สมคิด มั่นใจอีอีซีฉลุย
วันที่ : 7 มิถุนายน 2562
นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า ระหว่างวันที่ 8-11 มิ.ย.นี้ นายลี้ ชี เลขาธิการพรรคคอมมิวนิสต์ และผู้ว่าการมณฑลกวางตุ้ง สาธารณรัฐประชาชนจีน จะนำนักธุรกิจชั้นนำจากมณฑลกวางตุ้งกว่า 100 คนมาเยือนประเทศไทย เพื่อแสวงหาความร่วมมือทางเศรษฐกิจร่วมกันระหว่างไทยและกวางตุ้ง โดยเฉพาะการลงทุนในพื้นที่เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก(อีอีซี)
นักธุรกิจกวางตุ้ง 100 บริษัทดูลู่ทางลงทุน
"เจโทร"จับมือ"สหรัฐฯ"บูมธุรกิจอาเซียน
นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า ระหว่างวันที่ 8-11 มิ.ย.นี้ นายลี้ ชี เลขาธิการพรรคคอมมิวนิสต์ และผู้ว่าการมณฑลกวางตุ้ง สาธารณรัฐประชาชนจีน จะนำนักธุรกิจชั้นนำจากมณฑลกวางตุ้งกว่า 100 คนมาเยือนประเทศไทย เพื่อแสวงหาความร่วมมือทางเศรษฐกิจร่วมกันระหว่างไทยและกวางตุ้ง โดยเฉพาะการลงทุนในพื้นที่เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก(อีอีซี)โดยนักธุรกิจกลุ่มนี้ มีกำหนดการเดินทางไปดูความเป็นไปได้ในการลงทุนในพื้นที่อีอีซีในวันที่ 10 มิ.ย. และในวันที่ 11 มิ.ย. จะมีการจัดสัมมนาร่วมกันกับหน่วยงานของไทย ได้แก่ กระทรวงพาณิชย์ กระทรวงอุตสาหกรรมสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน(บีโอไอ)และสำนักงานคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก(สกพอ.)
ทั้งนี้ การเดินทางมาเยือนประเทศไทยของคณะนักธุรกิจจากมณฑลกวางตุ้ง ในครั้งนี้ทำให้เห็นความเชื่อมโยงและความร่วมมือที่มีต่อเนื่องทางเศรษฐกิจ ระหว่างพื้นที่อีอีซีของไทยกับศูนย์กลางทางการเงินและธุรกิจแห่งใหม่ของจีน หรือเกรตเตอร์เบย์ แอเรีย(Greater Bay Area )ที่ประกอบไปด้วยเขตเศรษฐกิจ ฮ่องกง มาเก๊าและ 9 เมืองในมณฑลกวางตุ้ง โดยมณฑลกวางตุ้งถือว่าเป็นหัวใจของเกรตเตอร์เบย์ แอเรีย เพราะเป็นพื้นที่ที่มีการผลิตอุตสาหกรรมไฮเทคอุตสาหกรรมสมัยใหม่ และอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ของจีนที่มีการเติบโตอย่างรวดเร็ว ขณะที่ภาคการผลิตของจีนที่ได้รับผลกระทบจากสงครามการค้า ก็มีแนวโน้มที่จะย้ายฐานการผลิตมายังประเทศไทยมากขึ้น
"การเดินทางมาเยือนไทยของนักธุรกิจกวางตุ้งกว่า 100 บริษัท ถือเป็นการเชื่อมโยงเศรษฐกิจของไทยกับเกรตเตอร์เบย์ แอเรีย ซึ่งเป็นส่วนสำคัญของ one belt one road ของจีนกับพื้นที่อีอีซีในฐานะประตูการลงทุนของอาเซียน"
นอกจากนี้ ยังได้หารือกับนายฮิโรกิ มิทสึมาตะ ประธานองค์การส่งเสริมการค้าต่างประเทศของญี่ปุ่น(เจโทร กรุงเทพฯ)ซึ่งเข้าพบเพื่ออำลาตำแหน่งว่า สหรัฐฯให้ความสำคัญกับยุทธศาสตร์อินโดแปซิฟิกอย่างมาก โดยชักชวนประเทศต่างๆที่มีขนาดเศรษฐกิจขนาดใหญ่ ได้แก่ญี่ปุ่น อินเดีย และอินโดนีเซีย เข้ามาร่วมมือกันถือว่าเป็นยุทธศาสตร์ที่จะใช้ถ่วงดุลกับยุทธศาสตร์ one belt one road ของจีนและมองว่า ไทยสามารถเข้าร่วมกับทั้งสองยุทธศาสตร์เพื่อประโยชน์ทางเศรษฐกิจร่วมกันได้ เนื่องจากเป็นประเทศที่อยู่ ในจุดยุทธศาสตร์ทั้งของสหรัฐฯและจีนพาดผ่าน
"เจโทร"จับมือ"สหรัฐฯ"บูมธุรกิจอาเซียน
นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า ระหว่างวันที่ 8-11 มิ.ย.นี้ นายลี้ ชี เลขาธิการพรรคคอมมิวนิสต์ และผู้ว่าการมณฑลกวางตุ้ง สาธารณรัฐประชาชนจีน จะนำนักธุรกิจชั้นนำจากมณฑลกวางตุ้งกว่า 100 คนมาเยือนประเทศไทย เพื่อแสวงหาความร่วมมือทางเศรษฐกิจร่วมกันระหว่างไทยและกวางตุ้ง โดยเฉพาะการลงทุนในพื้นที่เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก(อีอีซี)โดยนักธุรกิจกลุ่มนี้ มีกำหนดการเดินทางไปดูความเป็นไปได้ในการลงทุนในพื้นที่อีอีซีในวันที่ 10 มิ.ย. และในวันที่ 11 มิ.ย. จะมีการจัดสัมมนาร่วมกันกับหน่วยงานของไทย ได้แก่ กระทรวงพาณิชย์ กระทรวงอุตสาหกรรมสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน(บีโอไอ)และสำนักงานคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก(สกพอ.)
ทั้งนี้ การเดินทางมาเยือนประเทศไทยของคณะนักธุรกิจจากมณฑลกวางตุ้ง ในครั้งนี้ทำให้เห็นความเชื่อมโยงและความร่วมมือที่มีต่อเนื่องทางเศรษฐกิจ ระหว่างพื้นที่อีอีซีของไทยกับศูนย์กลางทางการเงินและธุรกิจแห่งใหม่ของจีน หรือเกรตเตอร์เบย์ แอเรีย(Greater Bay Area )ที่ประกอบไปด้วยเขตเศรษฐกิจ ฮ่องกง มาเก๊าและ 9 เมืองในมณฑลกวางตุ้ง โดยมณฑลกวางตุ้งถือว่าเป็นหัวใจของเกรตเตอร์เบย์ แอเรีย เพราะเป็นพื้นที่ที่มีการผลิตอุตสาหกรรมไฮเทคอุตสาหกรรมสมัยใหม่ และอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ของจีนที่มีการเติบโตอย่างรวดเร็ว ขณะที่ภาคการผลิตของจีนที่ได้รับผลกระทบจากสงครามการค้า ก็มีแนวโน้มที่จะย้ายฐานการผลิตมายังประเทศไทยมากขึ้น
"การเดินทางมาเยือนไทยของนักธุรกิจกวางตุ้งกว่า 100 บริษัท ถือเป็นการเชื่อมโยงเศรษฐกิจของไทยกับเกรตเตอร์เบย์ แอเรีย ซึ่งเป็นส่วนสำคัญของ one belt one road ของจีนกับพื้นที่อีอีซีในฐานะประตูการลงทุนของอาเซียน"
นอกจากนี้ ยังได้หารือกับนายฮิโรกิ มิทสึมาตะ ประธานองค์การส่งเสริมการค้าต่างประเทศของญี่ปุ่น(เจโทร กรุงเทพฯ)ซึ่งเข้าพบเพื่ออำลาตำแหน่งว่า สหรัฐฯให้ความสำคัญกับยุทธศาสตร์อินโดแปซิฟิกอย่างมาก โดยชักชวนประเทศต่างๆที่มีขนาดเศรษฐกิจขนาดใหญ่ ได้แก่ญี่ปุ่น อินเดีย และอินโดนีเซีย เข้ามาร่วมมือกันถือว่าเป็นยุทธศาสตร์ที่จะใช้ถ่วงดุลกับยุทธศาสตร์ one belt one road ของจีนและมองว่า ไทยสามารถเข้าร่วมกับทั้งสองยุทธศาสตร์เพื่อประโยชน์ทางเศรษฐกิจร่วมกันได้ เนื่องจากเป็นประเทศที่อยู่ ในจุดยุทธศาสตร์ทั้งของสหรัฐฯและจีนพาดผ่าน
ข่าวเขตเศรษฐกิจพิเศษ อื่นๆ