นายกฯ สั่งแก้พรบ.อีอีซี ปั้นเขตศก.พิเศษทุกภาค
วันที่ : 4 กุมภาพันธ์ 2563
นายกฯสั่งเดินหน้าเร่งเครื่องนโยบายเขตเศรษฐกิจพิเศษ ทั่วประเทศ เหนือ ใต้ อีสาน และตะวันตก พร้อมแก้กฎหมายขยายอำนาจ บอร์ดอีอีซี คุมพื้นที่เขตพิเศษทั่วประเทศ
เพิ่มอำนาจ กพอ. คุมพัฒนาทั่วประเทศ
นายกฯสั่งเดินหน้าเร่งเครื่องนโยบายเขตเศรษฐกิจพิเศษ ทั่วประเทศ เหนือ ใต้ อีสาน และตะวันตก พร้อมแก้กฎหมายขยายอำนาจ บอร์ดอีอีซี คุมพื้นที่เขตพิเศษทั่วประเทศ เร่งวางแผน พัฒนาโครงสร้างพื้นฐานหวังเชื่อมโยงการพัฒนาสู่ภูมิภาค
นายกอบศักดิ์ ภูตระกูล รองเลขาธิการนายกรัฐมนตรีฝ่ายการเมือง ในฐานะเลขานุการคณะกรรมการรัฐมนตรีฝ่ายเศรษฐกิจ (ครม.เศรษฐกิจ) ที่มีพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมเป็นประธานรับทราบข้อเสนอในการพัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษของประเทศเพื่อกระจายความมั่งคั่ง สู่ภูมิภาค โดยถือเป็นแผนงานนโยบายสำคัญของรัฐบาลที่มีความต่อเนื่อง ภายหลังจากการดำเนินงานในโครงการพัฒนาเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (อีอีซี) แล้ว ตามที่สภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) เสนอ
สำหรับแผนพัฒนาเศรษฐกิจ ภาคเหนือจะพัฒนาให้เป็นเขตเศรษฐกิจสร้างสรรค์ล้านนา (Creative Lanna) ในพื้นที่ จ.เชียงใหม่, ลำพูน, ลำปาง และ เชียงราย โดยมีอุตสาหกรรมที่ส่งเสริมได้แก่อุตสาหกรรมสร้างสรรค์ ซอฟแวร์ แฟชั่น และงานสถาปัตยากรรม เป็นต้น
ส่วนแผนการพัฒนาเขตเศรษฐกิจภาคใต้ (SEC) ได้แก่ จ.ชุมพร, ระนอง, สุราษฎร์ธานี และนครศรีธรรมราช โดยต้องการที่จะพัฒนาให้เป็นประตูการค้าฝั่งตะวันตก การพัฒนาให้เป็นประตูสู่การท่องเที่ยวอ่าวไทย การอนุรักษ์ ทรัพยากรธรรมชาติ การส่งเสริม วัฒนธรรมและการพัฒนาเมืองน่าอยู่ รวมทั้งการพัฒนาอุตสาหกรรมชีวภาพและการแปรรูปเกษตรที่มีมูลค่าสูง
และพื้นที่เขตเศรษฐกิจพิเศษ ในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ที่ตั้งเป้าให้เป็นพื้นที่เศรษฐกิจชีวภาพ มีหลายจังหวัดที่เกี่ยวข้องได้แก่ จ.ขอนแก่น, นครราชสีมา, หนองคาย, นครพนม, มุกดาหาร, สระแก้ว และ จ.ตราด โดยเป็นการลงทุนในเรื่องของอุตสาหกรรมชีวภาพที่ใช้ฐานวัตถุดิบสินค้าเกษตรมาเพิ่มมูลค่าทางเศรษฐกิจให้มากขึ้น
ทั้งนี้นายกรัฐมนตรีได้สั่งการ เพิ่มเติมว่าให้ไปเพิ่มเติมในเรื่อง เขตเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันตก (WEC) และให้มีการวางแผนเรื่องการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานในพื้นที่ต่างๆ ที่จะเป็นโครงการสำคัญ (back bone) ของแต่ละเขตเศรษฐกิจพิเศษที่จะมีการพัฒนาขึ้นมาใหม่ว่าควรมีโครงสร้างพื้นฐาน ที่สำคัญอะไรบ้าง เหมือนกับในการวางแผนการพัฒนาอีอีซีว่าจะต้อง มีการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานที่สำคัญอะไรบ้าง เช่น ทางหลวง รถไฟทางคู่ หรือรถไฟความเร็วสูงเพื่อสร้างการ เชื่อมโยงระหว่างเขตเศรษฐกิจพิเศษต่างๆ กับอีอีซีและเขตเศรษฐกิจพิเศษอื่นๆ กับพื้นที่เขตเศรษฐกิจพิเศษ ที่สำคัญ
นายกอบศักดิ์ กล่าวว่า ในส่วนของ โครงสร้างการบริหารเขตเศรษฐกิจพิเศษ ที่จะมีการจัดตั้งขึ้นใหม่จะมีการตั้ง คณะกรรมการเฉพาะขึ้นมาดูแลแยก การทำงานจากสำนักงานคณะกรรมการเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (สกพอ.) เนื่องจากในอีอีซียังถือเป็นพื้นที่สำคัญในการส่งเสริมการลงทุนและดึงการลงทุนจากต่างประเทศและ มีโรงงานในพื้นที่กว่า 400 โรงงาน
อย่างไรก็ตาม ในระยะต่อไปจะมีการแก้ไข พ.ร.บ.เขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออกเพื่อให้คณะกรรมการเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (กพอ.) ที่มีนายกรัฐมนตรีเป็นประธานมีอำนาจหน้าที่ในการกำกับดูแลเขตเศรษฐกิจพิเศษทั่วประเทศทั้งอีอีซีและ เขตเศรษฐกิจพิเศษที่จะเกิดขึ้นใหม่ รวมทั้งนำกฎหมายพิเศษที่บังคับใช้อำนวยความสะดวกให้กับการลงทุนการเวนคืนที่ดิน การลดภาษีเป็นกรณีพิเศษ และมาตรการส่งเสริมการลงทุนอื่นๆ เป็นต้น
รายงานข่าวแจ้งว่า สำหรับอีอีซี เกิดขึ้นจากความพยายามยกระดับพื้นที่ในเขต 3 จังหวัดคือ ชลบุรี ระยอง และฉะเชิงเทรา ให้เป็นพื้นที่เขตเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออกเพื่อรองรับการขับเคลื่อน เศรษฐกิจอย่างเป็นระบบและมีประสิทธิภาพผ่านกลไกการบริหารจัดการภายใต้การกำกับดูแลของนายกรัฐมนตรี
ให้วางแผนการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน ของแต่ละเขตเศรษฐกิจพิเศษ ที่จะมีการพัฒนาขึ้นมาใหม่
นายกฯสั่งเดินหน้าเร่งเครื่องนโยบายเขตเศรษฐกิจพิเศษ ทั่วประเทศ เหนือ ใต้ อีสาน และตะวันตก พร้อมแก้กฎหมายขยายอำนาจ บอร์ดอีอีซี คุมพื้นที่เขตพิเศษทั่วประเทศ เร่งวางแผน พัฒนาโครงสร้างพื้นฐานหวังเชื่อมโยงการพัฒนาสู่ภูมิภาค
นายกอบศักดิ์ ภูตระกูล รองเลขาธิการนายกรัฐมนตรีฝ่ายการเมือง ในฐานะเลขานุการคณะกรรมการรัฐมนตรีฝ่ายเศรษฐกิจ (ครม.เศรษฐกิจ) ที่มีพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมเป็นประธานรับทราบข้อเสนอในการพัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษของประเทศเพื่อกระจายความมั่งคั่ง สู่ภูมิภาค โดยถือเป็นแผนงานนโยบายสำคัญของรัฐบาลที่มีความต่อเนื่อง ภายหลังจากการดำเนินงานในโครงการพัฒนาเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (อีอีซี) แล้ว ตามที่สภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) เสนอ
สำหรับแผนพัฒนาเศรษฐกิจ ภาคเหนือจะพัฒนาให้เป็นเขตเศรษฐกิจสร้างสรรค์ล้านนา (Creative Lanna) ในพื้นที่ จ.เชียงใหม่, ลำพูน, ลำปาง และ เชียงราย โดยมีอุตสาหกรรมที่ส่งเสริมได้แก่อุตสาหกรรมสร้างสรรค์ ซอฟแวร์ แฟชั่น และงานสถาปัตยากรรม เป็นต้น
ส่วนแผนการพัฒนาเขตเศรษฐกิจภาคใต้ (SEC) ได้แก่ จ.ชุมพร, ระนอง, สุราษฎร์ธานี และนครศรีธรรมราช โดยต้องการที่จะพัฒนาให้เป็นประตูการค้าฝั่งตะวันตก การพัฒนาให้เป็นประตูสู่การท่องเที่ยวอ่าวไทย การอนุรักษ์ ทรัพยากรธรรมชาติ การส่งเสริม วัฒนธรรมและการพัฒนาเมืองน่าอยู่ รวมทั้งการพัฒนาอุตสาหกรรมชีวภาพและการแปรรูปเกษตรที่มีมูลค่าสูง
และพื้นที่เขตเศรษฐกิจพิเศษ ในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ที่ตั้งเป้าให้เป็นพื้นที่เศรษฐกิจชีวภาพ มีหลายจังหวัดที่เกี่ยวข้องได้แก่ จ.ขอนแก่น, นครราชสีมา, หนองคาย, นครพนม, มุกดาหาร, สระแก้ว และ จ.ตราด โดยเป็นการลงทุนในเรื่องของอุตสาหกรรมชีวภาพที่ใช้ฐานวัตถุดิบสินค้าเกษตรมาเพิ่มมูลค่าทางเศรษฐกิจให้มากขึ้น
ทั้งนี้นายกรัฐมนตรีได้สั่งการ เพิ่มเติมว่าให้ไปเพิ่มเติมในเรื่อง เขตเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันตก (WEC) และให้มีการวางแผนเรื่องการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานในพื้นที่ต่างๆ ที่จะเป็นโครงการสำคัญ (back bone) ของแต่ละเขตเศรษฐกิจพิเศษที่จะมีการพัฒนาขึ้นมาใหม่ว่าควรมีโครงสร้างพื้นฐาน ที่สำคัญอะไรบ้าง เหมือนกับในการวางแผนการพัฒนาอีอีซีว่าจะต้อง มีการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานที่สำคัญอะไรบ้าง เช่น ทางหลวง รถไฟทางคู่ หรือรถไฟความเร็วสูงเพื่อสร้างการ เชื่อมโยงระหว่างเขตเศรษฐกิจพิเศษต่างๆ กับอีอีซีและเขตเศรษฐกิจพิเศษอื่นๆ กับพื้นที่เขตเศรษฐกิจพิเศษ ที่สำคัญ
นายกอบศักดิ์ กล่าวว่า ในส่วนของ โครงสร้างการบริหารเขตเศรษฐกิจพิเศษ ที่จะมีการจัดตั้งขึ้นใหม่จะมีการตั้ง คณะกรรมการเฉพาะขึ้นมาดูแลแยก การทำงานจากสำนักงานคณะกรรมการเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (สกพอ.) เนื่องจากในอีอีซียังถือเป็นพื้นที่สำคัญในการส่งเสริมการลงทุนและดึงการลงทุนจากต่างประเทศและ มีโรงงานในพื้นที่กว่า 400 โรงงาน
อย่างไรก็ตาม ในระยะต่อไปจะมีการแก้ไข พ.ร.บ.เขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออกเพื่อให้คณะกรรมการเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (กพอ.) ที่มีนายกรัฐมนตรีเป็นประธานมีอำนาจหน้าที่ในการกำกับดูแลเขตเศรษฐกิจพิเศษทั่วประเทศทั้งอีอีซีและ เขตเศรษฐกิจพิเศษที่จะเกิดขึ้นใหม่ รวมทั้งนำกฎหมายพิเศษที่บังคับใช้อำนวยความสะดวกให้กับการลงทุนการเวนคืนที่ดิน การลดภาษีเป็นกรณีพิเศษ และมาตรการส่งเสริมการลงทุนอื่นๆ เป็นต้น
รายงานข่าวแจ้งว่า สำหรับอีอีซี เกิดขึ้นจากความพยายามยกระดับพื้นที่ในเขต 3 จังหวัดคือ ชลบุรี ระยอง และฉะเชิงเทรา ให้เป็นพื้นที่เขตเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออกเพื่อรองรับการขับเคลื่อน เศรษฐกิจอย่างเป็นระบบและมีประสิทธิภาพผ่านกลไกการบริหารจัดการภายใต้การกำกับดูแลของนายกรัฐมนตรี
ให้วางแผนการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน ของแต่ละเขตเศรษฐกิจพิเศษ ที่จะมีการพัฒนาขึ้นมาใหม่
ข่าวเขตเศรษฐกิจพิเศษ อื่นๆ