สต๊อกอสังหาอีอีซีเหลือบานเบอะ
วันที่ : 8 มิถุนายน 2563
REIC เผย อสังหาฯ EEC ชะลอตัว ชลบุรี หนักสุดกว่า 4.4หมื่นยูนิต - คาดปีนี้ยอดโอนต่ำกว่าค่ามาตรฐาน
'ศูนย์ข้อมูล' เผยตลาดรวมที่อยู่อาศัยในอีอีซีชะลอตัว ส่งผลให้สต็อกเหลือ โดย ชลบุรีเหลือมากที่สุดกว่า 4.4 หมื่นยูนิตมากกว่าช่วงครึ่งปีแรก 62 ส่วน 63 คาดปีนี้ยอดขายใหม่ลดวูบ ส่วนโอนน่าจะต่ำกว่าค่ามาตรฐาน หรือลด 20% แนะเอกชนปรับกลยุทธ์การขาย
นายวิชัย วิรัตกพันธ์ ผู้ตรวจการธนาคารอาคารสงเคราะห์ และรักษาการผู้อำนวยการศูนย์ข้อมูลอสังหาริมทรัพย์ เปิดเผยว่า จากการสำรวจโครงการที่อยู่อาศัยระหว่างการขายในช่วงครึ่งหลังปี 2562 ในพื้นที่ภาคตะวันออก ได้แก่ จังหวัดชลบุรี จังหวัดระยอง และจังหวัดฉะเชิงเทรา หรือพื้นที่โครงการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (EEC) พบว่า ณ สิ้นปี 2562 มีโครงการที่อยู่อาศัยเสนอขายจำนวนทั้งสิ้น 78,780 ยูนิต คิดเป็น 22% ของจำนวนที่อยู่อาศัยใน 26 จังหวัดหลักซึ่งมีจำนวน 355,145 ยูนิต นับเป็นพื้นที่ที่มีการพัฒนาโครงการที่อยู่อาศัยสูงสุดเป็นอันดับ 2 รองจากพื้นที่กรุงเทพฯ-ปริมณฑล ซึ่งมีจำนวน 209,868 ยูนิต โดยจังหวัดชลบุรีมีจำนวนที่อยู่อาศัยเสนอขายมากที่สุดในกลุ่มจังหวัด EEC คือ 675 โครงการ จำนวน 50,655 ยูนิต มูลค่า 176,116 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากช่วงครึ่งปีแรก 1.8% โดยมีโครงการที่เปิดขายใหม่ในช่วงครึ่งปีหลังเพียง 6,593 ยูนิต แบ่งเป็นอาคารชุด 3,700 ยูนิต และบ้านจัดสรร 2,893 ยูนิต ส่วนจำนวนยูนิตที่ขายได้พบว่ามีจำนวน 6,270 ยูนิต ลดลงจากช่วงครึ่งปีแรก 27.5% และมียูนิตเหลือขายจำนวน 44,385 ยูนิต เพิ่มขึ้นจากช่วงครึ่งปีแรก 8% มูลค่ารวม 155,838 ล้านบาท
นายวิชัยกล่าวว่า ส่วนในปีนี้คาดว่าจะมีที่อยู่อาศัยเหลือขายอยู่ในตลาดจำนวน 44,060 ยูนิต ขณะที่อัตราดูดซับลดต่ำลงมาอยู่ที่ 2.1% ในช่วงครึ่งปีหลังของปี 2562 และคาดว่าในปี 2563 อัตราดูดซับจะเหลือประมาณ 1.1-1.3% และคาดการโอนกรรมสิทธิ์ที่อยู่อาศัยก็จะลดลงมาอยู่ที่ 30,141 ยูนิต มูลค่าประมาณ 59,293 ล้านบาท ซึ่งต่ำกว่าค่ามาตรฐานซึ่งมีมูลค่า 64,095 ล้านบาท ลดลง 20% ดังนั้นผู้ประกอบการจำเป็นต้องปรับกลยุทธ์การเสนอขาย โดยเฉพาะคอนโดมิเนียม และทาวน์เฮาส์ เพราะอัตราการดูดซับชะลอตัวลงอย่างต่อเนื่องมาถึงปี 2563
นายวิชัยกล่าวว่า ส่วนภาพรวมโครงการที่อยู่อาศัยในจังหวัดระยอง ซึ่งเป็นพื้นที่ที่มีความสำคัญในลำดับรองลงมาใน EEC ภาพรวมโครงการที่อยู่อาศัยจังหวัดระยองในครึ่งหลังปี 2562 มีที่อยู่อาศัยเสนอขายจำนวน 302 โครงการ รวม 21,634 ยูนิต มีโครงการที่ขายได้ใหม่ในช่วงครึ่งปีหลังจำนวน 3,586 ยูนิต และมียูนิตเหลือขาย 18,048 ยูนิต มูลค่า 45,221 ล้านบาท ในจำนวนดังกล่าวมีที่อยู่อาศัยสร้างเสร็จเหลือขาย ณ สิ้นปี 2562 จำนวน 3,079 ยูนิต มูลค่า 7,841 ล้านบาท โดยทำเลซึ่งมีที่อยู่อาศัยสร้างเสร็จเหลือขายสูงสุด 3 อันดับแรก ได้แก่ 1.ทำเลนิคมอุตสาหกรรมอมตะซิตี้-อีสเทิร์น 2.ทำเลนิคมอุตสาหกรรมเหมราช และ 3. ทำเลเมืองระยอง ส่วนอัตราดูดซับจะอยู่ที่ 2.8% เพิ่มขึ้นจากช่วงครึ่งแรกของปี 2562 ส่วนปี 2563 คาดว่าอัตราดูดซับจะลดต่ำลงในทุกกลุ่มประเภทที่อยู่อาศัย แต่ก็ไม่น่ากังวลเหตุมีจำนวนสร้างเสร็จเหลือขาย (พร้อมโอน) ไม่มากนัก ส่วนโครงการที่อยู่อาศัยจังหวัดฉะเชิงเทราพบว่ามี 67 โครงการ รวม 6,491 ยูนิต ขายได้จำนวน 831 ยูนิต และเหลือขาย 5,660 ยูนิต คิดเป็นมูลค่า 16,500 ล้านบาท และคาดว่าในปี 2563 อัตราดูดซับของทุกกลุ่มประเภทที่อยู่อาศัยจะยังคงทรงตัว
นายวิชัย วิรัตกพันธ์ ผู้ตรวจการธนาคารอาคารสงเคราะห์ และรักษาการผู้อำนวยการศูนย์ข้อมูลอสังหาริมทรัพย์ เปิดเผยว่า จากการสำรวจโครงการที่อยู่อาศัยระหว่างการขายในช่วงครึ่งหลังปี 2562 ในพื้นที่ภาคตะวันออก ได้แก่ จังหวัดชลบุรี จังหวัดระยอง และจังหวัดฉะเชิงเทรา หรือพื้นที่โครงการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (EEC) พบว่า ณ สิ้นปี 2562 มีโครงการที่อยู่อาศัยเสนอขายจำนวนทั้งสิ้น 78,780 ยูนิต คิดเป็น 22% ของจำนวนที่อยู่อาศัยใน 26 จังหวัดหลักซึ่งมีจำนวน 355,145 ยูนิต นับเป็นพื้นที่ที่มีการพัฒนาโครงการที่อยู่อาศัยสูงสุดเป็นอันดับ 2 รองจากพื้นที่กรุงเทพฯ-ปริมณฑล ซึ่งมีจำนวน 209,868 ยูนิต โดยจังหวัดชลบุรีมีจำนวนที่อยู่อาศัยเสนอขายมากที่สุดในกลุ่มจังหวัด EEC คือ 675 โครงการ จำนวน 50,655 ยูนิต มูลค่า 176,116 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากช่วงครึ่งปีแรก 1.8% โดยมีโครงการที่เปิดขายใหม่ในช่วงครึ่งปีหลังเพียง 6,593 ยูนิต แบ่งเป็นอาคารชุด 3,700 ยูนิต และบ้านจัดสรร 2,893 ยูนิต ส่วนจำนวนยูนิตที่ขายได้พบว่ามีจำนวน 6,270 ยูนิต ลดลงจากช่วงครึ่งปีแรก 27.5% และมียูนิตเหลือขายจำนวน 44,385 ยูนิต เพิ่มขึ้นจากช่วงครึ่งปีแรก 8% มูลค่ารวม 155,838 ล้านบาท
นายวิชัยกล่าวว่า ส่วนในปีนี้คาดว่าจะมีที่อยู่อาศัยเหลือขายอยู่ในตลาดจำนวน 44,060 ยูนิต ขณะที่อัตราดูดซับลดต่ำลงมาอยู่ที่ 2.1% ในช่วงครึ่งปีหลังของปี 2562 และคาดว่าในปี 2563 อัตราดูดซับจะเหลือประมาณ 1.1-1.3% และคาดการโอนกรรมสิทธิ์ที่อยู่อาศัยก็จะลดลงมาอยู่ที่ 30,141 ยูนิต มูลค่าประมาณ 59,293 ล้านบาท ซึ่งต่ำกว่าค่ามาตรฐานซึ่งมีมูลค่า 64,095 ล้านบาท ลดลง 20% ดังนั้นผู้ประกอบการจำเป็นต้องปรับกลยุทธ์การเสนอขาย โดยเฉพาะคอนโดมิเนียม และทาวน์เฮาส์ เพราะอัตราการดูดซับชะลอตัวลงอย่างต่อเนื่องมาถึงปี 2563
นายวิชัยกล่าวว่า ส่วนภาพรวมโครงการที่อยู่อาศัยในจังหวัดระยอง ซึ่งเป็นพื้นที่ที่มีความสำคัญในลำดับรองลงมาใน EEC ภาพรวมโครงการที่อยู่อาศัยจังหวัดระยองในครึ่งหลังปี 2562 มีที่อยู่อาศัยเสนอขายจำนวน 302 โครงการ รวม 21,634 ยูนิต มีโครงการที่ขายได้ใหม่ในช่วงครึ่งปีหลังจำนวน 3,586 ยูนิต และมียูนิตเหลือขาย 18,048 ยูนิต มูลค่า 45,221 ล้านบาท ในจำนวนดังกล่าวมีที่อยู่อาศัยสร้างเสร็จเหลือขาย ณ สิ้นปี 2562 จำนวน 3,079 ยูนิต มูลค่า 7,841 ล้านบาท โดยทำเลซึ่งมีที่อยู่อาศัยสร้างเสร็จเหลือขายสูงสุด 3 อันดับแรก ได้แก่ 1.ทำเลนิคมอุตสาหกรรมอมตะซิตี้-อีสเทิร์น 2.ทำเลนิคมอุตสาหกรรมเหมราช และ 3. ทำเลเมืองระยอง ส่วนอัตราดูดซับจะอยู่ที่ 2.8% เพิ่มขึ้นจากช่วงครึ่งแรกของปี 2562 ส่วนปี 2563 คาดว่าอัตราดูดซับจะลดต่ำลงในทุกกลุ่มประเภทที่อยู่อาศัย แต่ก็ไม่น่ากังวลเหตุมีจำนวนสร้างเสร็จเหลือขาย (พร้อมโอน) ไม่มากนัก ส่วนโครงการที่อยู่อาศัยจังหวัดฉะเชิงเทราพบว่ามี 67 โครงการ รวม 6,491 ยูนิต ขายได้จำนวน 831 ยูนิต และเหลือขาย 5,660 ยูนิต คิดเป็นมูลค่า 16,500 ล้านบาท และคาดว่าในปี 2563 อัตราดูดซับของทุกกลุ่มประเภทที่อยู่อาศัยจะยังคงทรงตัว
ข่าวเขตเศรษฐกิจพิเศษ อื่นๆ