ส่องผังเมืองอีอีซีรายจังหวัดระยองเพิ่มพื้นที่อุตฯ1.89แสนไร่
วันที่ : 6 ตุลาคม 2562
ในแผนผังการใช้ประโยชน์ในที่ดิน ที่ผ่านความเห็นชอบจากคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (กพอ.) มีนายกรัฐมนตรี เป็นประธาน กำลังรอเข้าสู่การพิจารณาของคณะรัฐมนตรีเห็นชอบในเร็วๆ นี้ กำหนดการใช้ประโยชน์ในที่ดินไว้ 4 กลุ่มหลัก 11 ประเภท ครอบคลุมพื้นที่ของ 3 จังหวัด รวม 8.29 ล้านไร่ แบ่งเป็นพื้นที่พัฒนาเมืองและชุมชน 1.09 ล้านไร่ พื้นที่พัฒนาอุตสาหกรรม 4.24 แสนไร่
ในแผนผังการใช้ประโยชน์ในที่ดิน ที่ผ่านความเห็นชอบจากคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (กพอ.) มีนายกรัฐมนตรี เป็นประธาน กำลังรอเข้าสู่การพิจารณาของคณะรัฐมนตรีเห็นชอบในเร็วๆ นี้ กำหนดการใช้ประโยชน์ในที่ดินไว้ 4 กลุ่มหลัก 11 ประเภท ครอบคลุมพื้นที่ของ 3 จังหวัด รวม 8.29 ล้านไร่ แบ่งเป็นพื้นที่พัฒนาเมืองและชุมชน 1.09 ล้านไร่ พื้นที่พัฒนาอุตสาหกรรม 4.24 แสนไร่ พื้นที่เกษตรกรรม 4.87 ล้านไร่ และพื้นที่อนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ 1.67 ล้านไร่ ซึ่งจะรองรับการพัฒนาเขตพัฒนาพิเศษภาค ตะวันออกหรืออีอีซีไปจนถึงปี 2580 หรือรองรับการเติบโตของประชากรที่จะเข้าไปอยู่ได้ราว 6 ล้านคน ก่อให้เกิดประมาณการทางเศรษฐกิจหรือจีดีพีขยายตัวได้ 10 ล้านล้านบาท
เพิ่มพื้นที่พัฒนาเมืองฉะเชิงเทรา
ทั้งนี้ หากมาพิจารณาแผนผังการใช้ประโยชน์ในที่ดินของแต่ละจังหวัด จะพบว่าจังหวัดฉะเชิงเทรา ถูกกำหนดให้เป็นเมืองอยู่อาศัยชั้นดีที่ทันสมัย รองรับการขยายตัวของกรุงเทพ มหานครและอีอีซี มีพื้นที่ 3.34 ล้านไร่ รองรับประชากร 1.39 ล้านคน มีพื้นที่พัฒนาเมือง/ชุมชน จากเดิมมีพื้นที่ 1.80 แสนไร่ เพิ่มเป็น 2.63 แสนไร่ กระจายตัวอยู่ในอำเภอเมืองฉะเชิงเทรา อำเภอบางปะกง อำเภอพนมสารคาม พื้นที่พัฒนาอุตสาหกรรม จากเดิมมีพื้นที่4.5 หมื่นไร่ เพิ่มขึ้นเป็น 7.14 หมื่นไร่ กระจายตัวอยู่ในอำเภอบางปะกง อำเภอแปลงยาวอำเภอพนมสารคาม ทางหลวงหมายเลข 304
มีการอนุรักษ์พื้นที่เกษตร กรรมในเขตชลประทานด้าน ตะวันออก 8.88 แสนไร่ มีพื้นที่ส.ป.ก. 9.33 แสนไร่ และพื้นที่ชุมชนชนบท 3.55 แสนไร่ รวมพื้นที่ชนบทและเกษตรกรรม2.17 ล้านไร่ ลดลง 5.89% เนื่อง จากรองรับการพัฒนาเมืองและอุตสาหกรรมและส่วนหนึ่งได้ใช้เป็นพื้นที่โล่งเพื่อการรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อม พื้นที่ส่วนใหญ่กระจายตัวอยู่ในอำเภอบางน้ำเปรี้ยว อำเภอบางคล้า อำเภอคลองเขื่อน อำเภอราชสาส์น อำเภอบ้านโพธิ์ อำเภอพนมสารคาม อำเภอแปลงยาว รวมถึงมีพื้นที่อนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม จากเดิมมีพื้นที่ 6.59 แสนไร่ เพิ่มเป็น 7.98 แสนไร่ เป็นพื้นที่ป่าด้านตะวันตกและกำหนดพื้นที่โล่งเพื่อการรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมระยะ 500 เมตร บริเวณริมแม่น้ำบางปะกง คลองระบม คลองสียัดปากแม่น้ำ พื้นที่ป่าชายเลน
ชลบุรีลดพื้นที่เกษตรกรรม
สำหรับที่จังหวัดชลบุรี/พัทยา ถูกกำหนดเป็นเมืองท่องเที่ยวเชิงธุรกิจ สุขภาพและนันทนาการ ศูนย์ประชุม ศูนย์การให้บริการด้านการแพทย์ระดับนานาชาติ แหลมฉบัง/ศรีราชา เป็นศูนย์กลางอุตสาหกรรมและเมืองท่าที่ทันสมัย อู่ตะเภา เป็นศูนย์ธุรกิจการบินและโลจิสติกส์อาเซียน มีพื้นที่ 2.72 ล้านไร่ รองรับประชากร 3 ล้านคน มีพื้นที่พัฒนาเมือง จากเดิม 4.40 แสนไร่ เพิ่มขึ้นเป็น 5.54 แสนไร่ กระจายตัวอยู่ในอำเภอเมืองชลบุรี อำเภอศรีราชา อำเภอบางละมุง เมืองพัทยา อำเภอพนัสนิคม
พื้นที่พัฒนาอุตสาหกรรม จากเดิมมีพื้นที่ 1.18 แสนไร่ เพิ่มขึ้นเป็น 1.64 แสนไร่ กระจายอยู่บริเวณพื้นที่อุตสาหกรรมเดิมที่อำเภอเมืองชลบุรี อำเภอพานทอง อำเภอศรีราชา อำเภอบางละมุง และอำเภอบ้านบึง พื้นที่พัฒนาเกษตรกรรม จากเดิมมีพื้นที่ 1.75 ล้านไร่ ลดลงเหลือ 1.52 ล้านไร่ ส่วนหนึ่งนำไปใช้เป็นพื้นที่โล่งเพื่อการรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อม และพื้นที่รองรับการพัฒนาเมืองและอุตสาหกรรม พื้นที่ส่วนใหญ่กระจายอยู่ในอำเภอพนัสนิคม อำเภอบ้านบึง อำเภอบ่อทอง อำเภอเกาะจันทร์ อำเภอหนองใหญ่
รวมถึงพื้นที่อนุรักษ์พื้นที่ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม จากเดิมมีพื้นที่ 2.96 แสนไร่ เพิ่มขึ้นเป็น 3.60 แสนไร่ พื้นที่ส่วนใหญ่อยู่ด้านตะวันออกซึ่งเป็นเขตป่าสงวนแห่งชาติ ป่าคลองตะเคียน และตอนกลางของพื้นที่ เช่น เขตป่าสงวนแห่งชาติ ป่าบางละมุง เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าเขาเขียวและเขาชมภู่ และพื้นที่รอบอ่างเก็บน้ำ เช่น อ่างเก็บน้ำคลองหลวงรัชชโลทร อ่างเก็บน้ำบางพระ
ระยองพื้นที่อุตฯเพิ่มเท่าตัว
ขณะที่จังหวัดระยอง ถูก กำหนดเป็นเมืองแห่งการศึกษาและวิทยาศาสตร์ เมืองนานาชาติที่มีธุรกิจทันสมัยมีพื้นที่ 2.22 ล้านไร่ รองรับประชากร 1.6 ล้านคน มีพื้นที่พัฒนาเมือง จากเดิม 1.97 แสนไร่ เพิ่มขึ้นเป็น 2.79 แสนไร่ ในบริเวณอำเภอเมืองระยอง อำเภอบ้านฉาง อำเภอแกลง มีพื้นที่พัฒนาอุตสาหกรรม จากเดิม 9.59 หมื่นไร่ (4.32%) เพิ่มขึ้นเป็น 1.89 แสนไร่ (8.52%) กระจายอยู่ในพื้นที่บริเวณอำเภอปลวกแดง อำเภอนิคมพัฒนา ต่อเนื่องมายังพื้นที่มาบตาพุด
พื้นที่พัฒนาเกษตรกรรม จากเดิมมีพื้นที่ 1,41 ล้านไร่ ลดลงเหลือ 1.16 ล้านไร่ เนื่องจากส่วนหนึ่งได้ใช้เป็นพื้นที่โล่งเพื่อการรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อม และพื้นที่รองรับการพัฒนาเมืองและอุตสาหกรรม พื้นที่เกษตรกรรมส่วนใหญ่กระจายอยู่บริเวณตอนกลางของจังหวัดในอำเภอวังจันทร์ อำเภอบ้านค่าย อำเภอแกลง และพื้นที่อนุรักษ์พื้นที่ทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม จากเดิมมีพื้นที่ 4.78 แสนไร่ เพิ่มขึ้นเป็น 5.19 แสนไร่ เช่น อุทยานแห่งชาติเขาแหลมหญ้า-หมู่เกาะเสม็ด รวมถึงพื้นที่รอบอ่างเก็บน้ำ เช่น อ่างเก็บน้ำหนองปลาไหล อ่างเก็บน้ำดอกกราย อ่างเก็บน้ำประแสร์
อย่างไรก็ตาม ในแผนผังการใช้ประโยชน์ในที่ดิน มีการระบุถึงนิคมอุตสาหกรรมที่ตั้งในพื้นที่รองรับการพัฒนาอุตสาหกรรม (สีม่วงอ่อนมีจุดขาว) ซึ่งทั้ง 3 จังหวัดมีอยู่ราว 3.34 แสนไร่นอกเหนือจากที่ดินประเภทเขตส่งเสริมเศรษฐกิจพิเศษสำหรับอุตสาหกรรมเป้าหมายพิเศษ(สีม่วง) จำนวน 23 เขต มีพื้นที่รวม 9 หมื่นไร่ หากในอนาคตมีความพร้อมและต้องการขอเป็นเขตส่งเสริมเศรษฐกิจพิเศษ (สีม่วง) สามารถเสนอกพอ.พิจารณาประกาศเพิ่มได้
เพิ่มพื้นที่พัฒนาเมืองฉะเชิงเทรา
ทั้งนี้ หากมาพิจารณาแผนผังการใช้ประโยชน์ในที่ดินของแต่ละจังหวัด จะพบว่าจังหวัดฉะเชิงเทรา ถูกกำหนดให้เป็นเมืองอยู่อาศัยชั้นดีที่ทันสมัย รองรับการขยายตัวของกรุงเทพ มหานครและอีอีซี มีพื้นที่ 3.34 ล้านไร่ รองรับประชากร 1.39 ล้านคน มีพื้นที่พัฒนาเมือง/ชุมชน จากเดิมมีพื้นที่ 1.80 แสนไร่ เพิ่มเป็น 2.63 แสนไร่ กระจายตัวอยู่ในอำเภอเมืองฉะเชิงเทรา อำเภอบางปะกง อำเภอพนมสารคาม พื้นที่พัฒนาอุตสาหกรรม จากเดิมมีพื้นที่4.5 หมื่นไร่ เพิ่มขึ้นเป็น 7.14 หมื่นไร่ กระจายตัวอยู่ในอำเภอบางปะกง อำเภอแปลงยาวอำเภอพนมสารคาม ทางหลวงหมายเลข 304
มีการอนุรักษ์พื้นที่เกษตร กรรมในเขตชลประทานด้าน ตะวันออก 8.88 แสนไร่ มีพื้นที่ส.ป.ก. 9.33 แสนไร่ และพื้นที่ชุมชนชนบท 3.55 แสนไร่ รวมพื้นที่ชนบทและเกษตรกรรม2.17 ล้านไร่ ลดลง 5.89% เนื่อง จากรองรับการพัฒนาเมืองและอุตสาหกรรมและส่วนหนึ่งได้ใช้เป็นพื้นที่โล่งเพื่อการรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อม พื้นที่ส่วนใหญ่กระจายตัวอยู่ในอำเภอบางน้ำเปรี้ยว อำเภอบางคล้า อำเภอคลองเขื่อน อำเภอราชสาส์น อำเภอบ้านโพธิ์ อำเภอพนมสารคาม อำเภอแปลงยาว รวมถึงมีพื้นที่อนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม จากเดิมมีพื้นที่ 6.59 แสนไร่ เพิ่มเป็น 7.98 แสนไร่ เป็นพื้นที่ป่าด้านตะวันตกและกำหนดพื้นที่โล่งเพื่อการรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมระยะ 500 เมตร บริเวณริมแม่น้ำบางปะกง คลองระบม คลองสียัดปากแม่น้ำ พื้นที่ป่าชายเลน
ชลบุรีลดพื้นที่เกษตรกรรม
สำหรับที่จังหวัดชลบุรี/พัทยา ถูกกำหนดเป็นเมืองท่องเที่ยวเชิงธุรกิจ สุขภาพและนันทนาการ ศูนย์ประชุม ศูนย์การให้บริการด้านการแพทย์ระดับนานาชาติ แหลมฉบัง/ศรีราชา เป็นศูนย์กลางอุตสาหกรรมและเมืองท่าที่ทันสมัย อู่ตะเภา เป็นศูนย์ธุรกิจการบินและโลจิสติกส์อาเซียน มีพื้นที่ 2.72 ล้านไร่ รองรับประชากร 3 ล้านคน มีพื้นที่พัฒนาเมือง จากเดิม 4.40 แสนไร่ เพิ่มขึ้นเป็น 5.54 แสนไร่ กระจายตัวอยู่ในอำเภอเมืองชลบุรี อำเภอศรีราชา อำเภอบางละมุง เมืองพัทยา อำเภอพนัสนิคม
พื้นที่พัฒนาอุตสาหกรรม จากเดิมมีพื้นที่ 1.18 แสนไร่ เพิ่มขึ้นเป็น 1.64 แสนไร่ กระจายอยู่บริเวณพื้นที่อุตสาหกรรมเดิมที่อำเภอเมืองชลบุรี อำเภอพานทอง อำเภอศรีราชา อำเภอบางละมุง และอำเภอบ้านบึง พื้นที่พัฒนาเกษตรกรรม จากเดิมมีพื้นที่ 1.75 ล้านไร่ ลดลงเหลือ 1.52 ล้านไร่ ส่วนหนึ่งนำไปใช้เป็นพื้นที่โล่งเพื่อการรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อม และพื้นที่รองรับการพัฒนาเมืองและอุตสาหกรรม พื้นที่ส่วนใหญ่กระจายอยู่ในอำเภอพนัสนิคม อำเภอบ้านบึง อำเภอบ่อทอง อำเภอเกาะจันทร์ อำเภอหนองใหญ่
รวมถึงพื้นที่อนุรักษ์พื้นที่ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม จากเดิมมีพื้นที่ 2.96 แสนไร่ เพิ่มขึ้นเป็น 3.60 แสนไร่ พื้นที่ส่วนใหญ่อยู่ด้านตะวันออกซึ่งเป็นเขตป่าสงวนแห่งชาติ ป่าคลองตะเคียน และตอนกลางของพื้นที่ เช่น เขตป่าสงวนแห่งชาติ ป่าบางละมุง เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าเขาเขียวและเขาชมภู่ และพื้นที่รอบอ่างเก็บน้ำ เช่น อ่างเก็บน้ำคลองหลวงรัชชโลทร อ่างเก็บน้ำบางพระ
ระยองพื้นที่อุตฯเพิ่มเท่าตัว
ขณะที่จังหวัดระยอง ถูก กำหนดเป็นเมืองแห่งการศึกษาและวิทยาศาสตร์ เมืองนานาชาติที่มีธุรกิจทันสมัยมีพื้นที่ 2.22 ล้านไร่ รองรับประชากร 1.6 ล้านคน มีพื้นที่พัฒนาเมือง จากเดิม 1.97 แสนไร่ เพิ่มขึ้นเป็น 2.79 แสนไร่ ในบริเวณอำเภอเมืองระยอง อำเภอบ้านฉาง อำเภอแกลง มีพื้นที่พัฒนาอุตสาหกรรม จากเดิม 9.59 หมื่นไร่ (4.32%) เพิ่มขึ้นเป็น 1.89 แสนไร่ (8.52%) กระจายอยู่ในพื้นที่บริเวณอำเภอปลวกแดง อำเภอนิคมพัฒนา ต่อเนื่องมายังพื้นที่มาบตาพุด
พื้นที่พัฒนาเกษตรกรรม จากเดิมมีพื้นที่ 1,41 ล้านไร่ ลดลงเหลือ 1.16 ล้านไร่ เนื่องจากส่วนหนึ่งได้ใช้เป็นพื้นที่โล่งเพื่อการรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อม และพื้นที่รองรับการพัฒนาเมืองและอุตสาหกรรม พื้นที่เกษตรกรรมส่วนใหญ่กระจายอยู่บริเวณตอนกลางของจังหวัดในอำเภอวังจันทร์ อำเภอบ้านค่าย อำเภอแกลง และพื้นที่อนุรักษ์พื้นที่ทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม จากเดิมมีพื้นที่ 4.78 แสนไร่ เพิ่มขึ้นเป็น 5.19 แสนไร่ เช่น อุทยานแห่งชาติเขาแหลมหญ้า-หมู่เกาะเสม็ด รวมถึงพื้นที่รอบอ่างเก็บน้ำ เช่น อ่างเก็บน้ำหนองปลาไหล อ่างเก็บน้ำดอกกราย อ่างเก็บน้ำประแสร์
อย่างไรก็ตาม ในแผนผังการใช้ประโยชน์ในที่ดิน มีการระบุถึงนิคมอุตสาหกรรมที่ตั้งในพื้นที่รองรับการพัฒนาอุตสาหกรรม (สีม่วงอ่อนมีจุดขาว) ซึ่งทั้ง 3 จังหวัดมีอยู่ราว 3.34 แสนไร่นอกเหนือจากที่ดินประเภทเขตส่งเสริมเศรษฐกิจพิเศษสำหรับอุตสาหกรรมเป้าหมายพิเศษ(สีม่วง) จำนวน 23 เขต มีพื้นที่รวม 9 หมื่นไร่ หากในอนาคตมีความพร้อมและต้องการขอเป็นเขตส่งเสริมเศรษฐกิจพิเศษ (สีม่วง) สามารถเสนอกพอ.พิจารณาประกาศเพิ่มได้
ข่าวเขตเศรษฐกิจพิเศษ อื่นๆ