ผังเมือง ปลดล็อก 10นิคมฯ
วันที่ : 26 ธันวาคม 2562
"กนอ." เผยผังเมืองอีอีซี ปลดล็อกตั้งนิคมฯใหม่ 10 แห่ง พื้นที่ 1.8 หมื่นไร่ ระบุปีงบประมาณ 2562 ยอดขายที่ดินนิคมฯ กนอ.ในอีอีซีแตะ 1.9 พันไร่ เพิ่มขึ้น 98% ชี้ "อีสท์วอเตอร์" ขึ้นค่าน้ำ 10-15% ไม่กระทบ โรงงาน
"กนอ." เผยผังเมืองอีอีซี ปลดล็อกตั้งนิคมฯใหม่ 10 แห่ง พื้นที่ 1.8 หมื่นไร่ ระบุปีงบประมาณ 2562 ยอดขายที่ดินนิคมฯ กนอ.ในอีอีซีแตะ 1.9 พันไร่ เพิ่มขึ้น 98% ชี้ "อีสท์วอเตอร์" ขึ้นค่าน้ำ 10-15% ไม่กระทบ โรงงาน
นางสาวสมจิณณ์ พิลึก ผู้ว่าการการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (กนอ.) เปิดเผยว่า ในขณะนี้มีผู้ประกอบการ นิคมอุตสาหกรรมได้แสดงความสนใจที่จะตั้ง นิคมอุตสาหกรรมในพื้นที่เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (อีอีซี) ประกอบด้วย จ.ชลบุรี จ.ระยอง และ จ.ฉะเชิงเทรา เป็นจำนวน 18 โครงการ มีพื้นที่ 3.5 หมื่นไร่
ทั้งนี้ ยังติดปัญหาผังเมืองไม่สามารถจะตั้งนิคมฯได้ แต่หลังจากที่คณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (กพอ.) ได้ประกาศแผนผังการใช้ประโยชน์ในที่ดินและแผนผังการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน และระบบสาธารณูปโภคเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก พ.ศ.2562 ได้มีการปรับพื้นที่สำหรับภาคอุตสาหกรรม หรือพื้นที่สีม่วง เพิ่มขึ้น ส่งผลให้ผู้พัฒนานิคมอุตสาหกรรม 18 ราย ได้ปรับการปรับผังเมืองเป็นสีม่วง จำนวน 10 โครงการ มีพื้นที่ประมาณ 1.82 หมื่นไร่ และอีก 8 โครงการ มีพื้นที่ 1.72 หมื่นไร่ ไม่ได้รับการปรับผังสี
สำหรับโครงการจัดตั้งนิคมอุตสาหกรรมที่ได้รับการปรับผังเมืองเป็นสีม่วง ก็จะเข้าสู่กระบวนการเพื่อขออนุญาตตั้งนิคมอุตสาหกรรม โดยผู้ประกอบการจะต้องยื่นเอกสารให้ กนอ. พิจารณาคุณสมบัติการตั้งนิคมอุตสาหกรรม
จากนั้นจะนำเสนอเข้าที่ประชุม คณะกรรมการ กนอ.เพื่อให้ความเห็นชอบในหลักการเพื่อตั้งนิคมอุตสาหกรรม และผู้ประกอบการจะต้องกลับไปจัดทำรายงานวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม (อีไอเอ) ในขั้นตอนนี้จะใช้เวลาประมาณ 1 ปี ถึง 1 ปีครึ่ง จากนั้นจะส่งเข้าคณะกรรมการ กนอ. พิจารณาแล้วจึงจะประกาศเป็นนิคมอุตสาหกรรมได้ โดยรวมแล้วจะใช้เวลาทั้งหมด ประมาณ 2 ปี
ขาย-เช่าพื้นที่นิคมฯสูงขึ้น59%
ส่วนยอดขายหรือเช่าที่ดินของนิคมอุตสาหกรรมของ กนอ.ในปีงบประมาณ 2562 มีจำนวน 93 ราย ลดลงจากปีก่อน 13% มีพื้นที่ 2,183 ไร่ สูงกว่าปีก่อน 59% แบ่งเป็น พื้นที่อีอีซี 1,963 ไร่ เพิ่มขึ้น 98% นอกพื้นที่อีอีซี 219 ไร่ ลดลง 43%
อุตสาหกรรมที่เข้ามาลงทุนส่วนใหญ่ จะเป็นอุตสาหกรรมเหล็กและผลิตภัณฑ์โลหะ รองลงมาเป็นอุตสาหกรรมยานยนต์และการขนส่ง อุตสาหกรรมยาง และพลาสติก อุตสาหกรรมเครื่องยนต์ เครื่องจักร และอะไหล่ และอุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้า อิเล็กทรอนิกส์ ประเทศที่เข้ามาลงทุน 5 อันดับแรก ได้แก่ ญี่ปุ่น จีน ฮ่องกง มาเลเซียและสหรัฐ
รวมทั้งในปีงบประมาณ 2562 ผู้ประกอบการ ที่เข้ามาลงทุนในนิคมอุตสาหกรรม ทั้งหมด 30,527 ล้านบาท เทียบช่วงเดียวกันกับปีงบประมาณก่อนหน้าลดลง 23% ก่อให้เกิด การจ้างงาน 5,512 คน เพิ่มขึ้น 60% และมียอดขาย หรือเช่าที่ดินเพิ่มขึ้น 807 ไร่ จาก 1,376 ไร่ เป็น 2,183 ไร่ หรือเพิ่มขึ้น 59%
ลงทุนจริงหลังซื้อที่ดิน1-3ปี
"เม็ดเงินลงทุนในนิคมอุตสาหกรรมของ กนอ. ที่ลดลง 23% สวนทางกับยอดขาย พื้นที่ที่เพิ่มขึ้นถึง 59% เนื่องมาจากการเก็บตัวเลขที่จะบันทึกตัวเลขเงินลงทุนก็ต่อเมื่อสร้างโรงงานเสร็จ และตัวเลขการลงทุน ก็มาจากการยื่นขอซื้อที่ดินเมื่อปี 2558-2560 ที่ทยอยลงทุนและเปิดโรงงานในปีนี้ ซึ่งตัวเลขการซื้อที่ดินที่เพิ่มขึ้นในปี 2561-2562 จะสะท้อนตัวเลขการลงทุนหลังจากนี้ 1-3 ปี" นางสาวสมจิณณ์ กล่าว
สำหรับยอดปิดกิจการในนิคมอุตสาหกรรม ของ กนอ.ในปีงบประมาณ 2562 มีจำนวน 41 โรงงาน เพิ่มขึ้นเล็กน้อยเมื่อเทียบกับปี 2561 ที่มีจำนวน 33 แห่ง และปี 2560 จำนวน 35 โรง โดยโรงงานที่ปิดตัวส่วนใหญ่เป็นโรงงาน ขนาดเล็ก ที่เข้ามาเช่าโรงงาน เพื่อผลิตสินค้า หรือ นำเข้า เพื่อทดสอบตลาดภายในประเทศ ซึ่งจะมี สัญญาเช่า 3 ปี ซึ่งเมื่อหมดสัญญาเช่าหากสินค้าเจาะตลาดไม่ได้ก็ปิดกิจการ โดยเป็นเรื่องปกติ ส่วนอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ ยังไม่มีการปิดตัว
คาดย้ายฐานหนีเทรดวอร์เพิ่ม
นางสาวสมจิณณ์ กล่าวว่า ทิศทางการดำเนินงานในปีงบประมาณ 2563 กนอ. ตั้งเป้าขายหรือเช่าที่ดินในนิคมอุตสาหกรรมของ กนอ.จะขยายตัวกว่าปีที่ผ่านมา ไม่ต่ำกว่า 5% เนื่องจากปีหน้ามีแนวโน้มที่ดี เพราะมีปัจจัยบวกที่ส่งเสริมการลงทุนมากขึ้น จากการที่รัฐบาลประกาศใช้มาตรการต่างๆ ที่มีประสิทธิภาพเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ
รวมถึงนโยบายส่งเสริมการลงทุนทั้งสิทธิประโยชนด้านภาษีและไม่ใช่ภาษี และการเร่งขับเคลื่อนโครงการขนาดใหญ่ในพื้นที่ อีอีซีมีความคืบหน้าอย่างเป็นรูปธรรม ทั้งโครงการพัฒนาท่าเรืออุตสาหกรรมมาบตาพุดระยะที่ 3 (ช่วงที่ 1) โครงการรถไฟความเร็วสูง เชื่อม 3 สนามบิน โครงการท่าเรือแหลมฉบัง ระยะที่ 3 และโครงการพัฒนาเมืองการบินและ สนามบินอู่ตะเภา ล้วนเป็นปัจจัยสำคัญที่จะดึงดูดการลงทุนให้เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง ส่งผล ให้ภาพรวมการลงทุนในปีงบประมาณ 2563 มีทิศทางการเติบโตได้อย่างแน่นอน
ทั้งนี้ การลงทุนในปี 2563 จะต้องจับตา สภาวะเศรษฐกิจโลกยังคงชะลอตัว เงินบาท แข็งค่า การที่สหรัฐระงับสิทธิพิเศษทางศุลกากร (จีเอสพี) สินค้าส่งออกจากไทย รวมถึงสงคราม การค้าระหว่างจีนกับสหรัฐที่ยังไม่มีข้อยุติ ประเด็นดังกล่าวอาจจะทำให้นักลงทุนพิจารณาย้ายฐานการผลิตมายังประเทศไทย แต่ก็อาจส่งผลกระทบต่อการลงทุนเพื่อขยายกิจการหรือตั้งโรงงานใหม่ของผู้ประกอบการรายเดิมด้วยเช่นกัน โดยในส่วนของ กนอ.ได้มีมาตรการที่รอบคอบ และรัดกุม ในการเฝ้าติดตามสถานการณ์ดังกล่าวอย่างใกล้ชิด เพื่อเตรียมรับมือกับการเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้นให้ทันท่วงที
ไม่ห่วงอีสวอเตอร์ขึ้นค่าน้ำ
นางสาวสมจิณณ์ กล่าวว่า สำหรับกรณีที่ บริษัทจัดการและพัฒนาทรัพยากรน้ำภาคตะวันออก จำกัด (มหาชน) หรือ อีสท์วอเตอร์ ซึ่งเป็นหน่วยงานหลักในการจำหน่ายน้ำให้กับ ภาคอุตสาหกรรมในภาคตะวันออก จะปรับขึ้น ค่าน้ำนั้น จะเป็นการปรับสูตรคำนวณค่าน้ำใหม่ ที่คาดว่าจะทำให้ค่าน้ำสูงขึ้นประมาณ 10-15% โดยมีเป้าหมายให้ผู้ประกอบการประหยัดการใช้น้ำมากขึ้น
ทั้งนี้ แม้ว่าค่าน้ำจะสูงขึ้น แต่เมื่อเทียบกับ ประเทศคู่แข่งในภูมิภาคนี้ เช่น มาเลเซีย และสิงคโปร์ พบว่าค่าน้ำของไทยยังถูกกว่า รวมทั้ง ต้นทุนค่าน้ำก็คิดเป็นสัดส่วนไม่ถึง 10% ของต้นทุนการผลิตทั้งหมด จึงมองว่าการขึ้นค่าน้ำจะส่งผลกระทบกับผู้ประกอบการไม่มาก
ในส่วนของ กนอ. ก็ได้ให้ทุกนิคมฯ ลงทุน เทคโนโลยีบำบัดน้ำเสียให้เป็นน้ำดีนำกลับมา ใช้ใหม่ให้เพิ่มขึ้นไม่ต่ำกว่า 15% ในส่วนนิคม อุตสาหกรรมของ กนอ.ก็นำน้ำกลับมาใช้ใหม่ ไม่ต่ำกว่า 20% แล้ว และจะปรับปรุงให้มีสัดส่วน เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ
โครงการตั้งนิคมฯที่ได้รับการปรับผังเมืองเป็นสีม่วงจะทยอยเข้าสู่กระบวนการอนุญาตให้ตั้งนิคมฯใหม่
นางสาวสมจิณณ์ พิลึก ผู้ว่าการการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (กนอ.) เปิดเผยว่า ในขณะนี้มีผู้ประกอบการ นิคมอุตสาหกรรมได้แสดงความสนใจที่จะตั้ง นิคมอุตสาหกรรมในพื้นที่เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (อีอีซี) ประกอบด้วย จ.ชลบุรี จ.ระยอง และ จ.ฉะเชิงเทรา เป็นจำนวน 18 โครงการ มีพื้นที่ 3.5 หมื่นไร่
ทั้งนี้ ยังติดปัญหาผังเมืองไม่สามารถจะตั้งนิคมฯได้ แต่หลังจากที่คณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (กพอ.) ได้ประกาศแผนผังการใช้ประโยชน์ในที่ดินและแผนผังการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน และระบบสาธารณูปโภคเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก พ.ศ.2562 ได้มีการปรับพื้นที่สำหรับภาคอุตสาหกรรม หรือพื้นที่สีม่วง เพิ่มขึ้น ส่งผลให้ผู้พัฒนานิคมอุตสาหกรรม 18 ราย ได้ปรับการปรับผังเมืองเป็นสีม่วง จำนวน 10 โครงการ มีพื้นที่ประมาณ 1.82 หมื่นไร่ และอีก 8 โครงการ มีพื้นที่ 1.72 หมื่นไร่ ไม่ได้รับการปรับผังสี
สำหรับโครงการจัดตั้งนิคมอุตสาหกรรมที่ได้รับการปรับผังเมืองเป็นสีม่วง ก็จะเข้าสู่กระบวนการเพื่อขออนุญาตตั้งนิคมอุตสาหกรรม โดยผู้ประกอบการจะต้องยื่นเอกสารให้ กนอ. พิจารณาคุณสมบัติการตั้งนิคมอุตสาหกรรม
จากนั้นจะนำเสนอเข้าที่ประชุม คณะกรรมการ กนอ.เพื่อให้ความเห็นชอบในหลักการเพื่อตั้งนิคมอุตสาหกรรม และผู้ประกอบการจะต้องกลับไปจัดทำรายงานวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม (อีไอเอ) ในขั้นตอนนี้จะใช้เวลาประมาณ 1 ปี ถึง 1 ปีครึ่ง จากนั้นจะส่งเข้าคณะกรรมการ กนอ. พิจารณาแล้วจึงจะประกาศเป็นนิคมอุตสาหกรรมได้ โดยรวมแล้วจะใช้เวลาทั้งหมด ประมาณ 2 ปี
ขาย-เช่าพื้นที่นิคมฯสูงขึ้น59%
ส่วนยอดขายหรือเช่าที่ดินของนิคมอุตสาหกรรมของ กนอ.ในปีงบประมาณ 2562 มีจำนวน 93 ราย ลดลงจากปีก่อน 13% มีพื้นที่ 2,183 ไร่ สูงกว่าปีก่อน 59% แบ่งเป็น พื้นที่อีอีซี 1,963 ไร่ เพิ่มขึ้น 98% นอกพื้นที่อีอีซี 219 ไร่ ลดลง 43%
อุตสาหกรรมที่เข้ามาลงทุนส่วนใหญ่ จะเป็นอุตสาหกรรมเหล็กและผลิตภัณฑ์โลหะ รองลงมาเป็นอุตสาหกรรมยานยนต์และการขนส่ง อุตสาหกรรมยาง และพลาสติก อุตสาหกรรมเครื่องยนต์ เครื่องจักร และอะไหล่ และอุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้า อิเล็กทรอนิกส์ ประเทศที่เข้ามาลงทุน 5 อันดับแรก ได้แก่ ญี่ปุ่น จีน ฮ่องกง มาเลเซียและสหรัฐ
รวมทั้งในปีงบประมาณ 2562 ผู้ประกอบการ ที่เข้ามาลงทุนในนิคมอุตสาหกรรม ทั้งหมด 30,527 ล้านบาท เทียบช่วงเดียวกันกับปีงบประมาณก่อนหน้าลดลง 23% ก่อให้เกิด การจ้างงาน 5,512 คน เพิ่มขึ้น 60% และมียอดขาย หรือเช่าที่ดินเพิ่มขึ้น 807 ไร่ จาก 1,376 ไร่ เป็น 2,183 ไร่ หรือเพิ่มขึ้น 59%
ลงทุนจริงหลังซื้อที่ดิน1-3ปี
"เม็ดเงินลงทุนในนิคมอุตสาหกรรมของ กนอ. ที่ลดลง 23% สวนทางกับยอดขาย พื้นที่ที่เพิ่มขึ้นถึง 59% เนื่องมาจากการเก็บตัวเลขที่จะบันทึกตัวเลขเงินลงทุนก็ต่อเมื่อสร้างโรงงานเสร็จ และตัวเลขการลงทุน ก็มาจากการยื่นขอซื้อที่ดินเมื่อปี 2558-2560 ที่ทยอยลงทุนและเปิดโรงงานในปีนี้ ซึ่งตัวเลขการซื้อที่ดินที่เพิ่มขึ้นในปี 2561-2562 จะสะท้อนตัวเลขการลงทุนหลังจากนี้ 1-3 ปี" นางสาวสมจิณณ์ กล่าว
สำหรับยอดปิดกิจการในนิคมอุตสาหกรรม ของ กนอ.ในปีงบประมาณ 2562 มีจำนวน 41 โรงงาน เพิ่มขึ้นเล็กน้อยเมื่อเทียบกับปี 2561 ที่มีจำนวน 33 แห่ง และปี 2560 จำนวน 35 โรง โดยโรงงานที่ปิดตัวส่วนใหญ่เป็นโรงงาน ขนาดเล็ก ที่เข้ามาเช่าโรงงาน เพื่อผลิตสินค้า หรือ นำเข้า เพื่อทดสอบตลาดภายในประเทศ ซึ่งจะมี สัญญาเช่า 3 ปี ซึ่งเมื่อหมดสัญญาเช่าหากสินค้าเจาะตลาดไม่ได้ก็ปิดกิจการ โดยเป็นเรื่องปกติ ส่วนอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ ยังไม่มีการปิดตัว
คาดย้ายฐานหนีเทรดวอร์เพิ่ม
นางสาวสมจิณณ์ กล่าวว่า ทิศทางการดำเนินงานในปีงบประมาณ 2563 กนอ. ตั้งเป้าขายหรือเช่าที่ดินในนิคมอุตสาหกรรมของ กนอ.จะขยายตัวกว่าปีที่ผ่านมา ไม่ต่ำกว่า 5% เนื่องจากปีหน้ามีแนวโน้มที่ดี เพราะมีปัจจัยบวกที่ส่งเสริมการลงทุนมากขึ้น จากการที่รัฐบาลประกาศใช้มาตรการต่างๆ ที่มีประสิทธิภาพเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ
รวมถึงนโยบายส่งเสริมการลงทุนทั้งสิทธิประโยชนด้านภาษีและไม่ใช่ภาษี และการเร่งขับเคลื่อนโครงการขนาดใหญ่ในพื้นที่ อีอีซีมีความคืบหน้าอย่างเป็นรูปธรรม ทั้งโครงการพัฒนาท่าเรืออุตสาหกรรมมาบตาพุดระยะที่ 3 (ช่วงที่ 1) โครงการรถไฟความเร็วสูง เชื่อม 3 สนามบิน โครงการท่าเรือแหลมฉบัง ระยะที่ 3 และโครงการพัฒนาเมืองการบินและ สนามบินอู่ตะเภา ล้วนเป็นปัจจัยสำคัญที่จะดึงดูดการลงทุนให้เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง ส่งผล ให้ภาพรวมการลงทุนในปีงบประมาณ 2563 มีทิศทางการเติบโตได้อย่างแน่นอน
ทั้งนี้ การลงทุนในปี 2563 จะต้องจับตา สภาวะเศรษฐกิจโลกยังคงชะลอตัว เงินบาท แข็งค่า การที่สหรัฐระงับสิทธิพิเศษทางศุลกากร (จีเอสพี) สินค้าส่งออกจากไทย รวมถึงสงคราม การค้าระหว่างจีนกับสหรัฐที่ยังไม่มีข้อยุติ ประเด็นดังกล่าวอาจจะทำให้นักลงทุนพิจารณาย้ายฐานการผลิตมายังประเทศไทย แต่ก็อาจส่งผลกระทบต่อการลงทุนเพื่อขยายกิจการหรือตั้งโรงงานใหม่ของผู้ประกอบการรายเดิมด้วยเช่นกัน โดยในส่วนของ กนอ.ได้มีมาตรการที่รอบคอบ และรัดกุม ในการเฝ้าติดตามสถานการณ์ดังกล่าวอย่างใกล้ชิด เพื่อเตรียมรับมือกับการเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้นให้ทันท่วงที
ไม่ห่วงอีสวอเตอร์ขึ้นค่าน้ำ
นางสาวสมจิณณ์ กล่าวว่า สำหรับกรณีที่ บริษัทจัดการและพัฒนาทรัพยากรน้ำภาคตะวันออก จำกัด (มหาชน) หรือ อีสท์วอเตอร์ ซึ่งเป็นหน่วยงานหลักในการจำหน่ายน้ำให้กับ ภาคอุตสาหกรรมในภาคตะวันออก จะปรับขึ้น ค่าน้ำนั้น จะเป็นการปรับสูตรคำนวณค่าน้ำใหม่ ที่คาดว่าจะทำให้ค่าน้ำสูงขึ้นประมาณ 10-15% โดยมีเป้าหมายให้ผู้ประกอบการประหยัดการใช้น้ำมากขึ้น
ทั้งนี้ แม้ว่าค่าน้ำจะสูงขึ้น แต่เมื่อเทียบกับ ประเทศคู่แข่งในภูมิภาคนี้ เช่น มาเลเซีย และสิงคโปร์ พบว่าค่าน้ำของไทยยังถูกกว่า รวมทั้ง ต้นทุนค่าน้ำก็คิดเป็นสัดส่วนไม่ถึง 10% ของต้นทุนการผลิตทั้งหมด จึงมองว่าการขึ้นค่าน้ำจะส่งผลกระทบกับผู้ประกอบการไม่มาก
ในส่วนของ กนอ. ก็ได้ให้ทุกนิคมฯ ลงทุน เทคโนโลยีบำบัดน้ำเสียให้เป็นน้ำดีนำกลับมา ใช้ใหม่ให้เพิ่มขึ้นไม่ต่ำกว่า 15% ในส่วนนิคม อุตสาหกรรมของ กนอ.ก็นำน้ำกลับมาใช้ใหม่ ไม่ต่ำกว่า 20% แล้ว และจะปรับปรุงให้มีสัดส่วน เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ
โครงการตั้งนิคมฯที่ได้รับการปรับผังเมืองเป็นสีม่วงจะทยอยเข้าสู่กระบวนการอนุญาตให้ตั้งนิคมฯใหม่
ข่าวเขตเศรษฐกิจพิเศษ อื่นๆ