางระหว่างประเทศแบบ Business Bubble เป็นลำดับแรกในพื้นที่เฉพาะเจาะจง อาทิ พื้นที่ อีอีซี" นายคณิศกล่าว
นอกจากนี้ ที่ประชุม ได้รับทราบ การจัดทำแผนพัฒนาการเกษตรในพื้นที่ อีอีซี มีเป้าหมาย ยกระดับรายได้เกษตรกรให้เทียบเท่ากลุ่มอุตสาหกรรมและบริการ ซึ่งแนวทางการพัฒนาภาคเกษตรในพื้นที่อีอีซีจะดำเนินการ ใช้ความต้องการ นำการผลิต ได้แก่ ความต้องการในประเทศ รองรับมหานครการบินภาคตะวันออก เมืองใหม่ และการท่องเที่ยว ความต้องการในต่างประเทศ สำรวจตลาดหาความต้องการเอเชีย กลุ่มซีแอลเอ็มวี และยุโรป ที่มีความต้องการสูง สร้างความต้องการด้วยการพัฒนาสินค้าใหม่
นายคณิศกล่าวว่า ที่ประชุมได้กำชับให้เร่งดำเนินการยกระดับการตลาดการแปรรูป-การเกษตร ด้วยเทคโนโลยีในทุกขั้นตอน ได้แก่ สร้างตลาดด้วยกลไก e-commerce e-auction ขายไปทั่วโลก เชื่อมระบบโลจิสติกส์ ตั้งแต่ ส่งออก-ขายในประเทศ-จนถึงการรวมสินค้าระดับฟาร์ม ให้สะดวกระดับสากล แปรรูปด้วยเทคโนโลยีทันสมัย ได้สินค้าคุณภาพมาตรฐานระดับโลก และให้ความสำคัญกับเกษตร 5 คลัสเตอร์ที่มีพื้นฐาน ทำได้ทันที ได้แก่ ผลไม้ พืชไบโอเบส ประมง สมุนไพร พืชมูลค่าสูง (เช่น ไม้ประดับ/ผักปลอดสารพิษ) โดยได้ แต่งตั้งคณะทำงานจัดทำแผนพัฒนา การเกษตรในพื้นที่ อีอีซี ที่มีปลัด กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เป็นประธาน และมีผู้แทนจาก สำนักงานคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนา พิเศษภาคตะวันออก (สกพอ.) เป็นเลขานุการร่วม
ส่วนความคืบหน้าโครงการลงทุน ขนาดใหญ่ในอีอีซี ยอมรับว่า การสร้าง ศูนย์ซ่อมอากาศยาน หรือ MRO คงต้อง ชะลอออกไป จนกว่าธุรกิจสายการบินจะกลับมาปกติคาดว่าจะฟื้นตัวอย่างน้อย กลางปี 2564 เพราะผลจากไวรัสโควิด-19 กระทบธุรกิจสายการบิน แต่ยืนยันว่า มีหลายบริษัทที่สนใจจะลงทุน เช่น แอร์เอเชีย จากเดิมที่จะเจรจาลงทุนอาจต้องชะลอเจรจาออกไปก่อนจนกว่าธุรกิจจะฟื้นตัว
"เรามั่นใจว่าสถานการณ์จะกลับมาดีขึ้นในไตรมาส 3-4 ของปีนี้ โดยเฉพาะกลุ่มนักลงทุนที่กำลังย้ายฐานการผลิตมาไทย จากสงครามการค้าเช่น จีน ญี่ปุ่น ยุโรป ส่วนใหญ่เป็นกลุ่มที่ลงทุนเกี่ยวกับระบบ 5 จี ด้านสุขภาพ ด้านอุตสาหกรรมระบบไฮยีน เช่น นวัตกรรมอาหาร ยังมีเวลาเหลือ 4-6 เดือน ที่จะติดต่อเจรจาเพื่อดึงดูดนักลงทุน" นายคณิศกล่าว
ทั้งนี้ นายกรัฐมนตรีได้มอบหมายให้ปรับสิทธิประโยชน์การลงทุนใหม่หรืออินเซนทีฟ โดยเน้นเจาะกลุ่มอุตสาหกรรมเป้าหมายของไทย (S-curve) ซึ่งให้พิจารณาจากประเทศคู่แข่งว่ามีการให้สิทธิประโยชน์อย่างไรบ้าง ขณะเดียวกัน ที่ประชุมยังเสนอแนวทางการผ่อนปรนการเดินทางเข้าประเทศ เฉพาะอุตสาหกรรมในพื้นที่อีอีซี โดยการเดินทางเข้าประเทศจะเป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่วางไว้ในการกักตัว 14 วัน แต่อาจผ่อนปรนช่วงการกักตัว ให้สามารถเซ็นเอกสารในการทำงานได้ โดยจะเสนอศูนย์บริหารสถานการณ์แพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 1019 (ศบค.) พิจารณาต่อไป
"สกพอ. อยู่ระหว่างหารือร่วมกับกระทรวงการต่างประเทศ และกระทรวงสาธารณสุข ถึงแนวทางผ่อนปรนการเดินทางเข้าประเทศไทย ได้แก่ การสร้างภาคี เครือข่ายองค์กร บุคลากรทางการแพทย์ในประเทศต้นทาง กับสถานเอกอัครราชทูตไทย หรือสถานกงสุลใหญ่ จัดให้มีการตรวจและ ออกใบรับรองแพทย์ที่ยืนยันว่าผู้เดินทาง มีสุขภาพเหมาะสมกับการเดินทาง ทางอากาศ การขึ้นทะเบียนสถานที่และการบริการ Alternative State Quarantine เพิ่มเติมในพื้นที่อีอีซี รวมทั้งทบทวนข้อกำหนด หรือมาตรการให้บุคลากรต่างชาติทำภารกิจในพื้นที่ได้คล่องตัวยิ่งขึ้น รวมทั้งสนับสนุนการอนุญาตให้เดินทางระหว่างประเทศแบบ Business Bubble เป็นลำดับแรกในพื้นที่เฉพาะเจาะจง อาทิ พื้นที่ อีอีซี" นายคณิศกล่าว
นอกจากนี้ ที่ประชุม ได้รับทราบ การจัดทำแผนพัฒนาการเกษตรในพื้นที่ อีอีซี มีเป้าหมาย ยกระดับรายได้เกษตรกรให้เทียบเท่ากลุ่มอุตสาหกรรมและบริการ ซึ่งแนวทางการพัฒนาภาคเกษตรในพื้นที่อีอีซีจะดำเนินการ ใช้ความต้องการ นำการผลิต ได้แก่ ความต้องการในประเทศ รองรับมหานครการบินภาคตะวันออก เมืองใหม่ และการท่องเที่ยว ความต้องการในต่างประเทศ สำรวจตลาดหาความต้องการเอเชีย กลุ่มซีแอลเอ็มวี และยุโรป ที่มีความต้องการสูง สร้างความต้องการด้วยการพัฒนาสินค้าใหม่
นายคณิศกล่าวว่า ที่ประชุมได้กำชับให้เร่งดำเนินการยกระดับการตลาดการแปรรูป-การเกษตร ด้วยเทคโนโลยีในทุกขั้นตอน ได้แก่ สร้างตลาดด้วยกลไก e-commerce e-auction ขายไปทั่วโลก เชื่อมระบบโลจิสติกส์ ตั้งแต่ ส่งออก-ขายในประเทศ-จนถึงการรวมสินค้าระดับฟาร์ม ให้สะดวกระดับสากล แปรรูปด้วยเทคโนโลยีทันสมัย ได้สินค้าคุณภาพมาตรฐานระดับโลก และให้ความสำคัญกับเกษตร 5 คลัสเตอร์ที่มีพื้นฐาน ทำได้ทันที ได้แก่ ผลไม้ พืชไบโอเบส ประมง สมุนไพร พืชมูลค่าสูง (เช่น ไม้ประดับ/ผักปลอดสารพิษ) โดยได้ แต่งตั้งคณะทำงานจัดทำแผนพัฒนา การเกษตรในพื้นที่ อีอีซี ที่มีปลัด กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เป็นประธาน และมีผู้แทนจาก สำนักงานคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนา พิเศษภาคตะวันออก (สกพอ.) เป็นเลขานุการร่วม
ส่วนความคืบหน้าโครงการลงทุน ขนาดใหญ่ในอีอีซี ยอมรับว่า การสร้าง ศูนย์ซ่อมอากาศยาน หรือ MRO คงต้อง ชะลอออกไป จนกว่าธุรกิจสายการบินจะกลับมาปกติคาดว่าจะฟื้นตัวอย่างน้อย กลางปี 2564 เพราะผลจากไวรัสโควิด-19 กระทบธุรกิจสายการบิน แต่ยืนยันว่า มีหลายบริษัทที่สนใจจะลงทุน เช่น แอร์เอเชีย จากเดิมที่จะเจรจาลงทุนอาจต้องชะลอเจรจาออกไปก่อนจนกว่าธุรกิจจะฟื้นตัว
ข่าวเขตเศรษฐกิจพิเศษ อื่นๆ