สิ้นยุคทอง คอนโด-สำนักงาน โควิด ฉุดกำลังซื้อดิ่ง - สต็อกอาค ารชุดท่วม7.6หมื่นยูนิต
วันที่ : 8 มิถุนายน 2563
บิ๊กเนมแห่รุกแนวราบ ขายออนไลน์ ชู ไร้สัมผัส โซลาร์รูฟ รับยุคหลังโควิด
หมดยุคทองคอนโด ศูนย์ข้อมูลอสังหาฯ เผยสต็อกท่วม 7.6 หมื่น ยูนิตปี 62 โควิดซ้ำเติม "คอลลิเออร์ส" ระบุไตรมาสแรกเปิดคอนโดใหม่ดิ่งรอบ 8 ปี ยอดขายดิ่งรอบ 10 ปี สงครามราคาเดือด บิ๊กเนมแห่รุกแนวราบ "พฤกษา"ชี้แลนด์สเคป อสังหาฯเปลี่ยน เร่งเครื่องออนไลน์ "เสนา"ชูโซลาร์ติดหลังคาทาวน์เฮ้าส์ "แสนสิริ"งัดนวัตกรรมไร้สัมผัส รับนิวนอร์มอล
การระบาดของ "โควิด-19" ซ้ำเติมสถานการณ์อุตสาหกรรมอสังหาริมทรัพย์ ประเภทที่อยู่อาศัย ซึ่งชะลอตัวตั้งแต่ ปีที่ผ่านมา ต่อเนื่องถึงปีนี้ซึ่งเป็นปีที่เกิดโรคระบาดโควิด โดยศูนย์ข้อมูลอสังหาริมทรัพย์ ระบุหน่วยเหลือขาย (สต็อกคงค้าง) บ้าน และอาคารชุด(คอนโดมิเนียม) ในปี 2562 สูงถึง 175,754 ยูนิต มูลค่ารวม 765,037 ล้านบาท
ในจำนวนนี้เป็นคอนโดเหลือขาย มากถึง 76,254 ยูนิต โดยเป็นโครงการสร้างเสร็จ เหลือขาย 19,121 หน่วย ทำให้ผู้ประกอบการ อสังหาฯต่างเร่งระบายสต็อก"พลิกเกม" รุกตลาดแนวราบเจาะความต้องการที่อยู่อาศัยที่แท้จริง (เรียลดีมานด์)สิ้นยุคทองคอนโด ไปพร้อมกับการปรับรูปแบบดำเนินธุรกิจ รับพฤติกรรมลูกค้าที่เปลี่ยนไป ยุคหลังโควิด
นางสุพัตรา เป้าเปี่ยมทรัพย์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท พฤกษาเรียลเอสเตท จำกัด (มหาชน) ยอมรับว่า โควิด-19 ทำให้โครงสร้างธุรกิจเปลี่ยนไปโดยสิ้นเชิง กำลังจะกลายเป็นความปกติใหม่ (นิวนอร์มอล) จากพฤติกรรมและความต้องการของผู้บริโภคเปลี่ยนแปลงไปโดยเฉพาะมาตรการเว้นระยะห่างทางสังคม ที่จำกัดการออกจากบ้านของผู้บริโภค เป็น'ตัวเร่ง' ให้สังคมเข้าสู่จุดที่ทุกคนทุกวัยเชื่อมต่อสู่โลกออนไลน์เร็วขึ้น จึงต้องปรับกลยุทธ์ด้วยการนำสินค้าเข้าไปอยู่ในโลกดิจิทัลให้ได้มากที่สุด ให้สอดคล้องกับความต้องการและพฤติกรรมที่เปลี่ยนไปของลูกค้า
"พฤกษา"รุกตลาดผ่านออนไลน์
นางสุพัตรา กล่าวว่า บริษัทจึงได้ยกระดับการพัฒนาสินค้า นวัตกรรม และการบริการ แบบบูรณาการในทุกมิติพร้อมทั้งปรับกลยุทธ์การตลาดและการขาย โดยปรับการขายผ่านดิจิทัลแพลตฟอร์ม อาทิ เฟซบุ๊คไลฟ์ พาเยี่ยมชมโครงการ ซื้อสินค้าผ่านทางไลน์แชท ชมโครงการผ่านวีดีโอ360 องศา และวีดิโอคอล การคัดเลือกบ้านยูนิตพิเศษ พร้อมราคาและเงื่อนไขพิเศษ ให้กับลูกค้าเพื่อเพิ่มส่วนแบ่งตลาดมากขึ้น
"ภาพรวมตลาดอสังหาฯ ในช่วงครึ่งปีหลัง จากแนวโน้มสถานการณ์ผู้ติดเชื้อลดลงในขณะที่คนไทยมีการปรับตัวในการดำเนินชีวิตแบบเว้นระยะห่างทางสังคม คาดว่าสถานการณ์น่าจะดีขึ้นหลังจากความกังวลลดลง ลูกค้าที่มีความต้องการซื้อที่อยู่อาศัยจะกลับมาตัดสินใจซื้อเพิ่มขึ้น"
สำหรับผลประกอบการไตรมาส 1 ปีนี้ว่า แม้บริษัทฯ จะได้รับผลกระทบจากการระบาดของโควิด-19 แต่โดยภาพรวมของการดำเนินธุรกิจยังอยู่ในเกณฑ์ที่น่าพึงพอใจกว่าที่คาด โดยมีรายได้ 7,143 ล้านบาท ยอดขาย 6,069 ล้านบาท กำไรสุทธิ 922 ล้านบาท และมียอดขายรอรับรู้รายได้ 26,810 ล้านบาท ซึ่งจะทยอยรับรู้รายได้ในปีนี้ 9,000 ล้านบาท
รัดเข็มขัดบริหารใช้จ่าย
นางสุพัตรา กล่าวว่า แผนการดำเนินธุรกิจต่อจากนี้ จะเน้นการบริหารค่าใช้จ่ายทุกประเภทภายในองค์กรให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด รักษาสภาพคล่อง เร่งแปลงสต็อก (Inventory) ให้เป็นรายได้ พร้อมออกแคมเปญส่งเสริมการขายด้วยข้อเสนอพิเศษ สำหรับลูกค้าที่จองและโอนกรรมสิทธิ์โครงการทาวน์เฮาส์ บ้านเดี่ยว และคอนโดพร้อมอยู่ของพฤกษา จำนวน 167 โครงการ
นางสาวเกษรา ธัญลักษณ์ภาคย์รองประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัทเสนาดีเวลลอปเม้นท์ จำกัด (มหาชน) กล่าวว่าหลังการระบาดของโควิด-19 จะเกิดความปกติใหม่ ตามพฤติกรรมผู้บริโภคที่เปลี่ยนไป สังคมมีระยะห่าง ดูแลเรื่องสุขอนามัยมากขึ้น พฤติกรรมดังกล่าวจะเข้ามาเปลี่ยนแปลงรูปแบบการพัฒนาสินค้า และบริการของภาคธุรกิจ ในส่วนของธุรกิจพัฒนาอสังหาฯ ที่เห็นได้ชัดเจนคือการทำงานที่บ้าน (Work From Home)
"จากปกติโซลาร์ที่อยู่อาศัยโตขึ้นทุกปี แต่ไม่หวือหวา แต่วันนี้จะโตเร็วขึ้น ส่วนหนึ่งน่าจะเกิดจากคนใช้ชีวิตในบ้านมากขึ้น บ้านจึงกลายเป็นที่ที่เราใช้ชีวิตมากกว่าแค่การนอน ทำให้ โซลาร์ รูฟท็อป กลายเป็นนวัตกรรมที่ตอบโจทย์รูปแบบการใช้ชีวิตแบบนิวนอร์มอลมากขึ้นเสนาฯ จึงเปิดตัวทาวน์โฮมติดโซลาร์ รูฟท็อปเป็นรายแรกเพื่อสร้างความแตกต่างนอกเหนืองจากเรื่องของราคา"
ตลาดผู้ซื้อ"ราคา"ตัวแปรหลัก
นางสาวเกษรา ยังระบุว่า สถานการณ์โควิด-19 ส่งผลกระทบทุกมิติโดยเฉพาะกำลังซื้อของคนลดลง ฉะนั้นราคาจะเป็นปัจจัยแรกที่คนให้ความสำคัญจึงทำให้เกิดสงครามราคากันอย่างเลือดสาด โดยเฉพาะโครงการที่เป็นสต็อกของแต่ละบริษัทขณะเดียวกันช่องทางขายผ่านออนไลน์เข้ามามีบทบาทมากขึ้น ซึ่งจะกลายเป็น 1 ในนิวนอร์มอลของอสังหาฯ ต่อจากนี้
นายธงชัย บุศราพันธ์ ประธานกรรมการ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารร่วม และกรรมการผู้จัดการ บริษัทโนเบิล ดีเวลลอปเมนท์ จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า ต่อจากนี้ไปช่องทางการขายผ่านออนไลน์จะเป็นกลไกสำคัญของธุรกิจอสังหาฯ ในการติดต่อสื่อสารกับลูกค้า ทั้งในประเทศและต่างประเทศได้ตลอดเวลา ไม่ว่าโควิดจะอยู่หรือจบลงไปแล้ว ถือเป็นนิวนอร์มอล ที่เข้ามาเป็นเครื่องมือในการทำการตลาดที่มีประสิทธิภาพ ในราคาที่เหมาะสมมากกว่าการสื่อสารในรูปแบบเดิมๆ
เนื่องจากมีเทคโนโลยีเข้ามารองรับในการให้บริการที่มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้นไม่เฉพาะแค่การให้บริการเยี่ยมชมโครงการ ติดต่อซื้อขาย หรือให้ข้อมูลเท่านั้น แต่ยังสามารถเก็บข้อมูลลูกค้าและนำมาวิเคราะห์เพื่อพัฒนาโครงการหรือบริการที่ตอบสนองความต้องการขอลูกค้าได้ตรงจุดมากยิ่งขึ้น
"แสนสิริ"ชูนวัตกรรมไร้สัมผัส
นายอาณัติ กิตติกุลเมธี รองกรรมการผู้จัดการฝ่ายพัฒนาโครงการแนวราบ บริษัท แสนสิริ จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า ปัจจุบันอสังหาฯ กำลังถูกดิสรัป ทำให้ต้องเร่งรัดและก้าวเข้าสู่ยุคการปรับเปลี่ยนการออกแบบที่อยู่อาศัยใหม่หลังจากเกิดสถานการณ์โควิด-19 ทำให้การออกแบบที่อยู่อาศัยนั้น ต้องปรับเปลี่ยนเพื่อให้สอดคล้องกับวิถีชีวิต พฤติกรรมผู้บริโภคที่เปลี่ยนแปลงไปเพื่อสร้างสุขภาพที่ดี ทั้งทางกายภาพ ทางจิตใจ และความสัมพันธ์ที่ดีของทุกคนในโครงการเพื่อสร้างความสุขให้กับลูกบ้าน ทั้งในด้านสุขภาพและความปลอดภัย
โดยเฉพาะเทคโนโลยีการลดการสัมผัส (Touchless) เริ่มตั้งแต่ก้าวแรกที่มาถึงโครงการ ซึ่งลูกบ้านสามารถระบุรายละเอียดของผู้ที่จะมาติดต่อ เช่น เลขทะเบียนรถหรือเวลาที่จะเดินทางมาถึง ผ่าน Visitor Pass บนแอพพลิเคชั่นของแสนสิริ ซึ่งจะส่ง QR Code เพื่อให้ผู้มาติดต่อสามารถสแกนเข้า-ออกโครงการ ได้ด้วยตัวเองในรูปแบบ E-Stamp สมาร์ทโฟนเพิ่มความปลอดภัยพื้นที่ส่วนกลาง ทั้งคลับเฮาส์, ฟิตเนส และสระว่ายน้ำ เป็นต้น
"เอพี"ชี้ออนไลน์ท้าทายการขาย
นายวิทการ จันทวิมล รองกรรมการผู้อำนวยการ สายงานกลยุทธ์องค์กรและการสร้างสรรค์ บริษัท เอพี (ไทยแลนด์) จำกัด (มหาชน) กล่าวการระบาดของโควิด-19 ทำให้คนทำงานที่บ้านมากขึ้น แนวทางการทำการตลาดออนไลน์จึงเข้ามาตอบโจทย์พฤติกรรมที่เปลี่ยนไปทำให้ลูกค้าสามารถดูห้องตัวอย่างได้โดยไม่ต้องเดินทางมาเอง แต่ถือความท้าทายของการขายอสังหาฯ ผ่านช่องออนไลน์ เพื่อให้เกิดความรู้สึกเสมือนจริงและกระตุ้นให้เกิดการตัดสินใจซื้อ จึงต้องการพัฒนาวิธีการแนะนำระบบข้อมูลที่ดีในการนำเสนอโครงการที่ตอบสนองความต้องการของลูกค้าให้มากที่สุด เพราะช่องทางออนไลน์จะเป็นส่วนหนึ่งที่เข้ามาช่วยในการขายอสังหาฯ เพิ่มขึ้นในอนาคต
'3เดือน'เปิดตัวคอนโดดิ่ง8ปี
คาดทั้งปีโครงการใหม่วูบ10ปี
นายภัทรชัย ทวีวงศ์รองผู้อำนวยการฝ่ายวิจัย บริษัทคอลลิเออร์สอินเตอร์เนชั่นแนล ประเทศไทย จำกัด กล่าวว่า 4 เดือนแรกของปี 2563 ภาคอสังหาฯ ได้รับผลกระทบจากการระบาดของโควิด-19 รุนแรง ทำให้เกิดการชะลอตัวกำลังซื้อ โดยเฉพาะตลาดคอนโดมิเนียม ส่งผลให้ผู้ประกอบการตัดสินใจชะลอเปิดขายโครงการใหม่เป็นจำนวนมาก หันไปเน้นการนำโครงการสร้างเสร็จพร้อมโอนมาลดราคาเพื่อเป็นการกระตุ้นยอดโอนและเพิ่มการรับรู้รายได้
โดยผู้ประกอบการบางรายลดราคาลงมากว่า 30% เพื่อระบายสต็อกหรือนำโครงการที่พรีเซลล์ไปแล้วกลับมาพรีเซลล์ใหม่อีกครั้งพร้อมกับลดราคา เพื่อจูงใจลูกค้าในภาวะที่ตลาดยังคงชะลอตัวและกำลังซื้อค่อนข้างจำกัด
ทั้งนี้ภาพรวมของตลาดคอนโดเปิดขายใหม่ในกรุงเทพฯ ช่วงไตรมาสแรกของปี 2563 มีโครงการคอนโดเปิดขายใหม่เพียง 16 โครงการ 5,880 หน่วยซึ่งถือว่าเป็นอุปทานเปิดขายใหม่น้อยสุดในรอบ 8 ปี หลังจากอุทกภัยปี 2554 ด้วยมูลค่าการลงทุน 19,540 ล้านบาท ลดลงจากช่วงไตรมาสก่อน 8,909 หน่วย หรือคิดเป็น 60.2% และลดลงจากช่วงไตรมาส 1 ของปีก่อนหน้า ที่เปิดขาย 8,953 หน่วย หรือ 34.3% ซึ่งพบว่ามูลค่าการลงทุนลดลงกว่า 25,892 ล้านบาทเมื่อเทียบกับในช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน
จากข้อมูลแผนกวิจัยคอลลิเออร์ส คาดการณ์ว่า ยอดขายคอนโดที่ขายได้ในกรุงเทพฯช่วงไตรมาสแรกปี 2563 ต่ำสุดในรอบ 10 ปี โดยเฉพาะยอดขายของบริษัทอสังหาฯ บางราย จะหายไปไม่น้อยกว่า 50% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนเพราะปัญหาจากยอดขายและยอดโอนชะลอตัวลงจากการระบาดของโควิด-19 ที่ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจและกำลังซื้อลดลง
รวมถึงกลุ่มลูกค้าบางส่วนยังไม่สามารถส่งมอบได้ เนื่องจากธนาคารไม่ปล่อยกู้ทำให้การรับรู้รายได้ลดลงคาดการณ์ว่า ในปี 2563 นี้ อุปทานเปิดขายใหม่ของคอนโดมิเนียมในกรุงเทพฯ อาจลดลงมาอยู่ที่ประมาณ 25,000-30,000 ยูนิตเท่านั้น ซึ่งถือว่าเป็นอุปทานเปิดขายใหม่ที่น้อยที่สุดในรอบ 10 ปีที่ผ่านมา
การระบาดของ "โควิด-19" ซ้ำเติมสถานการณ์อุตสาหกรรมอสังหาริมทรัพย์ ประเภทที่อยู่อาศัย ซึ่งชะลอตัวตั้งแต่ ปีที่ผ่านมา ต่อเนื่องถึงปีนี้ซึ่งเป็นปีที่เกิดโรคระบาดโควิด โดยศูนย์ข้อมูลอสังหาริมทรัพย์ ระบุหน่วยเหลือขาย (สต็อกคงค้าง) บ้าน และอาคารชุด(คอนโดมิเนียม) ในปี 2562 สูงถึง 175,754 ยูนิต มูลค่ารวม 765,037 ล้านบาท
ในจำนวนนี้เป็นคอนโดเหลือขาย มากถึง 76,254 ยูนิต โดยเป็นโครงการสร้างเสร็จ เหลือขาย 19,121 หน่วย ทำให้ผู้ประกอบการ อสังหาฯต่างเร่งระบายสต็อก"พลิกเกม" รุกตลาดแนวราบเจาะความต้องการที่อยู่อาศัยที่แท้จริง (เรียลดีมานด์)สิ้นยุคทองคอนโด ไปพร้อมกับการปรับรูปแบบดำเนินธุรกิจ รับพฤติกรรมลูกค้าที่เปลี่ยนไป ยุคหลังโควิด
นางสุพัตรา เป้าเปี่ยมทรัพย์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท พฤกษาเรียลเอสเตท จำกัด (มหาชน) ยอมรับว่า โควิด-19 ทำให้โครงสร้างธุรกิจเปลี่ยนไปโดยสิ้นเชิง กำลังจะกลายเป็นความปกติใหม่ (นิวนอร์มอล) จากพฤติกรรมและความต้องการของผู้บริโภคเปลี่ยนแปลงไปโดยเฉพาะมาตรการเว้นระยะห่างทางสังคม ที่จำกัดการออกจากบ้านของผู้บริโภค เป็น'ตัวเร่ง' ให้สังคมเข้าสู่จุดที่ทุกคนทุกวัยเชื่อมต่อสู่โลกออนไลน์เร็วขึ้น จึงต้องปรับกลยุทธ์ด้วยการนำสินค้าเข้าไปอยู่ในโลกดิจิทัลให้ได้มากที่สุด ให้สอดคล้องกับความต้องการและพฤติกรรมที่เปลี่ยนไปของลูกค้า
"พฤกษา"รุกตลาดผ่านออนไลน์
นางสุพัตรา กล่าวว่า บริษัทจึงได้ยกระดับการพัฒนาสินค้า นวัตกรรม และการบริการ แบบบูรณาการในทุกมิติพร้อมทั้งปรับกลยุทธ์การตลาดและการขาย โดยปรับการขายผ่านดิจิทัลแพลตฟอร์ม อาทิ เฟซบุ๊คไลฟ์ พาเยี่ยมชมโครงการ ซื้อสินค้าผ่านทางไลน์แชท ชมโครงการผ่านวีดีโอ360 องศา และวีดิโอคอล การคัดเลือกบ้านยูนิตพิเศษ พร้อมราคาและเงื่อนไขพิเศษ ให้กับลูกค้าเพื่อเพิ่มส่วนแบ่งตลาดมากขึ้น
"ภาพรวมตลาดอสังหาฯ ในช่วงครึ่งปีหลัง จากแนวโน้มสถานการณ์ผู้ติดเชื้อลดลงในขณะที่คนไทยมีการปรับตัวในการดำเนินชีวิตแบบเว้นระยะห่างทางสังคม คาดว่าสถานการณ์น่าจะดีขึ้นหลังจากความกังวลลดลง ลูกค้าที่มีความต้องการซื้อที่อยู่อาศัยจะกลับมาตัดสินใจซื้อเพิ่มขึ้น"
สำหรับผลประกอบการไตรมาส 1 ปีนี้ว่า แม้บริษัทฯ จะได้รับผลกระทบจากการระบาดของโควิด-19 แต่โดยภาพรวมของการดำเนินธุรกิจยังอยู่ในเกณฑ์ที่น่าพึงพอใจกว่าที่คาด โดยมีรายได้ 7,143 ล้านบาท ยอดขาย 6,069 ล้านบาท กำไรสุทธิ 922 ล้านบาท และมียอดขายรอรับรู้รายได้ 26,810 ล้านบาท ซึ่งจะทยอยรับรู้รายได้ในปีนี้ 9,000 ล้านบาท
รัดเข็มขัดบริหารใช้จ่าย
นางสุพัตรา กล่าวว่า แผนการดำเนินธุรกิจต่อจากนี้ จะเน้นการบริหารค่าใช้จ่ายทุกประเภทภายในองค์กรให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด รักษาสภาพคล่อง เร่งแปลงสต็อก (Inventory) ให้เป็นรายได้ พร้อมออกแคมเปญส่งเสริมการขายด้วยข้อเสนอพิเศษ สำหรับลูกค้าที่จองและโอนกรรมสิทธิ์โครงการทาวน์เฮาส์ บ้านเดี่ยว และคอนโดพร้อมอยู่ของพฤกษา จำนวน 167 โครงการ
นางสาวเกษรา ธัญลักษณ์ภาคย์รองประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัทเสนาดีเวลลอปเม้นท์ จำกัด (มหาชน) กล่าวว่าหลังการระบาดของโควิด-19 จะเกิดความปกติใหม่ ตามพฤติกรรมผู้บริโภคที่เปลี่ยนไป สังคมมีระยะห่าง ดูแลเรื่องสุขอนามัยมากขึ้น พฤติกรรมดังกล่าวจะเข้ามาเปลี่ยนแปลงรูปแบบการพัฒนาสินค้า และบริการของภาคธุรกิจ ในส่วนของธุรกิจพัฒนาอสังหาฯ ที่เห็นได้ชัดเจนคือการทำงานที่บ้าน (Work From Home)
"จากปกติโซลาร์ที่อยู่อาศัยโตขึ้นทุกปี แต่ไม่หวือหวา แต่วันนี้จะโตเร็วขึ้น ส่วนหนึ่งน่าจะเกิดจากคนใช้ชีวิตในบ้านมากขึ้น บ้านจึงกลายเป็นที่ที่เราใช้ชีวิตมากกว่าแค่การนอน ทำให้ โซลาร์ รูฟท็อป กลายเป็นนวัตกรรมที่ตอบโจทย์รูปแบบการใช้ชีวิตแบบนิวนอร์มอลมากขึ้นเสนาฯ จึงเปิดตัวทาวน์โฮมติดโซลาร์ รูฟท็อปเป็นรายแรกเพื่อสร้างความแตกต่างนอกเหนืองจากเรื่องของราคา"
ตลาดผู้ซื้อ"ราคา"ตัวแปรหลัก
นางสาวเกษรา ยังระบุว่า สถานการณ์โควิด-19 ส่งผลกระทบทุกมิติโดยเฉพาะกำลังซื้อของคนลดลง ฉะนั้นราคาจะเป็นปัจจัยแรกที่คนให้ความสำคัญจึงทำให้เกิดสงครามราคากันอย่างเลือดสาด โดยเฉพาะโครงการที่เป็นสต็อกของแต่ละบริษัทขณะเดียวกันช่องทางขายผ่านออนไลน์เข้ามามีบทบาทมากขึ้น ซึ่งจะกลายเป็น 1 ในนิวนอร์มอลของอสังหาฯ ต่อจากนี้
นายธงชัย บุศราพันธ์ ประธานกรรมการ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารร่วม และกรรมการผู้จัดการ บริษัทโนเบิล ดีเวลลอปเมนท์ จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า ต่อจากนี้ไปช่องทางการขายผ่านออนไลน์จะเป็นกลไกสำคัญของธุรกิจอสังหาฯ ในการติดต่อสื่อสารกับลูกค้า ทั้งในประเทศและต่างประเทศได้ตลอดเวลา ไม่ว่าโควิดจะอยู่หรือจบลงไปแล้ว ถือเป็นนิวนอร์มอล ที่เข้ามาเป็นเครื่องมือในการทำการตลาดที่มีประสิทธิภาพ ในราคาที่เหมาะสมมากกว่าการสื่อสารในรูปแบบเดิมๆ
เนื่องจากมีเทคโนโลยีเข้ามารองรับในการให้บริการที่มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้นไม่เฉพาะแค่การให้บริการเยี่ยมชมโครงการ ติดต่อซื้อขาย หรือให้ข้อมูลเท่านั้น แต่ยังสามารถเก็บข้อมูลลูกค้าและนำมาวิเคราะห์เพื่อพัฒนาโครงการหรือบริการที่ตอบสนองความต้องการขอลูกค้าได้ตรงจุดมากยิ่งขึ้น
"แสนสิริ"ชูนวัตกรรมไร้สัมผัส
นายอาณัติ กิตติกุลเมธี รองกรรมการผู้จัดการฝ่ายพัฒนาโครงการแนวราบ บริษัท แสนสิริ จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า ปัจจุบันอสังหาฯ กำลังถูกดิสรัป ทำให้ต้องเร่งรัดและก้าวเข้าสู่ยุคการปรับเปลี่ยนการออกแบบที่อยู่อาศัยใหม่หลังจากเกิดสถานการณ์โควิด-19 ทำให้การออกแบบที่อยู่อาศัยนั้น ต้องปรับเปลี่ยนเพื่อให้สอดคล้องกับวิถีชีวิต พฤติกรรมผู้บริโภคที่เปลี่ยนแปลงไปเพื่อสร้างสุขภาพที่ดี ทั้งทางกายภาพ ทางจิตใจ และความสัมพันธ์ที่ดีของทุกคนในโครงการเพื่อสร้างความสุขให้กับลูกบ้าน ทั้งในด้านสุขภาพและความปลอดภัย
โดยเฉพาะเทคโนโลยีการลดการสัมผัส (Touchless) เริ่มตั้งแต่ก้าวแรกที่มาถึงโครงการ ซึ่งลูกบ้านสามารถระบุรายละเอียดของผู้ที่จะมาติดต่อ เช่น เลขทะเบียนรถหรือเวลาที่จะเดินทางมาถึง ผ่าน Visitor Pass บนแอพพลิเคชั่นของแสนสิริ ซึ่งจะส่ง QR Code เพื่อให้ผู้มาติดต่อสามารถสแกนเข้า-ออกโครงการ ได้ด้วยตัวเองในรูปแบบ E-Stamp สมาร์ทโฟนเพิ่มความปลอดภัยพื้นที่ส่วนกลาง ทั้งคลับเฮาส์, ฟิตเนส และสระว่ายน้ำ เป็นต้น
"เอพี"ชี้ออนไลน์ท้าทายการขาย
นายวิทการ จันทวิมล รองกรรมการผู้อำนวยการ สายงานกลยุทธ์องค์กรและการสร้างสรรค์ บริษัท เอพี (ไทยแลนด์) จำกัด (มหาชน) กล่าวการระบาดของโควิด-19 ทำให้คนทำงานที่บ้านมากขึ้น แนวทางการทำการตลาดออนไลน์จึงเข้ามาตอบโจทย์พฤติกรรมที่เปลี่ยนไปทำให้ลูกค้าสามารถดูห้องตัวอย่างได้โดยไม่ต้องเดินทางมาเอง แต่ถือความท้าทายของการขายอสังหาฯ ผ่านช่องออนไลน์ เพื่อให้เกิดความรู้สึกเสมือนจริงและกระตุ้นให้เกิดการตัดสินใจซื้อ จึงต้องการพัฒนาวิธีการแนะนำระบบข้อมูลที่ดีในการนำเสนอโครงการที่ตอบสนองความต้องการของลูกค้าให้มากที่สุด เพราะช่องทางออนไลน์จะเป็นส่วนหนึ่งที่เข้ามาช่วยในการขายอสังหาฯ เพิ่มขึ้นในอนาคต
'3เดือน'เปิดตัวคอนโดดิ่ง8ปี
คาดทั้งปีโครงการใหม่วูบ10ปี
นายภัทรชัย ทวีวงศ์รองผู้อำนวยการฝ่ายวิจัย บริษัทคอลลิเออร์สอินเตอร์เนชั่นแนล ประเทศไทย จำกัด กล่าวว่า 4 เดือนแรกของปี 2563 ภาคอสังหาฯ ได้รับผลกระทบจากการระบาดของโควิด-19 รุนแรง ทำให้เกิดการชะลอตัวกำลังซื้อ โดยเฉพาะตลาดคอนโดมิเนียม ส่งผลให้ผู้ประกอบการตัดสินใจชะลอเปิดขายโครงการใหม่เป็นจำนวนมาก หันไปเน้นการนำโครงการสร้างเสร็จพร้อมโอนมาลดราคาเพื่อเป็นการกระตุ้นยอดโอนและเพิ่มการรับรู้รายได้
โดยผู้ประกอบการบางรายลดราคาลงมากว่า 30% เพื่อระบายสต็อกหรือนำโครงการที่พรีเซลล์ไปแล้วกลับมาพรีเซลล์ใหม่อีกครั้งพร้อมกับลดราคา เพื่อจูงใจลูกค้าในภาวะที่ตลาดยังคงชะลอตัวและกำลังซื้อค่อนข้างจำกัด
ทั้งนี้ภาพรวมของตลาดคอนโดเปิดขายใหม่ในกรุงเทพฯ ช่วงไตรมาสแรกของปี 2563 มีโครงการคอนโดเปิดขายใหม่เพียง 16 โครงการ 5,880 หน่วยซึ่งถือว่าเป็นอุปทานเปิดขายใหม่น้อยสุดในรอบ 8 ปี หลังจากอุทกภัยปี 2554 ด้วยมูลค่าการลงทุน 19,540 ล้านบาท ลดลงจากช่วงไตรมาสก่อน 8,909 หน่วย หรือคิดเป็น 60.2% และลดลงจากช่วงไตรมาส 1 ของปีก่อนหน้า ที่เปิดขาย 8,953 หน่วย หรือ 34.3% ซึ่งพบว่ามูลค่าการลงทุนลดลงกว่า 25,892 ล้านบาทเมื่อเทียบกับในช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน
จากข้อมูลแผนกวิจัยคอลลิเออร์ส คาดการณ์ว่า ยอดขายคอนโดที่ขายได้ในกรุงเทพฯช่วงไตรมาสแรกปี 2563 ต่ำสุดในรอบ 10 ปี โดยเฉพาะยอดขายของบริษัทอสังหาฯ บางราย จะหายไปไม่น้อยกว่า 50% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนเพราะปัญหาจากยอดขายและยอดโอนชะลอตัวลงจากการระบาดของโควิด-19 ที่ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจและกำลังซื้อลดลง
รวมถึงกลุ่มลูกค้าบางส่วนยังไม่สามารถส่งมอบได้ เนื่องจากธนาคารไม่ปล่อยกู้ทำให้การรับรู้รายได้ลดลงคาดการณ์ว่า ในปี 2563 นี้ อุปทานเปิดขายใหม่ของคอนโดมิเนียมในกรุงเทพฯ อาจลดลงมาอยู่ที่ประมาณ 25,000-30,000 ยูนิตเท่านั้น ซึ่งถือว่าเป็นอุปทานเปิดขายใหม่ที่น้อยที่สุดในรอบ 10 ปีที่ผ่านมา
ข่าวเขตเศรษฐกิจพิเศษ อื่นๆ