อีอีซี ดันตั้งโรงงานพุ่ง15%
วันที่ : 3 กรกฎาคม 2562
กรมโรงงาน เผย อีอีซี ดัน ยอดตั้ง-ขยายโรงงาน 6 เดือนแรก ทะลุ 1.95 แสนล้านบาท ขยายตัว 15% คาดทั้งปีลงทุน 4.3 แสนล้านบาท เติบโต 20% ชี้ช่วงครึ่งปีหลังรับ อานิสงส์ตั้งรัฐบาลใหม่ ต่างชาติเพิ่มความมั่นใจ
ครึ่งปีหลังรับอานิสงส์ ตั้งรัฐบาลหนุนเชื่อมั่น
กรมโรงงาน เผย อีอีซี ดัน ยอดตั้ง-ขยายโรงงาน 6 เดือนแรก ทะลุ 1.95 แสนล้านบาท ขยายตัว 15% คาดทั้งปีลงทุน 4.3 แสนล้านบาท เติบโต 20% ชี้ช่วงครึ่งปีหลังรับ อานิสงส์ตั้งรัฐบาลใหม่ ต่างชาติเพิ่มความมั่นใจ
นายทองชัย ชวลิตพิเชฐ อธิบดีกรมโรงงานอุตสาหกรรม เปิดเผยว่า ยอดการ ขออนุญาตประกอบกิจการใหม่และ ขยายกิจการโรงงานในครึ่งแรกของปี 2562 (ม.ค.-มิ.ย.) มีจำนวน 2,064 โรงงาน ลดลงจากช่วงเดียวกันของปีก่อน 18.06% มีการจ้างงาน 92,262 คน ลดลง 5.45% แต่มูลค่าลงทุนอยู่ที่ 195,688 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 15.85%
"การลงทุนที่สูงขึ้นมาจากนโยบายส่งเสริม การลงทุน 10 อุตสาหกรรมเป้าหมายในเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (อีอีซี) ส่วนในช่วงครึ่งปีหลังคาดว่ายอดการลงทุนจะสูงกว่า ครึ่งปีแรก เนื่องจากได้รับผลบวกจากการตั้งรัฐบาลชุดใหม่ ทำให้นักลงทุนเกิดความเชื่อมั่น คาดว่ายอดลงทุนทั้งปีอยู่ที่ 4.3 แสนล้านบาท เพิ่มขึ้น 20% จากปีก่อนที่มีมูลค่า 3.6 แสนล้านบาท" อย่างไรก็ตามปัญหาสงครามการค้าสหรัฐ-จีน แม้ว่าจะมีท่าทีผ่อนคลายลงแต่ก็ยัง เป็นปัจจัยเสี่ยงที่สร้างความกังวลใจแก่ นักลงทุน รัฐบาลและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจึงต้องเร่งสร้างความเชื่อมั่นให้นักลงทุน
อุตฯปิโตรลงทุนสูงสุด
สำหรับกลุ่มอุตสาหกรรมที่ยื่นขอประกอบกิจการใหม่และขยายกิจการโรงงาน ที่มีมูลค่าลงทุนมากที่สุด 5 อันดับแรก ได้แก่ กลุ่มผลิตภัณฑ์จากปิโตรเลียมมีมูลค่าลงทุนมากที่สุด 38,530 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 2,369% รองลงมาเป็นกลุ่มอาหาร มูลค่าลงทุน 28,894 ล้านบาท ลดลง 15.76%, กลุ่มการผลิต เครื่องใช้ไฟฟ้าและอุปกรณ์ 19,570 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 84.43%, การผลิตยานพาหนะและอุปกรณ์รวมทั้งการซ่อมยานพาหนะและอุปกรณ์ 12,109 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 45.25% และ กลุ่มผลิตภัณฑ์พลาสติก 12,170 ล้านบาท ลดลง 6.95%
ทั้งนี้ หากพิจารณาเฉพาะการขออนุญาตประกอบกิจการใหม่ในช่วงครึ่งแรกของปี พบว่าเป็นจำนวนโรงงาน 1,659 โรงงาน มีการ จ้างงาน 45,733 คน และมีเงินลงทุน 106,000 ล้านบาท โดยอุตสาหกรรมอาหารลงทุนสูงสุด 19,301 ล้านบาท รองลงมาเป็น ผลิตภัณฑ์จากปิโตรเลียม 16,789 ล้านบาท และการผลิต เครื่องใช้ไฟฟ้าและอุปกรณ์ 14,213 ล้านบาท
อุตฯอาหารจ้างงานอันดับ1
ส่วนการขยายกิจการ มี 405 โรงงาน มีการ จ้างคนงาน 46,537 คน และ เงินลงทุน 89,687 ล้านบาท โดยผลิตภัณฑ์จากปิโตรเลียมมีมูลค่า ขยายกิจการสูงสุด 21,741 ล้านบาท รองลงมา เป็น อุตสาหกรรมอาหาร 9,593 ล้านบาท และผลิตภัณฑ์พลาสติก 7,883 ล้านบาท "การจ้างงานที่ปรับตัวลดลงส่วนหนึ่งมาจากผู้ประกอบการหันมาพัฒนาศักยภาพแรงงาน และบางส่วนนำเทคโนโลยีระบบอัตโนมัติและหุ่นยนต์มาใช้แทนแรงงานคนตาม กระแสเทคโนโลยีที่เข้าสู่ยุคอุตสาหกรรม 4.0"
สำหรับอุตสาหกรรมที่ขออนุญาตประกอบกิจการและขยายกิจการโรงงานใน ครึ่งแรกของปี และมีการจ้างแรงงานมากสุด คือ อุตสาหกรรมอาหารมีการจ้างงาน 19,495 คน ลดลง 36.20% รองลงมาเป็นการผลิต เครื่องใช้ไฟฟ้าและอุปกรณ์ 11,218 คน เพิ่มขึ้น 103.34% ,อุตสาหกรรมเครื่องแต่งกายยกเว้นรองเท้า จ้างงาน 8,029 คนเพิ่มขึ้น 164.11% , ผลิตภัณฑ์ยานพาหนะและอุปกรณ์รวมถึงการซ่อมยานพาหนะและอุปกรณ์ 7,542 คน เพิ่มขึ้น 60.91% และผลิตภัณฑ์พลาสติก จ้างงาน 7,604 คน ลดลง 34.50% เป็นต้น
เข้มกำจัดการอุตฯ"อีอีซี"
นายทองชัย กล่าวว่า นอกจากการส่งเสริม ให้เกิดการลงทุนตั้งและขยายโรงงานใหม่แล้ว กรมฯ ได้เข้มงวดในการจัดการกากอุตสาหกรรม เพื่อรองรับจำนวนโรงงานที่เพิ่มขึ้น โดยเฉพาะ ในพื้นที่ อีอีซี จะขยายศูนย์ภูมิภาคของ กรมโรงงานอุตสาหกรรมที่ จ.ชลบุรี ที่ในปัจจุบัน เป็นศูนย์ฝึกอบรมให้ความรู้เรื่องการลดมลพิษ ในโรงงานอุตสาหกรรม ให้เป็นศูนย์วิเคราะห์มลพิษ และความปลอดภัยภูมิภาคตะวันออก ขยายบทบาทออกไปกำกับดูแลด้านมลพิษ ซึ่งจะมุ่งเน้นในพื้นที่ อีอีซี และในอนาคตจะขยายปรับปรุงศูนย์ทั่วประเทศให้ได้ตามมาตรฐานนี้
นอกจากนี้ ยังได้ส่งเสริมการตั้งโรงงานที่รับกำจัด บำบัด และรีไซเคิลกากอุตสาหกรรมให้สอดคล้องกับลักษณะกากอุตสาหกรรมที่เกิดขึ้นกว่า 30 ล้านตันต่อปี
ทั้งนี้ จะส่งผลให้ผู้ประกอบการต้อง ส่งกากอุตสาหกรรมไปกำจัดหรือ บำบัดนอกพื้นที่ ซึ่งต้องเสียค่าใช้จ่ายในการ ขนส่งสูงมาก เช่น สัดส่วนโรงงานผู้ก่อกำเนิดต่อโรงงานผู้รับกำจัด บำบัดในภาคเหนือ คือ 102 ต่อ 1 ภาคใต้ 121 ต่อ 1 ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 101 ต่อ 1 ซึ่งต่างจากภาคตะวันออก ที่มีสัดส่วน 12 ต่อ 1
ห่วงของเสียปิโตรเคมี
รวมทั้งข้อมูลดังกล่าวเห็นได้ชัดว่าในภาคเหนือ ใต้ และตะวันออกเฉียงเหนือ มีจำนวนโรงงานที่สร้างกากอุตสาหกรรมกับจำนวนโรงงานกำจัดกากอุตสาหกรรม ดังนั้นจึงต้องเร่งส่งเสริมการจัดตั้งอุตสาหกรรมที่รับ กำจัด และรีไซเคิลกากอุตสาหกรรมให้มากขึ้น ซึ่งกรมฯ ได้จัดทำแผนกำจัดกากอุตสาหกรรมในภาพรวมทั้งประเทศไว้แล้ว โดยกำหนดพื้นที่ที่เหมาะสมในการสร้างโรงงานกำจัดกากอุตสาหกรรมอย่างชัดเจน นำข้อมูลเชิงคุณภาพมาประกอบการ พิจารณา เพื่อส่งเสริมให้มีการจัดการ กากอุตสาหกรรมให้สอดคล้องกับลักษณะกากอุตสาหกรรมที่เกิดขึ้นในแต่ละพื้นที่ เช่น ภาคใต้ โรงงานส่วนใหญ่เป็นอุตสาหกรรมแปรรูปอาหาร แปรรูปยางธรรมชาติ และอุตสาหกรรมน้ำมันปาล์ม
ภาคตะวันออก โรงงานส่วนใหญ่เป็น อุตสาหกรรมหนัก และอุตสาหกรรมปิโตรเคมี ซึ่งมีกากของเสียอันตรายในปริมาณ ค่อนข้างมาก เป็นต้น โดยต้องมีการนำเทคโนโลยีในการบริหารจัดการเข้ามาช่วยให้เกิดประสิทธิภาพด้วย
ดึง กนอ.ร่วมจัดการขยะ
"โรงงานกำจัดกากอุตสาหกรรมควรจะตั้งอยู่ในนิคมอุตสาหกรรม หรือตั้งเป็น นิคมฯกำจัดกากอุตสาหกรรมและรีไซเคิลโดยเฉพาะ เพื่อความสะดวกในการบริหารจัดการสิ่งแวดล้อม แต่หากไม่สามารถตั้งใน นิคมฯได้ หากมีพื้นที่เหมาะสมก็สามารถตั้ง โรงงานกำจัดกากได้เช่นกัน โดย กรอ. ได้ส่งมอบ แผนให้การนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (กนอ.) ไปพิจารณา" ในส่วนของโรงงานที่ก่อให้เกิดกากอุตสาหกรรมนั้น ล่าสุดมีโรงงานที่เข้าระบบการจัดการกากอุตสาหกรรมอย่างถูกต้องแล้ว 32,986 ราย จากโรงงานทั้งหมด 67,989 ราย หรือคิดเป็น 48.52% ของโรงงานทั้งหมด โดยโรงงานที่ยังไม่เข้าระบบกำจัดกาก ส่วนใหญ่จะเป็นโรงงานขนาดเล็กที่ไม่มีกากอุตสาหกรรมอันตราย ซึ่ง กรอ. ตั้งเป้าที่จะผลักดันโรงงานไม่ต่ำกว่า 9 พันโรงงานเข้าสู่ ระบบการจัดการกากอุตสาหกรรมที่ถูกต้อง คาดว่าภายใน 4-5 ปี โรงงงานเกือบทั้งหมดจะเข้าสู่ระบบการกำจัดกากที่ถูกต้อง
กรมโรงงาน เผย อีอีซี ดัน ยอดตั้ง-ขยายโรงงาน 6 เดือนแรก ทะลุ 1.95 แสนล้านบาท ขยายตัว 15% คาดทั้งปีลงทุน 4.3 แสนล้านบาท เติบโต 20% ชี้ช่วงครึ่งปีหลังรับ อานิสงส์ตั้งรัฐบาลใหม่ ต่างชาติเพิ่มความมั่นใจ
นายทองชัย ชวลิตพิเชฐ อธิบดีกรมโรงงานอุตสาหกรรม เปิดเผยว่า ยอดการ ขออนุญาตประกอบกิจการใหม่และ ขยายกิจการโรงงานในครึ่งแรกของปี 2562 (ม.ค.-มิ.ย.) มีจำนวน 2,064 โรงงาน ลดลงจากช่วงเดียวกันของปีก่อน 18.06% มีการจ้างงาน 92,262 คน ลดลง 5.45% แต่มูลค่าลงทุนอยู่ที่ 195,688 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 15.85%
"การลงทุนที่สูงขึ้นมาจากนโยบายส่งเสริม การลงทุน 10 อุตสาหกรรมเป้าหมายในเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (อีอีซี) ส่วนในช่วงครึ่งปีหลังคาดว่ายอดการลงทุนจะสูงกว่า ครึ่งปีแรก เนื่องจากได้รับผลบวกจากการตั้งรัฐบาลชุดใหม่ ทำให้นักลงทุนเกิดความเชื่อมั่น คาดว่ายอดลงทุนทั้งปีอยู่ที่ 4.3 แสนล้านบาท เพิ่มขึ้น 20% จากปีก่อนที่มีมูลค่า 3.6 แสนล้านบาท" อย่างไรก็ตามปัญหาสงครามการค้าสหรัฐ-จีน แม้ว่าจะมีท่าทีผ่อนคลายลงแต่ก็ยัง เป็นปัจจัยเสี่ยงที่สร้างความกังวลใจแก่ นักลงทุน รัฐบาลและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจึงต้องเร่งสร้างความเชื่อมั่นให้นักลงทุน
อุตฯปิโตรลงทุนสูงสุด
สำหรับกลุ่มอุตสาหกรรมที่ยื่นขอประกอบกิจการใหม่และขยายกิจการโรงงาน ที่มีมูลค่าลงทุนมากที่สุด 5 อันดับแรก ได้แก่ กลุ่มผลิตภัณฑ์จากปิโตรเลียมมีมูลค่าลงทุนมากที่สุด 38,530 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 2,369% รองลงมาเป็นกลุ่มอาหาร มูลค่าลงทุน 28,894 ล้านบาท ลดลง 15.76%, กลุ่มการผลิต เครื่องใช้ไฟฟ้าและอุปกรณ์ 19,570 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 84.43%, การผลิตยานพาหนะและอุปกรณ์รวมทั้งการซ่อมยานพาหนะและอุปกรณ์ 12,109 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 45.25% และ กลุ่มผลิตภัณฑ์พลาสติก 12,170 ล้านบาท ลดลง 6.95%
ทั้งนี้ หากพิจารณาเฉพาะการขออนุญาตประกอบกิจการใหม่ในช่วงครึ่งแรกของปี พบว่าเป็นจำนวนโรงงาน 1,659 โรงงาน มีการ จ้างงาน 45,733 คน และมีเงินลงทุน 106,000 ล้านบาท โดยอุตสาหกรรมอาหารลงทุนสูงสุด 19,301 ล้านบาท รองลงมาเป็น ผลิตภัณฑ์จากปิโตรเลียม 16,789 ล้านบาท และการผลิต เครื่องใช้ไฟฟ้าและอุปกรณ์ 14,213 ล้านบาท
อุตฯอาหารจ้างงานอันดับ1
ส่วนการขยายกิจการ มี 405 โรงงาน มีการ จ้างคนงาน 46,537 คน และ เงินลงทุน 89,687 ล้านบาท โดยผลิตภัณฑ์จากปิโตรเลียมมีมูลค่า ขยายกิจการสูงสุด 21,741 ล้านบาท รองลงมา เป็น อุตสาหกรรมอาหาร 9,593 ล้านบาท และผลิตภัณฑ์พลาสติก 7,883 ล้านบาท "การจ้างงานที่ปรับตัวลดลงส่วนหนึ่งมาจากผู้ประกอบการหันมาพัฒนาศักยภาพแรงงาน และบางส่วนนำเทคโนโลยีระบบอัตโนมัติและหุ่นยนต์มาใช้แทนแรงงานคนตาม กระแสเทคโนโลยีที่เข้าสู่ยุคอุตสาหกรรม 4.0"
สำหรับอุตสาหกรรมที่ขออนุญาตประกอบกิจการและขยายกิจการโรงงานใน ครึ่งแรกของปี และมีการจ้างแรงงานมากสุด คือ อุตสาหกรรมอาหารมีการจ้างงาน 19,495 คน ลดลง 36.20% รองลงมาเป็นการผลิต เครื่องใช้ไฟฟ้าและอุปกรณ์ 11,218 คน เพิ่มขึ้น 103.34% ,อุตสาหกรรมเครื่องแต่งกายยกเว้นรองเท้า จ้างงาน 8,029 คนเพิ่มขึ้น 164.11% , ผลิตภัณฑ์ยานพาหนะและอุปกรณ์รวมถึงการซ่อมยานพาหนะและอุปกรณ์ 7,542 คน เพิ่มขึ้น 60.91% และผลิตภัณฑ์พลาสติก จ้างงาน 7,604 คน ลดลง 34.50% เป็นต้น
เข้มกำจัดการอุตฯ"อีอีซี"
นายทองชัย กล่าวว่า นอกจากการส่งเสริม ให้เกิดการลงทุนตั้งและขยายโรงงานใหม่แล้ว กรมฯ ได้เข้มงวดในการจัดการกากอุตสาหกรรม เพื่อรองรับจำนวนโรงงานที่เพิ่มขึ้น โดยเฉพาะ ในพื้นที่ อีอีซี จะขยายศูนย์ภูมิภาคของ กรมโรงงานอุตสาหกรรมที่ จ.ชลบุรี ที่ในปัจจุบัน เป็นศูนย์ฝึกอบรมให้ความรู้เรื่องการลดมลพิษ ในโรงงานอุตสาหกรรม ให้เป็นศูนย์วิเคราะห์มลพิษ และความปลอดภัยภูมิภาคตะวันออก ขยายบทบาทออกไปกำกับดูแลด้านมลพิษ ซึ่งจะมุ่งเน้นในพื้นที่ อีอีซี และในอนาคตจะขยายปรับปรุงศูนย์ทั่วประเทศให้ได้ตามมาตรฐานนี้
นอกจากนี้ ยังได้ส่งเสริมการตั้งโรงงานที่รับกำจัด บำบัด และรีไซเคิลกากอุตสาหกรรมให้สอดคล้องกับลักษณะกากอุตสาหกรรมที่เกิดขึ้นกว่า 30 ล้านตันต่อปี
ทั้งนี้ จะส่งผลให้ผู้ประกอบการต้อง ส่งกากอุตสาหกรรมไปกำจัดหรือ บำบัดนอกพื้นที่ ซึ่งต้องเสียค่าใช้จ่ายในการ ขนส่งสูงมาก เช่น สัดส่วนโรงงานผู้ก่อกำเนิดต่อโรงงานผู้รับกำจัด บำบัดในภาคเหนือ คือ 102 ต่อ 1 ภาคใต้ 121 ต่อ 1 ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 101 ต่อ 1 ซึ่งต่างจากภาคตะวันออก ที่มีสัดส่วน 12 ต่อ 1
ห่วงของเสียปิโตรเคมี
รวมทั้งข้อมูลดังกล่าวเห็นได้ชัดว่าในภาคเหนือ ใต้ และตะวันออกเฉียงเหนือ มีจำนวนโรงงานที่สร้างกากอุตสาหกรรมกับจำนวนโรงงานกำจัดกากอุตสาหกรรม ดังนั้นจึงต้องเร่งส่งเสริมการจัดตั้งอุตสาหกรรมที่รับ กำจัด และรีไซเคิลกากอุตสาหกรรมให้มากขึ้น ซึ่งกรมฯ ได้จัดทำแผนกำจัดกากอุตสาหกรรมในภาพรวมทั้งประเทศไว้แล้ว โดยกำหนดพื้นที่ที่เหมาะสมในการสร้างโรงงานกำจัดกากอุตสาหกรรมอย่างชัดเจน นำข้อมูลเชิงคุณภาพมาประกอบการ พิจารณา เพื่อส่งเสริมให้มีการจัดการ กากอุตสาหกรรมให้สอดคล้องกับลักษณะกากอุตสาหกรรมที่เกิดขึ้นในแต่ละพื้นที่ เช่น ภาคใต้ โรงงานส่วนใหญ่เป็นอุตสาหกรรมแปรรูปอาหาร แปรรูปยางธรรมชาติ และอุตสาหกรรมน้ำมันปาล์ม
ภาคตะวันออก โรงงานส่วนใหญ่เป็น อุตสาหกรรมหนัก และอุตสาหกรรมปิโตรเคมี ซึ่งมีกากของเสียอันตรายในปริมาณ ค่อนข้างมาก เป็นต้น โดยต้องมีการนำเทคโนโลยีในการบริหารจัดการเข้ามาช่วยให้เกิดประสิทธิภาพด้วย
ดึง กนอ.ร่วมจัดการขยะ
"โรงงานกำจัดกากอุตสาหกรรมควรจะตั้งอยู่ในนิคมอุตสาหกรรม หรือตั้งเป็น นิคมฯกำจัดกากอุตสาหกรรมและรีไซเคิลโดยเฉพาะ เพื่อความสะดวกในการบริหารจัดการสิ่งแวดล้อม แต่หากไม่สามารถตั้งใน นิคมฯได้ หากมีพื้นที่เหมาะสมก็สามารถตั้ง โรงงานกำจัดกากได้เช่นกัน โดย กรอ. ได้ส่งมอบ แผนให้การนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (กนอ.) ไปพิจารณา" ในส่วนของโรงงานที่ก่อให้เกิดกากอุตสาหกรรมนั้น ล่าสุดมีโรงงานที่เข้าระบบการจัดการกากอุตสาหกรรมอย่างถูกต้องแล้ว 32,986 ราย จากโรงงานทั้งหมด 67,989 ราย หรือคิดเป็น 48.52% ของโรงงานทั้งหมด โดยโรงงานที่ยังไม่เข้าระบบกำจัดกาก ส่วนใหญ่จะเป็นโรงงานขนาดเล็กที่ไม่มีกากอุตสาหกรรมอันตราย ซึ่ง กรอ. ตั้งเป้าที่จะผลักดันโรงงานไม่ต่ำกว่า 9 พันโรงงานเข้าสู่ ระบบการจัดการกากอุตสาหกรรมที่ถูกต้อง คาดว่าภายใน 4-5 ปี โรงงงานเกือบทั้งหมดจะเข้าสู่ระบบการกำจัดกากที่ถูกต้อง
ข่าวเขตเศรษฐกิจพิเศษ อื่นๆ