ลุยขับเคลื่อน อีอีซีระยอง
Loading

ลุยขับเคลื่อน อีอีซีระยอง

วันที่ : 28 สิงหาคม 2562
เมื่อวันที่ 26 สิงหาคม ที่ศาลาประชาคมที่ว่าการอำเภอเมืองระยอง นายสุพจน์ ต่ออาจหาญ นายอำเภอเมืองระยอง เป็นประธานเปิดรับฟังความคิดเห็นของประชาชน โครงการเพิ่มประสิทธิภาพและเพิ่มความจุทางรถไฟช่วงหัวหมาก-ฉะเชิงเทรา-ศรีราชา และโครงการรถไฟทางคู่ช่วงศรีราชามาบตาพุด
          เปิดถกรถไฟศรีราชา-มาบตาพุด

          เวนคืน'ทางลอด'เชื่อม3ท่าเรือ

          เมื่อวันที่ 26 สิงหาคม ที่ศาลาประชาคมที่ว่าการอำเภอเมืองระยอง นายสุพจน์ ต่ออาจหาญ นายอำเภอเมืองระยอง เป็นประธานเปิดรับฟังความคิดเห็นของประชาชน โครงการเพิ่มประสิทธิภาพและเพิ่มความจุทางรถไฟช่วงหัวหมาก-ฉะเชิงเทรา-ศรีราชา และโครงการรถไฟทางคู่ช่วงศรีราชามาบตาพุด โดยมีนายสมเกียรติ เตรียมแจ้งอรุณ ผู้จัดการโครงการ ผู้เชี่ยวชาญด้านสิ่งแวดล้อม ประธานชุมชน ผู้แทนโรงงานอุตสาหกรรม สมาคมขนส่งภาคตะวันออก และผู้แทนหอการค้าจังหวัดระยองเข้าร่วม

          นายสมเกียรติกล่าวว่า โครงการนี้เป็นส่วนหนึ่งของโครงการ EEC มีการเชื่อมการขนส่งทางรางของ 3 ท่าเรือ (แหลมฉบัง-สัตหีบ-มาบตาพุด) วันนี้เป็นการประชุมกลุ่มย่อยเพื่อรับฟังผลกระทบจากประชาชนในพื้นที่ ก่อนนำไปใช้ในการออกแบบรายละเอียดต่อไป โดยเฉพาะการเวนคืนที่ดินบางจุดที่เป็นจุดตัดเพื่อสร้างสะพานข้าม หรือทางลอดสำหรับรถยนต์ที่บริเวณจุดตัด ซึ่งเราจะได้หามาตรการเยียวยาช่วยเหลือ ส่วนแนวเส้นทางเราคงใช้พื้นที่ของรถไฟเดิม ช่วงบริเวณศรีราชากับช่วงเขาชีจรรย์จะมีทางรถไฟเชื่อมทั้งสองทิศ ทางเข้าท่าเรือสัตหีบจะมีแนวใหม่ใกล้กับแนวเดิมก็เชื่อมมาที่ท่าเรือมาบตาพุดโดยตรง จากท่าเรือแหลมฉบังเชื่อมมาทางสัตหีบก็จะมีเวนคืนที่ดินพื้นที่ ที่เป็นคอร์ดไลน์ ซึ่งเป็นทางเลี้ยวโดยตรง

          ด้านนายวิโรจน์ รมเยศ ที่ปรึกษาสมาคมขนส่งภาคตะวันออก กล่าวว่า ในส่วนของขนส่งตู้คอนเทนเนอร์ที่ออกจากระยองไปยังท่าเรือแหลมฉบัง ต่างประเทศและในประเทศวันหนึ่งเฉลี่ยประมาณ 2,000 ตู้ ไม่รวมขาเข้า กรณีมีโครงการรถไฟทางคู่ขนส่งสินค้าเชื่อม 3 ท่าเรือ จากทฤษฎีแนวคิดการใช้ทางรางที่ถูกต้องมันต้องลดปริมาณการขนส่งทางรถยนต์ แต่ด้วยสภาวะปัจจุบันสิ่งแวดล้อมและการบูรณาการต่างๆ การใช้ขนส่งทางรางยังไม่ลดเท่าที่ควร ในฐานะผู้ประกอบการมีการวิเคราะห์ขนส่งทางราง ทางน้ำและทางถนน สำหรับทางรถไฟแหลมฉบัง-ระยองด้วยทฤษฎีทั่วไประยะทางสั้นขนาดนี้ ถ้ารัฐไม่ซับพอร์ตไม่มีโอกาสที่จะมีปริมาณต่ำกว่าการขนส่งทางถนน ด้วยเรื่องของความคล่องตัว เรื่องของระบบการขนถ่ายเป็นประเด็น ซึ่งเราจะต้องมาศึกษาและสร้างบูรณาการให้มากกว่านี้
 
ข่าวเขตเศรษฐกิจพิเศษ อื่นๆ