รายงาน: ปักหมุดมอเตอร์เวย์อีอีซีบูมโซนตะวันออก
วันที่ : 1 มีนาคม 2563
มอเตอร์เวย์หมายเลข 7 สายกรุงเทพฯ บ้านฉาง
อนัญญา จั่นมาลี
กรมทางหลวง (ทล.) หน่วยงานหนึ่งในสังกัดกระทรวงคมนาคมที่ได้รับภารกิจอย่างหนัก เนื่องจากโครงการต่างๆ ล้วนเป็นโครงการขนาดใหญ่ ไม่ว่าจะเป็น โครงการทางหลวงพิเศษหมายเลข 6 (มอเตอร์เวย์) สายบางปะอิน-นครราชสีมา โครงการทางหลวงพิเศษหมายเลข 81 สายบางใหญ่กาญจนบุรี โครงการทางหลวงพิเศษระหว่างเมืองสายนครปฐมชะอำ ฯลฯ ช่วยรองรับการคมนาคมขนส่งที่สะดวกและรวดเร็วมากขึ้น
ล่าสุดมอเตอร์เวย์หมายเลข 7 สายกรุงเทพฯ บ้านฉาง ช่วงพัทยา-มาบตาพุด ระยะทาง 32 กิโลเมตร หนึ่งในโครงการสำคัญ ซึ่งเป็นทางหลวงสายหลักด้านการขนส่งสินค้าระหว่างภาคกลางและภาคตะวันออกไปสู่ประตูการค้าระหว่างประเทศ ทั้งท่าเรือน้ำลึกแหลมฉบัง ท่าเรือน้ำลึกมาบตาพุด ท่าอากาศยานนานาชาติสุวรรณภูมิ และท่าอากาศยานนานาชาติอู่ตะเภา เพื่อรองรับการพัฒนาของโครงการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (อีอีซี) และส่งเสริมทั้งภาคธุรกิจการค้าและการท่องเที่ยว ด้วยแนวเส้นทางที่เชื่อมโยงกับท่าเรือต่างๆ และนิคมอุตสาหกรรม รวมถึงการขนส่งรถไฟ และการขนส่งทางอากาศ เป็นการเพิ่มประสิทธิภาพโครงข่ายโลจิสติกส์ของประเทศ
พัทยา-มาบตาพุด คืบ97%
สราวุธ ทรงศิวิไล อธิบดีทล. เล่าถึงความคืบหน้าโครงการดังกล่าวว่าสาย 7 ช่วงพัทยามาบตาพุด ปัจจุบันงานก่อสร้างแบ่งเป็น 13 ตอน และงานระบบ 1 ตอน ซึ่งขณะนี้ในส่วนของงานก่อสร้างมีความคืบหน้าแล้ว 97.85% ขณะที่งานระบบจะมีการก่อสร้างเชื่อมโยงระบบเก็บค่าธรรมเนียมผ่านทาง ระบบควบคุมการจราจร และระบบอำนวยความปลอดภัย โดยมีอาคารเก็บค่าธรรมเนียม 3 แห่ง ประกอบไปด้วย ด่านห้วยใหญ่ บริเวณกิโลเมตรที่ 15+300 ด่านเขาชีโอน บริเวณกิโลเมตรที่ 26+375 และด่านอู่ตะเภา บริเวณกิโลเมตรที่ 30+250 ซึ่งงานในส่วนนี้มีความคืบหน้าแล้ว 60.32% คาดว่าแล้วเสร็จในเดือนกรกฎาคมนี้
"ส่วนทางเข้า-ออก ทางหลวงพิเศษหมายเลข 7 สายกรุงเทพฯ -บ้านฉาง ช่วงพัทยามาบตาพุด จะช่วยให้ประชาชนเดินทางได้สะดวกรวดเร็วมากขึ้น หากใช้เส้นทางด่านห้วยใหญ่ จะเชื่อมต่อไปยังถนนสุขุมวิท สามารถเดินทางไปยังหาดจอมเทียน ตลาดน้ำ 4 ภาค ขณะเดียวกันหากใช้เส้นทางด่าน เขาชีโอน จะเชื่อมต่อไปยังทางหลวงหมายเลข 331 ไปยังสถานที่สำคัญ เช่น พระพุทธรูปแกะสลักหน้าผาเขาชีจรรย์ ไร่องุ่นซิลเวอร์เลค และหากใช้เส้นทางผ่านด่านอู่ตะเภา จะเชื่อมโยงไปยังถนนสุขุมวิทมุ่งหน้าไปอำเภอบ้านฉาง จังหวัดระยอง และอำเภอสัตหีบ จังหวัดชลบุรี ซึ่งสามารถเดินทางไปยังสถานที่สำคัญอย่างท่าอากาศยานนานาชาติอู่ตะเภา นิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด ท่าเรือ น้ำลึกมาบตาพุด และโรงพยาบาลสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์"
ทั้งนี้ทางกรมได้ออกแบบการก่อสร้างโดยเป็นทางมาตรฐานชั้นพิเศษ 6 ช่องจราจร (ไป-กลับ) ซึ่งเป็นทางแนวใหม่ตามมาตรฐานทางหลวงพิเศษ รูปแบบเป็นผิวจราจรคอนกรีตหนา 28 เซนติเมตร แบ่งแยกทิศทางจราจรด้วยเกาะกลางลดระดับไหล่ทางด้านในกว้าง 1 เมตร ไหล่ทางด้านนอกกว้าง 3 เมตร ควบคุมการเข้าออกอย่างสมบูรณ์ ในขณะเดียวกันการควบคุมการก่อสร้างนั้น ให้มีมาตรฐานที่สูงสำหรับผิวทางแอสฟัลต์คอนกรีต สภาพความเรียบของผิวทางต้องมีค่าดัชนีความขรุขระสากล (IRI) ไม่เกิน 2.0 เมตรต่อกิโลเมตร สำหรับผิวทางคอนกรีต สภาพความเรียบของผิวทางต้องมีค่า ดัชนีความขรุขระทางสากล (IRI) ไม่เกิน 2.5 เมตรต่อกิโลเมตร หากโครงการเสร็จสมบูรณ์ทั้งระบบ จะเปิดให้บริการระบบปิดอย่างเต็มรูปแบบโดยแบ่งกลุ่มอัตราค่าธรรมเนียม ตามประเภทรถยนต์ 4 ล้อ ในอัตรา 10-130 บาท รถยนต์ 6 ล้อ ในอัตรา 15-210 บาท และรถยนต์มากกว่า 6 ล้อขึ้นไป ในอัตรา 20-305 บาท
ลุยศึกษา 2 เส้นทาง
หลังจากนี้ ทล.เตรียมศึกษาแผนขยายโครงข่าย ทางหลวงพิเศษระหว่างเมือง (มอเตอร์เวย์) 2 เส้นทาง ประกอบไปด้วย เส้นทางชลบุรี-จันทบุรี โดยคาดว่าจะใช้งบศึกษา 30-40 ล้านบาท ซึ่งจะเป็นเส้นทางเชื่อมโยงการเดินทางท่องเที่ยวและการขนส่งสินค้าสู่พื้นที่อีอีซี และเส้นทางแหลมฉบัง- ปราจีนบุรี-นครราชสีมา ระยะทาง 130-140 กิโลเมตร ซึ่งแบ่งการพัฒนาออกเป็น 2 เฟส โดยเฟส 1 ช่วงแหลมฉบัง-ปราจีนบุรี และเฟส 2 ช่วงปราจีนบุรีนครราชสีมา คาดว่าใช้งบก่อสร้างราว 4 หมื่นล้านบาท ปัจจุบันอยู่ระหว่างการออกแบบก่อสร้าง ซึ่งมีความคืบหน้าแล้ว 50% ทั้งนี้จะเสนอของบประมาณปี 2564 เพื่อออกแบบเพิ่มเติมให้แล้วเสร็จ
นับเป็นภารกิจที่กรมต้องใช้เวลาและเร่งรัดโครงการต่างๆให้ทันต่อสถานการณ์ด้านขนส่งคมนาคมในปัจจุบัน โดยเฉพาะโครงการโครงสร้างขนาดใหญ่ ที่เป็นเมกะโปรเจ็กต์สำคัญ ซึ่งกรมต้องทำสำเร็จให้ได้ตามที่ตั้งเป้าหมายไว้
เพื่อรองรับการพัฒนาอีอีซี และส่งเสริมทั้งภาคธุรกิจการค้าและการท่องเที่ยว
กรมทางหลวง (ทล.) หน่วยงานหนึ่งในสังกัดกระทรวงคมนาคมที่ได้รับภารกิจอย่างหนัก เนื่องจากโครงการต่างๆ ล้วนเป็นโครงการขนาดใหญ่ ไม่ว่าจะเป็น โครงการทางหลวงพิเศษหมายเลข 6 (มอเตอร์เวย์) สายบางปะอิน-นครราชสีมา โครงการทางหลวงพิเศษหมายเลข 81 สายบางใหญ่กาญจนบุรี โครงการทางหลวงพิเศษระหว่างเมืองสายนครปฐมชะอำ ฯลฯ ช่วยรองรับการคมนาคมขนส่งที่สะดวกและรวดเร็วมากขึ้น
ล่าสุดมอเตอร์เวย์หมายเลข 7 สายกรุงเทพฯ บ้านฉาง ช่วงพัทยา-มาบตาพุด ระยะทาง 32 กิโลเมตร หนึ่งในโครงการสำคัญ ซึ่งเป็นทางหลวงสายหลักด้านการขนส่งสินค้าระหว่างภาคกลางและภาคตะวันออกไปสู่ประตูการค้าระหว่างประเทศ ทั้งท่าเรือน้ำลึกแหลมฉบัง ท่าเรือน้ำลึกมาบตาพุด ท่าอากาศยานนานาชาติสุวรรณภูมิ และท่าอากาศยานนานาชาติอู่ตะเภา เพื่อรองรับการพัฒนาของโครงการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (อีอีซี) และส่งเสริมทั้งภาคธุรกิจการค้าและการท่องเที่ยว ด้วยแนวเส้นทางที่เชื่อมโยงกับท่าเรือต่างๆ และนิคมอุตสาหกรรม รวมถึงการขนส่งรถไฟ และการขนส่งทางอากาศ เป็นการเพิ่มประสิทธิภาพโครงข่ายโลจิสติกส์ของประเทศ
พัทยา-มาบตาพุด คืบ97%
สราวุธ ทรงศิวิไล อธิบดีทล. เล่าถึงความคืบหน้าโครงการดังกล่าวว่าสาย 7 ช่วงพัทยามาบตาพุด ปัจจุบันงานก่อสร้างแบ่งเป็น 13 ตอน และงานระบบ 1 ตอน ซึ่งขณะนี้ในส่วนของงานก่อสร้างมีความคืบหน้าแล้ว 97.85% ขณะที่งานระบบจะมีการก่อสร้างเชื่อมโยงระบบเก็บค่าธรรมเนียมผ่านทาง ระบบควบคุมการจราจร และระบบอำนวยความปลอดภัย โดยมีอาคารเก็บค่าธรรมเนียม 3 แห่ง ประกอบไปด้วย ด่านห้วยใหญ่ บริเวณกิโลเมตรที่ 15+300 ด่านเขาชีโอน บริเวณกิโลเมตรที่ 26+375 และด่านอู่ตะเภา บริเวณกิโลเมตรที่ 30+250 ซึ่งงานในส่วนนี้มีความคืบหน้าแล้ว 60.32% คาดว่าแล้วเสร็จในเดือนกรกฎาคมนี้
"ส่วนทางเข้า-ออก ทางหลวงพิเศษหมายเลข 7 สายกรุงเทพฯ -บ้านฉาง ช่วงพัทยามาบตาพุด จะช่วยให้ประชาชนเดินทางได้สะดวกรวดเร็วมากขึ้น หากใช้เส้นทางด่านห้วยใหญ่ จะเชื่อมต่อไปยังถนนสุขุมวิท สามารถเดินทางไปยังหาดจอมเทียน ตลาดน้ำ 4 ภาค ขณะเดียวกันหากใช้เส้นทางด่าน เขาชีโอน จะเชื่อมต่อไปยังทางหลวงหมายเลข 331 ไปยังสถานที่สำคัญ เช่น พระพุทธรูปแกะสลักหน้าผาเขาชีจรรย์ ไร่องุ่นซิลเวอร์เลค และหากใช้เส้นทางผ่านด่านอู่ตะเภา จะเชื่อมโยงไปยังถนนสุขุมวิทมุ่งหน้าไปอำเภอบ้านฉาง จังหวัดระยอง และอำเภอสัตหีบ จังหวัดชลบุรี ซึ่งสามารถเดินทางไปยังสถานที่สำคัญอย่างท่าอากาศยานนานาชาติอู่ตะเภา นิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด ท่าเรือ น้ำลึกมาบตาพุด และโรงพยาบาลสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์"
ทั้งนี้ทางกรมได้ออกแบบการก่อสร้างโดยเป็นทางมาตรฐานชั้นพิเศษ 6 ช่องจราจร (ไป-กลับ) ซึ่งเป็นทางแนวใหม่ตามมาตรฐานทางหลวงพิเศษ รูปแบบเป็นผิวจราจรคอนกรีตหนา 28 เซนติเมตร แบ่งแยกทิศทางจราจรด้วยเกาะกลางลดระดับไหล่ทางด้านในกว้าง 1 เมตร ไหล่ทางด้านนอกกว้าง 3 เมตร ควบคุมการเข้าออกอย่างสมบูรณ์ ในขณะเดียวกันการควบคุมการก่อสร้างนั้น ให้มีมาตรฐานที่สูงสำหรับผิวทางแอสฟัลต์คอนกรีต สภาพความเรียบของผิวทางต้องมีค่าดัชนีความขรุขระสากล (IRI) ไม่เกิน 2.0 เมตรต่อกิโลเมตร สำหรับผิวทางคอนกรีต สภาพความเรียบของผิวทางต้องมีค่า ดัชนีความขรุขระทางสากล (IRI) ไม่เกิน 2.5 เมตรต่อกิโลเมตร หากโครงการเสร็จสมบูรณ์ทั้งระบบ จะเปิดให้บริการระบบปิดอย่างเต็มรูปแบบโดยแบ่งกลุ่มอัตราค่าธรรมเนียม ตามประเภทรถยนต์ 4 ล้อ ในอัตรา 10-130 บาท รถยนต์ 6 ล้อ ในอัตรา 15-210 บาท และรถยนต์มากกว่า 6 ล้อขึ้นไป ในอัตรา 20-305 บาท
ลุยศึกษา 2 เส้นทาง
หลังจากนี้ ทล.เตรียมศึกษาแผนขยายโครงข่าย ทางหลวงพิเศษระหว่างเมือง (มอเตอร์เวย์) 2 เส้นทาง ประกอบไปด้วย เส้นทางชลบุรี-จันทบุรี โดยคาดว่าจะใช้งบศึกษา 30-40 ล้านบาท ซึ่งจะเป็นเส้นทางเชื่อมโยงการเดินทางท่องเที่ยวและการขนส่งสินค้าสู่พื้นที่อีอีซี และเส้นทางแหลมฉบัง- ปราจีนบุรี-นครราชสีมา ระยะทาง 130-140 กิโลเมตร ซึ่งแบ่งการพัฒนาออกเป็น 2 เฟส โดยเฟส 1 ช่วงแหลมฉบัง-ปราจีนบุรี และเฟส 2 ช่วงปราจีนบุรีนครราชสีมา คาดว่าใช้งบก่อสร้างราว 4 หมื่นล้านบาท ปัจจุบันอยู่ระหว่างการออกแบบก่อสร้าง ซึ่งมีความคืบหน้าแล้ว 50% ทั้งนี้จะเสนอของบประมาณปี 2564 เพื่อออกแบบเพิ่มเติมให้แล้วเสร็จ
นับเป็นภารกิจที่กรมต้องใช้เวลาและเร่งรัดโครงการต่างๆให้ทันต่อสถานการณ์ด้านขนส่งคมนาคมในปัจจุบัน โดยเฉพาะโครงการโครงสร้างขนาดใหญ่ ที่เป็นเมกะโปรเจ็กต์สำคัญ ซึ่งกรมต้องทำสำเร็จให้ได้ตามที่ตั้งเป้าหมายไว้
เพื่อรองรับการพัฒนาอีอีซี และส่งเสริมทั้งภาคธุรกิจการค้าและการท่องเที่ยว
ข่าวเขตเศรษฐกิจพิเศษ อื่นๆ