กฎหมายลูก ภาษีที่ดิน คลอดม.ค.นี้
วันที่ : 22 มกราคม 2563
คลังส่งกฎหมายลูกภาษีที่ดินให้มหาดไทยครบ 8 ฉบับแล้ว รอลงนามประกาศใช้ต่อไป 2 ฉบับสุดท้าย "ที่ดินเพื่อการเกษตร-ที่อยู่อาศัย" ชี้กฎหมายระบุการใช้พื้นที่-ชนิดพืชชัดเจน
คลังยันรายได้กทม.ไม่ลด เก็บคอนโด-ที่รกร้างเพิ่ม
คลังส่งกฎหมายลูกภาษีที่ดินให้มหาดไทยครบ 8 ฉบับแล้ว รอลงนามประกาศใช้ต่อไป 2 ฉบับสุดท้าย "ที่ดินเพื่อการเกษตร-ที่อยู่อาศัย" ชี้กฎหมายระบุการใช้พื้นที่-ชนิดพืชชัดเจน ยันรายได้ กทม.ไม่ลด เหตุจัดเก็บ "คอนโดฯ-ที่รกร้าง" ได้เพิ่มเติม ย้ำประชาชนไม่ต้องไปแจ้งการใช้ประโยชน์ที่สำนักงานเขต
รายงานข่าวจากกระทรวงการคลังระบุว่า กระทรวงการคลังได้จัดทำร่างกฎหมายประกอบพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างครบทั้ง 8 ฉบับแล้ว โดยที่ส่งให้กระทรวงมหาดไทย 2 ฉบับสุดท้ายและสำคัญที่สุดคือ การใช้ประโยชน์ที่ดินเพื่อการเกษตร และที่อยู่อาศัย โดยในส่วนของที่ดินเพื่อการเกษตรนั้น จะมีการกำหนดเปอร์เซ็นต์ของการใช้พื้นที่ในการทำการเกษตรและระบุชนิดพืชที่สามารถปลูกได้ ส่วนที่มีการใช้พื้นที่ว่างเปล่าในกลางกรุงเทพฯ มาปลูกพืชเกษตรนั้น สามารถทำได้และจะถูกนับเป็นพื้นที่เพื่อการเกษตร แต่หากมูลค่าสูงกว่าเพดานที่กำหนด เจ้าของพื้นที่ก็ต้องเสียภาษีในส่วนที่เกินอยู่แล้ว
สำหรับเกณฑ์การใช้ประโยชน์ที่ดินและสิ่งปลูกสร้างเป็นที่อยู่อาศัย ซึ่งในประกาศดังกล่าวจะบอกชัดเจนว่าคอนโดมิเนียม ห้องชุด บ้าน โรงเรือน อาคาร ตึก ตึกแถว หรือสิ่งปลูกสร้างอื่นใด แม้ให้เช่า แต่หากนำไปใช้เป็นที่อยู่อาศัย จะเสียภาษีในอัตราที่อยู่อาศัย ทำให้ ผู้มีบ้านหรือคอนโดมิเนียมในมือจำนวนหลายห้อง หลายหลัง ไม่ต้องกังวลเรื่องภาระภาษี เพราะเสียภาษีในอัตราล้านละ 200 บาท ซึ่งเก็บในอัตราที่พักอาศัย จากเดิมเคยกังวลว่ามีบ้านหลังที่ 2 ต้องเสียภาษีในอัตราล้านละ 3,000 บาท ในอัตราเชิงพาณิชย์
ส่วนกรณีที่มีกระแสข่าวว่า การจัดเก็บภาษีตามพ.ร.บ.ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างทำให้รายได้ส่วนท้องถิ่น โดยเฉพาะกรุงเทพมหานคร (กทม.)ลดลงกว่าครึ่งหนึ่งนั้น เป็นไปไม่ได้ เพราะกทม.จะมีรายได้เข้ามาเพิ่มเติมคือ การจัดเก็บภาษีจากคอนโดมิเนียมและที่รกร้างว่างเปล่า ซึ่งไม่สามารถจัดเก็บได้ตามพ.ร.บ.ภาษีโรงเรือนและภาษีบำรุงท้องที่ จึงสามารถเข้ามาทดแทนจากอัตราภาษีที่ต่ำลงได้
"กระทรวงการคลังยืนยันอีกครั้งว่า การประเมินการจัดเก็บภาษีเป็นหน้าที่ของเจ้าหน้าที่ที่จะไปประเมินประเภทการใช้ประโยชน์ในที่ดินและสิ่งปลูกสร้างนั้นๆ ซึ่งในกฎหมายระบุไว้ชัดเจน กฎหมายไม่ได้ระบุว่า เป็นหน้าที่ของประชาชนที่จะต้องมาแจ้งประเภทการใช้ประโยชน์ในที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง ดังนั้นประชาชนทั่วไปไม่ต้องเดินทางไปแจ้งที่สำนักงานเขต แม้ว่าจะเลื่อนการยื่นเสียภาษีออกไปเป็นเดือนสิงหาคม 2563 ก็ตาม"
ด้านแหล่งข่าวกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น ระบุว่า ที่ดินที่อยู่ในข่ายพื้นที่เกษตรกรรม ตามเกณฑ์เรียกเก็บภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง ได้ยึด ตามระเบียบปฏิบัติพืชเศรษฐกิจของกระทรวงเกษตร ได้แก่ กล้วย กระท้อน กาแฟ มังคุด นาข้าว แม้บางรายการจะไม่ปรากฏในข้อบังคับ อย่างทุเรียน มะนาว ก็ให้ถือว่าเป็นพืชผลทางการเกษตรทั้งหมด โดยละไว้ในฐานที่เข้าใจ ส่วนจำนวน ต้นไม้ที่ปลูกพิจารณาตามขนาดของต้นไม่พุ่มไม้ เช่น กล้วย ต้องปลูก 200 ต้นต่อพื้นที่ 1 ไร่ หรือ ต้องกระจายเต็มพื้นที่ มีระยะห่างอย่างเหมาะสม ส่วนมังคุด มีขนาดพุ่มค่อนข้างกว้าง กระทรวงเกษตรฯ จึงกำหนดเพียง 16 ต้นต่อไร่ เป็นต้นนอกจากไม้ผลพืชไร่แล้ว แปลงเกษตรกรรม สามารถทำปศุสัตว์ บ่อเลี้ยงปลา เป็ด ไก่ ไร่นาสวนผสมได้อีกด้วย
สำหรับร่างประกาศ ประเภทไม้ผล และจำนวนไม้ผลบนที่ดินเกษตร ตามที่กระทรวงการคลัง ส่งให้ กระทรวงมหาดไทย ลงนามบังคับใช้ คาดว่า รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย (มท.1) พล.อ. อนุพงษ์ เผ่าจินดา จะลงนามได้ ภายในเดือนมกราคมนี้ และรอประกาศใช้ในราชกิจจานุเบกษาต่อไป
อย่างไรก็ตาม กรณีที่ดินกลางเมืองที่เปลี่ยนจากพื้นที่รกร้างว่างเปล่าเป็น แปลงเกษตรกรรม มองว่าเป็นเรื่องที่ดี แม้จะมีลำต้นขนาดเล็ก ก็ถือว่าทำการเกษตร สำหรับรายได้ที่คาดว่าจะลดน้อยลง เมื่อเทียบกับกฎหมายเก่า เป็นการคาดการณ์เบื้องต้น
นอกจากนี้ ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เว็บไซต์ราชกิจจานุเบกษา เผยแพร่พระราชกฤษฎีกา ลดภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง พ.ศ.2563 ความว่า พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรรามาธิบดีศรีสินทรมหาวชิราลงกรณ พระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ประกาศว่า โดยที่เป็นการสมควรลดภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างสำหรับที่ดินหรือสิ่งปลูกสร้างบางประเภท อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 175 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย และมาตรา 55 แห่งพระราชบัญญัติภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง พ.ศ. 2562 จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตราพระราชกฤษฎีกาขึ้นไว้ ดังต่อไปนี้
มาตรา 1 พระราชกฤษฎีกานี้เรียกว่า "พระราชกฤษฎีกาลดภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง พ.ศ. 2563 มาตรา 2 พระราชกฤษฎีกานี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2563 เป็นต้นไป มาตรา 3 ให้ลดภาษี 50% ของจำนวนภาษีที่จะต้องเสียสำหรับที่ดินหรือสิ่งปลูกสร้าง ได้แก่ 1. ห้องชุด บุคคลธรรมดา ใช้เป็นที่อยู่อาศัย มีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้าน และได้จดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมก่อนวันที่ 13 มีนาคม พ.ศ. 2562
2. ที่ดินที่เป็นที่ตั้งของโรงผลิตไฟฟ้า และโรงผลิตไฟฟ้า ใช้ประโยชน์เกี่ยวเนื่องกับการผลิตไฟฟ้า 3. เขื่อนและพื้นที่เกี่ยวเนื่องกับเขื่อน ที่ใช้เพื่อการผลิตไฟฟ้า สำหรับที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง ได้ลดหย่อนภาษี 90% ได้แก่ ทรัพย์รอการขายของสถาบันการเงิน บริษัทบริหารสินทรัพย์ โดยให้เวลาไม่เกิน 5 ปี นับจากสิ่งปลูกสร้างและที่ดินนั้นตกเป็นของหน่วยงาน ขณะที่ดินหรือสิ่งปลูกสร้างของผู้ประกอบการที่อยู่ระหว่างพัฒนาเป็นโครงการจัดสรร เพื่อที่อยู่อาศัยตามกฎหมายว่าด้วยการจัดสรรที่ดิน และอาคารชุด ตามกฎหมายว่าด้วยอาคารชุด นิคมอุตสาหกรรม ให้เวลาไม่เกิน 3 ปีนับจากได้รับใบอนุญาต เป็นต้น
คลังส่งกฎหมายลูกภาษีที่ดินให้มหาดไทยครบ 8 ฉบับแล้ว รอลงนามประกาศใช้ต่อไป 2 ฉบับสุดท้าย "ที่ดินเพื่อการเกษตร-ที่อยู่อาศัย" ชี้กฎหมายระบุการใช้พื้นที่-ชนิดพืชชัดเจน ยันรายได้ กทม.ไม่ลด เหตุจัดเก็บ "คอนโดฯ-ที่รกร้าง" ได้เพิ่มเติม ย้ำประชาชนไม่ต้องไปแจ้งการใช้ประโยชน์ที่สำนักงานเขต
รายงานข่าวจากกระทรวงการคลังระบุว่า กระทรวงการคลังได้จัดทำร่างกฎหมายประกอบพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างครบทั้ง 8 ฉบับแล้ว โดยที่ส่งให้กระทรวงมหาดไทย 2 ฉบับสุดท้ายและสำคัญที่สุดคือ การใช้ประโยชน์ที่ดินเพื่อการเกษตร และที่อยู่อาศัย โดยในส่วนของที่ดินเพื่อการเกษตรนั้น จะมีการกำหนดเปอร์เซ็นต์ของการใช้พื้นที่ในการทำการเกษตรและระบุชนิดพืชที่สามารถปลูกได้ ส่วนที่มีการใช้พื้นที่ว่างเปล่าในกลางกรุงเทพฯ มาปลูกพืชเกษตรนั้น สามารถทำได้และจะถูกนับเป็นพื้นที่เพื่อการเกษตร แต่หากมูลค่าสูงกว่าเพดานที่กำหนด เจ้าของพื้นที่ก็ต้องเสียภาษีในส่วนที่เกินอยู่แล้ว
สำหรับเกณฑ์การใช้ประโยชน์ที่ดินและสิ่งปลูกสร้างเป็นที่อยู่อาศัย ซึ่งในประกาศดังกล่าวจะบอกชัดเจนว่าคอนโดมิเนียม ห้องชุด บ้าน โรงเรือน อาคาร ตึก ตึกแถว หรือสิ่งปลูกสร้างอื่นใด แม้ให้เช่า แต่หากนำไปใช้เป็นที่อยู่อาศัย จะเสียภาษีในอัตราที่อยู่อาศัย ทำให้ ผู้มีบ้านหรือคอนโดมิเนียมในมือจำนวนหลายห้อง หลายหลัง ไม่ต้องกังวลเรื่องภาระภาษี เพราะเสียภาษีในอัตราล้านละ 200 บาท ซึ่งเก็บในอัตราที่พักอาศัย จากเดิมเคยกังวลว่ามีบ้านหลังที่ 2 ต้องเสียภาษีในอัตราล้านละ 3,000 บาท ในอัตราเชิงพาณิชย์
ส่วนกรณีที่มีกระแสข่าวว่า การจัดเก็บภาษีตามพ.ร.บ.ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างทำให้รายได้ส่วนท้องถิ่น โดยเฉพาะกรุงเทพมหานคร (กทม.)ลดลงกว่าครึ่งหนึ่งนั้น เป็นไปไม่ได้ เพราะกทม.จะมีรายได้เข้ามาเพิ่มเติมคือ การจัดเก็บภาษีจากคอนโดมิเนียมและที่รกร้างว่างเปล่า ซึ่งไม่สามารถจัดเก็บได้ตามพ.ร.บ.ภาษีโรงเรือนและภาษีบำรุงท้องที่ จึงสามารถเข้ามาทดแทนจากอัตราภาษีที่ต่ำลงได้
"กระทรวงการคลังยืนยันอีกครั้งว่า การประเมินการจัดเก็บภาษีเป็นหน้าที่ของเจ้าหน้าที่ที่จะไปประเมินประเภทการใช้ประโยชน์ในที่ดินและสิ่งปลูกสร้างนั้นๆ ซึ่งในกฎหมายระบุไว้ชัดเจน กฎหมายไม่ได้ระบุว่า เป็นหน้าที่ของประชาชนที่จะต้องมาแจ้งประเภทการใช้ประโยชน์ในที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง ดังนั้นประชาชนทั่วไปไม่ต้องเดินทางไปแจ้งที่สำนักงานเขต แม้ว่าจะเลื่อนการยื่นเสียภาษีออกไปเป็นเดือนสิงหาคม 2563 ก็ตาม"
ด้านแหล่งข่าวกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น ระบุว่า ที่ดินที่อยู่ในข่ายพื้นที่เกษตรกรรม ตามเกณฑ์เรียกเก็บภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง ได้ยึด ตามระเบียบปฏิบัติพืชเศรษฐกิจของกระทรวงเกษตร ได้แก่ กล้วย กระท้อน กาแฟ มังคุด นาข้าว แม้บางรายการจะไม่ปรากฏในข้อบังคับ อย่างทุเรียน มะนาว ก็ให้ถือว่าเป็นพืชผลทางการเกษตรทั้งหมด โดยละไว้ในฐานที่เข้าใจ ส่วนจำนวน ต้นไม้ที่ปลูกพิจารณาตามขนาดของต้นไม่พุ่มไม้ เช่น กล้วย ต้องปลูก 200 ต้นต่อพื้นที่ 1 ไร่ หรือ ต้องกระจายเต็มพื้นที่ มีระยะห่างอย่างเหมาะสม ส่วนมังคุด มีขนาดพุ่มค่อนข้างกว้าง กระทรวงเกษตรฯ จึงกำหนดเพียง 16 ต้นต่อไร่ เป็นต้นนอกจากไม้ผลพืชไร่แล้ว แปลงเกษตรกรรม สามารถทำปศุสัตว์ บ่อเลี้ยงปลา เป็ด ไก่ ไร่นาสวนผสมได้อีกด้วย
สำหรับร่างประกาศ ประเภทไม้ผล และจำนวนไม้ผลบนที่ดินเกษตร ตามที่กระทรวงการคลัง ส่งให้ กระทรวงมหาดไทย ลงนามบังคับใช้ คาดว่า รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย (มท.1) พล.อ. อนุพงษ์ เผ่าจินดา จะลงนามได้ ภายในเดือนมกราคมนี้ และรอประกาศใช้ในราชกิจจานุเบกษาต่อไป
อย่างไรก็ตาม กรณีที่ดินกลางเมืองที่เปลี่ยนจากพื้นที่รกร้างว่างเปล่าเป็น แปลงเกษตรกรรม มองว่าเป็นเรื่องที่ดี แม้จะมีลำต้นขนาดเล็ก ก็ถือว่าทำการเกษตร สำหรับรายได้ที่คาดว่าจะลดน้อยลง เมื่อเทียบกับกฎหมายเก่า เป็นการคาดการณ์เบื้องต้น
นอกจากนี้ ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เว็บไซต์ราชกิจจานุเบกษา เผยแพร่พระราชกฤษฎีกา ลดภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง พ.ศ.2563 ความว่า พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรรามาธิบดีศรีสินทรมหาวชิราลงกรณ พระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ประกาศว่า โดยที่เป็นการสมควรลดภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างสำหรับที่ดินหรือสิ่งปลูกสร้างบางประเภท อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 175 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย และมาตรา 55 แห่งพระราชบัญญัติภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง พ.ศ. 2562 จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตราพระราชกฤษฎีกาขึ้นไว้ ดังต่อไปนี้
มาตรา 1 พระราชกฤษฎีกานี้เรียกว่า "พระราชกฤษฎีกาลดภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง พ.ศ. 2563 มาตรา 2 พระราชกฤษฎีกานี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2563 เป็นต้นไป มาตรา 3 ให้ลดภาษี 50% ของจำนวนภาษีที่จะต้องเสียสำหรับที่ดินหรือสิ่งปลูกสร้าง ได้แก่ 1. ห้องชุด บุคคลธรรมดา ใช้เป็นที่อยู่อาศัย มีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้าน และได้จดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมก่อนวันที่ 13 มีนาคม พ.ศ. 2562
2. ที่ดินที่เป็นที่ตั้งของโรงผลิตไฟฟ้า และโรงผลิตไฟฟ้า ใช้ประโยชน์เกี่ยวเนื่องกับการผลิตไฟฟ้า 3. เขื่อนและพื้นที่เกี่ยวเนื่องกับเขื่อน ที่ใช้เพื่อการผลิตไฟฟ้า สำหรับที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง ได้ลดหย่อนภาษี 90% ได้แก่ ทรัพย์รอการขายของสถาบันการเงิน บริษัทบริหารสินทรัพย์ โดยให้เวลาไม่เกิน 5 ปี นับจากสิ่งปลูกสร้างและที่ดินนั้นตกเป็นของหน่วยงาน ขณะที่ดินหรือสิ่งปลูกสร้างของผู้ประกอบการที่อยู่ระหว่างพัฒนาเป็นโครงการจัดสรร เพื่อที่อยู่อาศัยตามกฎหมายว่าด้วยการจัดสรรที่ดิน และอาคารชุด ตามกฎหมายว่าด้วยอาคารชุด นิคมอุตสาหกรรม ให้เวลาไม่เกิน 3 ปีนับจากได้รับใบอนุญาต เป็นต้น
ข่าวกฎหมายอสังหาฯ อื่นๆ