อุตฯคาดใช้หิน49ล้านตัน แผนถมทะเล อีอีซี 5พันไร่
Loading

อุตฯคาดใช้หิน49ล้านตัน แผนถมทะเล อีอีซี 5พันไร่

วันที่ : 15 ตุลาคม 2562
นายวิษณุ ทับเที่ยง อธิบดีกรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมือนแร่ (กพร.) เปิดเผยว่า กพร.ได้เตรียมประเมินความต้องการแหล่งแร่หินอุตสาหกรรม เพื่อรองรับการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานและการลงทุนโครงการอสังหาริมทรัพย์ ทั้งในเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (อีอีซี) และพื้นที่อื่นทั่วประเทศ เพื่อเตรียมความพร้อม ในการจัดหาแหล่งหินอุตสาหกรรม ป้อนความต้องการ
            กนอ.ศึกษาเสร็จพ.ย. เตรียมพื้นที่"เอ็กซอน"
            กำลังประเมินความต้องการใช้หินอุตสาหกรรม เพื่อรองรับการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานและอสังหาฯ
            "กพร." ประเมิน 3 โปรเจค ถมทะเลท่าเรือมาบตาพุด ท่าเรือแหลมฉบัง พร้อมขยายพื้นที่ลงทุนในเอ็กซอน ใช้หิน 49 ล้านตัน รวมพื้นที่ 5,000 ไร่ กนอ.เร่งศึกษา ถมทะเลเพิ่มพื้นที่นิคมฯแหลมฉบังเสร็จ พ.ย.นี้
            นายวิษณุ ทับเที่ยง อธิบดีกรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมือนแร่ (กพร.) เปิดเผยว่า กพร.ได้เตรียมประเมินความต้องการแหล่งแร่หินอุตสาหกรรม เพื่อรองรับการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานและการลงทุนโครงการอสังหาริมทรัพย์ ทั้งในเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (อีอีซี)  และพื้นที่อื่นทั่วประเทศ เพื่อเตรียมความพร้อม ในการจัดหาแหล่งหินอุตสาหกรรม ป้อนความต้องการ
            ทั้งนี้ การวางแผนการบริหารจัดการวัตถุดิบในภาคอุตสาหกรรม กพร.นำความต้องการของประเทศที่จะนำวัตถุดิบมาใช้ในอนาคตมาประเมิน โดย กพร.ได้มีการประสานงานกับหน่วยงานภาครัฐที่มีโครงการที่ต้องใช้หินอุตสาหกรรม เช่น สำนักงานคณะกรรมการนโยบายเขตเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (สกพอ.) กรมทางหลวง กรมทางหลวงชนบท สำนักนโยบายและแผนการขนส่งและการจราจร (สนข.) กรมชลประทาน การรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) กรมเจ้าท่า
            นอกจากนี้ กพร.ได้ประเมินการใช้หินอุตสาหกรรมสำหรับการถมทะเล ซึ่งหลายหน่วยงานวางแผนที่จะถมทะเลในอีอีซีเพื่อรองรับการลงทุนในอนาคต 3 โครงการ คือ 1.โครงการพัฒนาท่าเรือมาบตาพุดเฟส 3 ของ การนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (กนอ.)  มีแผนถมทะเล 1,000 ไร่ คาดว่าจะใช้หิน 8 ล้านตัน
            2.โครงการพัฒนาท่าเรือแหลมฉบังเฟส 3 ของการท่าเรือแห่งประเทศไทย (กทท.) มีแผน ถมทะเล 1,000 ไร่ คาดว่าจะใช้หิน 11 ล้านตัน 3.โครงการขยายนิคมอุตสาหกรรมแหลมฉบัง  ของ กนอ.คาดว่าจะใช้หินถมทะเล 30 ล้านตัน ซึ่ง กพร.ประเมินว่าเมื่อรวมกับความต้องการใช้หินในโครงการอื่นในอีอีซี ปีละ 25 ล้านตัน เชื่อว่ายังมีแหล่งหินเพียงพอกับความต้องการ
            นางสาวสมจิณณ์ พิลึก ผู้ว่าการ กนอ.กล่าวว่า โครงการขยายนิคมอุตสาหกรรมแหลมฉบังที่มีแผนถมทะเล 3,000 ไร่ เพื่อสร้าง เขตเศรษฐกิจอุตสาหกรรมแห่งอนาคตที่ใช้นวัตกรรมและเทคโนโลยีชั้นสูงที่มีบริษัท เอ็กซอนโมบิล จากสหรัฐ สนใจที่จะเข้ามาลงทุน ตั้งโรงงานปิโตรเคมีชั้นสูง ใช้เงินลงทุนกว่า 2 แสนล้านบาท ที่ผ่านมาได้ลงนามว่าจ้างสถาบัน ปิโตรเลียมแห่งประเทศไทย ตั้งแต่วันที่ 29 ส.ค. ที่ผ่านมา จะเวลาศึกษา 180 วัน หรือ 6 เดือน ซึ่งคาดว่าภายในเดือน พ.ย.นี้ และจะได้ข้อสรุป เบื้องต้นว่าเหมาะสมที่จะก่อสร้างหรือไม่
            รายงานข่าวจาก กนอ.ระบุว่า เมื่อวันที่ 23 ก.ย.ที่ผ่านมา นายเจเรมี อาร์.ออสเตอร์สต๊อก ประธานกรรมการและกรรมการผู้จัดการบริษัท เอสโซ่ (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) ได้เข้าพบ นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รัฐมนตรีว่าการ กระทรวงอุตสาหกรรม เพื่อนำเสนอโครงการการลงทุนในอุตสาหกรรมปิโตรเคมีขั้นสูง ในไทย
            ทั้งนี้ นายเจเรมี ได้ยืนยันว่า บริษัท เอ็กซอนโมบิล อยากที่จะลงทุนตั้งโรงงานปิโตรเคมีชั้นสูงมีมูลค่าโครงการกว่า 3 แสนล้านบาทในไทย แต่ไทยต้องเร่งศึกษา และให้คำตอบภายในปีนี้ เนื่องจากในต้นปี 2563 เอ็กซอนโมบิล จะประเมินศักยภาพของแหล่งลงทุนในพื้นที่ต่างๆ ทั่วโลกอีกครั้ง
ส่วนการถมทะเลของโครงการ ท่าเรือมาบตาพุดเฟส 3 ขณะนี้ กนอ.ได้ลงนาม กับบริษัทกัลฟ์ เอ็มทีพี แอลเอ็นจี เทอร์มินอล จำกัด เมื่อวันที่ 1 ต.ค.ที่ผ่านมา และหลังจากนั้น กนอ.จะขอใบอนุญาตถมทะเลต่อกรมเจ้าท่า
            ทั้งนี้ เอกชนจะเป็นผู้ลงทุนส่วนนี้ 35,000 ล้านบาท ซึ่งครอบคลุมการขุดลอก และถมทะเล 1,000 ไร่ แบ่งเป็น พื้นที่ ใช้ประโยชน์ 550 ไร่ และพื้นที่เก็บกักตะกอน 450 ไร่ การขุดลอกร่องน้ำและแอ่งกลับเรือ  การก่อสร้างเขื่อนกันคลื่น การก่อสร้างสาธารณูปโภคพื้นฐานการติดตั้งอุปกรณ์ควบคุมการเดินเรือ ท่าเทียบเรือบริการ และ ท่าเรือก๊าซรองรับปริมาณการขนถ่ายก๊าซได้  10 ล้านตันต่อปี คาดว่าจะเปิดให้บริการในปี 2568
            รายงานข่าวจาก กทท.ระบุว่า การ ถมทะเลท่าเรือแหลมฉบังเฟส 3 มีแผน ที่เตรียมไว้ คือ การขุดลอกและถมทะเล ในขั้นตอนการขุดลอกจะใช้เรือขุดแบบ Cutter Suction Dredger โดยใช้เรือขุดขนาดกำลังขุด 3,500 ลูกบาศก์เมตรต่อ ชั่วโมง ขนาดท่อดูดและท่อส่งทราย เท่ากับ 35.43 นิ้ว เป็นท่อเหล็กหุ้มด้วย Floating Pipe เพื่อให้ท่อลอยน้ำได้
            สำหรับการถมทะเลนั้นต้องสร้างพื้นที่ปิดล้อมในบริเวณที่จะถมทะเล โดยพื้นที่ปิดล้อม คือ การสร้างเขื่อน ล้อมพื้นที่ถม (Revetment) โครงสร้างของเขื่อนล้อมพื้นที่ถมส่วนหนึ่งใช้ทรายเป็นแกนกลาง แต่วัสดุที่ได้จากการขุดลอก ด้วยเรือขุดแบบ Cutter Suction Dredger นั้น มีทั้งทรายและตะกอนดินผสม จึงนำมาสร้างเขื่อนล้อมพื้นที่ถมไม่ได้ทันที
            ดังนั้นต้องถูกส่งไปพื้นที่คัดแยกทรายออกจากตะกอนดินก่อน คือ พื้นที่ Stock Area โดยกำหนดที่บริเวณ บ่อตะกอนเดิมของท่าเรือแหลมฉบัง ขั้นที่ 1-2 หลังจากที่แยกทรายออกจากตะกอนดินแล้วจะลำเลียงไปทำชั้น แกนกลางของเขื่อนล้อมพื้นที่ถม  จนกว่าจะสร้างเขื่อนล้อมพื้นที่ถมเสร็จ จึงหยุดสูบส่งวัสดุที่ได้จากการขุดลอกไปยังพื้นที่ Stock Are
 
ข่าวเขตเศรษฐกิจพิเศษ อื่นๆ