อีอีซีอัด 200 ล. เร่งผลิตกำลังคนป้อน2พันบริษัท
วันที่ : 11 ธันวาคม 2562
นโยบายขับเคลื่อนเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออกหรืออีอีซี ไม่เพียงเฉพาะการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานที่สำคัญ และการส่งเสริมการลงทุนในอุตสาหกรรมเป้าหมาย แต่ยังคำนึงถึงการพัฒนาบุคลากร ที่จะมารองรับการพัฒนาในพื้นที่ดังกล่าว
นโยบายขับเคลื่อนเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออกหรืออีอีซี ไม่เพียงเฉพาะการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานที่สำคัญ และการส่งเสริมการลงทุนในอุตสาหกรรมเป้าหมาย แต่ยังคำนึงถึงการพัฒนาบุคลากร ที่จะมารองรับการพัฒนาในพื้นที่ดังกล่าว โดยในช่วง 2 ปีที่ผ่านมา ทางสำนักงานคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (สกพอ.) ได้จัดตั้งคณะทำงานประสานงานด้านการพัฒนาบุคลากรในเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (Human Resources Development Center of EEC: EEC-HDC) ทำหน้าที่ประสานการพัฒนาบุคลากร ในพื้นที่อีอีซีโดยให้ความสำคัญในการปรับแนวทางการพัฒนาบุคลากรและเทคโนโลยี มาเป็น การทำให้ตรงกับความต้องการ หรือ Demand Driven
ดึงเอกชนร่วมพัฒนา
ล่าสุดในการประชุมคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (กพอ.) มีนายกรัฐมนตรี เป็นประธาน เมื่อวันที่ 6 ธันวาคม ที่ผ่านมา ได้รับทราบผลการดำเนินงานการพัฒนาบุคลากรตามแนวทางอีอีซีโมเดล ในระยะ 2 ปี ที่ผ่านมา ตามหลักการ Demand Driven ใน 2 รูปแบบ ได้แก่ EEC Model Type A มีเอกชนร่วมออกค่าใช้จ่าย 100% มีสถาบันอาชีวศึกษาในภาคตะวันออกเข้าร่วมจำนวน 12 สถาบัน ซึ่งในปีการศึกษา 2562 มีนักศึกษากำลังศึกษาในระบบดังกล่าว จำนวน 1,117 คน และมีการลงนามความร่วมมือกับสถานประกอบการรายใหญ่ เพื่อร่วมพัฒนากำลังคนทั้งในระดับอาชีวะและปริญญาตรี จำนวน 44,000 คน
"การจัดการศึกษาในแบบ EEC Model Type A ภายใต้ 3 หลักการ คือ 1. ลดการศึกษาแบบแก่งแย่ง แตกแยก สู่ความร่วมมือระหว่างสถานศึกษาและสถานประกอบการ โดยกำหนดตามความถนัดของแต่ละราย 2. ช่วยพัฒนาการศึกษาและบุคลากรให้มีมาตรฐานตามหลักสากล3. ร่วมทุนสนับสนุนค่าใช้จ่ายระหว่างภาครัฐกับเอกชนในสัดส่วน 50:50 และเอกชนบริจาคอุปกรณ์ชั้นสูง เพื่อให้สามารถผลิตบุคลากรที่มีประสิทธิภาพ ตรงตามความต้องการของอุตสาหกรรม"
พัฒนาอีก100หลักสูตรรองรับ
ขณะที่ EEC Model Type B มีเอกชนร่วมจ่าย 10-50% ผู้ประกอบการมีส่วนร่วมในการพัฒนาหลักสูตรและการจัดการเรียนรู้บางส่วน และรับนักศึกษาเข้าฝึกงานตามแนวทางทวิภาคีและสหกิจศึกษา แต่ไม่ประกันการจ้างงาน มีการผลิตกำลังคนใน 36 วิทยาลัยระดับอาชีวะ ในภาคตะวันออกรวม 5,100 คน ในส่วนของอาชีวะกำลังขยายผลการพัฒนาให้ครอบคลุม 48 วิทยาลัยอาชีวะ โดยสกพอ. ตั้งเป้าหมายไว้ว่าจะต้องปฏิรูปหลัก สูตรของสถานศึกษาในพื้นที่อีอีซีอย่างน้อย 80% ให้เป็นหลักสูตรตามแนวทาง EEC- Model Type A หรือ B ภายในระยะเวลา 5 ปี และภายในปีการศึกษา 2564 จะมีหลักสูตรระดับปริญญาตรีที่กำลังปรับปรุงให้เป็นไปตาม EEC Model Type อีกไม่น้อยกว่า 100 หลักสูตร
ดึงผู้นำโลกร่วมพัฒนา
ส่วนการพัฒนาบุคลากรในหลักสูตรระยะสั้นให้รู้เท่าทันและเชี่ยวชาญเทคโนโลยี เครือข่ายสถาบันการศึกษาในพื้นที่อีอีซี ได้จัดหลักสูตรฝึกอบรมทักษะที่สำคัญเพื่อตอบโจทย์การทำงานยุคใหม่ ทั้งด้านอีคอมเมิร์ซ ปัญญาประดิษฐ์ (AI) หุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติ และ MICE โดยมีผู้ผ่านการอบรมแล้ว จำนวน 2,000 คน ในปี 2562
นอกจากนี้ การดำเนินการจัดอบรมเพื่อพัฒนาบุคลากร จำนวน 10,000 คน ภายใน 4 ปี ในอุตสาหกรรมเป้าหมายด้วยหลักสูตรระยะสั้นจำนวน 68 หลัก สูตร EEC-HDC ได้หารือบริษัทข้ามชาติชั้นนำระดับโลก ทั้ง Huawei, Vmware และ Microsoft เป็นที่เรียบร้อยแล้ว ขณะที่ Oracle, Cisco และ Google กำลังอยู่ในระหว่างการหารือ โดยบริษัทเหล่านี้เป็นผู้รับผิดชอบค่าใช้จ่ายในการจ้างผู้สอนชาวต่างชาติ และค่าวัสดุอุปกรณ์ต่างๆ
ขณะเดียวกันได้กำหนดหลักสูตรฝึกอบรมระยะสั้น (Re skills/ Upskills) ซึ่งตรงตามความต้องการของอุตสาหกรรมเป้าหมาย ในปีงบประมาณ 2563 จำนวน 120 หลักสูตร จำนวน 20,000 คน คิด เป็น 20% ของความต้องการกำลังคนในปี 2563 โดยได้รับการสนับสนุนค่าใช้จ่ายจากภาครัฐ 200 ล้านบาท เพื่อรองรับความต้องการบุคลากรของผู้ประกอบการราว 2 พันบริษัท ยื่นขอส่งเสริมการลงทุนกับสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนหรือบีโอไอประมาณ 16,567 คน
ดึงเอกชนร่วมพัฒนา
ล่าสุดในการประชุมคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (กพอ.) มีนายกรัฐมนตรี เป็นประธาน เมื่อวันที่ 6 ธันวาคม ที่ผ่านมา ได้รับทราบผลการดำเนินงานการพัฒนาบุคลากรตามแนวทางอีอีซีโมเดล ในระยะ 2 ปี ที่ผ่านมา ตามหลักการ Demand Driven ใน 2 รูปแบบ ได้แก่ EEC Model Type A มีเอกชนร่วมออกค่าใช้จ่าย 100% มีสถาบันอาชีวศึกษาในภาคตะวันออกเข้าร่วมจำนวน 12 สถาบัน ซึ่งในปีการศึกษา 2562 มีนักศึกษากำลังศึกษาในระบบดังกล่าว จำนวน 1,117 คน และมีการลงนามความร่วมมือกับสถานประกอบการรายใหญ่ เพื่อร่วมพัฒนากำลังคนทั้งในระดับอาชีวะและปริญญาตรี จำนวน 44,000 คน
"การจัดการศึกษาในแบบ EEC Model Type A ภายใต้ 3 หลักการ คือ 1. ลดการศึกษาแบบแก่งแย่ง แตกแยก สู่ความร่วมมือระหว่างสถานศึกษาและสถานประกอบการ โดยกำหนดตามความถนัดของแต่ละราย 2. ช่วยพัฒนาการศึกษาและบุคลากรให้มีมาตรฐานตามหลักสากล3. ร่วมทุนสนับสนุนค่าใช้จ่ายระหว่างภาครัฐกับเอกชนในสัดส่วน 50:50 และเอกชนบริจาคอุปกรณ์ชั้นสูง เพื่อให้สามารถผลิตบุคลากรที่มีประสิทธิภาพ ตรงตามความต้องการของอุตสาหกรรม"
พัฒนาอีก100หลักสูตรรองรับ
ขณะที่ EEC Model Type B มีเอกชนร่วมจ่าย 10-50% ผู้ประกอบการมีส่วนร่วมในการพัฒนาหลักสูตรและการจัดการเรียนรู้บางส่วน และรับนักศึกษาเข้าฝึกงานตามแนวทางทวิภาคีและสหกิจศึกษา แต่ไม่ประกันการจ้างงาน มีการผลิตกำลังคนใน 36 วิทยาลัยระดับอาชีวะ ในภาคตะวันออกรวม 5,100 คน ในส่วนของอาชีวะกำลังขยายผลการพัฒนาให้ครอบคลุม 48 วิทยาลัยอาชีวะ โดยสกพอ. ตั้งเป้าหมายไว้ว่าจะต้องปฏิรูปหลัก สูตรของสถานศึกษาในพื้นที่อีอีซีอย่างน้อย 80% ให้เป็นหลักสูตรตามแนวทาง EEC- Model Type A หรือ B ภายในระยะเวลา 5 ปี และภายในปีการศึกษา 2564 จะมีหลักสูตรระดับปริญญาตรีที่กำลังปรับปรุงให้เป็นไปตาม EEC Model Type อีกไม่น้อยกว่า 100 หลักสูตร
ดึงผู้นำโลกร่วมพัฒนา
ส่วนการพัฒนาบุคลากรในหลักสูตรระยะสั้นให้รู้เท่าทันและเชี่ยวชาญเทคโนโลยี เครือข่ายสถาบันการศึกษาในพื้นที่อีอีซี ได้จัดหลักสูตรฝึกอบรมทักษะที่สำคัญเพื่อตอบโจทย์การทำงานยุคใหม่ ทั้งด้านอีคอมเมิร์ซ ปัญญาประดิษฐ์ (AI) หุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติ และ MICE โดยมีผู้ผ่านการอบรมแล้ว จำนวน 2,000 คน ในปี 2562
นอกจากนี้ การดำเนินการจัดอบรมเพื่อพัฒนาบุคลากร จำนวน 10,000 คน ภายใน 4 ปี ในอุตสาหกรรมเป้าหมายด้วยหลักสูตรระยะสั้นจำนวน 68 หลัก สูตร EEC-HDC ได้หารือบริษัทข้ามชาติชั้นนำระดับโลก ทั้ง Huawei, Vmware และ Microsoft เป็นที่เรียบร้อยแล้ว ขณะที่ Oracle, Cisco และ Google กำลังอยู่ในระหว่างการหารือ โดยบริษัทเหล่านี้เป็นผู้รับผิดชอบค่าใช้จ่ายในการจ้างผู้สอนชาวต่างชาติ และค่าวัสดุอุปกรณ์ต่างๆ
ขณะเดียวกันได้กำหนดหลักสูตรฝึกอบรมระยะสั้น (Re skills/ Upskills) ซึ่งตรงตามความต้องการของอุตสาหกรรมเป้าหมาย ในปีงบประมาณ 2563 จำนวน 120 หลักสูตร จำนวน 20,000 คน คิด เป็น 20% ของความต้องการกำลังคนในปี 2563 โดยได้รับการสนับสนุนค่าใช้จ่ายจากภาครัฐ 200 ล้านบาท เพื่อรองรับความต้องการบุคลากรของผู้ประกอบการราว 2 พันบริษัท ยื่นขอส่งเสริมการลงทุนกับสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนหรือบีโอไอประมาณ 16,567 คน
ข่าวเขตเศรษฐกิจพิเศษ อื่นๆ