เอกชนชง50มาตรการด่วน
วันที่ : 23 กรกฎาคม 2562
รายงานข่าวจากหอการค้าไทย เปิดเผยว่า ขณะนี้ประธานพัฒนาเศรษฐกิจพื้นที่ทั้ง 5 ภูมิภาคของหอการค้าไทยได้เสนอมาตรการเร่งด่วนให้รัฐบาลใหม่ดำเนินการไม่ต่ำกว่า 50 มาตรการ เป้าหมายเพื่อส่งเสริมสร้างความเข้มแข็งเศรษฐกิจ และลดความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจของประเทศ
ให้'ประยุทธ์'เร่งแก้เหลื่อมล้ำ ดันศก.แกร่ง-ลดประชานิยม
รายงานข่าวจากหอการค้าไทย เปิดเผยว่า ขณะนี้ประธานพัฒนาเศรษฐกิจพื้นที่ทั้ง 5 ภูมิภาคของหอการค้าไทยได้เสนอมาตรการเร่งด่วนให้รัฐบาลใหม่ดำเนินการไม่ต่ำกว่า 50 มาตรการ เป้าหมายเพื่อส่งเสริมสร้างความเข้มแข็งเศรษฐกิจ และลดความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจของประเทศ ซึ่งถือเป็นปัญหาหลักของประเทศมานาน ประกอบกับปัจจุบันเศรษฐกิจได้รับผลกระทบจากสงครามการค้าสหรัฐจีน และความผันผวนอัตราแลกเปลี่ยนจึงกระทบต่อการส่งออกไทย ซึ่งถือเป็นรายได้หลักของประเทศ ดังนั้นข้อเสนอของหอการค้ากว่า 50 มาตรการ นอกจากจะช่วยสร้างความเข้มแข็งเศรษฐกิจและปัญหาสังคมแล้ว เชื่อว่าในอนาคตจะทำให้พรรคการเมืองลดการนำนโยบายประชานิยมมาใช้ด้วย
"เป็นการรวบรวมมาตรการที่หอการค้าแต่ละภูมิภาคทั้งใต้ เหนือ ตะวันออก กลาง และตะวันออกเฉียงเหนือ เพื่อเสนอให้นายกลินท์ สารสิน ประธานกรรมการหอการค้าไทยและสภาหอการค้าแห่งประเทศไทยทำเป็นสมุดปกขาวเสนอให้รัฐบาลหลังจากที่แต่งตั้ง ครม.เรียบร้อยแล้ว โดยมาตรการเร่งด่วนจะช่วยขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทยให้เติบโต ส่วนใหญ่เน้นการเชื่อมโยงโครงสร้างพื้นฐานตามจังหวัดต่าง ๆ การเข้าถึงแหล่งเงินทุนของเอสเอ็มอี เพิ่มศักยภาพแรงงานให้สอดคล้องกับความต้องการของผู้ประกอบการ, การส่งเสริมการค้าชายแดน, แก้กฎหมายที่เป็นอุปสรรคของการทำธุรกิจ เป็นต้น"
สำหรับข้อเสนอภาคใต้ เช่น เร่งรัดรถไฟชุมพรและระนอง, เร่งรัดก่อสร้างสนามบินภูเก็ต 2 ในจังหวัดพังงา, ประกาศให้ จ.สตูล เป็นส่วนหนึ่งของจังหวัดชายแดนภาคใต้ เพื่อส่งเสริมการค้าชายแดน, แก้ปัญหาความเหลื่อมล้ำ, สนับสนุนการค้าบี 100 อย่างถูกต้อง และสามารถทำได้ทุกคนไม่มีข้อจำกัด เป็นต้น ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เช่น เร่งแก้ปัญหาคอร์รัปชั่น, พัฒนาบุคลากรด้านการท่องเที่ยว, พัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน ทั้งทางราง ถนนและอากาศเพื่อเชื่อมโยงอีอีซี และประเทศเพื่อนบ้าน, พัฒนาแหล่งน้ำ ทั้งโครงการโขง เลย ชี มูล และโครงการระบบชลประทานและแก้ปัญหาราคาสินค้าเกษตร
ส่วนภาคตะวันออก เช่น เร่งพัฒนารถไฟด่วนพิเศษหัวลำโพง-อรัญประเทศ, จัดการหลักสูตรการศึกษาให้สอดคล้องกับสถานประกอบการ, ประกันราคาสินค้าเกษตรเพื่อสร้างความมั่นคงด้านรายได้ ขณะที่ภาคเหนือเร่งการแก้ไขสภาพอากาศ, เร่งรัดการก่อสร้างสนามบินเชียงใหม่แห่งที่ 2 ให้เร็วขึ้น และภาคกลาง เน้นมาตรการใหม่ ๆ ที่จะเพิ่มรายได้และกำลังซื้อกับประชาชนฐานรากเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ, ส่งเสริมรายได้จากการท่องเที่ยว โดยเฉพาะการเจาะตลาดที่มีอำนาจซื้อมากขึ้น และจัดทำแผนยุทธศาสตร์เศรษฐกิจแต่ละจังหวัด เป็นต้น
นายปรัชญา สมะลาภา ประธานคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจพื้นที่ภาคตะวันออก กล่าวว่า การที่หอการค้าภูมิภาคได้เสนอมาตรการเร่งด่วนให้รัฐบาล 50-60 ข้อนั้น บางเรื่องแต่ละภาคอาจเสนอซ้ำ ซ้อนกัน หากรัฐบาลรับข้อเสนอและคัดเลือกโครงการตามความเหมาะสมของรัฐบาล หากทำได้เพียง 15-20 ข้อ ก็ถือว่าเป็นเรื่องที่ดี ต่อเศรษฐกิจไทยอย่างมาก
"เรื่องของความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจ ถือเป็นประเด็นสำคัญที่รัฐบาลใหม่เร่งดำเนินการ เพราะถือเป็นโครงสร้างประเทศที่มีปัญหามานานไม่ว่าจะเป็นเรื่องของคนรวยหรือคนจน และความเหลื่อมล้ำระหว่างผู้ประกอบการรายใหญ่และรายเล็กที่ถูกคิดอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ต่างกัน เป็นต้น และหากเกิดความเหลื่อมล้ำขึ้นมาก ๆ ก็จะเกิดปัญหาความขัดแย้งทางสังคมและถูกนำไปเชื่อมโยงกับการเมืองเช่นกัน"
รายงานข่าวจากหอการค้าไทย เปิดเผยว่า ขณะนี้ประธานพัฒนาเศรษฐกิจพื้นที่ทั้ง 5 ภูมิภาคของหอการค้าไทยได้เสนอมาตรการเร่งด่วนให้รัฐบาลใหม่ดำเนินการไม่ต่ำกว่า 50 มาตรการ เป้าหมายเพื่อส่งเสริมสร้างความเข้มแข็งเศรษฐกิจ และลดความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจของประเทศ ซึ่งถือเป็นปัญหาหลักของประเทศมานาน ประกอบกับปัจจุบันเศรษฐกิจได้รับผลกระทบจากสงครามการค้าสหรัฐจีน และความผันผวนอัตราแลกเปลี่ยนจึงกระทบต่อการส่งออกไทย ซึ่งถือเป็นรายได้หลักของประเทศ ดังนั้นข้อเสนอของหอการค้ากว่า 50 มาตรการ นอกจากจะช่วยสร้างความเข้มแข็งเศรษฐกิจและปัญหาสังคมแล้ว เชื่อว่าในอนาคตจะทำให้พรรคการเมืองลดการนำนโยบายประชานิยมมาใช้ด้วย
"เป็นการรวบรวมมาตรการที่หอการค้าแต่ละภูมิภาคทั้งใต้ เหนือ ตะวันออก กลาง และตะวันออกเฉียงเหนือ เพื่อเสนอให้นายกลินท์ สารสิน ประธานกรรมการหอการค้าไทยและสภาหอการค้าแห่งประเทศไทยทำเป็นสมุดปกขาวเสนอให้รัฐบาลหลังจากที่แต่งตั้ง ครม.เรียบร้อยแล้ว โดยมาตรการเร่งด่วนจะช่วยขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทยให้เติบโต ส่วนใหญ่เน้นการเชื่อมโยงโครงสร้างพื้นฐานตามจังหวัดต่าง ๆ การเข้าถึงแหล่งเงินทุนของเอสเอ็มอี เพิ่มศักยภาพแรงงานให้สอดคล้องกับความต้องการของผู้ประกอบการ, การส่งเสริมการค้าชายแดน, แก้กฎหมายที่เป็นอุปสรรคของการทำธุรกิจ เป็นต้น"
สำหรับข้อเสนอภาคใต้ เช่น เร่งรัดรถไฟชุมพรและระนอง, เร่งรัดก่อสร้างสนามบินภูเก็ต 2 ในจังหวัดพังงา, ประกาศให้ จ.สตูล เป็นส่วนหนึ่งของจังหวัดชายแดนภาคใต้ เพื่อส่งเสริมการค้าชายแดน, แก้ปัญหาความเหลื่อมล้ำ, สนับสนุนการค้าบี 100 อย่างถูกต้อง และสามารถทำได้ทุกคนไม่มีข้อจำกัด เป็นต้น ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เช่น เร่งแก้ปัญหาคอร์รัปชั่น, พัฒนาบุคลากรด้านการท่องเที่ยว, พัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน ทั้งทางราง ถนนและอากาศเพื่อเชื่อมโยงอีอีซี และประเทศเพื่อนบ้าน, พัฒนาแหล่งน้ำ ทั้งโครงการโขง เลย ชี มูล และโครงการระบบชลประทานและแก้ปัญหาราคาสินค้าเกษตร
ส่วนภาคตะวันออก เช่น เร่งพัฒนารถไฟด่วนพิเศษหัวลำโพง-อรัญประเทศ, จัดการหลักสูตรการศึกษาให้สอดคล้องกับสถานประกอบการ, ประกันราคาสินค้าเกษตรเพื่อสร้างความมั่นคงด้านรายได้ ขณะที่ภาคเหนือเร่งการแก้ไขสภาพอากาศ, เร่งรัดการก่อสร้างสนามบินเชียงใหม่แห่งที่ 2 ให้เร็วขึ้น และภาคกลาง เน้นมาตรการใหม่ ๆ ที่จะเพิ่มรายได้และกำลังซื้อกับประชาชนฐานรากเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ, ส่งเสริมรายได้จากการท่องเที่ยว โดยเฉพาะการเจาะตลาดที่มีอำนาจซื้อมากขึ้น และจัดทำแผนยุทธศาสตร์เศรษฐกิจแต่ละจังหวัด เป็นต้น
นายปรัชญา สมะลาภา ประธานคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจพื้นที่ภาคตะวันออก กล่าวว่า การที่หอการค้าภูมิภาคได้เสนอมาตรการเร่งด่วนให้รัฐบาล 50-60 ข้อนั้น บางเรื่องแต่ละภาคอาจเสนอซ้ำ ซ้อนกัน หากรัฐบาลรับข้อเสนอและคัดเลือกโครงการตามความเหมาะสมของรัฐบาล หากทำได้เพียง 15-20 ข้อ ก็ถือว่าเป็นเรื่องที่ดี ต่อเศรษฐกิจไทยอย่างมาก
"เรื่องของความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจ ถือเป็นประเด็นสำคัญที่รัฐบาลใหม่เร่งดำเนินการ เพราะถือเป็นโครงสร้างประเทศที่มีปัญหามานานไม่ว่าจะเป็นเรื่องของคนรวยหรือคนจน และความเหลื่อมล้ำระหว่างผู้ประกอบการรายใหญ่และรายเล็กที่ถูกคิดอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ต่างกัน เป็นต้น และหากเกิดความเหลื่อมล้ำขึ้นมาก ๆ ก็จะเกิดปัญหาความขัดแย้งทางสังคมและถูกนำไปเชื่อมโยงกับการเมืองเช่นกัน"
ข่าวเขตเศรษฐกิจพิเศษ อื่นๆ