ร่าง ผังรวม ใหม่สร้างเมืองอัจฉริยะ
วันที่ : 23 ธันวาคม 2562
นายสมชาย เดชากรณ์ ผู้อำนวยการสำนักการวางผังและพัฒนาเมือง กทม. เปิดเผยว่า การจัดทำร่างผังเมืองรวมกรุงเทพมหานครฉบับใหม่ (ปรับปรุงครั้งที่ 4) ได้กำหนดให้มีความสอดคล้องกับการส่งเสริมให้กรุงเทพ มหานครมุ่งสู่ความเป็นเมืองอัจฉริยะ
ปรับพื้นที่ช่วยปชช.เดือดร้อน
นายสมชาย เดชากรณ์ ผู้อำนวยการสำนักการวางผังและพัฒนาเมือง กทม. เปิดเผยว่า การจัดทำร่างผังเมืองรวมกรุงเทพมหานครฉบับใหม่ (ปรับปรุงครั้งที่ 4) ได้กำหนดให้มีความสอดคล้องกับการส่งเสริมให้กรุงเทพ มหานครมุ่งสู่ความเป็นเมืองอัจฉริยะ (Smart City) และการปรับเปลี่ยนพื้นที่อนุรักษ์ชนบทและเกษตรกรรมฝั่งตะวันออกของกรุงเทพ มหานคร ซึ่งผังเมืองรวมกรุงเทพมหานครนั้นเป็นเครื่องมือทางกฎหมายเพื่อคุ้มครองความปลอดภัย สุขลักษณะและสวัสดิภาพให้กับประชาชน พร้อมทั้งส่งเสริมให้ประชาชนมีคุณภาพชีวิตที่ดี สมดุลกับศักยภาพพื้นที่ ด้วยการควบคุมกิจกรรมการใช้ประโยชน์ที่ดิน ความหนาแน่นของอาคาร และการกำหนดมาตรการทางผังเมืองต่างๆ ให้เหมาะสม ในพื้นที่ศูนย์ กลางเมืองในกรอบวงแหวนถนนรัชดาภิเษก ได้ส่งเสริมการพัฒนาเมืองให้มีความหนาแน่นสูง เนื่องจากเป็นศูนย์รวมกิจกรรมทางเศรษฐกิจและการบริหารราชการของประเทศ มีระบบโครงสร้างพื้นฐาน สาธารณูปโภค สาธารณูปการ และระบบขนส่งมวลชนทางรางที่สมบูรณ์
ส่วนในพื้นที่ชานเมืองบริเวณที่มีระบบรางเข้าถึงและอยู่ใกล้ถนนกาญจนาภิเษก ได้ ส่งเสริมให้เป็นศูนย์ชุมชนชานเมือง เช่น มีนบุรี ลาดกระบัง สะพานใหม่ บางกะปิ บางนา ศรีนครินทร์ ตลิ่งชัน บางแค บางขุนเทียน เพื่อไม่ให้เมืองเติบโตแบบกระจัดกระจายไร้ระเบียบ พื้นที่ชานเมืองที่ยังมีระบบสาธารณูปโภคไม่ทั่วถึง การสัญจรไม่สะดวก ประชากรไม่หนาแน่น หรือเสี่ยงต่อการเกิดภัยพิบัติ ได้กำหนดให้เป็นพื้นที่อยู่อาศัย พื้นที่เกษตรกรรม และพื้นที่อนุรักษ์ชนบทและเกษตรกรรม ซึ่งสามารถพัฒนาเมืองได้ไม่หนาแน่นมากนัก
ส่วนการพัฒนาพื้นที่รอบนอกให้เป็น Smart City นั้น ผังเมืองรวมได้กำหนดการขยายตัวของกรุงเทพฯ ตามหลัก Smart City ด้วยมิติของความสะดวกจากการเดินทางและความพร้อมของระบบขนส่งทางราง สิ่งแวดล้อม และความปลอดภัยจากภัยพิบัติ จึงได้กำหนดศูนย์ชุมชนชานเมืองดังกล่าวให้เกิดความสมดุลระหว่างแหล่งงานและที่พักอาศัย ลดความแออัดและลดการเดินทางเข้าสู่เมือง
ผู้อำนวยการสำนักผังเมือง กล่าวเพิ่มเติมอีกว่า พื้นที่ฝั่งตะวันออกของกรุงเทพ มหานคร ได้ปรับเปลี่ยนพื้นที่อนุรักษ์ชนบทและเกษตรกรรม (สีเขียวลาย) เพื่อสงวนรักษาพื้นที่ไว้เพื่อช่วยเรื่องการระบายน้ำ หากเกิดน้ำท่วมใหญ่ โดยเป็นการสงวนรักษาไว้ตามนโยบาย การระบายน้ำของประเทศ เร่งปรับปรุงระบบการระบายน้ำในพื้นที่ให้สมบูรณ์ และด้วยสภาพพื้นที่ซึ่งยังมีระบบป้องกันน้ำท่วมที่ไม่สมบูรณ์ เนื่องจากอยู่นอกแนวคันกั้นน้ำ การสงวนรักษาพื้นที่ดังกล่าวจึงยังคงมีความจำเป็น เพื่อลดความเสียหายและความเดือดร้อนของประชาชน หากเกิดน้ำท่วมใหญ่ และเป็นแนวการระบายน้ำที่ไม่ส่งผลกระทบต่อสนามบินสุวรรณภูมิแต่อย่างใด เนื่องจากปริมาณน้ำหลากจะสิ้นสุดที่คลองประเวศบุรีรมย์ และระบายออกในพื้นที่ที่กำหนดไว้ลงสู่อ่าวไทยต่อไป
การปรับลดพื้นที่เขียวลายดังกล่าว จึงมิได้ขัดขวางการพัฒนาเมืองแต่อย่างใด แต่กลับเป็นการช่วยลดความแออัด เนื่องจากพื้นที่ที่ปรับเปลี่ยนนั้นสามารถใช้ประโยชน์ที่ดินตามความต้องการของประชาชนได้อย่างเหมาะสม อันเป็นการส่งเสริมการพัฒนาเมืองของกรุงเทพ มหานครได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทั้งนี้สำนักการวางผังและพัฒนาเมือง จะเร่งประชาสัมพันธ์ โดยเฉพาะในรายละเอียดการปรับเปลี่ยนสาระสำคัญต่าง ๆ ในผังเมืองรวมฉบับใหม่ ให้ทุกภาคส่วนเกิดความเข้าใจก่อนที่ผังเมืองรวมกรุงเทพมหานครฉบับใหม่จะประกาศใช้ช่วงปลายปี 63
นายสมชาย เดชากรณ์ ผู้อำนวยการสำนักการวางผังและพัฒนาเมือง กทม. เปิดเผยว่า การจัดทำร่างผังเมืองรวมกรุงเทพมหานครฉบับใหม่ (ปรับปรุงครั้งที่ 4) ได้กำหนดให้มีความสอดคล้องกับการส่งเสริมให้กรุงเทพ มหานครมุ่งสู่ความเป็นเมืองอัจฉริยะ (Smart City) และการปรับเปลี่ยนพื้นที่อนุรักษ์ชนบทและเกษตรกรรมฝั่งตะวันออกของกรุงเทพ มหานคร ซึ่งผังเมืองรวมกรุงเทพมหานครนั้นเป็นเครื่องมือทางกฎหมายเพื่อคุ้มครองความปลอดภัย สุขลักษณะและสวัสดิภาพให้กับประชาชน พร้อมทั้งส่งเสริมให้ประชาชนมีคุณภาพชีวิตที่ดี สมดุลกับศักยภาพพื้นที่ ด้วยการควบคุมกิจกรรมการใช้ประโยชน์ที่ดิน ความหนาแน่นของอาคาร และการกำหนดมาตรการทางผังเมืองต่างๆ ให้เหมาะสม ในพื้นที่ศูนย์ กลางเมืองในกรอบวงแหวนถนนรัชดาภิเษก ได้ส่งเสริมการพัฒนาเมืองให้มีความหนาแน่นสูง เนื่องจากเป็นศูนย์รวมกิจกรรมทางเศรษฐกิจและการบริหารราชการของประเทศ มีระบบโครงสร้างพื้นฐาน สาธารณูปโภค สาธารณูปการ และระบบขนส่งมวลชนทางรางที่สมบูรณ์
ส่วนในพื้นที่ชานเมืองบริเวณที่มีระบบรางเข้าถึงและอยู่ใกล้ถนนกาญจนาภิเษก ได้ ส่งเสริมให้เป็นศูนย์ชุมชนชานเมือง เช่น มีนบุรี ลาดกระบัง สะพานใหม่ บางกะปิ บางนา ศรีนครินทร์ ตลิ่งชัน บางแค บางขุนเทียน เพื่อไม่ให้เมืองเติบโตแบบกระจัดกระจายไร้ระเบียบ พื้นที่ชานเมืองที่ยังมีระบบสาธารณูปโภคไม่ทั่วถึง การสัญจรไม่สะดวก ประชากรไม่หนาแน่น หรือเสี่ยงต่อการเกิดภัยพิบัติ ได้กำหนดให้เป็นพื้นที่อยู่อาศัย พื้นที่เกษตรกรรม และพื้นที่อนุรักษ์ชนบทและเกษตรกรรม ซึ่งสามารถพัฒนาเมืองได้ไม่หนาแน่นมากนัก
ส่วนการพัฒนาพื้นที่รอบนอกให้เป็น Smart City นั้น ผังเมืองรวมได้กำหนดการขยายตัวของกรุงเทพฯ ตามหลัก Smart City ด้วยมิติของความสะดวกจากการเดินทางและความพร้อมของระบบขนส่งทางราง สิ่งแวดล้อม และความปลอดภัยจากภัยพิบัติ จึงได้กำหนดศูนย์ชุมชนชานเมืองดังกล่าวให้เกิดความสมดุลระหว่างแหล่งงานและที่พักอาศัย ลดความแออัดและลดการเดินทางเข้าสู่เมือง
ผู้อำนวยการสำนักผังเมือง กล่าวเพิ่มเติมอีกว่า พื้นที่ฝั่งตะวันออกของกรุงเทพ มหานคร ได้ปรับเปลี่ยนพื้นที่อนุรักษ์ชนบทและเกษตรกรรม (สีเขียวลาย) เพื่อสงวนรักษาพื้นที่ไว้เพื่อช่วยเรื่องการระบายน้ำ หากเกิดน้ำท่วมใหญ่ โดยเป็นการสงวนรักษาไว้ตามนโยบาย การระบายน้ำของประเทศ เร่งปรับปรุงระบบการระบายน้ำในพื้นที่ให้สมบูรณ์ และด้วยสภาพพื้นที่ซึ่งยังมีระบบป้องกันน้ำท่วมที่ไม่สมบูรณ์ เนื่องจากอยู่นอกแนวคันกั้นน้ำ การสงวนรักษาพื้นที่ดังกล่าวจึงยังคงมีความจำเป็น เพื่อลดความเสียหายและความเดือดร้อนของประชาชน หากเกิดน้ำท่วมใหญ่ และเป็นแนวการระบายน้ำที่ไม่ส่งผลกระทบต่อสนามบินสุวรรณภูมิแต่อย่างใด เนื่องจากปริมาณน้ำหลากจะสิ้นสุดที่คลองประเวศบุรีรมย์ และระบายออกในพื้นที่ที่กำหนดไว้ลงสู่อ่าวไทยต่อไป
การปรับลดพื้นที่เขียวลายดังกล่าว จึงมิได้ขัดขวางการพัฒนาเมืองแต่อย่างใด แต่กลับเป็นการช่วยลดความแออัด เนื่องจากพื้นที่ที่ปรับเปลี่ยนนั้นสามารถใช้ประโยชน์ที่ดินตามความต้องการของประชาชนได้อย่างเหมาะสม อันเป็นการส่งเสริมการพัฒนาเมืองของกรุงเทพ มหานครได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทั้งนี้สำนักการวางผังและพัฒนาเมือง จะเร่งประชาสัมพันธ์ โดยเฉพาะในรายละเอียดการปรับเปลี่ยนสาระสำคัญต่าง ๆ ในผังเมืองรวมฉบับใหม่ ให้ทุกภาคส่วนเกิดความเข้าใจก่อนที่ผังเมืองรวมกรุงเทพมหานครฉบับใหม่จะประกาศใช้ช่วงปลายปี 63
ข่าวกฎหมายอสังหาฯ อื่นๆ