รัฐดัน4เมืองเก่า สมาร์ทซิตี้
วันที่ : 3 ตุลาคม 2562
ภาครัฐ เร่ง ผลักดัน เมืองอัจฉริยะ "อีอีซี" นำร่อง 4 เมืองเก่า "แหลมฉบัง-พัทยา-บางแสน-ระยอง" พัฒนาสู่ สมาร์ทซิตี้ด้านสิ่งแวดล้อม ระบบท่าเรืออัจฉริยะ และความปลอดภัย ติดตั้ง "ซีซีทีวี" ทั้งเมือง หนุนเอกชนร่วมลงทุนพัฒนาเมือง ดันบางแสน รองรับผู้สูงอายุ ต่างชาติพำนักระยะยาว
นำร่องพื้นที่ "อีอีซี" ดึงเอกชนร่วมพัฒนา
ภาครัฐ เร่ง ผลักดัน เมืองอัจฉริยะ "อีอีซี" นำร่อง 4 เมืองเก่า "แหลมฉบัง-พัทยา-บางแสน-ระยอง" พัฒนาสู่ สมาร์ทซิตี้ด้านสิ่งแวดล้อม ระบบท่าเรืออัจฉริยะ และความปลอดภัย ติดตั้ง "ซีซีทีวี" ทั้งเมือง หนุนเอกชนร่วมลงทุนพัฒนาเมือง ดันบางแสน รองรับผู้สูงอายุ ต่างชาติพำนักระยะยาว
นายอัชชพล ดุสิตนานนท์ นายกสมาคมสถาปนิกสยาม ในพระบรมราชูปถัมภ์ เปิดเผยว่า ภาคเอกชนได้เข้าไปมีส่วนร่วมกับ ภาครัฐในการผลักดันการพัฒนาเมืองอัจฉริยะและเมืองแห่งนวัตกรรม ซึ่งต้องอาศัย องค์ประกอบหลายปัจจัยทั้งการวางผังเมือง การออกแบบสิ่งปลูกสร้างที่สามารถตอบโจทย์ ผู้อยู่อาศัยในยุคปัจจุบันอย่างชาญฉลาด รวมถึงการหยิบเทคโนโลยีและนวัตกรรมเข้ามาปรับใช้ให้เกิดประโยชน์ สร้างความสะดวก สบาย และปลอดภัยให้กับประชาชน โดยเมืองอัจฉริยะและเมืองนวัตกรรมจะเป็นตัวขับเคลื่อนสำคัญให้ประเทศไทยเพิ่มประสิทธิภาพในการบริหารและจัดการเมือง ช่วยยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชนให้มีคุณภาพชีวิตที่ดี ทั้งด้านที่อยู่อาศัยที่ สะดวกสบาย สร้างเศรษฐกิจที่ก้าวหน้า รวมถึง มีสังคมและมีความสุขอย่างยั่งยืน
โดยภาครัฐได้ตั้งเป้า 10 เมือง ใน 7 จังหวัด
คือ กรุงเทพฯ ภูเก็ต เชียงใหม่ ขอนแก่น ชลบุรี ระยอง และฉะเชิงเทรา ให้เป็นเมืองอัจฉริยะ โดยมุ่งเน้นการออกแบบที่ดี และการมีส่วนร่วม ของภาคธุรกิจและภาคประชาชนเพื่อพัฒนาเมืองน่าอยู่ ทันสมัย และจะขยายสู่ 100 เมือง 77 จังหวัดทั่วประเทศภายในปี 2565 เพื่อเป็นศูนย์กลางเมืองอัจฉริยะอาเซียน และร่วมแลกเปลี่ยนความรู้กันในภูมิภาค เพื่อผลักดันอาเซียนให้ทัดเทียมกับภูมิภาคอื่นของโลก ทั้งนี้เพื่อสนับสนุนโครงการของรัฐบาล จึงได้จัดงาน ASA Real Estate Forum 2019 ครั้งที่ 2 ภายใต้แนวคิด "Smart & Innovative Cities for all" ในวันที่ 8 พ.ย.นี้ ที่สยามพารากอน เพื่อเป็นส่วนหนึ่งในการส่งเสริมให้เกิดเมืองอัจฉริยะและเมืองนวัตกรรม ทั้งการออกแบบโครงสร้างอาคาร ที่อยู่อาศัยและประโยชน์การใช้สอยอย่างเต็มประสิทธิภาพ
ออกแบบเมืองให้ตอบโจทย์
นายภาสกร ประถมบุตร รองผู้อำนวยการ สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล (ดีป้า) กล่าวว่า การสร้างเมืองอัจฉริยะในพื้นที่เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (อีอีซี) ได้กำหนดกรอบการพัฒนาเมืองอัจฉริยะ จะต้องอยู่ในแนวทางการพัฒนา 7 ด้าน ได้แก่ 1.Smart Environment สิ่งแวดล้อม อัจฉริยะ 2.Smart Government การปกครองอัจฉริยะ
3.Smart Mobility การสัญจรอัจฉริยะ 4.Smart Energy พลังงานอัจฉริยะ 5.Smart Economy เศรษฐกิจอัจฉริยะ 6.Smart Living การใช้ชีวิตอัจฉริยะ และ 7.Smart People ประชาชนอัจฉริยะ โดยองค์ประกอบของสมาร์ทซิตี้จะต้องประกอบด้วย 2 ด้าน ซึ่งจะมี 1 ด้านเป็นหลัก ได้แก่ Smart Environment สิ่งแวดล้อมอัจฉริยะ และอีก 1 ด้านตามความเหมาะสมของพื้นที่
ทั้งนี้ การพัฒนาเมืองอัจฉริยะ ไม่จำเป็นต้องใช้เงินลงทุนสูงหรือใช้เทคโนโลยีไฮเทค ชั้นสูง แต่เป็นเมืองที่ถูกออกแบบเพื่อ ตอบสนองต่อความเป็นอยู่ของประชาชนให้ได้ ตรงจุด และเหมาะสมกับศักยภาพของพื้นที่ โดยจะต้องเริ่มตั้งแต่การระดมความคิดของคน ในชุมชนเพื่อหาความต้องการของเมืองให้ได้
เมื่อได้ความต้องการของเมืองแล้วก็จะต้องดู เรื่องการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานจะต้องมี อะไรบ้าง จากนั้นก็ต้องนำเอกชนเข้ามาร่วมหารือ เพื่อจัดทำแผนธุรกิจที่เหมาะสมเพื่อ ให้สมาร์ทซิตี้ แต่ละด้านสามารถเลี้ยงตัวเองมีผลกำไรต่อไปได้
"พัทยา"สมาร์ท ลีฟวิ่ง
การพัฒนาสมาร์ทซิตี้ในอีอีซี จะแบ่งออก เป็น 2 ลักษณะ ได้แก่ 1.การยกระดับเมืองเก่า ให้เป็นสมาร์ทซิตี้ คือ เมืองบางแสน, พัทยา, แหลมฉบัง และเมืองระยอง โดยการพัฒนาเมืองเก่าแหลมฉบัง จะเน้นไปที่การพัฒนาท่าเรืออัจฉริยะ เนื่องจากในขณะนี้การจราจรบริเวณท่าเรือแหลมฉบังในวันพฤหัส-เสาร์ จะติดขัดมาก จึงต้องนำระบบอัจฉริยะมา บริหารจัดการท่าเรือ โดยการนำเซ็นเซอร์มาติดตั้งและใช้ระบบไอโอที เพื่อให้บริการจัดการมีประสิทธิภาพสูงสุดให้เป็นพื้นที่เมือง เศรษฐกิจอัจฉริยะบริเวณรอบท่าเรือ และเป็นเมืองที่มีความปลอดภัย
นอกจากนี้ แหลมฉบังและพัทยายังเป็นเมือง Smart Living การใช้ชีวิตอัจฉริยะที่มี ความปลอดภัย ซึ่งจะเป็นเมืองแรกที่มีการ ติดตั้งระบบ ซีซีทีวี และระบบวิเคราะห์ตรวจจับ ใบหน้าอัจฉริยะ เพื่อคัดกรองอาชญากรบุคคล ต้องสงสัยและอาชญากรข้ามชาติแบบที่ใช้ในเมืองใหญ่ของจีน โดยโครงการติดตั้งระบบกล้องซีซีทีวี และระบบตรวจจับใบหน้าจะมีบริษัทเอกชนเข้ามาลงทุน และดีป้าให้เงินสนับสนุนประมาณ 10 ล้านบาท เมื่อโครงการเดินหน้าครบ 3 ปี นับตั้งแต่ปี 2562 บริษัทที่ได้รับทุนสนับสนุนจะต้องเลือกที่จะคืนเงินทุนให้กับภาครัฐ หรือคืนเป็นหุ้น เพื่อให้มีเงินนำไปหมุนเวียนให้กับ โครงการอื่นต่อไป
"โมเดลธุรกิจของสมาร์ทซิตี้เมืองแหลมฉบัง และพัทยา บริษัทผู้ลงทุนติดตั้งกล้องและ ระบบซีซีทีวี จะได้รับเงินสนับสนุนจากโรงแรม และร้านค้าภายในพื้นที่ เพื่อสนับสนุนให้มี ความปลอดภัยให้กับลุกค้าและนักท่องเที่ยวเพื่มขึ้น รวมทั้งขายเดต้าหรือข้อมูลเชิงลึกภายใน พื้นที่ เพื่อให้ภาคเอกชนนำไปใช้ในการวางแผน ธุรกิจ ซึ่งจะเป็นโมเดลที่ทุกฝ่ายได้รับประโยชน์ ทั้งหมดและโครงการนี้อยู่ได้"
"บางแสน"รองรับผู้สูงอายุ
ส่วนเมืองบางแสน จะเน้นสมาร์ทซิตี้ด้าน Smart Living การใช้ชีวิตอัจฉริยะที่เน้น ในกลุ่มบริการสุขภาพ และผู้สูงอายุเป็นหลัก เนื่องจากเมืองบางแสนไม่สามารถสู้การ ท่องเที่ยวกับเมืองพัทยาได้ จึงมุ่งเน้นดึงให้ ต่างชาติ และผู้สูงอายุให้เข้ามาพักผ่อนระยะยาว ในพื้นที่บางแสน ดังนั้น เทศบาลเมืองบางแสน จึงได้ร่วมกับผู้ประกอบการสตาร์ทอัพ วางระบบ ดิจิทัลและอุปกรณ์เซ็นเซอร์ ระบบไอโอดี ติดตัวผู้สูงอายุ เพื่อดึงดูดให้ผู้สูงอายุต่างชาติ เข้ามาพำนักระยะยาวในไทย
ขณะที่เมืองใหม่ที่จะเป็นสมาร์ทซิตี้ เช่น เขตนวัตกรรมระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออก (อีอีซีไอ) ในพื้นที่วังจันทร์วัลเลย์ จ.ระยอง, เขตส่งเสริมอุตสาหกรรมและนวัตกรรมดิจิทัล (อีอีซีดี) และเมืองการบินอู่ตะเภา มีเป้าหมายเพื่อ เป็นเมืองอัจฉริยะรองรับการลงทุนในอุตสาหกรรมไฮเทค และบุคลากรด้านเทคโนโลยี ดิจิทัล การบิน และการสร้างนวัตกรรมใหม่
นายภาสกร กล่าวว่า ในการพัฒนาสมาร์ทซิตี้ การวางโครงสร้างระบบไอทีที่ทันสมัย โดยเฉพาะ ระบบ 5 จี เป็นเรื่องที่สำคัญ เพราะระบบดิจิทัล ต่างจะต้องสื่อสารส่งผ่านข้อมูลที่รวดเร็ว เนื่องจากทำให้อุปกรณ์ไอโอทีเชื่อมโยงกันได้ หลายล้านชิ้น ทำให้อุปกรณ์ต่างๆ ใช้พลังงานลดลงสามารถติดตั้งเซ็นเซอร์ต่างๆ ได้มากขึ้น เช่น การนำรถยนต์อัจฉริยะที่ขับเคลื่อนได้เอง เข้ามาใช้ในพื้นที่ จำเป็นจะต้องมีระบบ 5จี เข้ามารองรับ
ภาครัฐ เร่ง ผลักดัน เมืองอัจฉริยะ "อีอีซี" นำร่อง 4 เมืองเก่า "แหลมฉบัง-พัทยา-บางแสน-ระยอง" พัฒนาสู่ สมาร์ทซิตี้ด้านสิ่งแวดล้อม ระบบท่าเรืออัจฉริยะ และความปลอดภัย ติดตั้ง "ซีซีทีวี" ทั้งเมือง หนุนเอกชนร่วมลงทุนพัฒนาเมือง ดันบางแสน รองรับผู้สูงอายุ ต่างชาติพำนักระยะยาว
นายอัชชพล ดุสิตนานนท์ นายกสมาคมสถาปนิกสยาม ในพระบรมราชูปถัมภ์ เปิดเผยว่า ภาคเอกชนได้เข้าไปมีส่วนร่วมกับ ภาครัฐในการผลักดันการพัฒนาเมืองอัจฉริยะและเมืองแห่งนวัตกรรม ซึ่งต้องอาศัย องค์ประกอบหลายปัจจัยทั้งการวางผังเมือง การออกแบบสิ่งปลูกสร้างที่สามารถตอบโจทย์ ผู้อยู่อาศัยในยุคปัจจุบันอย่างชาญฉลาด รวมถึงการหยิบเทคโนโลยีและนวัตกรรมเข้ามาปรับใช้ให้เกิดประโยชน์ สร้างความสะดวก สบาย และปลอดภัยให้กับประชาชน โดยเมืองอัจฉริยะและเมืองนวัตกรรมจะเป็นตัวขับเคลื่อนสำคัญให้ประเทศไทยเพิ่มประสิทธิภาพในการบริหารและจัดการเมือง ช่วยยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชนให้มีคุณภาพชีวิตที่ดี ทั้งด้านที่อยู่อาศัยที่ สะดวกสบาย สร้างเศรษฐกิจที่ก้าวหน้า รวมถึง มีสังคมและมีความสุขอย่างยั่งยืน
โดยภาครัฐได้ตั้งเป้า 10 เมือง ใน 7 จังหวัด
คือ กรุงเทพฯ ภูเก็ต เชียงใหม่ ขอนแก่น ชลบุรี ระยอง และฉะเชิงเทรา ให้เป็นเมืองอัจฉริยะ โดยมุ่งเน้นการออกแบบที่ดี และการมีส่วนร่วม ของภาคธุรกิจและภาคประชาชนเพื่อพัฒนาเมืองน่าอยู่ ทันสมัย และจะขยายสู่ 100 เมือง 77 จังหวัดทั่วประเทศภายในปี 2565 เพื่อเป็นศูนย์กลางเมืองอัจฉริยะอาเซียน และร่วมแลกเปลี่ยนความรู้กันในภูมิภาค เพื่อผลักดันอาเซียนให้ทัดเทียมกับภูมิภาคอื่นของโลก ทั้งนี้เพื่อสนับสนุนโครงการของรัฐบาล จึงได้จัดงาน ASA Real Estate Forum 2019 ครั้งที่ 2 ภายใต้แนวคิด "Smart & Innovative Cities for all" ในวันที่ 8 พ.ย.นี้ ที่สยามพารากอน เพื่อเป็นส่วนหนึ่งในการส่งเสริมให้เกิดเมืองอัจฉริยะและเมืองนวัตกรรม ทั้งการออกแบบโครงสร้างอาคาร ที่อยู่อาศัยและประโยชน์การใช้สอยอย่างเต็มประสิทธิภาพ
ออกแบบเมืองให้ตอบโจทย์
นายภาสกร ประถมบุตร รองผู้อำนวยการ สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล (ดีป้า) กล่าวว่า การสร้างเมืองอัจฉริยะในพื้นที่เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (อีอีซี) ได้กำหนดกรอบการพัฒนาเมืองอัจฉริยะ จะต้องอยู่ในแนวทางการพัฒนา 7 ด้าน ได้แก่ 1.Smart Environment สิ่งแวดล้อม อัจฉริยะ 2.Smart Government การปกครองอัจฉริยะ
3.Smart Mobility การสัญจรอัจฉริยะ 4.Smart Energy พลังงานอัจฉริยะ 5.Smart Economy เศรษฐกิจอัจฉริยะ 6.Smart Living การใช้ชีวิตอัจฉริยะ และ 7.Smart People ประชาชนอัจฉริยะ โดยองค์ประกอบของสมาร์ทซิตี้จะต้องประกอบด้วย 2 ด้าน ซึ่งจะมี 1 ด้านเป็นหลัก ได้แก่ Smart Environment สิ่งแวดล้อมอัจฉริยะ และอีก 1 ด้านตามความเหมาะสมของพื้นที่
ทั้งนี้ การพัฒนาเมืองอัจฉริยะ ไม่จำเป็นต้องใช้เงินลงทุนสูงหรือใช้เทคโนโลยีไฮเทค ชั้นสูง แต่เป็นเมืองที่ถูกออกแบบเพื่อ ตอบสนองต่อความเป็นอยู่ของประชาชนให้ได้ ตรงจุด และเหมาะสมกับศักยภาพของพื้นที่ โดยจะต้องเริ่มตั้งแต่การระดมความคิดของคน ในชุมชนเพื่อหาความต้องการของเมืองให้ได้
เมื่อได้ความต้องการของเมืองแล้วก็จะต้องดู เรื่องการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานจะต้องมี อะไรบ้าง จากนั้นก็ต้องนำเอกชนเข้ามาร่วมหารือ เพื่อจัดทำแผนธุรกิจที่เหมาะสมเพื่อ ให้สมาร์ทซิตี้ แต่ละด้านสามารถเลี้ยงตัวเองมีผลกำไรต่อไปได้
"พัทยา"สมาร์ท ลีฟวิ่ง
การพัฒนาสมาร์ทซิตี้ในอีอีซี จะแบ่งออก เป็น 2 ลักษณะ ได้แก่ 1.การยกระดับเมืองเก่า ให้เป็นสมาร์ทซิตี้ คือ เมืองบางแสน, พัทยา, แหลมฉบัง และเมืองระยอง โดยการพัฒนาเมืองเก่าแหลมฉบัง จะเน้นไปที่การพัฒนาท่าเรืออัจฉริยะ เนื่องจากในขณะนี้การจราจรบริเวณท่าเรือแหลมฉบังในวันพฤหัส-เสาร์ จะติดขัดมาก จึงต้องนำระบบอัจฉริยะมา บริหารจัดการท่าเรือ โดยการนำเซ็นเซอร์มาติดตั้งและใช้ระบบไอโอที เพื่อให้บริการจัดการมีประสิทธิภาพสูงสุดให้เป็นพื้นที่เมือง เศรษฐกิจอัจฉริยะบริเวณรอบท่าเรือ และเป็นเมืองที่มีความปลอดภัย
นอกจากนี้ แหลมฉบังและพัทยายังเป็นเมือง Smart Living การใช้ชีวิตอัจฉริยะที่มี ความปลอดภัย ซึ่งจะเป็นเมืองแรกที่มีการ ติดตั้งระบบ ซีซีทีวี และระบบวิเคราะห์ตรวจจับ ใบหน้าอัจฉริยะ เพื่อคัดกรองอาชญากรบุคคล ต้องสงสัยและอาชญากรข้ามชาติแบบที่ใช้ในเมืองใหญ่ของจีน โดยโครงการติดตั้งระบบกล้องซีซีทีวี และระบบตรวจจับใบหน้าจะมีบริษัทเอกชนเข้ามาลงทุน และดีป้าให้เงินสนับสนุนประมาณ 10 ล้านบาท เมื่อโครงการเดินหน้าครบ 3 ปี นับตั้งแต่ปี 2562 บริษัทที่ได้รับทุนสนับสนุนจะต้องเลือกที่จะคืนเงินทุนให้กับภาครัฐ หรือคืนเป็นหุ้น เพื่อให้มีเงินนำไปหมุนเวียนให้กับ โครงการอื่นต่อไป
"โมเดลธุรกิจของสมาร์ทซิตี้เมืองแหลมฉบัง และพัทยา บริษัทผู้ลงทุนติดตั้งกล้องและ ระบบซีซีทีวี จะได้รับเงินสนับสนุนจากโรงแรม และร้านค้าภายในพื้นที่ เพื่อสนับสนุนให้มี ความปลอดภัยให้กับลุกค้าและนักท่องเที่ยวเพื่มขึ้น รวมทั้งขายเดต้าหรือข้อมูลเชิงลึกภายใน พื้นที่ เพื่อให้ภาคเอกชนนำไปใช้ในการวางแผน ธุรกิจ ซึ่งจะเป็นโมเดลที่ทุกฝ่ายได้รับประโยชน์ ทั้งหมดและโครงการนี้อยู่ได้"
"บางแสน"รองรับผู้สูงอายุ
ส่วนเมืองบางแสน จะเน้นสมาร์ทซิตี้ด้าน Smart Living การใช้ชีวิตอัจฉริยะที่เน้น ในกลุ่มบริการสุขภาพ และผู้สูงอายุเป็นหลัก เนื่องจากเมืองบางแสนไม่สามารถสู้การ ท่องเที่ยวกับเมืองพัทยาได้ จึงมุ่งเน้นดึงให้ ต่างชาติ และผู้สูงอายุให้เข้ามาพักผ่อนระยะยาว ในพื้นที่บางแสน ดังนั้น เทศบาลเมืองบางแสน จึงได้ร่วมกับผู้ประกอบการสตาร์ทอัพ วางระบบ ดิจิทัลและอุปกรณ์เซ็นเซอร์ ระบบไอโอดี ติดตัวผู้สูงอายุ เพื่อดึงดูดให้ผู้สูงอายุต่างชาติ เข้ามาพำนักระยะยาวในไทย
ขณะที่เมืองใหม่ที่จะเป็นสมาร์ทซิตี้ เช่น เขตนวัตกรรมระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออก (อีอีซีไอ) ในพื้นที่วังจันทร์วัลเลย์ จ.ระยอง, เขตส่งเสริมอุตสาหกรรมและนวัตกรรมดิจิทัล (อีอีซีดี) และเมืองการบินอู่ตะเภา มีเป้าหมายเพื่อ เป็นเมืองอัจฉริยะรองรับการลงทุนในอุตสาหกรรมไฮเทค และบุคลากรด้านเทคโนโลยี ดิจิทัล การบิน และการสร้างนวัตกรรมใหม่
นายภาสกร กล่าวว่า ในการพัฒนาสมาร์ทซิตี้ การวางโครงสร้างระบบไอทีที่ทันสมัย โดยเฉพาะ ระบบ 5 จี เป็นเรื่องที่สำคัญ เพราะระบบดิจิทัล ต่างจะต้องสื่อสารส่งผ่านข้อมูลที่รวดเร็ว เนื่องจากทำให้อุปกรณ์ไอโอทีเชื่อมโยงกันได้ หลายล้านชิ้น ทำให้อุปกรณ์ต่างๆ ใช้พลังงานลดลงสามารถติดตั้งเซ็นเซอร์ต่างๆ ได้มากขึ้น เช่น การนำรถยนต์อัจฉริยะที่ขับเคลื่อนได้เอง เข้ามาใช้ในพื้นที่ จำเป็นจะต้องมีระบบ 5จี เข้ามารองรับ
ข่าวเขตเศรษฐกิจพิเศษ อื่นๆ