ผังเมืองใหม่ยึดรถไฟฟ้า เป็นแนวพัฒนา/ผุดพื้นที่ศก.ใหม่ชานเมือง
วันที่ : 29 พฤษภาคม 2562
นายทวีศักดิ์ เลิศประพันธ์ รองผู้ว่าฯกทม.กล่าวถึงภาพรวมร่างผังเมือง กทม. (ปรับปรุงครั้งที่ 4) ว่าได้ปรับปรุงหลายด้านตอบโจทย์ประชาชน รองรับผู้สูงอายุ ใช้ประโยชน์ที่โล่ง พัฒนาระบบขนส่งมวลชน เกิดพื้นที่เศรษฐกิจใหม่ชานเมือง เพิ่มพื้นที่สีเขียวให้รวมเป็นสวนขนาดใหญ่ พัฒนาเชิงพาณิชย์ พื้นที่สีแดงมีเพียง5-6%แต่จะเกิดย่านธุรกิจใหม่ที่รัชดาฯ พระราม 9 ด้านนอกพัฒนาเป็นชุมชนชานเมือง พื้นที่สีเขียว เขียวลายรวมกันมี 55% พัฒนาระบบระบายน้ำเมืองให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น
นายทวีศักดิ์ เลิศประพันธ์ รองผู้ว่าฯกทม.กล่าวถึงภาพรวมร่างผังเมือง กทม. (ปรับปรุงครั้งที่ 4) ว่าได้ปรับปรุงหลายด้านตอบโจทย์ประชาชน รองรับผู้สูงอายุ ใช้ประโยชน์ที่โล่ง พัฒนาระบบขนส่งมวลชน เกิดพื้นที่เศรษฐกิจใหม่ชานเมือง เพิ่มพื้นที่สีเขียวให้รวมเป็นสวนขนาดใหญ่ พัฒนาเชิงพาณิชย์ พื้นที่สีแดงมีเพียง5-6%แต่จะเกิดย่านธุรกิจใหม่ที่รัชดาฯ พระราม 9 ด้านนอกพัฒนาเป็นชุมชนชานเมือง พื้นที่สีเขียว เขียวลายรวมกันมี 55% พัฒนาระบบระบายน้ำเมืองให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น
ทั้งนี้ ผังเมืองใหม่จะพัฒนาแนวรถไฟฟ้าเป็นหลักใจกลางเมืองเป็นศูนย์กลางธุรกิจ พัฒนาพื้นที่แนวรถไฟฟ้าสายใหม่ที่กำลังสร้าง เช่น ลาดพร้าว วังทองหลางบางกะปิ บึงกุ่ม คันนายาว สวนหลวง ศรีนครินทร์ปรับจากสีเหลือง (ที่อยู่อาศัยหนาแน่นน้อย) เป็นสีส้ม(หนาแน่นปานกลาง) พัฒนาพื้นที่รอบสถานีรถไฟฟ้าที่เชื่อมต่อเป็นสถานี ปลายทางพัฒนาเป็นศูนย์ชุมชน(ซับเซ็นเตอร์) อาทิ มีนบุรี ศรีนครินทร์ ลาดกระบัง บางนา บางขุนเทียน บางแค ตลิ่งชัน สะพานใหม่ โดยบางซื่อ เป็นศูนย์กลางธุรกิจ มักกะสันเป็นเกตเวย์อีอีซี ตากสิน-วงเวียนใหญ่ จุดเชื่อมบีทีเอสสายสีทอง สีม่วงใต้เพิ่มโครงข่ายถนนจาก 136 สาย เป็น 203 สาย จากนี้จะรวบรวมความเห็นประชาชนปรับปรุงแก้ไขร่างฯเสนอคณะที่ปรึกษาผังเมืองฯ คณะกรรมการผังเมืองพิจารณา และปิดประกาศ 90 วัน ให้ผู้มีส่วนได้เสียยื่นคำร้อง จากนั้นส่ง ก.มหาดไทยเข้า ครม. ประกาศราชกิจจาฯให้ใช้บังคับผังเมืองรวม กทม. ฉบับใหม่ คาดได้ใช้ปลายปี 63
ทั้งนี้ ผังเมืองใหม่จะพัฒนาแนวรถไฟฟ้าเป็นหลักใจกลางเมืองเป็นศูนย์กลางธุรกิจ พัฒนาพื้นที่แนวรถไฟฟ้าสายใหม่ที่กำลังสร้าง เช่น ลาดพร้าว วังทองหลางบางกะปิ บึงกุ่ม คันนายาว สวนหลวง ศรีนครินทร์ปรับจากสีเหลือง (ที่อยู่อาศัยหนาแน่นน้อย) เป็นสีส้ม(หนาแน่นปานกลาง) พัฒนาพื้นที่รอบสถานีรถไฟฟ้าที่เชื่อมต่อเป็นสถานี ปลายทางพัฒนาเป็นศูนย์ชุมชน(ซับเซ็นเตอร์) อาทิ มีนบุรี ศรีนครินทร์ ลาดกระบัง บางนา บางขุนเทียน บางแค ตลิ่งชัน สะพานใหม่ โดยบางซื่อ เป็นศูนย์กลางธุรกิจ มักกะสันเป็นเกตเวย์อีอีซี ตากสิน-วงเวียนใหญ่ จุดเชื่อมบีทีเอสสายสีทอง สีม่วงใต้เพิ่มโครงข่ายถนนจาก 136 สาย เป็น 203 สาย จากนี้จะรวบรวมความเห็นประชาชนปรับปรุงแก้ไขร่างฯเสนอคณะที่ปรึกษาผังเมืองฯ คณะกรรมการผังเมืองพิจารณา และปิดประกาศ 90 วัน ให้ผู้มีส่วนได้เสียยื่นคำร้อง จากนั้นส่ง ก.มหาดไทยเข้า ครม. ประกาศราชกิจจาฯให้ใช้บังคับผังเมืองรวม กทม. ฉบับใหม่ คาดได้ใช้ปลายปี 63
ข่าวกฎหมายอสังหาฯ อื่นๆ