จีนสนลงทุน โมโนเรล พัทยา
วันที่ : 27 พฤศจิกายน 2562
เมืองพัทยา เร่งพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานรองรับ อีอีซี จ่อเปิดเอกชนร่วมลงทุนโมโนเรลเชื่อมจากสถานีรถไฟความเร็วสูง-ตัวเมืองพัทยา ลงทุน 7 พันล้านบาท คาดเอกชนจีนเข้าวินลงทุนโครงการ เริ่มก่อสร้างปลายปี 2563 มั่นใจเสร็จพร้อมโครงการรถไฟความเร็วสูง
หวังใช้เชื่อมไฮสปีด 3 สนามบิน
เมืองพัทยา เร่งพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานรองรับ อีอีซี จ่อเปิดเอกชนร่วมลงทุนโมโนเรลเชื่อมจากสถานีรถไฟความเร็วสูง-ตัวเมืองพัทยา ลงทุน 7 พันล้านบาท คาดเอกชนจีนเข้าวินลงทุนโครงการ เริ่มก่อสร้างปลายปี 2563 มั่นใจเสร็จพร้อมโครงการรถไฟความเร็วสูง
นายมาโนช หนองใหญ่ รองนายก เมืองพัทยา เปิดเผยถึงแผนการท่องเที่ยวรองรับการขยายตัวของเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (อีอีซี) ว่า โครงการอีอีซี จะช่วยเพิ่มปริมาณนักท่องเที่ยวในเมืองพัทยา มากกว่า 2 ล้านคนต่อปี จากปัจจุบันที่มี ประมาณ 1.7 ล้านคน และหากโครงสร้างพื้นฐาน ต่างๆ เช่น รถไฟความเร็วสูง สนามบินอู่ตะเภา และเส้นทางคมนาคมอื่นๆ ก็ยิ่งทำให้ นักท่องเที่ยวเพิ่มขึ้นอีกมาก
ดังนั้น เมืองพัทยา จึงได้เร่งสร้างโครงสร้างพื้นฐานต่างๆ ขึ้นมารองรับ และเชื่อมกับโครงการก่อสร้างคมนาคมขนาดใหญ่ เช่น รถไฟฟ้าความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน (สุวรรณภูมิ ดอนเมืองและอู่ตะเภา) โดยโครงการหลักๆ จะเป็นการสร้างระบบรถไฟฟ้ารางเบา ที่จะเข้ามาเชื่อมต่อสถานีรถไฟฟ้าความเร็วสูงที่พัทยากลาง เข้าสู่ตัวเมืองพัทยา ระยะทางประมาณ 8 กิโลเมตร
คาดว่าจะใช้งบประมาณ 7-8 พันล้านบาท ส่วนค่าโดยสารจะไม่แพงจนเกินไปอยู่ในระดับ เท่าๆ กับค่าโดยสารแบบเดิม ขณะที่รถสองแถว โดยสารอาจจะต้องปรับเปลี่ยนเส้นทางการวิ่ง จากที่เน้นในถนนสายหลักไปเป็นการเชื่อมโยง จากสถานีรถไฟฟ้ารางเบาไปสู่ตรอกซอกซอย ต่างๆ และจะจัดระเบียบให้มีค่าโดยสาร ที่ไม่แพงจนเกินไป
"โครงการรถไฟฟ้ารางเบาจะเปิดให้เอกชนมาร่วมลงทุนในรูปแบบรัฐเอกชนร่วมลงทุน (พีพีพี) โดยเมืองพัทยาจะเป็นตัวแทนภาครัฐร่วมลงทุนกับเอกชน ขณะนี้ อยู่ระหว่างการศึกษาออกแบบ และหา ผู้ร่วมลงทุน ซึ่งคาดว่าจะเป็นภาคเอกชนจากจีน"
ทั้งนี้ คาดว่า จะเริ่มก่อสร้างปลายปี 2563 โดยโครงการนี้จะเปิดเดินรถได้ทันพร้อมๆ กับ โครงการรถไฟความเร็วสูงแล้วเสร็จ ซึ่ง เมื่อเปิดเดินรถไฟฟ้ารางเบาจะสั่งห้าม ไม่ให้รถทัวร์เข้ามาในตัวเมืองพัทยา เพื่อลดปัญหาการจราจรติดขัด
พัฒนาแหล่งท่องเที่ยวใหม่
นอกจากนี้ ยังมีโครงการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวใหม่ ได้แก่ โครงการพัทยาออนเพียร์ (Pattaya-On-Pier) ซึ่งเป็นโครงการขนาดใหญ่ โดยเป็นการจำลองแบบ Pier 39 ใน ซานฟรานซิสโก จะกลายเป็นแลนมาร์คสำคัญ แห่งใหม่ที่มนุษย์สร้างขึ้นในพัทยา ในพัทยาออนเพียร์นั้นจะประกอบไปด้วยร้านค้า ผับ บาร์ ภัตตาคาร และศูนย์กีฬาทางน้ำ นอกจากนี้ ยังมีพื้นที่ไว้สำหรับจัดกิจกรรมและ งานเทศกาลต่างๆ อีกด้วย
โดยโครงการพัทยาออนเพียร์อยู่ระหว่าง การออกแบบที่ผ่านไปแล้ว 2 งวด จากทั้งหมด 4 งวด คาดว่าจะออกแบบเสร็จภายในเดือนเม.ย. 2563 ซึ่งพื้นที่ตั้งโครงการฯ ขณะนี้คัดเลือกอยู่ 2 จุด ได้แก่ พื้นที่หลังวอคกิ้งสตรีทพัทยาใต้ มีเนื้อที่หลายสิบไร่ และพื้นที่บริเวณ เขาพระตำหนักติดกับแหลมบาลีฮาย มีเนื้อที่ มากกว่าจุดแรก แต่ทั้งนี้คาดว่าจะเลือกพื้นที่ หลังวอคกิ้งสตรีทพัทยาใต้ เพื่อไม่ให้ แหล่งท่องเที่ยวมากระจุกตัวอยู่ที่เมืองพัทยา ซึ่งจะเป็นการลดปัญหาจราจรติดขัด และควบคุมการรุกล้ำชายฝั่งทะเลได้ดีขึ้น ในส่วนของการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวเดิม
โดยมีแผนที่จะพัฒนาพื้นที่เขาพระตำหนัก ซึ่งขณะนี้อยู่ระหว่างศึกษาออกแบบสร้างระบบกระเช้าไฟฟ้าขึ้นเขาพระตำหนัก ซึ่งรูปแบบ การลงทุนจะเป็นการเปิดสัมปทานให้เอกชน เข้ามาลงทุนทั้งหมด คาดว่าโครงการนี้จะแล้วเสร็จ พร้อมๆ กับโครงสร้างพื้นฐานต่างๆ ในอีอีซี
นอกจากนี้ ยังได้ตั้งโครงการชลบุรีพัทยาเมืองศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัย อีอีซี โดยโครงการนี้จะเป็นประโยชน์ในการยกระดับ ภาพลักษณ์ อัตลักษณ์ของชลบุรีพัทยาให้เป็นเมืองศิลปะร่วมสมัย อีอีซี จากรากเดิม ที่เป็นมรดกทางศิลปวัฒนธรรมของชลบุรีและความเป็นวัฒนธรรมร่วมสมัยของพัทยา เมืองระดับโลก ให้ได้รับการยกระดับเป็นเมืองน่าท่องเที่ยวน่าอยู่ ทางสุนทรีทางธรรมชาติ และทางศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัยอย่างมีดุลยภาพบนพื้นที่เขต อีอีซี
ดึงวัฒนธรรมเพิ่มมูลค่าศก.
โดยแผนการดำเนินการกิจกรรมปี 2563 ในการส่งเสริมพัฒนาเรียนรู้ด้านศิลปะ ในแขนงต่างๆ ประชากรและเยาวชน เพื่อให้สามารถนำองค์ความรู้ ทรัพยากรท้องถิ่น มาต่อยอดเป็นศิลปะออกแบบและหัตถกรรม สร้างมูลค่าเพิ่มทางเศรษฐกิจอย่างยั่งยืน ซึ่งจะก่อให้เกิดประโยชน์แก่เยาวชน ประชาชน รวมถึงส่งเสริมการท่องเที่ยวของเมืองพัทยาต่อไปในอนาคต
รายงานข่าวจากสำนักงานนโยบายและ แผนการขนส่ง และจราจร (สนข.) ระบุว่า กำลังศึกษาพัฒนาเมืองกับระบบ โครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคมขนส่ง "TOD คมนาคม สร้างเมือง เมืองสร้างสุข สุขสร้างได้" โดยกำหนดให้เมืองพัทยา จ.ชลบุรี กลุ่มเมืองต้นแบบการพัฒนาพื้นที่โดยรอบสถานีขนส่งมวลชน (Transit Oriented Development : TOD) ด้านตะวันออก มีความพร้อมด้วยศักยภาพการเป็น ศูนย์กลางเศรษฐกิจอีอีซี เป็นฐานการผลิตขนาดใหญ่ เป็นทำเลที่ดีที่สุดในการลงทุนในภูมิภาคอาเซียน ที่สำคัญเป็นประตู สู่อาเซียน โดยเฉพาะจีนและอินเดีย และ มีเม็ดเงินลงทุนพัฒนาเมืองในพื้นที่ 4 แสนล้านบาท และการพัฒนาด้านการท่องเที่ยว มูลค่า 2 แสนล้านบาท
ทั้งนี้ ผลการศึกษาเบื้องต้นบริเวณ รอบสถานีเมืองพัทยาสามารถพัฒนาได้ 4 โซนหลัก คือ 1.ย่านอาคารสำนักงาน ที่พร้อมรองรับทั้งกิจกรรมทางเศรษฐกิจและการดำเนินชีวิตอย่างลงตัว
2.ศูนย์กลางธุรกิจ การค้า การพาณิชย์ ขับเคลื่อนเศรษฐกิจคล่องตัว ด้วยตำแหน่ง ที่ตั้งติดสถานีทำให้พื้นที่บริเวณนี้เหมาะ อย่างยิ่งที่จะพัฒนาเชิงพาณิชย์ทั้งเป็นศูนย์การค้าขนาดใหญ่ระดับภูมิภาครองรับกลุ่มนักท่องเที่ยวต่างชาติ รวมถึงโรงแรมธุรกิจ เพื่อส่งเสริมและสนับสนุนกิจกรรมทางเศรษฐกิจ การค้าการลงทุน การท่องเที่ยว และบริการแบบครบวงจร
3.มหานครแห่งอุตสาหกรรมไมซ์ (MICE City) ครบวงจร ด้วยศักยภาพและความพร้อมของเมืองพัทยาในฐานะ เมืองท่องเที่ยวที่มีชื่อเสียงระดับโลก มีปริมาณ นักท่องเที่ยวเพิ่มขึ้นทุกปี และมีโครงสร้างพื้นฐาน ที่แข็งแกร่งรองรับพื้นที่นี้จึงเหมาะอย่างยิ่ง ที่จะพัฒนาเป็นศูนย์กลางทางด้านการประชุม จัดแสดง และสัมมนา
4.ชุมชนที่อยู่อาศัย อยู่สบาย เอื้อต่อการ ใช้ชีวิตอย่างมีคุณภาพ ด้วยความสะดวกสบาย ด้านการคมนาคม เพราะอยู่ใกล้จากสถานีทำให้พื้นที่แห่งนี้เหมาะที่จะพัฒนาเป็นย่านที่พักอาศัยที่มีคุณภาพมาตรฐาน ทั้งอาคารแนวราบ และอาคารแนวสูงราคาถูกภายใต้สภาพแวดล้อมที่ดี มีร้านค้าปลีกชุมชน และสวนสาธารณะ
เมืองพัทยา เร่งพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานรองรับ อีอีซี จ่อเปิดเอกชนร่วมลงทุนโมโนเรลเชื่อมจากสถานีรถไฟความเร็วสูง-ตัวเมืองพัทยา ลงทุน 7 พันล้านบาท คาดเอกชนจีนเข้าวินลงทุนโครงการ เริ่มก่อสร้างปลายปี 2563 มั่นใจเสร็จพร้อมโครงการรถไฟความเร็วสูง
นายมาโนช หนองใหญ่ รองนายก เมืองพัทยา เปิดเผยถึงแผนการท่องเที่ยวรองรับการขยายตัวของเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (อีอีซี) ว่า โครงการอีอีซี จะช่วยเพิ่มปริมาณนักท่องเที่ยวในเมืองพัทยา มากกว่า 2 ล้านคนต่อปี จากปัจจุบันที่มี ประมาณ 1.7 ล้านคน และหากโครงสร้างพื้นฐาน ต่างๆ เช่น รถไฟความเร็วสูง สนามบินอู่ตะเภา และเส้นทางคมนาคมอื่นๆ ก็ยิ่งทำให้ นักท่องเที่ยวเพิ่มขึ้นอีกมาก
ดังนั้น เมืองพัทยา จึงได้เร่งสร้างโครงสร้างพื้นฐานต่างๆ ขึ้นมารองรับ และเชื่อมกับโครงการก่อสร้างคมนาคมขนาดใหญ่ เช่น รถไฟฟ้าความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน (สุวรรณภูมิ ดอนเมืองและอู่ตะเภา) โดยโครงการหลักๆ จะเป็นการสร้างระบบรถไฟฟ้ารางเบา ที่จะเข้ามาเชื่อมต่อสถานีรถไฟฟ้าความเร็วสูงที่พัทยากลาง เข้าสู่ตัวเมืองพัทยา ระยะทางประมาณ 8 กิโลเมตร
คาดว่าจะใช้งบประมาณ 7-8 พันล้านบาท ส่วนค่าโดยสารจะไม่แพงจนเกินไปอยู่ในระดับ เท่าๆ กับค่าโดยสารแบบเดิม ขณะที่รถสองแถว โดยสารอาจจะต้องปรับเปลี่ยนเส้นทางการวิ่ง จากที่เน้นในถนนสายหลักไปเป็นการเชื่อมโยง จากสถานีรถไฟฟ้ารางเบาไปสู่ตรอกซอกซอย ต่างๆ และจะจัดระเบียบให้มีค่าโดยสาร ที่ไม่แพงจนเกินไป
"โครงการรถไฟฟ้ารางเบาจะเปิดให้เอกชนมาร่วมลงทุนในรูปแบบรัฐเอกชนร่วมลงทุน (พีพีพี) โดยเมืองพัทยาจะเป็นตัวแทนภาครัฐร่วมลงทุนกับเอกชน ขณะนี้ อยู่ระหว่างการศึกษาออกแบบ และหา ผู้ร่วมลงทุน ซึ่งคาดว่าจะเป็นภาคเอกชนจากจีน"
ทั้งนี้ คาดว่า จะเริ่มก่อสร้างปลายปี 2563 โดยโครงการนี้จะเปิดเดินรถได้ทันพร้อมๆ กับ โครงการรถไฟความเร็วสูงแล้วเสร็จ ซึ่ง เมื่อเปิดเดินรถไฟฟ้ารางเบาจะสั่งห้าม ไม่ให้รถทัวร์เข้ามาในตัวเมืองพัทยา เพื่อลดปัญหาการจราจรติดขัด
พัฒนาแหล่งท่องเที่ยวใหม่
นอกจากนี้ ยังมีโครงการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวใหม่ ได้แก่ โครงการพัทยาออนเพียร์ (Pattaya-On-Pier) ซึ่งเป็นโครงการขนาดใหญ่ โดยเป็นการจำลองแบบ Pier 39 ใน ซานฟรานซิสโก จะกลายเป็นแลนมาร์คสำคัญ แห่งใหม่ที่มนุษย์สร้างขึ้นในพัทยา ในพัทยาออนเพียร์นั้นจะประกอบไปด้วยร้านค้า ผับ บาร์ ภัตตาคาร และศูนย์กีฬาทางน้ำ นอกจากนี้ ยังมีพื้นที่ไว้สำหรับจัดกิจกรรมและ งานเทศกาลต่างๆ อีกด้วย
โดยโครงการพัทยาออนเพียร์อยู่ระหว่าง การออกแบบที่ผ่านไปแล้ว 2 งวด จากทั้งหมด 4 งวด คาดว่าจะออกแบบเสร็จภายในเดือนเม.ย. 2563 ซึ่งพื้นที่ตั้งโครงการฯ ขณะนี้คัดเลือกอยู่ 2 จุด ได้แก่ พื้นที่หลังวอคกิ้งสตรีทพัทยาใต้ มีเนื้อที่หลายสิบไร่ และพื้นที่บริเวณ เขาพระตำหนักติดกับแหลมบาลีฮาย มีเนื้อที่ มากกว่าจุดแรก แต่ทั้งนี้คาดว่าจะเลือกพื้นที่ หลังวอคกิ้งสตรีทพัทยาใต้ เพื่อไม่ให้ แหล่งท่องเที่ยวมากระจุกตัวอยู่ที่เมืองพัทยา ซึ่งจะเป็นการลดปัญหาจราจรติดขัด และควบคุมการรุกล้ำชายฝั่งทะเลได้ดีขึ้น ในส่วนของการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวเดิม
โดยมีแผนที่จะพัฒนาพื้นที่เขาพระตำหนัก ซึ่งขณะนี้อยู่ระหว่างศึกษาออกแบบสร้างระบบกระเช้าไฟฟ้าขึ้นเขาพระตำหนัก ซึ่งรูปแบบ การลงทุนจะเป็นการเปิดสัมปทานให้เอกชน เข้ามาลงทุนทั้งหมด คาดว่าโครงการนี้จะแล้วเสร็จ พร้อมๆ กับโครงสร้างพื้นฐานต่างๆ ในอีอีซี
นอกจากนี้ ยังได้ตั้งโครงการชลบุรีพัทยาเมืองศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัย อีอีซี โดยโครงการนี้จะเป็นประโยชน์ในการยกระดับ ภาพลักษณ์ อัตลักษณ์ของชลบุรีพัทยาให้เป็นเมืองศิลปะร่วมสมัย อีอีซี จากรากเดิม ที่เป็นมรดกทางศิลปวัฒนธรรมของชลบุรีและความเป็นวัฒนธรรมร่วมสมัยของพัทยา เมืองระดับโลก ให้ได้รับการยกระดับเป็นเมืองน่าท่องเที่ยวน่าอยู่ ทางสุนทรีทางธรรมชาติ และทางศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัยอย่างมีดุลยภาพบนพื้นที่เขต อีอีซี
ดึงวัฒนธรรมเพิ่มมูลค่าศก.
โดยแผนการดำเนินการกิจกรรมปี 2563 ในการส่งเสริมพัฒนาเรียนรู้ด้านศิลปะ ในแขนงต่างๆ ประชากรและเยาวชน เพื่อให้สามารถนำองค์ความรู้ ทรัพยากรท้องถิ่น มาต่อยอดเป็นศิลปะออกแบบและหัตถกรรม สร้างมูลค่าเพิ่มทางเศรษฐกิจอย่างยั่งยืน ซึ่งจะก่อให้เกิดประโยชน์แก่เยาวชน ประชาชน รวมถึงส่งเสริมการท่องเที่ยวของเมืองพัทยาต่อไปในอนาคต
รายงานข่าวจากสำนักงานนโยบายและ แผนการขนส่ง และจราจร (สนข.) ระบุว่า กำลังศึกษาพัฒนาเมืองกับระบบ โครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคมขนส่ง "TOD คมนาคม สร้างเมือง เมืองสร้างสุข สุขสร้างได้" โดยกำหนดให้เมืองพัทยา จ.ชลบุรี กลุ่มเมืองต้นแบบการพัฒนาพื้นที่โดยรอบสถานีขนส่งมวลชน (Transit Oriented Development : TOD) ด้านตะวันออก มีความพร้อมด้วยศักยภาพการเป็น ศูนย์กลางเศรษฐกิจอีอีซี เป็นฐานการผลิตขนาดใหญ่ เป็นทำเลที่ดีที่สุดในการลงทุนในภูมิภาคอาเซียน ที่สำคัญเป็นประตู สู่อาเซียน โดยเฉพาะจีนและอินเดีย และ มีเม็ดเงินลงทุนพัฒนาเมืองในพื้นที่ 4 แสนล้านบาท และการพัฒนาด้านการท่องเที่ยว มูลค่า 2 แสนล้านบาท
ทั้งนี้ ผลการศึกษาเบื้องต้นบริเวณ รอบสถานีเมืองพัทยาสามารถพัฒนาได้ 4 โซนหลัก คือ 1.ย่านอาคารสำนักงาน ที่พร้อมรองรับทั้งกิจกรรมทางเศรษฐกิจและการดำเนินชีวิตอย่างลงตัว
2.ศูนย์กลางธุรกิจ การค้า การพาณิชย์ ขับเคลื่อนเศรษฐกิจคล่องตัว ด้วยตำแหน่ง ที่ตั้งติดสถานีทำให้พื้นที่บริเวณนี้เหมาะ อย่างยิ่งที่จะพัฒนาเชิงพาณิชย์ทั้งเป็นศูนย์การค้าขนาดใหญ่ระดับภูมิภาครองรับกลุ่มนักท่องเที่ยวต่างชาติ รวมถึงโรงแรมธุรกิจ เพื่อส่งเสริมและสนับสนุนกิจกรรมทางเศรษฐกิจ การค้าการลงทุน การท่องเที่ยว และบริการแบบครบวงจร
3.มหานครแห่งอุตสาหกรรมไมซ์ (MICE City) ครบวงจร ด้วยศักยภาพและความพร้อมของเมืองพัทยาในฐานะ เมืองท่องเที่ยวที่มีชื่อเสียงระดับโลก มีปริมาณ นักท่องเที่ยวเพิ่มขึ้นทุกปี และมีโครงสร้างพื้นฐาน ที่แข็งแกร่งรองรับพื้นที่นี้จึงเหมาะอย่างยิ่ง ที่จะพัฒนาเป็นศูนย์กลางทางด้านการประชุม จัดแสดง และสัมมนา
4.ชุมชนที่อยู่อาศัย อยู่สบาย เอื้อต่อการ ใช้ชีวิตอย่างมีคุณภาพ ด้วยความสะดวกสบาย ด้านการคมนาคม เพราะอยู่ใกล้จากสถานีทำให้พื้นที่แห่งนี้เหมาะที่จะพัฒนาเป็นย่านที่พักอาศัยที่มีคุณภาพมาตรฐาน ทั้งอาคารแนวราบ และอาคารแนวสูงราคาถูกภายใต้สภาพแวดล้อมที่ดี มีร้านค้าปลีกชุมชน และสวนสาธารณะ
ข่าวเขตเศรษฐกิจพิเศษ อื่นๆ