คมนาคมอัพเดทแผนลงทุนอีอีซี 5.04 แสนล้าน เข้าครม.เศรษฐกิจ
วันที่ : 20 กันยายน 2562
นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เปิดเผยว่าในการประชุมคณะรัฐมนตรีเศรษฐกิจ(ครม.เศรษฐกิจ)วันที่ 20 ก.ย.นี้ กระทรวงคมนาคมเตรียมเสนอความก้าวหน้าของโครงการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานในพื้นที่อีอีซี วงเงิน 5.04 แสนล้านบาท โครงการเมืองการบินอู่ตะเภา วงเงิน 2 แสนล้านบาท โครงการรถไฟฟ้าความเร็วสูงเชื่อมสามสนามบินอีอีซี วงเงิน 2.2 แสนล้านบาท และโครงการท่าเรือแหลทฉบัง เฟส 3 วงเงิน 8.4 หมื่นล้านบาท ซึ่งขณะนี้ทุกโครงการอยู่ในขั้นตอนการคัดเลือกและเจรจากับเอกชนเพื่อลงนามสัญญาต่อไป
'ศักดิ์สยาม' เตรียมเสนอความคืบหน้าแผนอีอีซีเข้าครม.เศรษฐกิจ 20 ก.ย.นี้ เล็งจับเข่าคุยนายกฯจีน ปมจัดซื้อรถไฟไฮสปีด 5 หมื่นล้านบาท ในงานอาเซียนซัมมิท หลังมีกระแสห่วงบลงทุน
นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เปิดเผยว่าในการประชุมคณะรัฐมนตรีเศรษฐกิจ(ครม.เศรษฐกิจ)วันที่ 20 ก.ย.นี้ กระทรวงคมนาคมเตรียมเสนอความก้าวหน้าของโครงการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานในพื้นที่อีอีซี วงเงิน 5.04 แสนล้านบาท โครงการเมืองการบินอู่ตะเภา วงเงิน 2 แสนล้านบาท โครงการรถไฟฟ้าความเร็วสูงเชื่อมสามสนามบินอีอีซี วงเงิน 2.2 แสนล้านบาท และโครงการท่าเรือแหลทฉบัง เฟส 3 วงเงิน 8.4 หมื่นล้านบาท ซึ่งขณะนี้ทุกโครงการอยู่ในขั้นตอนการคัดเลือกและเจรจากับเอกชนเพื่อลงนามสัญญาต่อไป
สำหรับโครงการที่จะลงนามภายในเดือนนี้ตามแผนคือ รถไฟฟ้าความเร็วสูงเชื่อมสามสนามบิน ส่วนด้านโครงการก่อสร้างเทอร์มินัลใหม่ ที่สนามบินสุวรรณภูมิ วงเงิน 4.2 หมื่นล้านบาทนั้น ขณะนี้ก็อยู่ระหว่างการให้ทางบริษัท ท่าอากาศยานไทย(ทอท.) ไปพิจารณารายละเอียดข้อเท็จจริงและเหตุผลว่าลักษณะของแผนแม่บทตั้งแต่ฉบับแรกจนถึงปัจจุบันที่มีการเปลี่ยนแปลงแต่ละครั้งเพราะอะไรและเหตุผลที่จะต้องมีเทอร์มินอลใหม่ขึ้นมาเพื่ออะไร ซึ่งในสัปดาห์นี้จะเริ่มมีการแบ่งประเด็นต่างๆในการรับฟังความคิดเห็นต่อไป
ส่วนความคืบหน้าการดำเนินการเรื่องการยุติข้อพิพาทกรณีสัมปทานทางด่วนระหว่างการทางพิเศษแห่งประเทศไทย(กทพ.) และบริษัท ทางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพ (BEM)ก็ได้สั่งการให้ กทพ. รวบรวมข้อมูลและรายงานกลับมายังกระทรวงฯ ภายในวันที่ 20 ก.ย.นี้ เสนอคณะรัฐมนตรี(ครม.) สัปดาห์หน้า เพื่อขอเสนอทบทวนมติ ครม. วันที่ 20 ต.ค. 2561 โดยจะต้องดำเนินการอย่างเร่งด่วนเนื่องจากในช่วงปลายเดือนนี้ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี มีกำหนดเดินทางไปต่างประเทศ
นายศักดิ์สยาม กล่าวว่า ด้านโครงการรถไฟความเร็วสูงไทย-จีน ช่วง กรุงเทพ-นครราชสีมา นั้นคาดว่าภายในสัปดาห์นี้ทางจีนจะกลับมาให้คำตอบในประเด็นที่ได้มีการหารือร่วมกันก่อนหน้านี้ เป็นต้น ส่วนการเจรจาสัญญา 2.3 งานระบบราง ระบบไฟฟ้า และเครื่องกล รวมทั้งจัดหาขบวนรถไฟและจัดฝึกอบรมบุคลากร วงเงิน 5 หมื่นล้านบาท นั้นจะมีการเร่งรัดในการเจรจาเพื่อลงนามในสัญญาต่อไป ส่วนประเด็นเรื่องอัตราดอกเบี้ยเงินกู้จะพิจารณาควบคู่กันไป ก่อนสรุปและส่งร่างสัญญาให้ที่ประชุมครม. เห็นชอบก่อนลงนามต่อไป
อย่างไรก็ตามกระทรวงคมนาคมตั้งเป้าจะเริ่มเปิดเจรจาอย่างเป็นทางการถึงสัญญาดังกล่าวในการประชุมสุดยอดผู้นำอาเซียน(Asean Summit) ในเดือน พ.ย. นี้ วึ่งจะมีนายหลี่เค่อเฉียง นายกรัฐมนตรีของจีนเข้าร่วมประชุมด้วย
ด้าน ศ.ดร.รุธิร์ พนมยงค์ จากสาขาวิชาบริหารธุรกิจระหว่างประเทศ โลจิสติกส์และการขนส่ง คณะพาณิชย์ศาสตร์และการบัญชี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ กล่าวว่า การเจรจาโครงกการรถไฟไทย-จีนนั้น รัฐบาลไทยคาดหวังว่าฝ่ายจีนจะเอาบริษัทที่ปรึกษาของจีนมาตรวจสอบดูแลการก่อสร้าง แต่จีนไม่มีส่วนรับผิดชอบใดๆ กับรายละเอียดการก่อสร้างเส้นทางรถไฟความเร็วสูงที่ผ่านมา พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ก็ดูเหมือนจะเห็นดีด้วยกับโครงการ BRI ของจีนมาตลอด
เมื่อต้นเดือน ก.ย.ที่ผ่านมา น.ส.ไตรศุลี ไตรสรณกุล รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรีเพิ่งจะแถลงว่า เส้นทางรถไฟความเร็วสูงเฟสแรกเริ่มได้ในปี 2023 และเส้นทางรถไฟความเร็วสูงเต็มเส้นทางจากกรุงเทพ-หนองคาย มีระยะทางยาว 873 กิโลเมตร(กม.) เริ่มทยอยพัฒนาต่อไปหลังจากเปิดใช้เฟสแรก
อย่างไรก็ตาม คนในแวดวงการเงินและการทูตของไทยต่างตั้งคำถามเกี่ยวกับเรื่องนี้ เพราะยังไม่มีวี่แววว่าจะมีงบในการก่อสร้างโครงการดังกล่าวแต่อย่างใด เมื่อเดือน ม.ค. ก่อนที่จะมีการประชุมเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องกับการสร้างรถไฟไทย-จีน ที่กรุงปักกิ่ง เจ้าหน้าที่ไทยยังพิจารณาข้อเสนอในการกู้ยืมเงินจากธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศจีนในอัตราดอกเบี้ย 2.3% ซึ่งไทยมองว่าดอกเบี้ยสูงเกินไป
นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เปิดเผยว่าในการประชุมคณะรัฐมนตรีเศรษฐกิจ(ครม.เศรษฐกิจ)วันที่ 20 ก.ย.นี้ กระทรวงคมนาคมเตรียมเสนอความก้าวหน้าของโครงการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานในพื้นที่อีอีซี วงเงิน 5.04 แสนล้านบาท โครงการเมืองการบินอู่ตะเภา วงเงิน 2 แสนล้านบาท โครงการรถไฟฟ้าความเร็วสูงเชื่อมสามสนามบินอีอีซี วงเงิน 2.2 แสนล้านบาท และโครงการท่าเรือแหลทฉบัง เฟส 3 วงเงิน 8.4 หมื่นล้านบาท ซึ่งขณะนี้ทุกโครงการอยู่ในขั้นตอนการคัดเลือกและเจรจากับเอกชนเพื่อลงนามสัญญาต่อไป
สำหรับโครงการที่จะลงนามภายในเดือนนี้ตามแผนคือ รถไฟฟ้าความเร็วสูงเชื่อมสามสนามบิน ส่วนด้านโครงการก่อสร้างเทอร์มินัลใหม่ ที่สนามบินสุวรรณภูมิ วงเงิน 4.2 หมื่นล้านบาทนั้น ขณะนี้ก็อยู่ระหว่างการให้ทางบริษัท ท่าอากาศยานไทย(ทอท.) ไปพิจารณารายละเอียดข้อเท็จจริงและเหตุผลว่าลักษณะของแผนแม่บทตั้งแต่ฉบับแรกจนถึงปัจจุบันที่มีการเปลี่ยนแปลงแต่ละครั้งเพราะอะไรและเหตุผลที่จะต้องมีเทอร์มินอลใหม่ขึ้นมาเพื่ออะไร ซึ่งในสัปดาห์นี้จะเริ่มมีการแบ่งประเด็นต่างๆในการรับฟังความคิดเห็นต่อไป
ส่วนความคืบหน้าการดำเนินการเรื่องการยุติข้อพิพาทกรณีสัมปทานทางด่วนระหว่างการทางพิเศษแห่งประเทศไทย(กทพ.) และบริษัท ทางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพ (BEM)ก็ได้สั่งการให้ กทพ. รวบรวมข้อมูลและรายงานกลับมายังกระทรวงฯ ภายในวันที่ 20 ก.ย.นี้ เสนอคณะรัฐมนตรี(ครม.) สัปดาห์หน้า เพื่อขอเสนอทบทวนมติ ครม. วันที่ 20 ต.ค. 2561 โดยจะต้องดำเนินการอย่างเร่งด่วนเนื่องจากในช่วงปลายเดือนนี้ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี มีกำหนดเดินทางไปต่างประเทศ
นายศักดิ์สยาม กล่าวว่า ด้านโครงการรถไฟความเร็วสูงไทย-จีน ช่วง กรุงเทพ-นครราชสีมา นั้นคาดว่าภายในสัปดาห์นี้ทางจีนจะกลับมาให้คำตอบในประเด็นที่ได้มีการหารือร่วมกันก่อนหน้านี้ เป็นต้น ส่วนการเจรจาสัญญา 2.3 งานระบบราง ระบบไฟฟ้า และเครื่องกล รวมทั้งจัดหาขบวนรถไฟและจัดฝึกอบรมบุคลากร วงเงิน 5 หมื่นล้านบาท นั้นจะมีการเร่งรัดในการเจรจาเพื่อลงนามในสัญญาต่อไป ส่วนประเด็นเรื่องอัตราดอกเบี้ยเงินกู้จะพิจารณาควบคู่กันไป ก่อนสรุปและส่งร่างสัญญาให้ที่ประชุมครม. เห็นชอบก่อนลงนามต่อไป
อย่างไรก็ตามกระทรวงคมนาคมตั้งเป้าจะเริ่มเปิดเจรจาอย่างเป็นทางการถึงสัญญาดังกล่าวในการประชุมสุดยอดผู้นำอาเซียน(Asean Summit) ในเดือน พ.ย. นี้ วึ่งจะมีนายหลี่เค่อเฉียง นายกรัฐมนตรีของจีนเข้าร่วมประชุมด้วย
ด้าน ศ.ดร.รุธิร์ พนมยงค์ จากสาขาวิชาบริหารธุรกิจระหว่างประเทศ โลจิสติกส์และการขนส่ง คณะพาณิชย์ศาสตร์และการบัญชี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ กล่าวว่า การเจรจาโครงกการรถไฟไทย-จีนนั้น รัฐบาลไทยคาดหวังว่าฝ่ายจีนจะเอาบริษัทที่ปรึกษาของจีนมาตรวจสอบดูแลการก่อสร้าง แต่จีนไม่มีส่วนรับผิดชอบใดๆ กับรายละเอียดการก่อสร้างเส้นทางรถไฟความเร็วสูงที่ผ่านมา พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ก็ดูเหมือนจะเห็นดีด้วยกับโครงการ BRI ของจีนมาตลอด
เมื่อต้นเดือน ก.ย.ที่ผ่านมา น.ส.ไตรศุลี ไตรสรณกุล รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรีเพิ่งจะแถลงว่า เส้นทางรถไฟความเร็วสูงเฟสแรกเริ่มได้ในปี 2023 และเส้นทางรถไฟความเร็วสูงเต็มเส้นทางจากกรุงเทพ-หนองคาย มีระยะทางยาว 873 กิโลเมตร(กม.) เริ่มทยอยพัฒนาต่อไปหลังจากเปิดใช้เฟสแรก
อย่างไรก็ตาม คนในแวดวงการเงินและการทูตของไทยต่างตั้งคำถามเกี่ยวกับเรื่องนี้ เพราะยังไม่มีวี่แววว่าจะมีงบในการก่อสร้างโครงการดังกล่าวแต่อย่างใด เมื่อเดือน ม.ค. ก่อนที่จะมีการประชุมเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องกับการสร้างรถไฟไทย-จีน ที่กรุงปักกิ่ง เจ้าหน้าที่ไทยยังพิจารณาข้อเสนอในการกู้ยืมเงินจากธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศจีนในอัตราดอกเบี้ย 2.3% ซึ่งไทยมองว่าดอกเบี้ยสูงเกินไป
ข่าวเขตเศรษฐกิจพิเศษ อื่นๆ