ตลาดที่อยู่อาศัยปีนี้ หดตัวแรง 17.8% คอนโด บางตา
วันที่ : 16 เมษายน 2563
ศูนย์ข้อมูลอสังหาริมทรัพย์ คาดการณ์ ตลาดอสังหาริมทรัพย์ในปีนี้ ตลาดที่อยู่อาศัยจะหดตัวตามภาวะเศรษฐกิจ 17.8%
ปัจจัยลบรุมเร้ามากกว่าปัจจัยบวก เป็นสาเหตุจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อ COVID-19 และภาวะภัยแล้งรุนแรงมีผลทำให้เศรษฐกิจของประเทศหดตัว ส่งผลให้เกิดการเลิกจ้างแรงงานจำนวนมาก และรายได้ของเกษตรกรลดลง กระทบกับกำลังซื้อที่อยู่อาศัยในวงกว้าง แม้ว่าในปีนี้จะมีปัจจัยบวกในด้านอัตราดอกเบี้ยขาลง ราคาน้ำมันลดลง มาตรการกระตุ้นอสังหา ริมทรัพย์ของรัฐบาลที่มีผลไปถึงสิ้นปีและมีการผ่อนปรนเกณฑ์ LTV ของธนาคารแห่งประเทศไทยก็ตาม
ศูนย์ข้อมูลอสังหาริมทรัพย์ คาดการณ์ ตลาดอสังหาริมทรัพย์ในปีนี้ ตลาดที่อยู่อาศัยจะหดตัวตามภาวะเศรษฐกิจ ทั้งในด้าน ซัพพลาย และ ดีมานด์ โดยในด้านอุปทานการขออนุญาตจัดสรรที่ดินคาดว่าจะหดตัว 17.8 % และการออกใบอนุญาตก่อสร้างคาดว่าจะหดตัว 15.3% เมื่อเทียบกับปีที่ผ่านมา โดยอาคารชุดจะหดตัวมากกว่าที่อยู่อาศัยแนวราบ ส่วนในด้านดีมานด์การโอนกรรมสิทธิ์ที่อยู่อาศัยคาดว่าจำนวนหน่วยจะหดตัว 11.9% และมูลค่าการโอนกรรมสิทธิ์จะหดตัว 21.5%
ภาพรวมในปี 2562 ทั้งปีมีการออกใบอนุญาตจัดสรรที่ดินเพื่อที่อยู่อาศัยใน เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก EEC จำนวน 175 โครงการ 21,814 หน่วย เพิ่มขึ้นทั้งจำนวนโครงการและจำนวนหน่วย เมื่อเทียบกับปี 2561 โดยเพิ่มขึ้น 2.9% และ 22.6% ตามลำดับ โดยใบอนุญาตจัดสรรที่ดินส่วนใหญ่เป็นทาวน์เฮาส์มากที่สุด จำนวน 14,066 หน่วย คิดเป็นสัดส่วน 64.5% ของจำนวนการออกใบอนุญาตจัดสรรที่ดินทั้งหมด รองลงมาเป็นบ้านเดี่ยวจำนวน 3,978 หน่วย คิดเป็นสัดส่วน 18.2% และบ้านแฝดจำนวน 3,461 หน่วย คิดเป็นสัดส่วน 15.9% เป็นอาคารพาณิชย์จำนวน 218 หน่วย คิดเป็นสัดส่วน 1.0% และที่เหลือเป็นที่ดินจัดสรร ตามลำดับ
เมื่อพิจารณารายจังหวัดในพื้นที่ EEC ในปี 2562 จังหวัดที่มีการออกใบอนุญาตจัดสรรมากที่สุด อันดับ 1 ได้แก่จังหวัดระยอง มีสัดส่วน 44.5% ของการออกใบอนุญาตจัดสรรที่ดินทั้งหมด ส่วนใหญ่อยู่ในอำเภอปลวกแดง อำเภอนิคมพัฒนา และอำเภอเมือง จ.ระยอง ตามลำดับ อันดับ 2 จังหวัดชลบุรี มีสัดส่วน 44.4% ส่วนใหญ่อยู่ในอำเภอศรีราชา อำเภอนิคมเมืองชลบุรี และอำเภอพานทอง ตามลำดับ อันดับ 3 จังหวัดฉะเชิงเทรา มีสัดส่วน 11.1% ส่วนใหญ่อยู่ในอำเภอบางปะกง อำเภอเมืองฉะเชิงเทรา และอำเภอแปลงยาว ตามลำดับ
สำหรับแนวโน้มการออกใบอนุญาตจัดสรรที่ดินใน 3 จังหวัด EEC ในปี 2563 ศูนย์ข้อมูลคาดว่าจะมีจำนวนประมาณ 17,938 หน่วย ลดลงจากปี 2562 17.8% โดยมีช่วงคาดการณ์อยู่ประมาณ 16,145-16,938 หน่วยและลดลงจากปี 2562 ระหว่าง -26.0 ถึง -9.5%
ศูนย์ข้อมูลอสังหาริมทรัพย์ คาดการณ์ ตลาดอสังหาริมทรัพย์ในปีนี้ ตลาดที่อยู่อาศัยจะหดตัวตามภาวะเศรษฐกิจ ทั้งในด้าน ซัพพลาย และ ดีมานด์ โดยในด้านอุปทานการขออนุญาตจัดสรรที่ดินคาดว่าจะหดตัว 17.8 % และการออกใบอนุญาตก่อสร้างคาดว่าจะหดตัว 15.3% เมื่อเทียบกับปีที่ผ่านมา โดยอาคารชุดจะหดตัวมากกว่าที่อยู่อาศัยแนวราบ ส่วนในด้านดีมานด์การโอนกรรมสิทธิ์ที่อยู่อาศัยคาดว่าจำนวนหน่วยจะหดตัว 11.9% และมูลค่าการโอนกรรมสิทธิ์จะหดตัว 21.5%
ภาพรวมในปี 2562 ทั้งปีมีการออกใบอนุญาตจัดสรรที่ดินเพื่อที่อยู่อาศัยใน เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก EEC จำนวน 175 โครงการ 21,814 หน่วย เพิ่มขึ้นทั้งจำนวนโครงการและจำนวนหน่วย เมื่อเทียบกับปี 2561 โดยเพิ่มขึ้น 2.9% และ 22.6% ตามลำดับ โดยใบอนุญาตจัดสรรที่ดินส่วนใหญ่เป็นทาวน์เฮาส์มากที่สุด จำนวน 14,066 หน่วย คิดเป็นสัดส่วน 64.5% ของจำนวนการออกใบอนุญาตจัดสรรที่ดินทั้งหมด รองลงมาเป็นบ้านเดี่ยวจำนวน 3,978 หน่วย คิดเป็นสัดส่วน 18.2% และบ้านแฝดจำนวน 3,461 หน่วย คิดเป็นสัดส่วน 15.9% เป็นอาคารพาณิชย์จำนวน 218 หน่วย คิดเป็นสัดส่วน 1.0% และที่เหลือเป็นที่ดินจัดสรร ตามลำดับ
เมื่อพิจารณารายจังหวัดในพื้นที่ EEC ในปี 2562 จังหวัดที่มีการออกใบอนุญาตจัดสรรมากที่สุด อันดับ 1 ได้แก่จังหวัดระยอง มีสัดส่วน 44.5% ของการออกใบอนุญาตจัดสรรที่ดินทั้งหมด ส่วนใหญ่อยู่ในอำเภอปลวกแดง อำเภอนิคมพัฒนา และอำเภอเมือง จ.ระยอง ตามลำดับ อันดับ 2 จังหวัดชลบุรี มีสัดส่วน 44.4% ส่วนใหญ่อยู่ในอำเภอศรีราชา อำเภอนิคมเมืองชลบุรี และอำเภอพานทอง ตามลำดับ อันดับ 3 จังหวัดฉะเชิงเทรา มีสัดส่วน 11.1% ส่วนใหญ่อยู่ในอำเภอบางปะกง อำเภอเมืองฉะเชิงเทรา และอำเภอแปลงยาว ตามลำดับ
สำหรับแนวโน้มการออกใบอนุญาตจัดสรรที่ดินใน 3 จังหวัด EEC ในปี 2563 ศูนย์ข้อมูลคาดว่าจะมีจำนวนประมาณ 17,938 หน่วย ลดลงจากปี 2562 17.8% โดยมีช่วงคาดการณ์อยู่ประมาณ 16,145-16,938 หน่วยและลดลงจากปี 2562 ระหว่าง -26.0 ถึง -9.5%
ข่าวเขตเศรษฐกิจพิเศษ อื่นๆ