สมคิด กล่อมจีนลงทุนอีอีซี
วันที่ : 24 ตุลาคม 2562
นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกรัฐมนตรี เปิดเผยในงานสัมมนากลยุทธ์ความร่วมมือผ่านเส้นทางสายไหมใหม่ (เบลท์ แอนด์ โรด) สู่พื้นที่อีอีซี ณ เมืองเซินเจิ้น-เขตบริหารพิเศษ สาธารณรัฐประชาชนจีนมีนักลงทุนเข้าร่วมกว่า 500 รายว่าประเทศไทยพร้อมต้อนรับนักลงทุนจีนเข้าไปลงทุนในไทยเพิ่มขึ้น
เปิดประตูตลาด'ซีแอลเอ็มวี'
นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกรัฐมนตรี เปิดเผยในงานสัมมนากลยุทธ์ความร่วมมือผ่านเส้นทางสายไหมใหม่ (เบลท์ แอนด์ โรด) สู่พื้นที่อีอีซี ณ เมืองเซินเจิ้น-เขตบริหารพิเศษ สาธารณรัฐประชาชนจีนมีนักลงทุนเข้าร่วมกว่า 500 รายว่าประเทศไทยพร้อมต้อนรับนักลงทุนจีนเข้าไปลงทุนในไทยเพิ่มขึ้น ถือเป็นจังหวะที่เหมาะสม เพราะรัฐบาลกำลังปฏิรูปประเทศในทุกด้านเพื่อรับมือกับความเปลี่ยนแปลง ซึ่งนอกการลงทุนและการตั้งสำนักงานใหญ่ในไทยแล้ว ยังช่วยกระจายตลาดเข้าสู่ซีแอลเอ็มวีและอนุภูมิภาคอื่นทั้งเอเชียใต้และตะวันออกกลาง
สำหรับการเดินทางมากวางตุ้งครั้งนี้ เพื่อกระชับความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจระหว่างมณฑลกวางตุ้งกับไทยให้แน่นแฟ้นยิ่งขึ้น ทั้งระดับรัฐและระดับเอกชน เพราะเกตเตอร์เบย์แอร์เรีย (จีบีเอ) ถือเป็นยุทธศาสตร์สำคัญ ที่รองรับนโยบายเส้นทางสายไหมใหม่ของจีน (เบลท์ แอนด์ โรด) ทำให้ไทยมีบทบาทสร้างความเชื่อมโยงกับอนุภูมิภาคซีแอลเอ็มวี ที่มีความพร้อม ทั้งทรัพยากรมนุษย์ และเป็นฐานการผลิตที่สำคัญของเอเชียแทบทุกอุตสาหกรรม
ขณะที่ช่วง 5 ปีที่ผ่านมา เศรษฐกิจไทยเติบโตต่อเนื่อง แม้ปีนี้จะถูกกระทบจากสงครามการค้า แต่คาดการณ์ว่าจะเติบโตได้ 2.7-3.2% ส่วนดัชนีทางมหภาคทุกตัวอยู่ในเกณฑ์ที่เข้มแข็ง และการขจัดอุปสรรคทางธุรกิจ ก็ได้รับการเลื่อนขั้นจากอันดับที่ 46 มาสู่อันดับที่ 27 ในช่วง 2 ปีที่ผ่านมา และในวันที่ 25 ต.ค.นี้ ที่ธนาคารโลกจะเปิดตัวรายงานดูอิง บิซิเนส 2020 ไทยมีแนวโน้มเลื่อนขั้นอันดับดีขึ้น เพราะเป็นผลมาจากการทุ่มเทจริงจังในการอำนวยความสะดวกการทำธุรกิจ
"ความพยายามการปฏิรูปเศรษฐกิจครั้งนี้ รัฐบาลไทยได้เน้นการเชิญชวนภาคเอกชนให้เข้ามามีส่วนร่วม และเร่งออกมาตรการจูงใจทั้งหลายโดยเฉพาะจากทางสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (บีโอไอ) เพื่อสร้างโอกาสใหม่แห่งการเป็นพันธมิตรร่วมกันทางธุรกิจ จึงขอเชิญชวนนักลงทุนจีนที่เชื่อมั่นและต้องการเข้าไปลงทุนในโครงการอีอีซีของเรา"
นายกอบศักดิ์ ภูตระกูล รองเลขาธิการนายกรัฐมนตรีฝ่ายการเมือง กล่าวว่าภาพรวมเศรษฐกิจโลกยังได้รับผลกระทบจากสงครามการค้าทำให้การส่งออกและการเติบโตทางเศรษฐกิจในหลายประเทศปรับตัวลดลง สะท้อนจากการปรับตัวเลขจีดีพีกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (ไอเอ็มเอฟ) ที่ลดการขยายตัวของเศรษฐกิจโลกปี 62 ลงสู่ระดับ 3% จากเดิมที่คาดการณ์ไว้ที่ 3.9% ส่วนไทยแม้ปีนี้จะปรับตัวลดลง แต่เชื่อว่าปี 63 จะขยายตัวได้ที่ 3-4%
"แม้ภาพรวมตัวเลขเศรษฐกิจจะชะลอตัวลง แต่ยังมีโอกาสในการลงทุนอยู่ เพราะเศรษฐกิจกลุ่มประเทศซีแอลเอ็มวีทียังขยายตัวได้ต่อเนื่องที่ 7-8% ถือเป็นโอกาสที่ดีที่นักลงทุนจีนจะเข้ามาลงทุนในไทยตามนโยบายเบลท์แอนด์โรดเนื่องจากไทยเป็นศูนย์กลางเชื่อมต่อไปยังภูมิภาคนี้ได้"
น.ส.ดวงใจ อัศวจินตจิตร์ เลขาธิการบีโอไอ กล่าวว่า ที่ผ่านมาไทยสามารถดึงดูดโครงการลงทุนจากต่างประเทศได้จำนวนมาก โดยมีมูลค่าเงินลงทุนในพื้นที่อีอีซี ที่ขอรับการส่งเสริมการลงทุน จากบีโอไอ ปี 61 ขยายตัวเพิ่มขึ้น 130% หรือคิดเป็น 680,000 ล้านบาท สำหรับการลงทุนจากจีนในอีอีซี ตั้งแต่ปี 61 จนถึงไตรมาสที่ 2 ของปีนี้มีมูลค่าสูงถึง 59,000 ล้านบาท
นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รมว.อุตสาหกรรม กล่าวว่าจากการพูดคุยกับนักลงทุนต่างชาติล้วนเชื่อมั่นในประเทศไทย ว่าเป็นแหล่งผลิตและคุณภาพอันดับหนึ่งของโลกโดยกระทรวงจะช่วยหาพื้นที่รองรับในนิคมอุตสาหกรรมให้ พร้อมทั้งจัดบุคลากรที่จะพัฒนาร่วมกับกระทรวงอุดมศึกษาด้วย เพื่อสนับสนุนนักลงทุนจากต่างชาติในทุกด้าน
นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกรัฐมนตรี เปิดเผยในงานสัมมนากลยุทธ์ความร่วมมือผ่านเส้นทางสายไหมใหม่ (เบลท์ แอนด์ โรด) สู่พื้นที่อีอีซี ณ เมืองเซินเจิ้น-เขตบริหารพิเศษ สาธารณรัฐประชาชนจีนมีนักลงทุนเข้าร่วมกว่า 500 รายว่าประเทศไทยพร้อมต้อนรับนักลงทุนจีนเข้าไปลงทุนในไทยเพิ่มขึ้น ถือเป็นจังหวะที่เหมาะสม เพราะรัฐบาลกำลังปฏิรูปประเทศในทุกด้านเพื่อรับมือกับความเปลี่ยนแปลง ซึ่งนอกการลงทุนและการตั้งสำนักงานใหญ่ในไทยแล้ว ยังช่วยกระจายตลาดเข้าสู่ซีแอลเอ็มวีและอนุภูมิภาคอื่นทั้งเอเชียใต้และตะวันออกกลาง
สำหรับการเดินทางมากวางตุ้งครั้งนี้ เพื่อกระชับความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจระหว่างมณฑลกวางตุ้งกับไทยให้แน่นแฟ้นยิ่งขึ้น ทั้งระดับรัฐและระดับเอกชน เพราะเกตเตอร์เบย์แอร์เรีย (จีบีเอ) ถือเป็นยุทธศาสตร์สำคัญ ที่รองรับนโยบายเส้นทางสายไหมใหม่ของจีน (เบลท์ แอนด์ โรด) ทำให้ไทยมีบทบาทสร้างความเชื่อมโยงกับอนุภูมิภาคซีแอลเอ็มวี ที่มีความพร้อม ทั้งทรัพยากรมนุษย์ และเป็นฐานการผลิตที่สำคัญของเอเชียแทบทุกอุตสาหกรรม
ขณะที่ช่วง 5 ปีที่ผ่านมา เศรษฐกิจไทยเติบโตต่อเนื่อง แม้ปีนี้จะถูกกระทบจากสงครามการค้า แต่คาดการณ์ว่าจะเติบโตได้ 2.7-3.2% ส่วนดัชนีทางมหภาคทุกตัวอยู่ในเกณฑ์ที่เข้มแข็ง และการขจัดอุปสรรคทางธุรกิจ ก็ได้รับการเลื่อนขั้นจากอันดับที่ 46 มาสู่อันดับที่ 27 ในช่วง 2 ปีที่ผ่านมา และในวันที่ 25 ต.ค.นี้ ที่ธนาคารโลกจะเปิดตัวรายงานดูอิง บิซิเนส 2020 ไทยมีแนวโน้มเลื่อนขั้นอันดับดีขึ้น เพราะเป็นผลมาจากการทุ่มเทจริงจังในการอำนวยความสะดวกการทำธุรกิจ
"ความพยายามการปฏิรูปเศรษฐกิจครั้งนี้ รัฐบาลไทยได้เน้นการเชิญชวนภาคเอกชนให้เข้ามามีส่วนร่วม และเร่งออกมาตรการจูงใจทั้งหลายโดยเฉพาะจากทางสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (บีโอไอ) เพื่อสร้างโอกาสใหม่แห่งการเป็นพันธมิตรร่วมกันทางธุรกิจ จึงขอเชิญชวนนักลงทุนจีนที่เชื่อมั่นและต้องการเข้าไปลงทุนในโครงการอีอีซีของเรา"
นายกอบศักดิ์ ภูตระกูล รองเลขาธิการนายกรัฐมนตรีฝ่ายการเมือง กล่าวว่าภาพรวมเศรษฐกิจโลกยังได้รับผลกระทบจากสงครามการค้าทำให้การส่งออกและการเติบโตทางเศรษฐกิจในหลายประเทศปรับตัวลดลง สะท้อนจากการปรับตัวเลขจีดีพีกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (ไอเอ็มเอฟ) ที่ลดการขยายตัวของเศรษฐกิจโลกปี 62 ลงสู่ระดับ 3% จากเดิมที่คาดการณ์ไว้ที่ 3.9% ส่วนไทยแม้ปีนี้จะปรับตัวลดลง แต่เชื่อว่าปี 63 จะขยายตัวได้ที่ 3-4%
"แม้ภาพรวมตัวเลขเศรษฐกิจจะชะลอตัวลง แต่ยังมีโอกาสในการลงทุนอยู่ เพราะเศรษฐกิจกลุ่มประเทศซีแอลเอ็มวีทียังขยายตัวได้ต่อเนื่องที่ 7-8% ถือเป็นโอกาสที่ดีที่นักลงทุนจีนจะเข้ามาลงทุนในไทยตามนโยบายเบลท์แอนด์โรดเนื่องจากไทยเป็นศูนย์กลางเชื่อมต่อไปยังภูมิภาคนี้ได้"
น.ส.ดวงใจ อัศวจินตจิตร์ เลขาธิการบีโอไอ กล่าวว่า ที่ผ่านมาไทยสามารถดึงดูดโครงการลงทุนจากต่างประเทศได้จำนวนมาก โดยมีมูลค่าเงินลงทุนในพื้นที่อีอีซี ที่ขอรับการส่งเสริมการลงทุน จากบีโอไอ ปี 61 ขยายตัวเพิ่มขึ้น 130% หรือคิดเป็น 680,000 ล้านบาท สำหรับการลงทุนจากจีนในอีอีซี ตั้งแต่ปี 61 จนถึงไตรมาสที่ 2 ของปีนี้มีมูลค่าสูงถึง 59,000 ล้านบาท
นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รมว.อุตสาหกรรม กล่าวว่าจากการพูดคุยกับนักลงทุนต่างชาติล้วนเชื่อมั่นในประเทศไทย ว่าเป็นแหล่งผลิตและคุณภาพอันดับหนึ่งของโลกโดยกระทรวงจะช่วยหาพื้นที่รองรับในนิคมอุตสาหกรรมให้ พร้อมทั้งจัดบุคลากรที่จะพัฒนาร่วมกับกระทรวงอุดมศึกษาด้วย เพื่อสนับสนุนนักลงทุนจากต่างชาติในทุกด้าน
ข่าวเขตเศรษฐกิจพิเศษ อื่นๆ