ไฮสปีด-อู่ตะเภา ขยับ ที่นาแปดริว-ไร่มันบ้านฉาง พุ่ง 500%
วันที่ : 16 มกราคม 2563
เขตพัฒนาเศรษฐกิจภาคตะวันออก หรืออีอีซี คึกคักขึ้นหลัง 2 อภิมหาโปรเจ็กต์ โครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน(ดอนเมือง-สุวรรณภูมิอู่ตะเภา) และ สนามบินอู่ตะเภา
เขตพัฒนาเศรษฐกิจภาคตะวันออก หรืออีอีซี คึกคักขึ้นหลัง 2 อภิมหาโปรเจ็กต์ โครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน(ดอนเมือง-สุวรรณภูมิอู่ตะเภา) และ สนามบินอู่ตะเภา เมืองการบิน มีความเคลื่อนไหว สร้างความมั่นใจให้กับนักลงทุน เข้าปักหมุดในพื้นที่ "ฐานเศรษฐกิจ" สำรวจพบตลอดเส้นทางบนถนนสุขุมวิท มุ่งหน้าไปยังอำเภอบ้านฉาง จังหวัดระยอง เกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างมากจากไร่มันสำปะหลัง ไร่สับปะรด ถูกแผ้วถาง กลายเป็นโชว์รูม หลายแปลงถูกล้อมรั้วรอพัฒนา ขณะราคาที่ดินขยับแรง สูงสุดไร่ละ 40 ล้านบาท แนวโน้มจะทะยานขึ้นอีกหลายเท่าตัวหาก สนามบินไฮสปีด แล้วเสร็จ เปิดให้บริการ โดยเฉพาะรัศมีรอบสนามบินอู่ตะเภา เห็นการเปลี่ยนแปลงชัดเจนจนกระทั่งดีเวลอปเปอร์ในพื้นที่ ต่างระบุเป็นเสียงเดียวกันว่า อนาคตที่ดิน ทำเลบ้านฉางอาจจะพัฒนาทาวน์โฮม ทาวน์เฮาส์ บ้านเดี่ยว รองรับกำลังซื้อที่มีอยู่ได้ยากขึ้น เนื่องจากที่ดินแพง
จากการยืนยันของนายเปรมสรณ์ ศรีวิบูลย์ชัย นายกสมาคมการค้าอสังหาริมทรัพย์จังหวัดระยอง ระบุว่า ราคาที่ดิน อำเภอบ้านฉาง ขยับขึ้นตั้งแต่รัฐบาลฉายภาพเคลื่อนไหวแอนิเมชัน ไฮสปีดเชื่อม 3 สนามบิน และการพัฒนามหานครการบินอู่ตะเภา ปี 2558 สร้างความฮือฮาให้กับคนในพื้นที่ ส่งผลให้ราคาที่ดินขยับขึ้นหลายเท่าตัว ทำเลติดถนนสุขุมวิท ห่างจากที่ตั้งของสนามบินอู่ตะเภา ประมาณ 10 กิโลเมตร จากราคา 3-4 ล้านบาทต่อไร่ พุ่งไปที่ 8 ล้านบาท ต่อไร่ ด้านในซอย 1-2 ล้านบาทต่อไร่เป็น 3-4 ล้านบาทต่อไร่ และหยุดนิ่งทรงตัว เรื่อยมาจนถึง ปี 2562 เนื่องจากไฮสปีดคาราคาซังยังไม่ลงนามในสัญญา เช่นเดียวกับอู่ตะเภาที่ยังไม่ขยับ อย่างไรก็ตาม ราคาที่ดิน เคลื่อนไหวอีกครั้งเมื่อปลายปี 2562 มีการลงนามในสัญญาไฮสปีด และสนามบินอู่ตะเภาเดินหน้าประมูล ส่งผลให้ราคาที่ดินขยับขึ้น 500% ในระยะเวลาอันสั้น ติดถนนสุขุมวิท ราคาขยับ เป็น 40 ล้านบาทต่อไร่ เช่นเดียวกับตำบลพลา ชายหาดสถานที่ท่องเที่ยวสำคัญที่ปัจจุบันเป็นทำเลทองของ บิ๊กทุนจากกรุงเทพฯ จับจองพื้นที่ เนื่องจากใกล้สนามบินมากที่สุด
อนาคตนับจากนี้ ทำเลบ้านฉาง จากโซนที่อยู่อาศัยชั้นดี จะไม่สามารถพัฒนาทาวน์โฮม ทาวน์เฮาส์ ราคา 2 ล้านบาท หรือบ้านเดี่ยวราคา 3-4 ล้านบาท ได้อีกต่อไป นอกจากคอนโดมิเนียม กับโชว์รูม เพราะเอกชนสู้ราคาที่ดินไม่ไหว
สอดคล้องกับ นายวัชระ ปิ่นเจริญ นายกสมาคมการค้าอสังหาริมทรัพย์ฉะเชิงเทรา ระบุว่าราคาที่ดินโดยรอบสถานีไฮสปีดฉะเชิงเทราแห่งใหม่ ตำบลวังตะเคียนกลายเป็นทำเลทองรองรับการพัฒนาเชิงพาณิชย์จากที่นา ไม่มีราคา ไร่ละ 1-2 ล้านบาทในอดีต ปัจจุบันขยับขึ้น 12 ล้านบาทต่อไร่ หรือ 1,000% อนาคตน่าจะเป็นย่านพาณิชยกรรม เมืองที่อยู่อาศัย เปิดพื้นที่ลงทุนใหม่ๆ ที่น่าจับตา เมื่อไฮสปีดและสนามบินอู่ตะเภา เดินหน้าก่อสร้าง
จากการยืนยันของนายเปรมสรณ์ ศรีวิบูลย์ชัย นายกสมาคมการค้าอสังหาริมทรัพย์จังหวัดระยอง ระบุว่า ราคาที่ดิน อำเภอบ้านฉาง ขยับขึ้นตั้งแต่รัฐบาลฉายภาพเคลื่อนไหวแอนิเมชัน ไฮสปีดเชื่อม 3 สนามบิน และการพัฒนามหานครการบินอู่ตะเภา ปี 2558 สร้างความฮือฮาให้กับคนในพื้นที่ ส่งผลให้ราคาที่ดินขยับขึ้นหลายเท่าตัว ทำเลติดถนนสุขุมวิท ห่างจากที่ตั้งของสนามบินอู่ตะเภา ประมาณ 10 กิโลเมตร จากราคา 3-4 ล้านบาทต่อไร่ พุ่งไปที่ 8 ล้านบาท ต่อไร่ ด้านในซอย 1-2 ล้านบาทต่อไร่เป็น 3-4 ล้านบาทต่อไร่ และหยุดนิ่งทรงตัว เรื่อยมาจนถึง ปี 2562 เนื่องจากไฮสปีดคาราคาซังยังไม่ลงนามในสัญญา เช่นเดียวกับอู่ตะเภาที่ยังไม่ขยับ อย่างไรก็ตาม ราคาที่ดิน เคลื่อนไหวอีกครั้งเมื่อปลายปี 2562 มีการลงนามในสัญญาไฮสปีด และสนามบินอู่ตะเภาเดินหน้าประมูล ส่งผลให้ราคาที่ดินขยับขึ้น 500% ในระยะเวลาอันสั้น ติดถนนสุขุมวิท ราคาขยับ เป็น 40 ล้านบาทต่อไร่ เช่นเดียวกับตำบลพลา ชายหาดสถานที่ท่องเที่ยวสำคัญที่ปัจจุบันเป็นทำเลทองของ บิ๊กทุนจากกรุงเทพฯ จับจองพื้นที่ เนื่องจากใกล้สนามบินมากที่สุด
อนาคตนับจากนี้ ทำเลบ้านฉาง จากโซนที่อยู่อาศัยชั้นดี จะไม่สามารถพัฒนาทาวน์โฮม ทาวน์เฮาส์ ราคา 2 ล้านบาท หรือบ้านเดี่ยวราคา 3-4 ล้านบาท ได้อีกต่อไป นอกจากคอนโดมิเนียม กับโชว์รูม เพราะเอกชนสู้ราคาที่ดินไม่ไหว
สอดคล้องกับ นายวัชระ ปิ่นเจริญ นายกสมาคมการค้าอสังหาริมทรัพย์ฉะเชิงเทรา ระบุว่าราคาที่ดินโดยรอบสถานีไฮสปีดฉะเชิงเทราแห่งใหม่ ตำบลวังตะเคียนกลายเป็นทำเลทองรองรับการพัฒนาเชิงพาณิชย์จากที่นา ไม่มีราคา ไร่ละ 1-2 ล้านบาทในอดีต ปัจจุบันขยับขึ้น 12 ล้านบาทต่อไร่ หรือ 1,000% อนาคตน่าจะเป็นย่านพาณิชยกรรม เมืองที่อยู่อาศัย เปิดพื้นที่ลงทุนใหม่ๆ ที่น่าจับตา เมื่อไฮสปีดและสนามบินอู่ตะเภา เดินหน้าก่อสร้าง
ข่าวเขตเศรษฐกิจพิเศษ อื่นๆ