ราคาที่ดินพุ่งพรวด ย่านธุรกิจ ตารางวาละ1ล้านบ.
วันที่ : 14 สิงหาคม 2562
ที่ดินทั่วประเทศขึ้น 8.2% "ธนารักษ์" ประเมินเพื่อรอง รับเก็บภาษีที่ดิน-สิ่งปลูกสร้างใหม่ เผย ถนนสีลมเพลินจิต-พระรามที่ 1-วิทยุ แพงสุดทะลุตารางวาละ 1 ล้านบาท ขณะที่ จ.กำแพงเพชร ขึ้นมากสุด 200% ส่วนที่ดินแนวรถไฟฟ้าเพิ่ม 8-10% ได้รับอานิสงส์จากโครงการของรัฐ ด้านที่ดินอีอีซีไม่คึกคัก
ถนนสีลม-เพลินจิตพระราม1และวิทยุ
ที่ดินทั่วประเทศขึ้น 8.2% "ธนารักษ์" ประเมินเพื่อรอง รับเก็บภาษีที่ดิน-สิ่งปลูกสร้างใหม่ เผย ถนนสีลมเพลินจิต-พระรามที่ 1-วิทยุ แพงสุดทะลุตารางวาละ 1 ล้านบาท ขณะที่ จ.กำแพงเพชร ขึ้นมากสุด 200% ส่วนที่ดินแนวรถไฟฟ้าเพิ่ม 8-10% ได้รับอานิสงส์จากโครงการของรัฐ ด้านที่ดินอีอีซีไม่คึกคัก
เมื่อวันที่ 13 ส.ค. น.ส.วิลาวัลย์ วีระกุล รองอธิบดีด้านประเมินราคาทรัพย์สิน กรมธนารักษ์ เปิดเผยว่า ขณะนี้กรมฯ ได้จัดทำราคาประเมินที่ดินใหม่ทั้ง 33.4 ล้านแปลงทั่วประเทศเสร็จแล้ว โดยมีราคาเฉลี่ยทั้งประเทศเพิ่มขึ้น 8.2% ซึ่งที่ดินส่วนใหญ่กว่า 70% ไม่มีการปรับราคาเป็นราคาเดิมและมีราคาเพิ่มขึ้น 29% ราคาลด 1% พร้อมกับมีการปรับวิธีการประเมินจากรายบล็อกเปลี่ยนเป็นรายแปลง เพื่อใช้เป็นฐานการเก็บภาษี ตาม พ.ร.บ.ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง ที่จะเริ่มใช้ในปี 63 ด้วย
ทั้งนี้การประเมินราคาที่ดินรอบนี้ ได้ใช้เทคโนโลยีมาช่วยประเมินแบบรายแปลง ให้สะท้อนกับราคาซื้อขายในตลาด โดยปัจจัยที่ทำให้ราคาที่ดินเพิ่มขึ้น มาจากการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานของรัฐ เช่น รถไฟฟ้า ทางด่วน รถไฟความเร็วสูง เขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษ การพัฒนาที่ดินจากที่ดินเปล่า นอกจากนี้กรมฯ ยังได้ประเมินราคาอาคารชุดรวม 6,300 โครงการเสร็จแล้ว ขณะที่การจัดบัญชีโรงเรือน และสิ่งปลูกสร้างทั่วประเทศน่าจะเสร็จในเดือน ส.ค.นี้ สำหรับใช้เป็นฐานข้อมูล สำหรับการจัดเก็บภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างด้วย
รองอธิบดีฯ ระบุต่อว่า สำหรับราคาประเมินที่ดินแพงสุดในประเทศ คือถนนย่านธุรกิจสำคัญ ถนนสีลม, เพลินจิต, พระรามที่ 1 และถนนวิทยุ ตารางวาละ 1 ล้านบาท ส่วนราคาที่ปรับเพิ่มสูงสุด อยู่ในจังหวัดกำแพงเพชร เพิ่มขึ้น 200% เนื่องจากไม่ได้ปรับขึ้นมาแล้ว 2 รอบ ส่วนภาพรวมราคาที่ดินในกรุงเทพฯ ปรับเพิ่มเฉลี่ย 2.45% ที่ดินแนวรถไฟฟ้ากรุงเทพฯ ขึ้น 8-10% ซึ่งไม่มากเนื่องจากเคยปรับขึ้นไปเยอะแล้วเมื่อหนก่อน ส่วนราคาที่ดินเขตพัฒนาเศรษฐกิจภาคตะวันออก (อีอีซี) ขยับไม่มากเพราะต้องรอให้มีการลงทุนจริงเกิดขึ้นก่อน อีกทั้งหากปรับไปล่วงหน้าอาจทำให้เกิดการ ปั่นราคาเก็งกำไร ประชาชนไม่ต้องตกใจ การปรับปรุงราคาประเมินรอบนี้ จะมีผลกับประชาชนน้อยมาก โดยราคาประเมินจะยังคงใช้รอบ 4 ปีเหมือนเดิม ระหว่างนี้คณะอนุกรรมการกำหนดราคาประเมินฯ รายจังหวัดสามารถพิจารณาปรับขึ้นได้ทุกปีตามราคาตลาด และปัจจัยแวดล้อมที่เปลี่ยนไป หลังจากนี้กรมฯ จะมีการเสนอให้คณะกรรมการประเมินราคาทรัพย์สินเพื่อประโยชน์แห่งรัฐ เห็นชอบภายในเดือนนี้รายงานข่าวแจ้งเพิ่มว่า ราคาประเมินที่ดินแปลงสำคัญในกรุงเทพฯ ที่ปรับเพิ่มขึ้น ได้แก่ ถนนสีลม เพิ่มจากตารางวาละ 7 แสนถึง 1 ล้านบาท เป็น 7.5 แสนบาทถึง 1 ล้านบาท ถนนเพลินจิต เพิ่มจาก 9 แสนบาทเป็น 1 ล้านบาท ถนนพระรามที่ 1 เพิ่มจาก 4-9 แสนบาท เป็น 4 แสนถึง 1 ล้านบาท ถนนวิทยุ เพิ่มจาก 5-7.5 แสนบาท เป็น 1 ล้านบาท ถนนสาทร เพิ่มจาก 4.5-7.5 แสนบาท เพิ่มเป็น 4.5-8 แสนบาท ถนนสุขุมวิทจาก 2.1-6.5 แสนบาท เพิ่มเป็น 2.3-7.5 แสนบาท ถนนพหลโยธินจาก 1-4 แสนบาท เพิ่มเป็น 1.3-5 แสนบาท ถนนรามอินทราจาก 8.5 หมื่นถึง 1.5 แสนบาทเพิ่มเป็น 1-1.7 แสนบาท
ส่วนที่ดินเขตปริมณฑล นนทบุรีเพิ่มขึ้น 0.25% ตารางวาต่ำสุด สูงสุด 1,000-170,000 บาท แพงสุดคือ ถนนกรุงเทพ-นนทบุรี ถนนงามวงศ์วาน จ.สมุทรสาครเพิ่ม 3.58% ตารางวาละ 350-70,000 บาท แพงสุดถนนเอกชน ถนนเศรษฐกิจ 1 จ.สมุทรปราการ เพิ่ม 5.36% ตารางวาละ 500-160,000 บาท แพงสุดเป็นถนนสุขุมวิท นครปฐมเพิ่ม 6.46% ตารางวาละ 130-80,000 บาท แพงสุดถนนทรงพล ถนนราชวิถี ถนนราชดำเนิน จ.ปทุมธานี เพิ่ม 7.07% ตารางวาละ 600-100,000 บาท แพงสุดถนนรังสิตปทุมธานี ถนนพหลโยธิน.
ที่ดินทั่วประเทศขึ้น 8.2% "ธนารักษ์" ประเมินเพื่อรอง รับเก็บภาษีที่ดิน-สิ่งปลูกสร้างใหม่ เผย ถนนสีลมเพลินจิต-พระรามที่ 1-วิทยุ แพงสุดทะลุตารางวาละ 1 ล้านบาท ขณะที่ จ.กำแพงเพชร ขึ้นมากสุด 200% ส่วนที่ดินแนวรถไฟฟ้าเพิ่ม 8-10% ได้รับอานิสงส์จากโครงการของรัฐ ด้านที่ดินอีอีซีไม่คึกคัก
เมื่อวันที่ 13 ส.ค. น.ส.วิลาวัลย์ วีระกุล รองอธิบดีด้านประเมินราคาทรัพย์สิน กรมธนารักษ์ เปิดเผยว่า ขณะนี้กรมฯ ได้จัดทำราคาประเมินที่ดินใหม่ทั้ง 33.4 ล้านแปลงทั่วประเทศเสร็จแล้ว โดยมีราคาเฉลี่ยทั้งประเทศเพิ่มขึ้น 8.2% ซึ่งที่ดินส่วนใหญ่กว่า 70% ไม่มีการปรับราคาเป็นราคาเดิมและมีราคาเพิ่มขึ้น 29% ราคาลด 1% พร้อมกับมีการปรับวิธีการประเมินจากรายบล็อกเปลี่ยนเป็นรายแปลง เพื่อใช้เป็นฐานการเก็บภาษี ตาม พ.ร.บ.ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง ที่จะเริ่มใช้ในปี 63 ด้วย
ทั้งนี้การประเมินราคาที่ดินรอบนี้ ได้ใช้เทคโนโลยีมาช่วยประเมินแบบรายแปลง ให้สะท้อนกับราคาซื้อขายในตลาด โดยปัจจัยที่ทำให้ราคาที่ดินเพิ่มขึ้น มาจากการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานของรัฐ เช่น รถไฟฟ้า ทางด่วน รถไฟความเร็วสูง เขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษ การพัฒนาที่ดินจากที่ดินเปล่า นอกจากนี้กรมฯ ยังได้ประเมินราคาอาคารชุดรวม 6,300 โครงการเสร็จแล้ว ขณะที่การจัดบัญชีโรงเรือน และสิ่งปลูกสร้างทั่วประเทศน่าจะเสร็จในเดือน ส.ค.นี้ สำหรับใช้เป็นฐานข้อมูล สำหรับการจัดเก็บภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างด้วย
รองอธิบดีฯ ระบุต่อว่า สำหรับราคาประเมินที่ดินแพงสุดในประเทศ คือถนนย่านธุรกิจสำคัญ ถนนสีลม, เพลินจิต, พระรามที่ 1 และถนนวิทยุ ตารางวาละ 1 ล้านบาท ส่วนราคาที่ปรับเพิ่มสูงสุด อยู่ในจังหวัดกำแพงเพชร เพิ่มขึ้น 200% เนื่องจากไม่ได้ปรับขึ้นมาแล้ว 2 รอบ ส่วนภาพรวมราคาที่ดินในกรุงเทพฯ ปรับเพิ่มเฉลี่ย 2.45% ที่ดินแนวรถไฟฟ้ากรุงเทพฯ ขึ้น 8-10% ซึ่งไม่มากเนื่องจากเคยปรับขึ้นไปเยอะแล้วเมื่อหนก่อน ส่วนราคาที่ดินเขตพัฒนาเศรษฐกิจภาคตะวันออก (อีอีซี) ขยับไม่มากเพราะต้องรอให้มีการลงทุนจริงเกิดขึ้นก่อน อีกทั้งหากปรับไปล่วงหน้าอาจทำให้เกิดการ ปั่นราคาเก็งกำไร ประชาชนไม่ต้องตกใจ การปรับปรุงราคาประเมินรอบนี้ จะมีผลกับประชาชนน้อยมาก โดยราคาประเมินจะยังคงใช้รอบ 4 ปีเหมือนเดิม ระหว่างนี้คณะอนุกรรมการกำหนดราคาประเมินฯ รายจังหวัดสามารถพิจารณาปรับขึ้นได้ทุกปีตามราคาตลาด และปัจจัยแวดล้อมที่เปลี่ยนไป หลังจากนี้กรมฯ จะมีการเสนอให้คณะกรรมการประเมินราคาทรัพย์สินเพื่อประโยชน์แห่งรัฐ เห็นชอบภายในเดือนนี้รายงานข่าวแจ้งเพิ่มว่า ราคาประเมินที่ดินแปลงสำคัญในกรุงเทพฯ ที่ปรับเพิ่มขึ้น ได้แก่ ถนนสีลม เพิ่มจากตารางวาละ 7 แสนถึง 1 ล้านบาท เป็น 7.5 แสนบาทถึง 1 ล้านบาท ถนนเพลินจิต เพิ่มจาก 9 แสนบาทเป็น 1 ล้านบาท ถนนพระรามที่ 1 เพิ่มจาก 4-9 แสนบาท เป็น 4 แสนถึง 1 ล้านบาท ถนนวิทยุ เพิ่มจาก 5-7.5 แสนบาท เป็น 1 ล้านบาท ถนนสาทร เพิ่มจาก 4.5-7.5 แสนบาท เพิ่มเป็น 4.5-8 แสนบาท ถนนสุขุมวิทจาก 2.1-6.5 แสนบาท เพิ่มเป็น 2.3-7.5 แสนบาท ถนนพหลโยธินจาก 1-4 แสนบาท เพิ่มเป็น 1.3-5 แสนบาท ถนนรามอินทราจาก 8.5 หมื่นถึง 1.5 แสนบาทเพิ่มเป็น 1-1.7 แสนบาท
ส่วนที่ดินเขตปริมณฑล นนทบุรีเพิ่มขึ้น 0.25% ตารางวาต่ำสุด สูงสุด 1,000-170,000 บาท แพงสุดคือ ถนนกรุงเทพ-นนทบุรี ถนนงามวงศ์วาน จ.สมุทรสาครเพิ่ม 3.58% ตารางวาละ 350-70,000 บาท แพงสุดถนนเอกชน ถนนเศรษฐกิจ 1 จ.สมุทรปราการ เพิ่ม 5.36% ตารางวาละ 500-160,000 บาท แพงสุดเป็นถนนสุขุมวิท นครปฐมเพิ่ม 6.46% ตารางวาละ 130-80,000 บาท แพงสุดถนนทรงพล ถนนราชวิถี ถนนราชดำเนิน จ.ปทุมธานี เพิ่ม 7.07% ตารางวาละ 600-100,000 บาท แพงสุดถนนรังสิตปทุมธานี ถนนพหลโยธิน.
ข่าวกฎหมายอสังหาฯ อื่นๆ