รถไฟฟ้าบูม 53 สถานีร่วม ผังเมืองเพิ่มโบนัสสร้าง เมืองกระชับ
วันที่ : 5 มิถุนายน 2562
ร่างผังเมืองรวมกรุงเทพมหานคร ฉบับปรับปรุงครั้งที่ 4 ปรากฏสู่สายตาผู้มีส่วนได้ส่วนเสียเป็นที่ เรียบร้อยแล้ว หลังสำนักการวางผังและพัฒนาเมือง กรุงเทพมหานคร (กทม.) จัดประชาพิจารณ์ไปเมื่อวันที่ 24 พ.ค. ที่ผ่านมา
ร่างผังเมืองรวมกรุงเทพมหานคร ฉบับปรับปรุงครั้งที่ 4 ปรากฏสู่สายตาผู้มีส่วนได้ส่วนเสียเป็นที่ เรียบร้อยแล้ว หลังสำนักการวางผังและพัฒนาเมือง กรุงเทพมหานคร (กทม.) จัดประชาพิจารณ์ไปเมื่อวันที่ 24 พ.ค. ที่ผ่านมา
ครั้งนี้มีการนำโครงข่ายรถไฟฟ้า 10 เส้นทาง มาเป็นตัวกำหนดในการใช้ประโยชน์ที่ดิน เพื่อให้สอดรับกับการเปลี่ยนแปลงของสภาพพื้นที่ในปัจจุบัน โดยขยายพื้นที่สีน้ำตาลที่อยู่อาศัยหนาแน่นมาก พื้นที่สีส้มที่อยู่อาศัยหนาแน่นปานกลาง และพื้นที่สีเหลืองที่อยู่อาศัยหนาแน่นน้อย ไปตามการขยายตัวของเมืองและเส้นทาง รถไฟฟ้า ทางโซนเหนือ ตะวันออก และตะวันตกของ กทม.
ในรายละเอียดการใช้ประโยชน์ที่ดินพื้นที่ 979,344 ไร่ จำแนกประเภทการใช้ประโยชน์ที่ดินออกเป็น 9 ประเภทหลัก 30 ประเภทย่อย พร้อมเขย่าสัดส่วนของที่ดินแต่ละประเภทใหม่
โดย "พื้นที่สีเหลือง" ที่ดินประเภท ที่อยู่อาศัยหนาแน่นน้อย ลดลง 27,841 ไร่ จาก 273,957 ไร่ หรือ 27.97% เหลือ 246,116 ไร่ หรือ 25.13%
"พื้นที่สีส้ม" ที่ดินประเภทที่อยู่อาศัยหนาแน่นปานกลาง เพิ่มขึ้น 60,983 ไร่ จาก 155,050 ไร่ หรือ 15.83% เป็น 216,033 ไร่หรือ 22.06%
"พื้นที่สีน้ำตาล" ที่ดินประเภทที่อยู่อาศัยหนาแน่นมาก เพิ่มขึ้น 381 ไร่ จาก 66,734 ไร่ หรือ 6.81% เป็น 67,115 ไร่ หรือ 6.85% "พื้นที่สีน้ำตาลอ่อน" ที่ดินประเภทอนุรักษ์เพื่อส่งเสริมเอกลักษณ์ศิลปวัฒนธรรมไทย ลดลง 2,162 ไร่ จาก 3,541 ไร่ หรือ 0.36% เหลือ 1,378 ไร่ หรือ 0.14%
"พื้นที่สีแดง" ที่ดินประเภทพาณิชย กรรม เพิ่มขึ้น 6,271 ไร่ จาก 42,802 ไร่ หรือ 4.37% เป็น 49,074 ไร่ หรือ 5.01% ที่ไม่มีการเปลี่ยนแปลงมี "พื้นที่สีม่วง" ที่ดินประเภทอุตสาหกรรม อยู่ที่ 7,870 ไร่ หรือ 0.80% และ "พื้นที่ สีเม็ดมะปราง" ที่ดินประเภทคลังสินค้า อยู่ที่ 1,404 ไร่ หรือ 0.14% ที่น่าสนใจ "พื้นที่สีขาวทแยงเขียว" ที่ดินประเภทอนุรักษ์ชนบทและเกษตรกรรม (ฟลัดเวย์) ลดลง 94,424 ไร่ จาก 150,203 ไร่ หรือ 15.34% เหลือ 53,779 ไร่ หรือ 5.49% ด้าน "พื้นที่ สีเขียว" ที่ดินประเภทเกษตรกรรม เพิ่มขึ้น 58,802 ไร่ จาก 234,899 ไร่ หรือ 39.22% เป็น 291,702 ไร่ หรือ 29.99%
"พื้นที่สีน้ำเงิน" ที่ดินประเภทสถาบัน ราชการ สาธารณูปโภคและสาธารณูปการ เพิ่มขึ้น 423 ไร่ จาก 26,456 ไร่ หรือ 2.70% เป็น 26,880 ไร่ หรือ 2.74% ส่วนพื้นที่อื่น ๆ เช่น เขตพระราชฐาน ทหาร เพิ่มขึ้น 757 ไร่ จาก 16,423 ไร่ หรือ 1.68% เป็น 17,180 ไร่ หรือ 1.75%
นอกจากนี้ ในผังเมืองใหม่ยังสนับสนุนการพัฒนาพื้นที่โดยรอบสถานีรถไฟฟ้า (TOD) ในรัศมี 500-800 เมตร ที่ขยายวงให้กว้างขึ้น โดยเฉพาะสถานีร่วมรถไฟฟ้า 2 สาย มีอยู่ร่วม 53 สถานี ที่จะได้รับอานิสงส์
ได้แก่ ดอนเมือง หลักสี่ บางเขน บางซื่อ สามเสน ราชวิถี ยมราช ยศเส หัวลำโพง วงเวียนใหญ่ วุฒากาศ พญาไท มักกะสัน รามคำแหง พัฒนาการ ตลิ่งชัน บางซ่อน ราชปรารภ สิรินธร สามเสน อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ บางขุนนนท์ ธนบุรี- ศิริราช วงเวียน หลักสี่ แยกเกษตร พหลโยธิน หมอชิต ราชเทวี สยาม สีลม ช่องนนทรี บางหว้า ลาดพร้าว ศูนย์วัฒนธรรม อโศก ลุมพินี วังบูรพา ท่าพระ อนุสาวรีย์ประชาธิปไตย ประชาสงเคราะห์ ประดิษฐ์มนูธรรม ลำสาลี สัมมากร มีนบุรี ศูนย์ราชการนนทบุรี เตาปูน วัชรพล เกษตรนวมินทร์ ฉลองรัช ศรีเอี่ยม สำโรง ทองหล่อ และเพลินจิต
ซึ่งผังเมืองใหม่จะให้โบนัสให้สามารถพัฒนาได้มากขึ้น เพื่อพัฒนา "กทม." เป็นเมืองกระชับ
ครั้งนี้มีการนำโครงข่ายรถไฟฟ้า 10 เส้นทาง มาเป็นตัวกำหนดในการใช้ประโยชน์ที่ดิน เพื่อให้สอดรับกับการเปลี่ยนแปลงของสภาพพื้นที่ในปัจจุบัน โดยขยายพื้นที่สีน้ำตาลที่อยู่อาศัยหนาแน่นมาก พื้นที่สีส้มที่อยู่อาศัยหนาแน่นปานกลาง และพื้นที่สีเหลืองที่อยู่อาศัยหนาแน่นน้อย ไปตามการขยายตัวของเมืองและเส้นทาง รถไฟฟ้า ทางโซนเหนือ ตะวันออก และตะวันตกของ กทม.
ในรายละเอียดการใช้ประโยชน์ที่ดินพื้นที่ 979,344 ไร่ จำแนกประเภทการใช้ประโยชน์ที่ดินออกเป็น 9 ประเภทหลัก 30 ประเภทย่อย พร้อมเขย่าสัดส่วนของที่ดินแต่ละประเภทใหม่
โดย "พื้นที่สีเหลือง" ที่ดินประเภท ที่อยู่อาศัยหนาแน่นน้อย ลดลง 27,841 ไร่ จาก 273,957 ไร่ หรือ 27.97% เหลือ 246,116 ไร่ หรือ 25.13%
"พื้นที่สีส้ม" ที่ดินประเภทที่อยู่อาศัยหนาแน่นปานกลาง เพิ่มขึ้น 60,983 ไร่ จาก 155,050 ไร่ หรือ 15.83% เป็น 216,033 ไร่หรือ 22.06%
"พื้นที่สีน้ำตาล" ที่ดินประเภทที่อยู่อาศัยหนาแน่นมาก เพิ่มขึ้น 381 ไร่ จาก 66,734 ไร่ หรือ 6.81% เป็น 67,115 ไร่ หรือ 6.85% "พื้นที่สีน้ำตาลอ่อน" ที่ดินประเภทอนุรักษ์เพื่อส่งเสริมเอกลักษณ์ศิลปวัฒนธรรมไทย ลดลง 2,162 ไร่ จาก 3,541 ไร่ หรือ 0.36% เหลือ 1,378 ไร่ หรือ 0.14%
"พื้นที่สีแดง" ที่ดินประเภทพาณิชย กรรม เพิ่มขึ้น 6,271 ไร่ จาก 42,802 ไร่ หรือ 4.37% เป็น 49,074 ไร่ หรือ 5.01% ที่ไม่มีการเปลี่ยนแปลงมี "พื้นที่สีม่วง" ที่ดินประเภทอุตสาหกรรม อยู่ที่ 7,870 ไร่ หรือ 0.80% และ "พื้นที่ สีเม็ดมะปราง" ที่ดินประเภทคลังสินค้า อยู่ที่ 1,404 ไร่ หรือ 0.14% ที่น่าสนใจ "พื้นที่สีขาวทแยงเขียว" ที่ดินประเภทอนุรักษ์ชนบทและเกษตรกรรม (ฟลัดเวย์) ลดลง 94,424 ไร่ จาก 150,203 ไร่ หรือ 15.34% เหลือ 53,779 ไร่ หรือ 5.49% ด้าน "พื้นที่ สีเขียว" ที่ดินประเภทเกษตรกรรม เพิ่มขึ้น 58,802 ไร่ จาก 234,899 ไร่ หรือ 39.22% เป็น 291,702 ไร่ หรือ 29.99%
"พื้นที่สีน้ำเงิน" ที่ดินประเภทสถาบัน ราชการ สาธารณูปโภคและสาธารณูปการ เพิ่มขึ้น 423 ไร่ จาก 26,456 ไร่ หรือ 2.70% เป็น 26,880 ไร่ หรือ 2.74% ส่วนพื้นที่อื่น ๆ เช่น เขตพระราชฐาน ทหาร เพิ่มขึ้น 757 ไร่ จาก 16,423 ไร่ หรือ 1.68% เป็น 17,180 ไร่ หรือ 1.75%
นอกจากนี้ ในผังเมืองใหม่ยังสนับสนุนการพัฒนาพื้นที่โดยรอบสถานีรถไฟฟ้า (TOD) ในรัศมี 500-800 เมตร ที่ขยายวงให้กว้างขึ้น โดยเฉพาะสถานีร่วมรถไฟฟ้า 2 สาย มีอยู่ร่วม 53 สถานี ที่จะได้รับอานิสงส์
ได้แก่ ดอนเมือง หลักสี่ บางเขน บางซื่อ สามเสน ราชวิถี ยมราช ยศเส หัวลำโพง วงเวียนใหญ่ วุฒากาศ พญาไท มักกะสัน รามคำแหง พัฒนาการ ตลิ่งชัน บางซ่อน ราชปรารภ สิรินธร สามเสน อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ บางขุนนนท์ ธนบุรี- ศิริราช วงเวียน หลักสี่ แยกเกษตร พหลโยธิน หมอชิต ราชเทวี สยาม สีลม ช่องนนทรี บางหว้า ลาดพร้าว ศูนย์วัฒนธรรม อโศก ลุมพินี วังบูรพา ท่าพระ อนุสาวรีย์ประชาธิปไตย ประชาสงเคราะห์ ประดิษฐ์มนูธรรม ลำสาลี สัมมากร มีนบุรี ศูนย์ราชการนนทบุรี เตาปูน วัชรพล เกษตรนวมินทร์ ฉลองรัช ศรีเอี่ยม สำโรง ทองหล่อ และเพลินจิต
ซึ่งผังเมืองใหม่จะให้โบนัสให้สามารถพัฒนาได้มากขึ้น เพื่อพัฒนา "กทม." เป็นเมืองกระชับ
ข่าวกฎหมายอสังหาฯ อื่นๆ