EECอัด490ล้านรื้อสาธารณูปโภคเร่งเปิดหน้างานสร้างไฮสปีดซี.พี.ปีหน้า
วันที่ : 21 พฤศจิกายน 2562
อนุกรรมการอีอีซี เคาะงบฯ 490 ล้าน เปิดหน้างานไฮสปีด เร่ง "ซี.พี." ออกแบบ ให้เสร็จ ม.ค. 63 ทำแผนรื้อย้ายระบบสาธารณูปโภคแนวเส้นทาง
อนุกรรมการอีอีซี เคาะงบฯ 490 ล้าน เปิดหน้างานไฮสปีด เร่ง "ซี.พี." ออกแบบ ให้เสร็จ ม.ค. 63 ทำแผนรื้อย้ายระบบสาธารณูปโภคแนวเส้นทาง
นายคณิศ แสงสุพรรณ เลขาธิการคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (กพอ.) เปิดเผยว่า การประชุมคณะอนุกรรมการบริหารการพัฒนาเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (กบอ.) ครั้งที่ 2/2562 ที่มีนายอุตตม สาวนายน รัฐมนตรีว่าการกระทรวง การคลัง เป็นประธานเมื่อวันที่ 18 พ.ย. รับทราบการทำงานของคณะทำงาน ส่งมอบพื้นที่โครงการรถไฟความเร็วสูง เชื่อม 3 สนามบิน (ดอนเมือง-สุวรรณภูมิอู่ตะเภา) ระยะทาง 220 กม. วงเงิน 224,544 ล้านบาท ที่มีนายชัยวัฒน์ ทองคำคูณ ปลัดกระทรวงคมนาคมเป็นประธาน
คณะทำงานได้ประชุมเมื่อวันที่ 13 พ.ย.ที่ผ่านมา พิจารณาแผนเร่งรัด การส่งมอบพื้นที่และรื้อย้ายระบบสาธารณูปโภคใน 3 ช่วงสำคัญคือ 1.ช่วงพญาไท-สุวรรณภูมิ หรือระบบแอร์พอร์ตเรลลิงก์เดิม ระยะทาง 28 กม. สามารถส่งมอบได้ทันที เมื่อบริษัท รถไฟความเร็วสูงสายตะวันออกเชื่อม สามสนามบิน จำกัด (กลุ่ม ซี.พี.) เอกชนคู่สัญญาชำระค่าใช้สิทธิ์ 10,671 ล้านบาท ภายใน 2 ปีนับแต่วันลงนาม
2.ช่วงสุวรรณภูมิ-อู่ตะเภา ระยะทาง 170 กม. มีระยะการส่งมอบพื้นที่ภายใน 1 ปี 3 เดือน หลังลงนาม และ 3.ช่วงดอนเมือง-บางซื่อ-พญาไท ระยะทาง 22 กม. มีระบบสาธารณูปโภคใหญ่ ๆ 2 จุดคือ จุดแรก ช่วงก่อนเข้าสถานีกลางบางซื่อ มีอุโมงค์ระบายน้ำและ ท่อน้ำมันขวางแนวอยู่ และอีกจุดหนึ่งคือ ช่วงก่อนถึงสถานีดอนเมือง มีเสาไฟ แรงสูงตั้งอยู่บนแนวเส้นทาง โดยมีหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง 6 หน่วยงานคือ กรุงเทพมหานคร (กทม.) การประปานครหลวง (กปน.) การไฟฟ้านครหลวง (กฟน.) การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (กฟภ.) การประปาส่วนภูมิภาค (กปภ.) และการรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.)
"ที่ประชุมได้ประมาณการค่าใช้จ่ายเปิดหน้างานทั้งแนวเส้นทาง เพื่อรื้อย้ายระบบสาธารณูปโภคแล้วอยู่ที่ 490 ล้านบาท หลังจากนั้น จะมีค่าใช้จ่ายเพื่อปิดหน้างานหลังก่อสร้างแล้วเสร็จอีกครั้ง ยังอยู่ระหว่างการคำนวณค่าใช้จ่ายและประสานกับหน่วยงานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง" นายคณิศกล่าวและว่า
นอกจากนี้ ที่ประชุมยังพิจารณาการแต่งตั้งคณะกรรมการกำกับดูแล และคณะกรรมการบริหารสัญญาและโครงสร้างบริหารการจัดการโครงการแล้ว อยู่ระหว่างให้หน่วยงานที่กำหนดให้เป็นกรรมการ ส่งรายชื่อบุคคลผู้เหมาะสมมาให้ครบถ้วนก่อน คาดว่าจะได้รายชื่อครบและจะเสนอในที่ประชุมคณะกรรมการ กพอ.ที่มีพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีเป็นประธาน ภายในเดือน ธ.ค.นี้
นายชัยวัฒน์ ทองคำคูณ ปลัดกระทรวงคมนาคมในฐานะประธานคณะทำงาน ส่งมอบพื้นที่ เปิดเผยว่า กลุ่ม ซี.พี.แจ้งว่า จะเคลียร์การออกแบบแบบก่อสร้างของโครงการได้เสร็จภายในเดือน ม.ค. 2563 เพื่อนำแบบก่อสร้างมาทาบแนวเส้นทาง หาพิกัดจุดที่จะกระทบกับระบบสาธารณูปโภค เช่น ท่อประปา ท่อก๊าซ ท่อน้ำมัน โดยคณะทำงานจะหาแนวทางที่จะกระทบกับระบบต่าง ๆ ที่มีให้น้อยที่สุด เพื่อลดค่าใช้จ่ายให้ได้มากที่สุด เช่น หากพบว่าการวางเสาตอม่อทุก ๆ 30 เมตร ไปกระทบกับท่อประปา ก็จะให้ขยับการวางเสา ออกไป 2 เมตร เป็นต้น
และได้ประสานงานหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้ง 6 หน่วยงานข้างต้นทั้งหมดแล้ว จะมีการนัดประชุมคณะทำงาน ส่งมอบพื้นที่อีกครั้งช่วงกลางเดือน ธ.ค.นี้ เพื่อนำแผนของแต่ละหน่วยมาตรวจสอบ ดังนั้นในช่วง 3 เดือนนี้ (พ.ย.-ธ.ค. 2562 และ ม.ค. 2563) จะเริ่มลงสนามพื้นที่จริง เพื่อนำแบบ ที่มีไปตรวจสอบตามแนวเส้นทาง แล้วนำกลับมาสรุปให้คณะทำงานรับทราบว่าต้องรื้อย้ายกี่จุด แต่ละจุดใช้เงินลงทุนเท่าไหร่
นายคณิศ แสงสุพรรณ เลขาธิการคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (กพอ.) เปิดเผยว่า การประชุมคณะอนุกรรมการบริหารการพัฒนาเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (กบอ.) ครั้งที่ 2/2562 ที่มีนายอุตตม สาวนายน รัฐมนตรีว่าการกระทรวง การคลัง เป็นประธานเมื่อวันที่ 18 พ.ย. รับทราบการทำงานของคณะทำงาน ส่งมอบพื้นที่โครงการรถไฟความเร็วสูง เชื่อม 3 สนามบิน (ดอนเมือง-สุวรรณภูมิอู่ตะเภา) ระยะทาง 220 กม. วงเงิน 224,544 ล้านบาท ที่มีนายชัยวัฒน์ ทองคำคูณ ปลัดกระทรวงคมนาคมเป็นประธาน
คณะทำงานได้ประชุมเมื่อวันที่ 13 พ.ย.ที่ผ่านมา พิจารณาแผนเร่งรัด การส่งมอบพื้นที่และรื้อย้ายระบบสาธารณูปโภคใน 3 ช่วงสำคัญคือ 1.ช่วงพญาไท-สุวรรณภูมิ หรือระบบแอร์พอร์ตเรลลิงก์เดิม ระยะทาง 28 กม. สามารถส่งมอบได้ทันที เมื่อบริษัท รถไฟความเร็วสูงสายตะวันออกเชื่อม สามสนามบิน จำกัด (กลุ่ม ซี.พี.) เอกชนคู่สัญญาชำระค่าใช้สิทธิ์ 10,671 ล้านบาท ภายใน 2 ปีนับแต่วันลงนาม
2.ช่วงสุวรรณภูมิ-อู่ตะเภา ระยะทาง 170 กม. มีระยะการส่งมอบพื้นที่ภายใน 1 ปี 3 เดือน หลังลงนาม และ 3.ช่วงดอนเมือง-บางซื่อ-พญาไท ระยะทาง 22 กม. มีระบบสาธารณูปโภคใหญ่ ๆ 2 จุดคือ จุดแรก ช่วงก่อนเข้าสถานีกลางบางซื่อ มีอุโมงค์ระบายน้ำและ ท่อน้ำมันขวางแนวอยู่ และอีกจุดหนึ่งคือ ช่วงก่อนถึงสถานีดอนเมือง มีเสาไฟ แรงสูงตั้งอยู่บนแนวเส้นทาง โดยมีหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง 6 หน่วยงานคือ กรุงเทพมหานคร (กทม.) การประปานครหลวง (กปน.) การไฟฟ้านครหลวง (กฟน.) การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (กฟภ.) การประปาส่วนภูมิภาค (กปภ.) และการรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.)
"ที่ประชุมได้ประมาณการค่าใช้จ่ายเปิดหน้างานทั้งแนวเส้นทาง เพื่อรื้อย้ายระบบสาธารณูปโภคแล้วอยู่ที่ 490 ล้านบาท หลังจากนั้น จะมีค่าใช้จ่ายเพื่อปิดหน้างานหลังก่อสร้างแล้วเสร็จอีกครั้ง ยังอยู่ระหว่างการคำนวณค่าใช้จ่ายและประสานกับหน่วยงานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง" นายคณิศกล่าวและว่า
นอกจากนี้ ที่ประชุมยังพิจารณาการแต่งตั้งคณะกรรมการกำกับดูแล และคณะกรรมการบริหารสัญญาและโครงสร้างบริหารการจัดการโครงการแล้ว อยู่ระหว่างให้หน่วยงานที่กำหนดให้เป็นกรรมการ ส่งรายชื่อบุคคลผู้เหมาะสมมาให้ครบถ้วนก่อน คาดว่าจะได้รายชื่อครบและจะเสนอในที่ประชุมคณะกรรมการ กพอ.ที่มีพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีเป็นประธาน ภายในเดือน ธ.ค.นี้
นายชัยวัฒน์ ทองคำคูณ ปลัดกระทรวงคมนาคมในฐานะประธานคณะทำงาน ส่งมอบพื้นที่ เปิดเผยว่า กลุ่ม ซี.พี.แจ้งว่า จะเคลียร์การออกแบบแบบก่อสร้างของโครงการได้เสร็จภายในเดือน ม.ค. 2563 เพื่อนำแบบก่อสร้างมาทาบแนวเส้นทาง หาพิกัดจุดที่จะกระทบกับระบบสาธารณูปโภค เช่น ท่อประปา ท่อก๊าซ ท่อน้ำมัน โดยคณะทำงานจะหาแนวทางที่จะกระทบกับระบบต่าง ๆ ที่มีให้น้อยที่สุด เพื่อลดค่าใช้จ่ายให้ได้มากที่สุด เช่น หากพบว่าการวางเสาตอม่อทุก ๆ 30 เมตร ไปกระทบกับท่อประปา ก็จะให้ขยับการวางเสา ออกไป 2 เมตร เป็นต้น
และได้ประสานงานหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้ง 6 หน่วยงานข้างต้นทั้งหมดแล้ว จะมีการนัดประชุมคณะทำงาน ส่งมอบพื้นที่อีกครั้งช่วงกลางเดือน ธ.ค.นี้ เพื่อนำแผนของแต่ละหน่วยมาตรวจสอบ ดังนั้นในช่วง 3 เดือนนี้ (พ.ย.-ธ.ค. 2562 และ ม.ค. 2563) จะเริ่มลงสนามพื้นที่จริง เพื่อนำแบบ ที่มีไปตรวจสอบตามแนวเส้นทาง แล้วนำกลับมาสรุปให้คณะทำงานรับทราบว่าต้องรื้อย้ายกี่จุด แต่ละจุดใช้เงินลงทุนเท่าไหร่
ข่าวเขตเศรษฐกิจพิเศษ อื่นๆ