คลังรีดภาษีที่ดิน-สิ่งปลูกสร้าง
วันที่ : 19 ธันวาคม 2562
คนจนมีบ้านหลังเดียวไม่ต้องเดือดร้อน "คลัง" ลุยเก็บภาษีที่ ดินและสิ่งปลูกสร้างเริ่ม 1 ม.ค. 63 ตามเดิม แค่เลื่อนจ่ายภาษีช้าไป 4 เดือนเป็น ส.ค. 63 มั่นใจไล่บี้เศรษฐีที่ดินเสียภาษีเพิ่มได้ คาดได้เงินเข้ารัฐ เพิ่มปีละกว่าหมื่นล้านบาท
ดีเดย์1ม.ค.คนรวย-จนอ่วมทุกราย
คนจนมีบ้านหลังเดียวไม่ต้องเดือดร้อน "คลัง" ลุยเก็บภาษีที่ ดินและสิ่งปลูกสร้างเริ่ม 1 ม.ค. 63 ตามเดิม แค่เลื่อนจ่ายภาษีช้าไป 4 เดือนเป็น ส.ค. 63 มั่นใจไล่บี้เศรษฐีที่ดินเสียภาษีเพิ่มได้ คาดได้เงินเข้ารัฐ เพิ่มปีละกว่าหมื่นล้านบาท ให้คนมีที่ดินเยอะรีบใช้ประโยชน์ เชื่อช่วยลดความเหลื่อมล้ำ รัฐผุดมาตรการบรรเทาทุกข์ให้แก่ผู้เสียภาษีเพิ่ม ให้ส่วนลด 25-75% ให้เจ้าพนักงานพิจารณาตามดุลพินิจ
กรณีประชาชนพากันวิตกกังวลภาระเรื่องภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง จะเริ่มบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 1 ม.ค. 63 ท่ามกลางสภาพปัญหาทางเศรษฐกิจไม่ค่อยจะดีนัก จึงมีคำถามตามมามากมายว่าใครจะต้องเสียภาษีบ้าง เสียแบบ ไหน เป็นเงินมากหรือน้อยเท่าไหร่กันแน่
เมื่อวันที่ 18 ธ.ค. นายลวรณ แสง สนิท ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.) และโฆษกกระทรวงการคลัง เปิดเผยว่ายืนยันการบังคับใช้ พ.ร.บ.ภาษีที่ดินและ สิ่งปลูกสร้าง พ.ศ. 2562 ยังจะเริ่มวันที่ 1 ม.ค.63 เหมือนเดิม เพียงแต่จะเลื่อนเวลาชำระภาษีในปี 63 ออกไปอีก 4 เดือน จากเดิมต้องชำระช่วงเดือน เม.ย. 63 ออกไปเป็นต้องชำระภาษีในเดือน ส.ค. 63 เนื่องจากยังมีองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) บางแห่ง ยังไม่พร้อม สำรวจบัญชีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างในพื้นที่ไม่เสร็จ จึงไม่สามารถประเมินการจัดเก็บภาษีได้ทัน
อย่างไรก็ตาม การเลื่อนเวลาชำระภาษีจะไม่กระทบต่อการจัดเก็บรายได้เข้ารัฐ เพราะการจัดเก็บภาษีทั้งหมดเกิดขึ้นในปี 63 เหมือนเดิม เพียงแต่จะเก็บช้าลงบ้าง ขณะที่ผู้เสียภาษีก็ยังถูกประเมินภาษีตามเดิม เพราะการประเมินการถือครองบัญชีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างยังคงเริ่มตั้งแต่ 1 ม.ค. 63 เหมือนเดิม ไม่ได้เลื่อนตามประกาศการขยายกำหนดเวลาการปฏิบัติงานของกระทรวงมหาดไทยที่ขยายเวลาเสียภาษีไป 4 เดือน แต่อย่างใด
ดังนั้นหากจะมีการโอนกรรมสิทธิ์การถือครองที่ดินหรือสิ่งปลูกสร้างเพื่อรองรับการ เก็บภาษีที่ดิน จะต้องทำให้เสร็จภายในสิ้นปี 62 ส่วนกระบวนการเสียภาษี จากนี้ประชาชนจะทยอยได้รับเอกสารจากสำนักงานเขตหรืออปท. เพื่อให้ตรวจสอบว่าที่ดินและสิ่งปลูกสร้างที่มีอยู่ถูกต้องตามที่สำรวจหรือไม่ หากไม่ถูกต้องสามารถยื่นเรื่องขอแก้ไขที่เขตหรือ อปท. แต่หากมีเอกสารมาให้เสียภาษีอีกก็สามารถอุทธรณ์การจ่ายภาษีดังกล่าวได้
นายลวรณ กล่าวต่อว่า คลังยืนยันว่าการเก็บภาษีที่ดินฯ จะไม่กระทบประชาชนส่วนใหญ่ของประเทศ โดยเฉพาะประชาชนที่มีบ้านเพื่ออยู่อาศัยหากมีบ้านหลังเดียว หรือบ้านหลังหลักจะได้รับการยกเว้นเสียภาษีบ้านที่มีราคาประเมินไม่เกิน 50 ล้านบาท ซึ่งในจำนวนนี้มีบ้านและคอนโดมิเนียมถึง 99.6% ที่มีราคาไม่ถึง 50 ล้านบาท และไม่เข้าข่ายเสียภาษี ส่วนบ้านและคอนโดฯ ราคาเกิน 50 ล้านบาท เข้าข่ายต้องเสียภาษีมีประมาณแค่ 1 หมื่นหลังเท่านั้น ซึ่งส่วนใหญ่เป็นคนมีฐานะและมีกำลังในการชำระภาษีอยู่แล้ว ส่วนคนที่มีบ้านหลังที่สอง หรือหลังถัด ๆ ไป ก็จะเสียภาษีแต่เสียในอัตราต่ำ เช่น บ้านราคา 1 ล้านบาท เสียภาษีเริ่มต้นแค่ 200 บาทต่อปี
สำหรับการเก็บภาษีที่ดินเพื่อการเกษตร จะยกเว้นเก็บภาษีที่ดินเพื่อการเกษตรราคาไม่ เกิน 50 ล้านบาท เพื่อช่วยเหลือเกษตรกรที่ เป็นบุคคลธรรมดาเช่นกัน ยกเว้นที่ดินเพื่อการเกษตรที่เป็นของนิติบุคคล จะถูกเก็บภาษีตามกำหนดซึ่งเริ่มต้นล้านละ 100 บาท ส่วนการถือครองที่ดินและสิ่งปลูกสร้างอื่น ๆ ซึ่งหมายถึงการใช้งานเพื่ออุตสาหกรรม การพาณิชย์ การปล่อยเช่า รวมถึงที่ดินเปล่าผู้ถือครองจะเสียภาษีแบบขั้นบันได เริ่มต้นล้านละ 3,000 บาท จนสูงสุดล้านละ 7,000 บาท ที่สำคัญในส่วนที่ดินเปล่าจะเก็บภาษีเพิ่มทุกปีอีก 0.3% จนไปเต็มเพดานที่ 3% เพื่อช่วยกระตุ้นให้คนที่ถือครองที่ดินจำนวนมากนำไปพัฒนาใช้ให้เกิดประโยชน์
โฆษกกระทรวงการคลังกล่าวยืนยันว่า การจัดเก็บภาษีที่ดินฯ จะช่วยลดความเหลื่อมล้ำของคนที่มีการถือครองที่ดินและสิ่งปลูกสร้างจำนวนมาก ที่ไม่เคยเสียภาษีหรือภาษีอัตราต่ำ จะต้องเข้าสู่ระบบเสียภาษีให้ถูกต้อง ขณะที่ชาวบ้านทั่วไปแทบไม่ได้รับผลกระทบเลย แต่หากใครได้รับผลกระทบในช่วง 3 ปีแรก รัฐบาล ยังมีมาตรการบรรเทาให้แก่ผู้ที่เสียภาษีเพิ่ม โดยให้ส่วนลด 25-75% เช่น จากเดิมเคยเสียภาษี 1,000 บาท
แต่ภาษีที่ดินใหม่หากทำให้ต้องเสีย 2,000 บาท ก็ได้รับส่วนลดจ่ายเพียง 25% ในส่วนที่เพิ่มขึ้น 1,000 บาท เหลือจ่ายจริงแค่ 1,250 บาท รวมถึงยังช่วยแก้ปัญหาใช้ดุลพินิจของเจ้าพนักงาน ทำให้รัฐจัดเก็บรายได้มากขึ้นกว่าภาษีประเภทเดิม คือ ภาษีโรงเรือนและที่ดิน กับภาษีบำรุงท้องที่เก็บได้มากกว่าปีละ 30,000 ล้านบาท เพิ่มขึ้นอีกปีละกว่า 10,000 ล้านบาท
คนจนมีบ้านหลังเดียวไม่ต้องเดือดร้อน "คลัง" ลุยเก็บภาษีที่ ดินและสิ่งปลูกสร้างเริ่ม 1 ม.ค. 63 ตามเดิม แค่เลื่อนจ่ายภาษีช้าไป 4 เดือนเป็น ส.ค. 63 มั่นใจไล่บี้เศรษฐีที่ดินเสียภาษีเพิ่มได้ คาดได้เงินเข้ารัฐ เพิ่มปีละกว่าหมื่นล้านบาท ให้คนมีที่ดินเยอะรีบใช้ประโยชน์ เชื่อช่วยลดความเหลื่อมล้ำ รัฐผุดมาตรการบรรเทาทุกข์ให้แก่ผู้เสียภาษีเพิ่ม ให้ส่วนลด 25-75% ให้เจ้าพนักงานพิจารณาตามดุลพินิจ
กรณีประชาชนพากันวิตกกังวลภาระเรื่องภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง จะเริ่มบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 1 ม.ค. 63 ท่ามกลางสภาพปัญหาทางเศรษฐกิจไม่ค่อยจะดีนัก จึงมีคำถามตามมามากมายว่าใครจะต้องเสียภาษีบ้าง เสียแบบ ไหน เป็นเงินมากหรือน้อยเท่าไหร่กันแน่
เมื่อวันที่ 18 ธ.ค. นายลวรณ แสง สนิท ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.) และโฆษกกระทรวงการคลัง เปิดเผยว่ายืนยันการบังคับใช้ พ.ร.บ.ภาษีที่ดินและ สิ่งปลูกสร้าง พ.ศ. 2562 ยังจะเริ่มวันที่ 1 ม.ค.63 เหมือนเดิม เพียงแต่จะเลื่อนเวลาชำระภาษีในปี 63 ออกไปอีก 4 เดือน จากเดิมต้องชำระช่วงเดือน เม.ย. 63 ออกไปเป็นต้องชำระภาษีในเดือน ส.ค. 63 เนื่องจากยังมีองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) บางแห่ง ยังไม่พร้อม สำรวจบัญชีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างในพื้นที่ไม่เสร็จ จึงไม่สามารถประเมินการจัดเก็บภาษีได้ทัน
อย่างไรก็ตาม การเลื่อนเวลาชำระภาษีจะไม่กระทบต่อการจัดเก็บรายได้เข้ารัฐ เพราะการจัดเก็บภาษีทั้งหมดเกิดขึ้นในปี 63 เหมือนเดิม เพียงแต่จะเก็บช้าลงบ้าง ขณะที่ผู้เสียภาษีก็ยังถูกประเมินภาษีตามเดิม เพราะการประเมินการถือครองบัญชีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างยังคงเริ่มตั้งแต่ 1 ม.ค. 63 เหมือนเดิม ไม่ได้เลื่อนตามประกาศการขยายกำหนดเวลาการปฏิบัติงานของกระทรวงมหาดไทยที่ขยายเวลาเสียภาษีไป 4 เดือน แต่อย่างใด
ดังนั้นหากจะมีการโอนกรรมสิทธิ์การถือครองที่ดินหรือสิ่งปลูกสร้างเพื่อรองรับการ เก็บภาษีที่ดิน จะต้องทำให้เสร็จภายในสิ้นปี 62 ส่วนกระบวนการเสียภาษี จากนี้ประชาชนจะทยอยได้รับเอกสารจากสำนักงานเขตหรืออปท. เพื่อให้ตรวจสอบว่าที่ดินและสิ่งปลูกสร้างที่มีอยู่ถูกต้องตามที่สำรวจหรือไม่ หากไม่ถูกต้องสามารถยื่นเรื่องขอแก้ไขที่เขตหรือ อปท. แต่หากมีเอกสารมาให้เสียภาษีอีกก็สามารถอุทธรณ์การจ่ายภาษีดังกล่าวได้
นายลวรณ กล่าวต่อว่า คลังยืนยันว่าการเก็บภาษีที่ดินฯ จะไม่กระทบประชาชนส่วนใหญ่ของประเทศ โดยเฉพาะประชาชนที่มีบ้านเพื่ออยู่อาศัยหากมีบ้านหลังเดียว หรือบ้านหลังหลักจะได้รับการยกเว้นเสียภาษีบ้านที่มีราคาประเมินไม่เกิน 50 ล้านบาท ซึ่งในจำนวนนี้มีบ้านและคอนโดมิเนียมถึง 99.6% ที่มีราคาไม่ถึง 50 ล้านบาท และไม่เข้าข่ายเสียภาษี ส่วนบ้านและคอนโดฯ ราคาเกิน 50 ล้านบาท เข้าข่ายต้องเสียภาษีมีประมาณแค่ 1 หมื่นหลังเท่านั้น ซึ่งส่วนใหญ่เป็นคนมีฐานะและมีกำลังในการชำระภาษีอยู่แล้ว ส่วนคนที่มีบ้านหลังที่สอง หรือหลังถัด ๆ ไป ก็จะเสียภาษีแต่เสียในอัตราต่ำ เช่น บ้านราคา 1 ล้านบาท เสียภาษีเริ่มต้นแค่ 200 บาทต่อปี
สำหรับการเก็บภาษีที่ดินเพื่อการเกษตร จะยกเว้นเก็บภาษีที่ดินเพื่อการเกษตรราคาไม่ เกิน 50 ล้านบาท เพื่อช่วยเหลือเกษตรกรที่ เป็นบุคคลธรรมดาเช่นกัน ยกเว้นที่ดินเพื่อการเกษตรที่เป็นของนิติบุคคล จะถูกเก็บภาษีตามกำหนดซึ่งเริ่มต้นล้านละ 100 บาท ส่วนการถือครองที่ดินและสิ่งปลูกสร้างอื่น ๆ ซึ่งหมายถึงการใช้งานเพื่ออุตสาหกรรม การพาณิชย์ การปล่อยเช่า รวมถึงที่ดินเปล่าผู้ถือครองจะเสียภาษีแบบขั้นบันได เริ่มต้นล้านละ 3,000 บาท จนสูงสุดล้านละ 7,000 บาท ที่สำคัญในส่วนที่ดินเปล่าจะเก็บภาษีเพิ่มทุกปีอีก 0.3% จนไปเต็มเพดานที่ 3% เพื่อช่วยกระตุ้นให้คนที่ถือครองที่ดินจำนวนมากนำไปพัฒนาใช้ให้เกิดประโยชน์
โฆษกกระทรวงการคลังกล่าวยืนยันว่า การจัดเก็บภาษีที่ดินฯ จะช่วยลดความเหลื่อมล้ำของคนที่มีการถือครองที่ดินและสิ่งปลูกสร้างจำนวนมาก ที่ไม่เคยเสียภาษีหรือภาษีอัตราต่ำ จะต้องเข้าสู่ระบบเสียภาษีให้ถูกต้อง ขณะที่ชาวบ้านทั่วไปแทบไม่ได้รับผลกระทบเลย แต่หากใครได้รับผลกระทบในช่วง 3 ปีแรก รัฐบาล ยังมีมาตรการบรรเทาให้แก่ผู้ที่เสียภาษีเพิ่ม โดยให้ส่วนลด 25-75% เช่น จากเดิมเคยเสียภาษี 1,000 บาท
แต่ภาษีที่ดินใหม่หากทำให้ต้องเสีย 2,000 บาท ก็ได้รับส่วนลดจ่ายเพียง 25% ในส่วนที่เพิ่มขึ้น 1,000 บาท เหลือจ่ายจริงแค่ 1,250 บาท รวมถึงยังช่วยแก้ปัญหาใช้ดุลพินิจของเจ้าพนักงาน ทำให้รัฐจัดเก็บรายได้มากขึ้นกว่าภาษีประเภทเดิม คือ ภาษีโรงเรือนและที่ดิน กับภาษีบำรุงท้องที่เก็บได้มากกว่าปีละ 30,000 ล้านบาท เพิ่มขึ้นอีกปีละกว่า 10,000 ล้านบาท
ข่าวกฎหมายอสังหาฯ อื่นๆ