สั่งเทงบลง3เขตเศรษฐกิจพิเศษ!
วันที่ : 17 มกราคม 2563
นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกรัฐมนตรีเปิดเผยหลังเป็นประธานการประชุมมอบนโยบายการจัดทำงบประมาณรายจ่ายบูรณาการ ประจำปี งบประมาณ 2564 ว่าได้มอบหมายให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องไปจัดทำงบประมาณปี 64 ให้สอดคล้องกับนโยบายรัฐบาล
นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกรัฐมนตรีเปิดเผยหลังเป็นประธานการประชุมมอบนโยบายการจัดทำงบประมาณรายจ่ายบูรณาการ ประจำปี งบประมาณ 2564 ว่าได้มอบหมายให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องไปจัดทำงบประมาณปี 64 ให้สอดคล้องกับนโยบายรัฐบาลได้แก่การลงทุนในโครงการระเบียงเขตเศรษฐกิจภาคใต้ (SEC)โครงการระเบียงเขตเศรษฐกิจพิเศษภาคเหนือ (NEC) และเขตพัฒนาอุตสาหกรรมชีวภาพในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เนื่องจากทั้ง 3 โครงการ เป็นการพัฒนาเชิงพื้นที่ที่สามารถกระจายความเจริญและลดความเหลื่อมล้ำได้โดยมีโครงการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออก(EEC) เป็นโครงการที่มีความคืบหน้าเรื่องการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานไปพอสมควรแล้ว
ทั้งนี้งบประมาณในการพัฒนาทั้ง 3 โครงการ ส่วนหนึ่งให้นำมาจากโครงการพัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษชายแดนในพื้นที่ที่ยังไม่มีการลงทุนของเอกชนมากนัก เนื่องจากเขตเศรษฐกิจพิเศษชายแดนที่ส่งเสริมการลงทุนใน 10พื้นที่ชายแดน มีพื้นที่ซึ่งได้รับการตอบรับจากเอกชนเพียง 4 พื้นที่เท่านั้น ได้แก่เขตเศรษฐกิจพิเศษแม่สอด จ.ตาก เขตเศรษฐกิจพิเศษ จ.สงขลา เขตเศรษฐกิจพิเศษ จ.สระแก้ว และเขตเศรษฐกิจพิเศษ จ.มุกดาหาร ที่เหลือมีการลงทุนของภาคเอกชนไม่มากนัก "ตอนนี้การลงทุนโครงสร้างพื้นฐานในอีอีซีคืบหน้ามากแล้วสิ่งที่ต้องดำเนินการต่อไปคือเร่งให้เกิดการลงทุนในระเบียงเศรษฐกิจภาคใต้ภาคเหนือและไบโอฮับในพื้นที่ภาคอีสานซึ่งจะเชื่อมโยงการพัฒนาเศรษฐกิจจากอีอีซีไปยังพื้นที่เศรษฐกิจอื่นๆ และช่วยการพัฒนาเศรษฐกิจเชิงพื้นที่จึงให้สำนักงบประมาณและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องไปตรวจสอบว่าต้องมีงบประมาณในการเริ่มต้นโครงการเหล่านี้ และให้สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ(สศช.)ไปดูโครงสร้างการบริหารจัดการโครงการที่จะเกิดขึ้นเพื่อให้เกิดการขับเคลื่อนได้อย่างแท้จริง".
ทั้งนี้งบประมาณในการพัฒนาทั้ง 3 โครงการ ส่วนหนึ่งให้นำมาจากโครงการพัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษชายแดนในพื้นที่ที่ยังไม่มีการลงทุนของเอกชนมากนัก เนื่องจากเขตเศรษฐกิจพิเศษชายแดนที่ส่งเสริมการลงทุนใน 10พื้นที่ชายแดน มีพื้นที่ซึ่งได้รับการตอบรับจากเอกชนเพียง 4 พื้นที่เท่านั้น ได้แก่เขตเศรษฐกิจพิเศษแม่สอด จ.ตาก เขตเศรษฐกิจพิเศษ จ.สงขลา เขตเศรษฐกิจพิเศษ จ.สระแก้ว และเขตเศรษฐกิจพิเศษ จ.มุกดาหาร ที่เหลือมีการลงทุนของภาคเอกชนไม่มากนัก "ตอนนี้การลงทุนโครงสร้างพื้นฐานในอีอีซีคืบหน้ามากแล้วสิ่งที่ต้องดำเนินการต่อไปคือเร่งให้เกิดการลงทุนในระเบียงเศรษฐกิจภาคใต้ภาคเหนือและไบโอฮับในพื้นที่ภาคอีสานซึ่งจะเชื่อมโยงการพัฒนาเศรษฐกิจจากอีอีซีไปยังพื้นที่เศรษฐกิจอื่นๆ และช่วยการพัฒนาเศรษฐกิจเชิงพื้นที่จึงให้สำนักงบประมาณและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องไปตรวจสอบว่าต้องมีงบประมาณในการเริ่มต้นโครงการเหล่านี้ และให้สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ(สศช.)ไปดูโครงสร้างการบริหารจัดการโครงการที่จะเกิดขึ้นเพื่อให้เกิดการขับเคลื่อนได้อย่างแท้จริง".
ข่าวเขตเศรษฐกิจพิเศษ อื่นๆ