ญี่ปุ่น ลุยEECขอBOI65งาน คอลลิเออร์ส เชื่ออสังหาฯ-นิคมฯพุ่ง
วันที่ : 10 กันยายน 2561
ครึ่งปีแรกญี่ปุ่นจีน-ฮ่องกง ยื่นขอบีโอไอมากสุด"คอลลิเออร์ส"เผยยอดขอรับการส่งเสริมการลงทุนจากบีโอไอ 6 เดือนแรกในพื้นที่เขตนวัตกรรม EEC โต 122% ดันดีมานด์พื้นที่ในนิคมอุตฯพุ่ง ระบุ ชลบุรี ดีมานด์นิคม-อสังหาฯขยายตัวแรง พบโครงการบ้าน-คอนโดอยู่ระหว่างขายกว่า 437 โครงการ 70,004 ยูนิต มูลค่า 136,126 ล้านบาท
รายงานข่าวจากฝ่ายวิจัย บริษัท คอลลิเออร์ส อินเตอร์เนชั่นแนล (ประเทศไทย) แจ้งว่า จากการจัดเก็บข้อมูลในช่วง 6 เดือนแรกของปี 61 (ม.ค.มิ.ย.61) พบว่า ในครึ่งแรก มียอดการขอรับส่งเสริมการลงทุน 754 โครงการ จากคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน หรือ บีโอไอ เพิ่มขึ้น 22% จากช่วงเดียวกันของปี 60 โดยมีมูลค่าเงินลงทุน 284,600 ล้านบาท โดยพบว่าญี่ปุ่นเป็นประเทศที่ได้รับอนุมัติส่งเสริมการลงทุนมากที่สุด โดยมียอดการได้รับการอนุมัติ 65 โครงการ มูลค่าการลงทุน11,790 ล้านบาท ประเทศจีน 23โครงการ มูลค่า 2,836 ล้านบาท และฮ่องกง 12 โครงการ มูลค่า 2,721 ล้านบาท
ทั้งนี้ ในจำนวนการขอรับการส่งเสริม การลงทุนจาก บีโอไอ ในครึ่งแรกปี 61 เป็นการลงทุนในพื้นที่เขตนวัตกรรมระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (EEC) กว่า 142 โครงการ คิดมูลค่าเงินลงทุนรวม 183,230 ล้านบาท หรือ 67% ของเงินลงทุนทั้งหมดที่ขอรับส่งเสริม เพิ่มขึ้น 122% จากช่วงเดียวกันของปี 60 ซึ่งมีมูลค่า 77,069 ล้านบาท แบ่งเป็นฉะเชิงเทรา 19 โครงการ ชลบุรี 74 โครงการ และระยอง 49 โครงการ
สำหรับสถานการณ์ตลาดนิคมอุตสาหกรรมในพื้นที่ EEC ในช่วงครึ่งปีแรก 61 พบว่าจากนิคมอุตสาหกรรมในพื้นที่ที่มีอยู่ 43 นิคม ซึ่งมีพื้นที่รวม 137,824 ไร่ ในจำนวนนี้มี 11 นิคม ซึ่งมีเนื้อที่ประมาณ 42,000 ไร่ ขายพื้นที่หมดแล้ว ทั้งนี้ จังหวัดชลบุรียังคงเป็นพื้นที่ที่มีการพัฒนานิคมอุตสาหกรรมมากที่สุดในพื้นที่ EEC โดยมีพื้นที่ทั้งหมด 47.69% หรือประมาณ 65,729 ไร่
อย่างไรก็ตาม บีโอไอคาดว่าในช่วงครึ่งปีหลังจะมีโครงการขนาดใหญ่ขอรับการส่งเสริมการลงทุนอีกหลายราย ซึ่งจะทำให้จำนวนพื้นที่นิคมอุตฯมีการลงทุนเพิ่มมากขึ้น และจะส่งผลถึงความต้องการที่อยู่อาศัยในพื้นที่จากการขยายตัวของแรงงาน และคนที่เข้ามาทำงานในพื้นที่เพิ่มขึ้น
ขณะที่ผลการจัดเก็บข้อมูลตลาดที่อยู่อาศัยในพื้นที่EECพบว่า ที่อยู่อาศัย(ซัปพลาย) ที่อยู่ระหว่างการขายแบ่งตามพื้นที่และประเภท ณ ครึ่งแรกปี 61 จังหวัดชลบุรีเป็นจังหวัดที่มีบ้านจัดสรรและคอนโดมิเนียมที่อยู่ระหว่างการขายมากที่สุด โดยมีบ้านจัดสรรที่อยู่ระหว่างการขาย 437 โครงการ 70,004 ยูนิต มูลค่า 136,126 ล้านบาท ซึ่งในจำนวนนี้ระบายไปแล้ว 45,544 ยูนิต ทำให้เหลือหน่วยขายประมาณ 24,460 ยูนิต ส่วนที่อยู่อาศัยประเภทคอนโดมิเนียมในจังหวัดชลบุรีที่อยู่ระหว่างการขายมีทั้งสิ้น 227 โครงการ มูลค่า 305,115 ล้านบาท โดยมีหน่วยที่อยู่ระหว่างการขายทั้งหมด 91,034 ยูนิต ซึ่งมีการขายออกไปแล้ว 75,332 ยูนิตทำ ให้มียูนิตเหลือขายประมาณ 15,712 ยูนิต
จังหวัดฉะเชิงเทรา ปัจจุบันมี บ้านจัดสรรที่อยู่ระหว่างการขายทั้งหมด 41โครงการ 12,814 ยูนิต คิดเป็นมูลค่าการลงทุน 53,302 ล้านบาท โดยสามารถขายไปแล้ว7,741ยูนิตโดยมีหน่วยเหลือขายในพื้นที่ประมาณ 4,443 ยูนิต ประเภทคอนโดมิเนียมอยู่ระหว่างการขายมี 2 โครงการ มูลค่า 1,060 ล้านบาท โดยมีหน่วยที่อยู่ระหว่างการขาย 1,054 ยูนิตขายไปแล้ว 687 ยูนิต เหลือขายประมาณ 367 ยูนิต
ขณะที่จังหวัดระยองมีบ้านจัดสรรที่อยู่ระหว่างขาย41โครงการ 12,814 ยูนิต มูลค่า 53,302 ล้านบาท ขายได้แล้ว 7,741 ยูนิตและมีหน่วยเหลือขาย4,443 ยูนิตส่วนคอนโดมิเนียมที่อยู่ระหว่างการขายมี12โครงการ มูลค่า 4,958 ล้านบาท โดยมีหน่วยที่อยู่ระหว่างการขายทั้งหมด 3,336 ยูนิต ขายได้แล้ว 2,609 ยูนิต เหลือ ขายประมาณ 727 ยูนิต
รายงานข่าวจากฝ่ายวิจัย บริษัท คอลลิเออร์ส อินเตอร์เนชั่นแนล (ประเทศไทย) แจ้งว่า จากการจัดเก็บข้อมูลในช่วง 6 เดือนแรกของปี 61 (ม.ค.มิ.ย.61) พบว่า ในครึ่งแรก มียอดการขอรับส่งเสริมการลงทุน 754 โครงการ จากคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน หรือ บีโอไอ เพิ่มขึ้น 22% จากช่วงเดียวกันของปี 60 โดยมีมูลค่าเงินลงทุน 284,600 ล้านบาท โดยพบว่าญี่ปุ่นเป็นประเทศที่ได้รับอนุมัติส่งเสริมการลงทุนมากที่สุด โดยมียอดการได้รับการอนุมัติ 65 โครงการ มูลค่าการลงทุน11,790 ล้านบาท ประเทศจีน 23โครงการ มูลค่า 2,836 ล้านบาท และฮ่องกง 12 โครงการ มูลค่า 2,721 ล้านบาท
ทั้งนี้ ในจำนวนการขอรับการส่งเสริม การลงทุนจาก บีโอไอ ในครึ่งแรกปี 61 เป็นการลงทุนในพื้นที่เขตนวัตกรรมระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (EEC) กว่า 142 โครงการ คิดมูลค่าเงินลงทุนรวม 183,230 ล้านบาท หรือ 67% ของเงินลงทุนทั้งหมดที่ขอรับส่งเสริม เพิ่มขึ้น 122% จากช่วงเดียวกันของปี 60 ซึ่งมีมูลค่า 77,069 ล้านบาท แบ่งเป็นฉะเชิงเทรา 19 โครงการ ชลบุรี 74 โครงการ และระยอง 49 โครงการ
สำหรับสถานการณ์ตลาดนิคมอุตสาหกรรมในพื้นที่ EEC ในช่วงครึ่งปีแรก 61 พบว่าจากนิคมอุตสาหกรรมในพื้นที่ที่มีอยู่ 43 นิคม ซึ่งมีพื้นที่รวม 137,824 ไร่ ในจำนวนนี้มี 11 นิคม ซึ่งมีเนื้อที่ประมาณ 42,000 ไร่ ขายพื้นที่หมดแล้ว ทั้งนี้ จังหวัดชลบุรียังคงเป็นพื้นที่ที่มีการพัฒนานิคมอุตสาหกรรมมากที่สุดในพื้นที่ EEC โดยมีพื้นที่ทั้งหมด 47.69% หรือประมาณ 65,729 ไร่
อย่างไรก็ตาม บีโอไอคาดว่าในช่วงครึ่งปีหลังจะมีโครงการขนาดใหญ่ขอรับการส่งเสริมการลงทุนอีกหลายราย ซึ่งจะทำให้จำนวนพื้นที่นิคมอุตฯมีการลงทุนเพิ่มมากขึ้น และจะส่งผลถึงความต้องการที่อยู่อาศัยในพื้นที่จากการขยายตัวของแรงงาน และคนที่เข้ามาทำงานในพื้นที่เพิ่มขึ้น
ขณะที่ผลการจัดเก็บข้อมูลตลาดที่อยู่อาศัยในพื้นที่EECพบว่า ที่อยู่อาศัย(ซัปพลาย) ที่อยู่ระหว่างการขายแบ่งตามพื้นที่และประเภท ณ ครึ่งแรกปี 61 จังหวัดชลบุรีเป็นจังหวัดที่มีบ้านจัดสรรและคอนโดมิเนียมที่อยู่ระหว่างการขายมากที่สุด โดยมีบ้านจัดสรรที่อยู่ระหว่างการขาย 437 โครงการ 70,004 ยูนิต มูลค่า 136,126 ล้านบาท ซึ่งในจำนวนนี้ระบายไปแล้ว 45,544 ยูนิต ทำให้เหลือหน่วยขายประมาณ 24,460 ยูนิต ส่วนที่อยู่อาศัยประเภทคอนโดมิเนียมในจังหวัดชลบุรีที่อยู่ระหว่างการขายมีทั้งสิ้น 227 โครงการ มูลค่า 305,115 ล้านบาท โดยมีหน่วยที่อยู่ระหว่างการขายทั้งหมด 91,034 ยูนิต ซึ่งมีการขายออกไปแล้ว 75,332 ยูนิตทำ ให้มียูนิตเหลือขายประมาณ 15,712 ยูนิต
จังหวัดฉะเชิงเทรา ปัจจุบันมี บ้านจัดสรรที่อยู่ระหว่างการขายทั้งหมด 41โครงการ 12,814 ยูนิต คิดเป็นมูลค่าการลงทุน 53,302 ล้านบาท โดยสามารถขายไปแล้ว7,741ยูนิตโดยมีหน่วยเหลือขายในพื้นที่ประมาณ 4,443 ยูนิต ประเภทคอนโดมิเนียมอยู่ระหว่างการขายมี 2 โครงการ มูลค่า 1,060 ล้านบาท โดยมีหน่วยที่อยู่ระหว่างการขาย 1,054 ยูนิตขายไปแล้ว 687 ยูนิต เหลือขายประมาณ 367 ยูนิต
ขณะที่จังหวัดระยองมีบ้านจัดสรรที่อยู่ระหว่างขาย41โครงการ 12,814 ยูนิต มูลค่า 53,302 ล้านบาท ขายได้แล้ว 7,741 ยูนิตและมีหน่วยเหลือขาย4,443 ยูนิตส่วนคอนโดมิเนียมที่อยู่ระหว่างการขายมี12โครงการ มูลค่า 4,958 ล้านบาท โดยมีหน่วยที่อยู่ระหว่างการขายทั้งหมด 3,336 ยูนิต ขายได้แล้ว 2,609 ยูนิต เหลือ ขายประมาณ 727 ยูนิต
ข่าวเขตเศรษฐกิจพิเศษ อื่นๆ